การเริ่มต้น เลี้ยงไก่ไข่ พรีเมี่ยม ควบคู่ เลี้ยงไก่สาว ทำ ฟาร์มหมู และ แปลงปลูกผัก รายได้มั่นคง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การ เลี้ยงไก่ไข่

การ เลี้ยงไก่ไข่ ถือเป็นอาชีพที่มีผู้สนใจมากในปัจจุบัน เนื่องจากไก่ไข่เลี้ยงไม่ยาก ต้องการพื้นที่เลี้ยงน้อย มีความสะดวก ทั้งทางด้านการจัดหาลูกไก่ อาหาร  อุปกรณ์ การให้อาหาร และน้ำ วัคซีน และยารักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่จากพันธุ์แท้เป็นไก่ผสม ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แท้  จึงทำให้การ เลี้ยงไก่ไข่ ในประเทศไทยมีความคล่องตัวสูง ทำให้อุตสาหกรรมไก่ไข่เจริญก้าวหน้า สามารถผลิตไข่เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และจำหน่ายต่างประเทศในปีหนึ่งๆ เป็นมูลค่าหลายล้านบาท

“นิตยสารสัตว์บก” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ เลี้ยงไก่ไข่ และทำฟาร์มไก่รุ่นพันธุ์ไข่ชื่อดัง คือ  โคราชไบโอฟาร์ม ที่ปัจจุบันประกอบกิจการเลี้ยงไก่สาวเป็นอาชีพหลัก และมี เลี้ยงไก่ไข่ ตลอดจนทำฟาร์มเลี้ยงหมูควบคู่ไปด้วย โดย เลี้ยงไก่ไข่ ระบบฟาร์มปิดได้มาตรฐานรูปแบบการเลี้ยงอิสระ และเลี้ยงไก่สาวประกันราคารูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ซึ่งกิจการเป็นไปด้วยดี สำหรับผู้บริหาร โคราชไบโอฟาร์ม มี 3 ท่าน ประกอบด้วย คุณวัฒนา ยะประโคน, คุณปวีณา ยะประโคน และคุณภณิตา ด้อมกลาง 

1.โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่
1.โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่

การเริ่มต้น เลี้ยงไก่ไข่

ในอดีตทั้ง 3 ท่าน ทำงานบริษัทในกรุงเทพฯ ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรมาก่อน แต่เพราะเบื่อหน่ายชีวิตการทำงานในเมืองหลวง ตลอดจนค่อยๆ ศึกษาเทคนิควิธีการเลี้ยงไก่รุ่น เมื่อสบโอกาสจึงหันหลังให้กับชีวิตมนุษย์เงินเดือน มุ่งหน้าสู่อาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อย่างเต็มตัว โดยสำรวจและลงทุนพื้นที่ทำฟาร์ม และลงไก่ไข่เริ่มแรกจำนวน 10,000 ตัว เป็นการเลี้ยงระบบอิสระ ใช้เวลาไม่นานกิจการไปได้สวย กระทั่งเพิ่มจำนวนเลี้ยงเป็น 60,000 ตัว

ปัจจุบัน “โคราชไบโอฟาร์ม” มีพื้นที่ 44 ไร่ โดยบริหารจัดการทำฟาร์มเลี้ยงไก่มีจำนวนประมาณ 130,000 ตัว/รอบ รวมทั้งมีฟาร์มเลี้ยงหมู มีแปลงปลูกผัก ตลอดจนทำบ่อไบโอแก๊สไว้ใช้ในฟาร์มเลี้ยงหมูไว้อย่างครบวงจร (ฟาร์มหมูจำนวน 4 โรงเรือนๆ ละ 600 ตัว)

ในส่วนฟาร์มเลี้ยงไก่แบ่งเป็น 3 โรงเรือน ออกแบบขนาดกว้าง 17 เมตร ยาว 104 เมตร สูง 3 เมตร ลงไก่ตามสเป็คมาตรฐานจำนวน 50,000 ตัว เลี้ยงแบบยืนกรง ทั้งนี้อุปกรณ์ฟาร์มใช้ของดี มีคุณภาพ นำเข้าจากประเทศจีน โดยคอนแทรคกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย

2.คุณภณิตา-ด้อมกลาง-ผู้บริหาร-และคุณอัสนี-คตชิ่ง-สัตวบาลดูแลโคราชไบโอฟาร์ม
2.คุณภณิตา-ด้อมกลาง-ผู้บริหาร-และคุณอัสนี-คตชิ่ง-สัตวบาลดูแลโคราชไบโอฟาร์ม

อยากจะเริ่มต้น เลี้ยงไก่ ทำยังไงดี? 

ทั้งนี้คุณภณิตายังฝากไปถึงผู้ที่สนใจ หรือผู้ เลี้ยงไก่ไข่ ที่ยังไม่มีความรู้ ความชำนาญ งานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ ความชำนาญ เสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้ และความชำนาญ แล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุน และสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจต้องใช้ทุนมาก โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมาก เนื่องจากลงทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่ และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่ลูกไก่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยาก และใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 อาทิตย์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข่

2.เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่เริ่มนิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 อาทิตย์ จนถึง 2 เดือน มาจากฟาร์ม หรือบริษัท ที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนัก และสามารถตัดปัญหาในการเลี้ยงดูลูกไก่ และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ  2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรกจึงสมควรเลี้ยงด้วยวิธีนี้

3.เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพ หรือเพื่อการค้า นิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็ก หรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะใช้กับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องใช้ทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้ หรืออาจทำสัญญาในลักษณะคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แนะนำ เป็นต้น

3.โรงเรือนไก่สาวระบบยืนกรง
3.โรงเรือนไก่สาวระบบยืนกรง

ระบบคอนแทรค เลี้ยง 3 เดือน ประกันราคาจับขาย..กำไรงาม

ด้านการตลาด ราคาไก่สาวที่คอนแทรคเป็นราคาประกัน คิดเป็นต่อตัวเฉลี่ย 131 บาท/ตัว น้ำหนักมาตรฐานต้องได้ประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือต้องไม่ต่ำกว่า 1.2 กิโลกรัม ซึ่งใช้ระยะเวลาเลี้ยงโดยประมาณ 110 วัน หากน้ำหนักไม่ได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว บริษัทฯ จะรับซื้ออีกเรทราคาหนึ่ง แต่ห้ามเลี้ยงเกินน้ำหนักเด็ดขาด

ดังนั้นหัวใจสำคัญ คือ ต้องดูแลควบคุมเรื่องอาหาร โดย คุณอัสนี คตชิ่ง ซึ่งเป็นสัตวบาลผู้ดูแลประจำ “โคราชไบโอฟาร์ม” ได้เปิดเผยเทคนิคการควบดูแลการเลี้ยงไก่สาวว่าที่ฟาร์มฯ จะมีคัดไก่เพื่อทำการสุ่มตรวจ และชั่งน้ำหนักตามตารางเวลา เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

4.ให้อาหารและน้ำลูกเจี๊ยบ
4.ให้อาหารและน้ำลูกเจี๊ยบ
ให้อาหารและน้ำลูกไก่ไข่เริ่มโต
ให้อาหารและน้ำลูกไก่ไข่เริ่มโต

คุณภณิตาหนึ่งในหุ้นส่วน “โคราชไบโอฟาร์ม” กล่าวถึงเรื่องบริหารจัดการเลี้ยงไก่สาวว่า ทางฟาร์มฯ ได้เลี้ยงรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับบริษัท เบทาโกรฯ โดยการรับลูกไก่คัดเกรด A สายพันธุ์โรมันบราว์ เบทาโกร มาลงที่เล้า อายุได้แค่ 1 วัน  และเผื่ออัตราการสูญเสียมาให้ 2%

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยที่ฟาร์มฯ จะนำมากก และทำวัคซีนเอง  โดยการเลี้ยงไก่สาวจะมีช่วงระยะเวลาเลี้ยงนับเป็นรอบๆ/เดือน ใช้ระยะเวลาเลี้ยง 110 วัน ก่อนจับส่งให้กับบริษัทฯ ซึ่งในโรงเรือนจะมีทั้งไก่เล็ก ไก่กลาง และไก่ขนาดใหญ่ ในส่วนข้อดีของการเลี้ยงสายพันธุ์ “พันธุ์โรมันบราว์ เบทาโกร  คือ เป็นพันธุ์มาตรฐานของเบทาโกร ที่ได้คอนแทรคฟาร์มมิ่งโดยตรง อัตราการเลี้ยงรอดมาก และไข่ออกมาได้รูปทรงสวย

คุณภณิตากล่าวต่อว่า ต้นทุนการสร้างและการบริหารจัดการฟาร์มไก่ในระยะแรกอาจต้องใช้เงินลงทุนสูงพอสมควร แต่หาก เลี้ยงไก่ไข่ ผ่านไปในรอบแรก หรือสักระยะ เจ้าของฟาร์มก็จะสามารถบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนได้เอง ในส่วนต้นทุนการเลี้ยงไก่สาวรูปแบบคอนแทรคนี้ เฉลี่ยต้นทุนไก่ประมาณ 114 บาท/ตัว โดยเลี้ยงประกันราคาส่งขายให้บริษัทรับซื้อประมาณ 131 บาท/ ตัว

เครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้น
เครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้น
5.ไก่ไข่สาว
5.ไก่ไข่สาว

การควบคุมปริมาณการกินอาหารของไก่รุ่น และไก่สาว

สำหรับมาตรฐานการ เลี้ยงไก่ไข่ โดยทั่วไป ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงจะต้องควบคุมปริมาณการกินอาหารของไก่ดังกล่าว ตั้งแต่อายุประมาณ 7-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของไก่ ซึ่งในอดีตไม่มีการควบคุมปริมาณการกินอาหารของไก่รุ่น และไก่สาว ก่อนให้ไข่ ทำให้ไก่ดังกล่าวมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การให้ไข่จะให้ไข่ที่เร็วขึ้น และขนาดไข่จะฟองเล็ก ตลอดจนอายุการให้ไข่จะสั้นลง นอกจากนั้นยังทำให้สิ้นเปลืองค่าอาหารที่สูงเกินความจำเป็นในการผลิต

ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณอาหารที่ให้กิน ควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักตัวไก่ในระยะต่างๆ ตามสายพันธุ์ที่ผู้ผลิตกำหนด เพื่อป้องกันมิให้ไก่ไข่เร็วเกินไป หรือชะลอความเป็นสาว (delaying sexual maturity) เพื่อช่วยให้สุขภาพของไก่แข็งแรง สมบูรณ์ ให้ไข่ฟองโต และอายุการให้ไข่นาน สำหรับการควบคุมอาหารอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้

เทคนิคควบคุมอาหารเลี้ยงไก่รุ่น และระยะไก่สาว

1.จำกัดปริมาณอาหารที่ให้ไก่กินแต่ละวัน (Manual Restriction) การควบคุมอาหารวิธีนี้ไก่จะได้รับปริมาณโปรตีนและพลังงาน สูงกว่าความต้องการของสายพันธุ์ หรืออายุของไก่ในระยะนั้นเล็กน้อย และต้องเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารไปตามสภาพแวดล้อมของทุกฤดูกาล จึงจะให้ผลตอบแทนที่ดี

อย่างไรก็ตามในการกำจัดอาหารโดยวิธีนี้ ต้องมีรางน้ำ และรางอาหาร หรือถังอาหาร เพียงพอ เพื่อให้ไก่ทุกตัวได้กิน เพื่อมิให้กระทบต่อความสม่ำเสมอของไก่ภายในฝูง และหากไก่ป่วยในช่วงควบคุมปริมาณอาหาร  จำเป็นต้องให้ไก่กินเต็มที่จนกว่าจะหายจากอาการป่วย แล้วจึงค่อยควบคุมน้ำหนักตัว และปริมาณอาหาร ต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าน้ำหนักตัวของไก่เกินมาตรฐานกำหนดของสายพันธุ์นั้นๆ ก็ต้องลดปริมาณอาหารลงทีละน้อย เพื่อดึงน้ำหนักตัวลงมาที่มาตรฐาน และถ้าน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานก็ต้องเพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้น เพื่อให้น้ำหนักตัวสูงตามมาตรฐานของสายพันธุ์ที่กำหนด ซึ่งในการเพิ่มหรือลด ต้องเพิ่มหรือลดทีละน้อย โดยใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน แล้วทดสอบน้ำหนักไก่อีกครั้งหนึ่ง โดยปกติจะต้องมีการทดสอบน้ำหนักของไก่แต่ละสัปดาห์ เพื่อปรับน้ำหนักไก่ในฝูงให้อยู่ในระดับมาตรฐานตลอดการควบคุม

2.การควบคุมอาหารโดยให้อาหารที่มีเยื่อใยสูง (High Fiber Ration) โดยวิธีนี้จะมีโปรตีนประมาณไม่เกิน 13% และพลังงานค่อนข้างต่ำ คือ ประมาณ 1,750-1,975 แคลอรี่ (ME) ต่อกิโลกรัม อาหารที่มีเยื่อใยสูง ลักษณะของอาหารทำให้ไก่ไม่อยากกิน หรือในบางครั้งลักษณะของอาหารที่มีเยื่อใยสูงไก่อาจจะกินเพิ่มขึ้น เพื่อให้โปรตีนและพลังงานตามความต้องการของไก่

3.โดยการให้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ และพวกกรดอะมิโนไม่สมดุลย์ (Low Proteib and Amino Aeid Imbalanded Diete) อาหารประเภทนี้จะมีโปรตีนประมาณ 9-10 % และจะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายของไก่อย่างน้อย 1 ชนิด ทำให้ชะลอความเป็นสาวของไก่ให้ช้าลงได้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลดีกับประเทศในเขตหนาว ส่วนประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน มักเกิดผลเสียมากกว่า

6.ควบคุมปริมาณการกินอาหาร
6.ควบคุมปริมาณการกินอาหาร

การให้อาหารและน้ำไก่ไข่

สำหรับขั้นตอนการบริหารจัดการฟาร์มไก่ของ “โคราชไบโอฟาร์ม” โดยเมื่อได้ลูกไก่มาแล้ว ระยะของการกกไก่จะใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ต่อจากนั้นก็จะทำวัคซีนนิวคาสเซิล ทำทุกตัวเวียนกันจนครบ โดยมีทีมงานที่คอยช่วยดูแลบริหารจัดการในฟาร์มฯ ช่วยกันประมาณ 10 ชีวิต ส่วนเรื่องอาหารก็ให้ตามประเภทไก่ และให้ตามเบอร์ เช่น เบอร์ 1 ให้ไก่เล็ก และอาหารเบอร์ 3 จะให้ไก่ที่โตแล้ว เป็นต้น ในส่วนการให้ยาก็ตามโปรแกรมของบริษัทฯ คอนแทรคจัดมาให้ ไม่มีการใช้ไคโตซาน และจะมีทีมหมอเข้ามาตรวจเช็คตามตารางการเลี้ยงดู

“ที่โคราชไบโอฟาร์ม เราเน้นเรื่องระบบฟาร์มปิดที่ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จะไม่ให้คนนอกเข้า หรือน้อยครั้งเท่านั้น ยกตัวอย่าง เมื่อถึงระยะจับไก่ส่งฟาร์มแห่งอื่น เราพยายามใช้เวลาจับให้ได้ไม่เกิน 3 วัน ต้องจับให้เสร็จ เพื่อป้องกันเชื้อจากบุคคลภายนอก เพราะเรื่องสภาพอากาศเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยในโรงเรือนตั้งอุณหภูมิฟาร์มไว้ที่ 29 องศาเซลเซียส เป็นค่ามาตรฐานและเหมาะสม ส่งผลให้ไก่อารมณ์ดี กินได้เยอะ และเจริญเติบโตได้ดี

หลังจากขั้นตอนการทยอยจับไก่จนเสร็จเรียบร้อยจะทำการพักเล้าไว้ประมาณ 23 วัน เพื่อเข้าสู่กระบวนการทำความสะอาดเล้า และฆ่าเชื้อ ส่วนกิจวัตรประจำวันในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจะมีคนงานเข้าไปให้อาหารไก่ แล้วเริ่มทยอยทำวัคซีน จนถึงประมาณ 4 โมงเย็น ระบบไฟส่องสว่างในฟาร์มจะปิดอัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัย และให้ไก่ได้กินอิ่ม นอนหลับ และพักผ่อนได้เต็มที่” คุณภณิตากล่าวเสริม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้านการบริหารจัดการฟาร์มอื่นๆ เช่น แหล่งน้ำที่ให้ไก่กิน โดย “โคราชไบโอฟาร์ม” ได้ทำการขุดเจาะบ่อบาดาลสูบน้ำเข้าโรงเรือนเลี้ยงไก่ ซึ่งน้ำที่ให้ไก่กินได้ทำการส่งตรวจวัดค่ามาตรฐานเรียบร้อยแล้วจากทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข) ซึ่งเรื่องน้ำให้ไก่กินก็มีผลเช่นกัน หากน้ำมีความเค็มมากเกินไปจะส่งผลกระทบให้ไก่ไม่กินอาหาร หรือกินได้น้อยลง มีผลต่อการเจริญเติบโต และรายได้ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง

7.เตรียมลงไก่
7.เตรียมลงไก่

เลี้ยงไก่พรีเมี่ยม ส่งขาย ยกระดับฟาร์ม..เพิ่มมูลค่า

นอกจากจะ เลี้ยงไก่ไข่ ไก่รุ่น ไก่สาว แล้ว ปัจจุบัน “โคราชไบโอฟาร์ม” ยังมีโรงเรือนเลี้ยงไก่
พรีเมี่ยมอีกด้วย กล่าวคือ คัดไก่ที่มีสเป็คคุณภาพมากขึ้น แยกเล้าเลี้ยง โดยปัจจุบันเลี้ยงประมาณ 47,000 ตัว เพิ่งจะเลี้ยงผ่านไปได้รอบเดียว ซึ่งการดูแลต้องดูแลพิเศษ ควบคุมอาหารการกินให้ได้ตามกำหนด รวมทั้งระบบฟาร์มปิดที่ต้องสะอาด อุณหภูมิต้องได้มาตรฐาน

คุณภณิตาเปิดเผยว่า ความยากของการเลี้ยงไก่พรีเมี่ยม คือ ต้องอย่าปล่อยให้ไก่ป่วย เพราะไม่สามารถให้ไก่กินยาได้ (ให้ยาได้บางกรณี และต้องได้รับคำปรึกษาจากหมอเท่านั้น) แต่วัคซีนสามารถทำได้ หรือแม้แต่เรื่องของอาหารต้องเป็นอาหารปลอดยาที่บริษัทคอนแทรคส่งมาให้เท่านั้น ในส่วนระยะเวลาการเลี้ยง 3 เดือน หรือประมาณ 105 วัน ใกล้เคียงกับการเลี้ยงไก่สาว และน้ำหนักที่ต้องการต้องทำให้ได้ 1.4 กก. เช่นกัน ทั้งนี้จะมีการสุ่มตรวจเช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่สาว

8.ลูกเจี๊ยบ
8.ลูกเจี๊ยบ

ขอขอบคุณ

“โคราชไบโอฟาร์ม” 125 ม.5 ต.หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ 36220 โทร.084-167-6805