3 เสือธุรกิจสุกร จับมือภาคีสู้วิกฤติ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพราะไวรัส ASF ที่รุนแรง และโลกยังไม่มี “วัคซีน” เจ๋งๆ หยุดมันได้ ทำให้ “เนื้อหมู” ไม่เพียงพอต่อผู้บริโภค

มันเป็นสงครามเชื้อโรค ที่ผู้ชนะไร้ตัวตน ให้ “คน” ต้องใช้มันสมอง เพื่อผลิตวัคซีนหรือยาฆ่า ASF ให้สำเร็จ จึงเป็น “ภารกิจ” ของสัตวแพทย์ และ บุคลากร ของกรมปศุสัตว์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1.ธุรกิจสุกร1

การเลี้ยงหมู

ขณะเดียวกันคนในวงการสุกรก็เปิด “แนวรบ” กับ ASF หลายรูปแบบ เช่น ธุรกิจสุกร อย่างมีกลยุทธ์

1.จัดรูปแบบธุรกิจออกเป็นบริษัท ได้แก่ บริษัท มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม จำกัด บริษัท เค.ซี.ยู กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด โดยมีผู้บริหารที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรับผิดชอบแต่ละบริษัท ส่วน “เฮียวุธ” มอบนโยบายเป็นหลัก 2. จัดตั้งเกษตรกร 18 ราย เป็น  “ลูกเล้า” ทำหน้าที่เลี้ยงสุกรให้ได้คุณภาพ และ 3. จับมือกับ “ภาคี ธุรกิจสุกร” ทั้ง อาหารสัตว์ ยาสัตว์ และ โรงฆ่า ทำธุรกิจร่วมกันแบบวินๆ

ต้องยอมรับว่า คุณจักราวุธ หรือ “เฮียวุธ” ทายาทสุกรกว่า 40 ปี ย่อมมีทักษะสูงในการเลี้ยงสุกรขุน เมื่อสารพัดโรครุมเร้าชาวหมู ทำให้เขาต้องพลิกแพลงรูปแบบธุรกิจ และรูปแบบการเลี้ยง ผลิตเครื่องมือป้องกัน และกำจัดพาหะต่างๆ รวมทั้งคนที่เกี่ยวข้อง พูดง่ายๆ ในกระบวนการเลี้ยงสุกรทั้งระบบต้องปลอดเชื้อ ASF 100%

ยุทธการนี้เป็นไปด้วยความเข้มงวด-เข้มข้น ภายใต้ “แม่ทัพ” ที่เข้มแข็งแต่ละฟาร์ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป้าหมาย คือ ชัยชนะทางธุรกิจ มี “ผลิตผล” ทั้ง แม่พันธุ์ ผลิตลูกสุกรขุน ในอนาคต ปัจจุบันมีการผลิตสุกรขุนสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ยกตัวอย่าง ค่าย “มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม” นำโดยแม่ทัพนาม จักราวุธ มั่นซื่อตรงดี หรือ “เฮียวุธ” วันนี้ประกาศเดินหน้าธุรกิจด้วยความมั่นใจ เพราะได้วางแผนสุกรให้รอดและมีกำไร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า

เรื่องนี้ คุณชวันรัตน์ พีรอมรพัฒน์  กรรมการบริหาร บริษัท เคซียู กรุ๊ป จำกัด  และ บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด เปิดเผยรูปแบบการบริหารว่า คุณจักราวุธถือหุ้น บจก.มั่นซื่อตรงดี 100% และเป็นหุ้นใหญ่บริษัทลูกทั้ง 2 แห่ง แต่ได้ให้ “อำนาจบริหาร” แก่ผู้บริหารเต็มที่

2.นายจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี กรรมการบริหาร บริษัท มั่นซื่อดี กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ
2.นายจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี กรรมการบริหาร บริษัท มั่นซื่อดี กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู

มั่นซื่อตรงดี ทำหน้าที่เลี้ยงหมูขุนอยู่ในวงจร 150,000-200,000 ตัว แต่ บจก.เค.ซี.ยู กรุ๊ป จะทำหน้าที่ผลิตหมูขุนเสริมด้วย ฟาร์ม 3 แห่ง ผลผลิต 20,000 ตัว บางฟาร์ม เช่น ที่ อ.เนินขาม จ.ชัยนาท 51 ไร่ 10 โรงเรือน กว้าง 21 เมตร ยาว 72 เมตร ความสามารถเลี้ยงสุกรขุนได้หลังละ 1,000 ตัว ฟาร์มที่ 2 อยู่นครปฐม เป็นฟาร์มเช่าเลี้ยงหมูขุนประมาณ 5,000 ตัว และฟาร์มที่ 3 เป็นสาขาของบริษัทอยู่ที่ ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เนื้อที่ 31 ไร่ โรงเรือนสุกรขุน 6 หลัง เป้าหมายเลี้ยงหมูขุน 5,000 ตัว รวมแล้ว บจก.เค.ซี.ยู กรุ๊ป ผลิตหมูขุนทั้ง 3 ฟาร์ม 20,000 ตัว

เพื่อความไม่ประมาท ผู้บริหารมองเห็นว่าจะต้องส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงด้วยเพื่อสร้างความมั่นคง ให้เกษตรกรมีรายได้  เกษตรกรมีโรงเรือน และสภาพแวดล้อม  ที่ผ่านการคัดเลือกจากทางบริษัท  แต่ขาดเงินทุนหมุนเวียน  บริษัท  มิสเตอร์พอร์ค จะเข้าไปสนับสนุน ทางด้านการเลี้ยงสุกรขุน ภายใต้การแนะนำของทีมงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเลี้ยง

ปรากฏว่าคุณจักราวุธเห็นด้วย จึงจัดตั้ง บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยง โดยมีหลักเกณฑ์ว่าเกษตรกรต้องมีโรงเรือนมาตรฐานที่บริษัทต้องการ และต้องมี “แหล่งน้ำบาดาล” เพื่อนำน้ำมาบำบัดก่อนใช้ ปรากฏว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมกับมิสเตอร์พอร์ค 18 ราย มีหมูขุนในวงจร 30,000 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.คุณชวันรัตน์ พีรอมรพัฒน์
3.คุณชวันรัตน์ พีรอมรพัฒน์ กรรมการบริหารบริษัท เคซียู กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงหมู

ดังนั้นปีนี้ 3 บริษัท มีสุกรขุน 2 แสนตัว ต้องจัดซื้อลูกสุกรเข้าขุน 4 หมื่นตัว/เดือน ภายในระยะ 5 เดือน ซึ่งเป็นงานท้าทายมากๆ

เนื่องจากโครงสร้างอุตสาหกรรมสุกรของไทย เคยมี “แม่พันธุ์” ในระบบ 1.2 ล้านตัว สามารถผลิตหมูขุน 21 ล้านตัว/ปี บริโภคในประเทศ 20 ล้านตัว ส่วนที่เกินก็ต้องระบายไปประเทศเพื่อนบ้าน แต่เมื่อเกิดโรคระบาดปี 63-64 ทำให้แม่สุกรพันธุ์ในระบบเหลือประมาณ 5 แสนตัว ผลิตสุกรขุนได้จริงๆ เพียง 12 ล้านตัว แต่บริโภค 20 ล้านตัว หมูขุนจึงหายไปจากระบบ 8 ล้านตัว/ปี ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน ราคาหมูเนื้อแดงสะโพก กก.ละ 203 บาท หมูสามชั้น 260 บาท เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปี ถ้าจะกลับมาเลี้ยงใหม่ คุณหมอดำมองว่าไม่หมูเหมือนอดีต เพราะธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ เพราะมีความเสี่ยงสูงนั่นเอง

จะเหลือกลุ่มที่แข็งแรง คือ กลุ่มที่ทำครบวงจร และเข้าถึงแหล่งทุน

สำหรับฟาร์มขนาดกลางไม่ครบวงจร เมื่อเจอโรคระบาดจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ก็ลังเลเอาเงินทุนมาจากไหน แม้ธนาคารสนับสนุนก็ยังไม่มั่นใจว่าเลี้ยงแล้วจะรอดมั๊ย อีกอย่าง “ต้นทุน” ในการเลี้ยงก็สูงขึ้นมาก เพราะ “รูปแบบ” การเลี้ยงจะเป็น “แยกตามลำดับท้อง” เหมือนฟาร์มไก่เนื้อที่ดำเนินการเป็น เลี้ยงเป็น flock เข้าหมด จับออกหมด ซึ่งใช้ทุนมาก การลงทุนผลิต “แม่สุกร” อาจถึง 1 แสน-1.5 แสนบาท/แม่ แม้แต่ “สุกรขุน” ต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 6,000 บาท/ตัว โดยเฉพาะฟาร์มใหม่ ดังนั้นถ้าเลี้ยง 10,000 ตัว ต้องลงทุน 60 ล้านบาท ไม่รวมทุนหมุนเวียน

4.โรงเรือนหมู
4.โรงเรือนหมู

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายหมู

การที่ 3 บริษัทวางแผนการผลิตหมูขุนในวงจร 1.5-2 แสนตัว จะต้องมีผู้ซื้อชัดเจน เพื่อให้เกิดวงจรธุรกิจ ตั้งแต่ผู้ผลิตลูกหมู ผู้เลี้ยงหมูขุน โรงฆ่า และ เขียง เป็นต้น ขณะนี้ทางบริษัทได้ใช้ลูกหมูของบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน ซึ่งคุณหมอดำให้ความเห็นว่า “กลุ่มของเราไม่มีแม่พันธุ์ เราจะดำเนินธุรกิจอย่างไร วิธีการก็คือจับมือซึ่งกันและกัน เปิดเผยข้อมูลว่าลูกหมูทำวัคซีนอะไร ตรวจโรคหรือไม่ เพื่อจะส่งให้กลุ่มธุรกิจเรา การเดินไปเดี่ยวๆ ไปไม่รอด ต้องเป็นแบบคลัสเตอร์ ต้องจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ มีการเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา”

ด้วยเหตุนี้ปลายปี “เฮียวุธ” จะลงทุนฟาร์มแม่พันธุ์ประมาณ 5,000 แม่ เพื่อจัดสรรลูกสุกรให้มิสเตอร์พอร์ค เดือนละ 3,000 ตัว นอกจากนี้เฮียวุธได้ลงทุนที่ดินและโรงเรือน ส่วนเบทาโกรลงทุนอุปกรณ์ โรงคลอด และ แม่พันธุ์ 5,000 ตัว เพื่อผลิตลูกหมูเดือนละ 10,000 ตัว เฮียวุธได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 12%

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เอาจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่าย มาลงทุนร่วมกัน เพื่อผลิตลูกหมูเดือนละ 10,000 ตัว ในยุคที่ตลาดต้องการลูกหมู คือ กลยุทธ์ที่แหลมคม

ไม่ต่ำกว่า 2 ปี ที่ 3 บริษัท ตะลุยธุรกิจสุกร ซึ่งเป็นช่วงเวลาทุกคนในวงการอ่อนแอทั้งหมด แต่มันคือ “โอกาส”ที่เฮียวุธและผู้บริหารรีบไขว่คว้าเหมือนซื้อหุ้นในช่วงที่เป็นตัวแดง แต่เป็นหุ้นที่มีศักยภาพ “ถ้าทุกอย่างดีหมด เราไม่สามารถเกิดได้เลย แข่งกับบริษัทใหญ่ไม่ได้ แต่วันนี้เราทำได้ เพราะเราอาศัยความคล่องตัว ไม่ได้แข่งกับบริษัทใหญ่ ทำเฉพาะส่วนของเราๆ ไม่ได้ผลิตแล้วเข้าไปหาตลาด แต่เราดูทิศทางตลาดแล้วกลับมาคำนวณเรื่องการผลิตว่าจะเลี้ยงเท่าไหร่” คุณหมอดำให้ความเห็น

การกระจายบทบาทการเลี้ยงไปที่ลูกเล้า 18 ราย ด้วยการซัพพอร์ตลูกหมู และปัจจัยการเลี้ยงให้ โดยมี 2 ทางเลือกให้เขา ได้แก่ ประกันราคา ถ้ากลัวเรื่องความเสี่ยงกับ รับจ้างเลี้ยง ผลตอบแทนกก.ละ 7 บาท ภายใต้แนวคิดทำอย่างไรให้มีรายรับ 600-900 บาท/ตัว หากเลี้ยง 2,000 ตัว 5 เดือน มีรายได้ 1.8 ล้านบาท และแต่ละรายกระจายไปหลายจังหวัด เช่น 18 ราย ที่ลงทุนเลี้ยงอยู่ใน ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และ เพชรบุรี จะกระจายความเสี่ยงในเรื่องโรคระบาด และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจำกัดการเลี้ยงไว้ที่ 30,000 ตัว ในวงจร แต่เมื่อมีลูกหมูคุณภาพมากขึ้น ก็เพิ่มการเลี้ยงได้

5.คุณอธิเมศร์ พีรอมรพัฒน์ ที่ปรึกษาบริษัท เคซียู กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด
5.คุณอธิเมศร์ พีรอมรพัฒน์ ที่ปรึกษาบริษัท เคซียู กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด

แนวโน้มในอนาคต

ในอนาคต ซึ่งลูกหมูแต่ละตัวที่จะซื้อมาเลี้ยงจะถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาคุณภาพนั่นเอง

การเลี้ยง “หมูขุน” ต้องมีตลาดภายในรองรับ ด้วยเหตุนี้จึงได้จับมือกับโรงฆ่ามาตรฐาน วีซีมีท ราชบุรี กำลังการผลิต 800 ตัว/วัน และ เฟรชมีท นครปฐม 500 ตัว/วัน ซึ่งทั้ง 2 โรงฆ่า มีตลาดหรือผู้บริโภคพรีเมี่ยม ทั้ง รายใหญ่ รายย่อย เช่น แมคโดนัลด์ และ ซิสเลอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตลาดเจ้นก ปริมาณการใช้สุกร 400 ตัว/วัน ซึ่งทำธุรกิจครบทั้งวงจร มี shop  เป็นของตัวเองด้วย

สรุปก็คือ “เฮียวุธ” แม่ทัพใหญ่และขุนพลบัญชาการรบด้วยอาวุธครบมือ ทั้ง ผู้ผลิตลูกสุกร ผู้ผลิตยาและอาหาร ฟาร์มสุกรขุน และ โรงฆ่า ในสถานการณ์ที่ “ยักษ์ใหญ่” อืดอาด โอกาสจึงเป็นของพวกเขา “ปลาเล็ก” กินไว แม้ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น แต่ดีมานด์ก็สูงขึ้นตามไปด้วย จึงเห็น “กำไร” ในธุรกิจชัดเจน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เราทำธุรกิจแบบหมูอ้วน ไม่ทำธุรกิจแบบช้างผอม คำว่าหมูอ้วนคือสภาพคล่องหรือกำเงินสด และคำว่าช้างผอมคือใหญ่โตเฉพาะโครงสร้างธุรกิจ ช้างผอมความคล่องตัวทางด้านการบริหารอาจจะขยับตัวได้ช้ากว่านิดหน่อย แต่ถ้าช้างผอมรักษาสภาพ Cashflow ธุรกิจก็ดำเนินต่อไปได้ เพราะสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ มีขึ้น มีลง ถ้าจังหวะลงทุนที่เหมาะสม หักลบกลบหนี้ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการต่อไปได้” คุณหมอดำให้ปรัชญาการทำธุรกิจสุกร ที่วันนี้การดำเนินธุรกิจจะดำเนินต่อไปต้องมีวินัยรักษาสภาพคล่องทางการเงินอย่างเข้มงวด

สนใจร่วมเป็นภาคีธุรกิจสุกร ติดต่อ บริษัท มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม จำกัด, บริษัท เคซีกรุ๊ป จำกัด และ บริษัท มิสเตอร์พอร์ค จำกัด เบอร์โทร.083-063-2826

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 351