ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ รื้อไร่อ้อย มาปลูก แปรรูปขาย ได้ราคาแพงกว่าอ้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

เมื่อกระแสข้าวเพื่อสุขภาพ อย่าง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กำลังมาแรงในตอนนี้ ทำให้เกษตรกรเริ่มมาเปลี่ยนทำข้าวตัวนี้เพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคหันมาทานข้าวไรซ์เบอร์รี่กันแพร่หลาย แต่เกษตรกรบางรายหันมาปลูกข้าวชนิดนี้อาจมีเหตุผลหลายด้าน ดั่งเช่น คุณขวัญชัย ภัทรวารินทร์ เกษตรกรอีกรายที่ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

1.คุณขวัญชัย-ภัทรวารินทร์
1.คุณขวัญชัย-ภัทรวารินทร์

ก่อนที่เริ่มมา ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ เขาปลูกอ้อยในพื้นที่ของตัวเองทั้งหมด 400 กว่าไร่ แต่ที่ต้องปลูกข้าวด้วยเหตุที่ว่าพื้นที่แปลงอ้อยส่วนหนึ่งเป็นดินเค็ม ซึ่งอ้อยจะไม่ชอบดินเค็ม ทำให้ผลผลิตได้น้อย ไม่ตรงกับความต้องการ จึงรื้อแปลงอ้อยทั้งหมด 30 ไร่ เพื่อทำนา ซึ่งเขาคิดว่า “ถ้าเปลี่ยนดินเค็มมาทำนาน่าจะดีกว่า”

เมื่อคิดเช่นนั้นจึงได้เอาข้าวไรซ์เบอร์รี่มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน เมื่อปี 2554 ซึ่งได้พันธุ์ข้าวมา 20 กิโลกรัม โดยซื้อกิโลกรัมละ 100 บาท เขาจึงมาขยายพันธุ์ได้ทั้งหมด 2 ไร่ ได้ข้าวทั้งหมด 40 ถัง มาทำข้าวแบบอินทรีย์ทั้งหมด แต่ช่วงแรกต้องเอาน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่ที่สูงกว่า จึงอาจมีสารปนเปื้อนที่ลอยมากับน้ำ ต่อมาเขาจึงใช้น้ำจากชลประทานส่งเข้านาโดยตรง ณ ตอนนี้พื้นที่ทำนาของคุณขวัญชัยมีทั้งหมด 25 ไร่ ที่ผ่านมาได้ข้าวไร่ละประมาณ 40 ถัง

ข้าวที่ปลูก คุณขวัญชัยปลูกด้วยนาดำ โดยจ้างให้ทางเฮียใช้พันธุ์ข้าวเพาะเมล็ดให้ คิดราคาถาดละ 12 บาท แต่ใช้พันธุ์ของตัวเอง ใน 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ทั้งหมด 14 กิโลกรัม คิดเป็นถาด คือ 1,700 ถาด คิดค่าดำไร่ละ 800 บาท ซึ่งเปอร์เซ็นต์การงอกถือว่าค่อนข้างดี แต่การทำนาของเขายังเป็นการจ้างทั้งหมด เนื่องจากเขายังไม่มีประสบการณ์ในการทำนา จึงต้องเข้าไปเรียนรู้กับเกษตรกรโดยตรง

2.ขั้นตอนการผสมปุ๋ยอินทรีย์
2.ขั้นตอนการผสมปุ๋ยอินทรีย์

การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงในแปลงนาข้าว

ส่วนการดูแลรักษาเรื่องโรคและแมลง เขาจะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและน้ำส้มควันไม้ ในช่วงแรกเขาต้องซื้อสารต่างๆ มาใช้ ต่อมาเริ่มศึกษาวิธีการทำด้วยตัวเองทั้งหมด ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีปัญหาในเรื่องของการไม่ต้านทานโรค ซึ่งจะอ่อนแอในเรื่องของโรคถอดฝักดาบ ทำให้คุณขวัญชัยต้องจ้างคนงานมากำจัด แต่การกำจัดแต่ละครั้งต้องใช้คนงานครั้งละ 10 คน โดยการจ้างเป็นรายวัน วันละ 300 บาท แต่ไม่ได้จ้างประจำ เพียงแค่หมุนเวียนกันไปเท่านั้น

ปัญหาอีกข้อ คือ ข้าวจะกลับสู่พันธุ์เดิม ในช่วงที่ขยายรอบแรกยังไม่เป็นอะไร แต่พอรอบต่อไปข้าวจะกลับสู่พันธุ์เดิม “ในอนาคตถ้ามีการพัฒนาจะคัดเมล็ดพันธุ์จากรวงข้าวที่สมบูรณ์ที่สุดของกอนั้นมาขยาย เมื่อเราขยายได้พันธุ์แล้วเราจะเอาเมล็ดพันธุ์นั้นขยายในแปลงต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราได้ข้าวที่สมบูรณ์ เพราะเราขยายมา 3-4 ครั้งแล้ว ทำไมมันมีข้าวปนมา แต่ทำครั้งแรกมันไม่มีเป็นสีม่วงล้วนเลย” คุณขวัญชัยกล่าวถึงการคัดเมล็ดพันธุ์ในอนาคต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนเรื่องของการดูแลแปลงข้าวจะจ้างคนงานมาดูแลทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการเก็บเกี่ยว ส่วนปุ๋ยเขาจะไปซื้อปุ๋ยอินทรีย์ที่ชาวบ้านทำขึ้น ซึ่งจะขายอยู่ในเขต อ.อู่ทอง

3.แปลงข้าวไรซ์เบอร์รี่กำลังฟื้นตัวจากน้ำท่วม
3.แปลงข้าวไรซ์เบอร์รี่กำลังฟื้นตัวจากน้ำท่วม

ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกข้าว

คุณขวัญชัยเจออุปสรรคในการทำข้าวไรซ์เบอร์รี่เรื่องของน้ำท่วม หากท่วมขึ้นมา คือ ไม่มีทางป้องกันได้เลย สาเหตุที่น้ำท่วมแปลงนาเนื่องจากพื้นที่นาอยู่ในพื้นที่ต่ำ มวลน้ำจากที่สูงได้ไหลเข้ามาท่วมแปลงนา แต่ดีที่ว่าข้าวในแปลงนาไม่เกิดความเสียหาย

ปัญหาอีกตัว คือ เรื่องดินเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาทำให้ข้าวได้ผลผลิตต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ทำให้คุณขวัญชัยต้องใช้วิธีการ คือ ทำข้าวปีละครั้ง จะปลูกข้าวในช่วงเดือนกันยายน เกี่ยวเดือนธันวาคม หลังจากการเก็บเกี่ยวจะปล่อยดิน ไม่ทำอะไรเพื่อให้ดินได้พักฟื้น

4.ผลผลิตจากการ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่
4.ผลผลิตจากการ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่
ข้าวไรซ์เบอร์รี่-แบรนด์-ไร่ภาไพศาล
ข้าวไรซ์เบอร์รี่-แบรนด์-ไร่ภาไพศาล

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายข้าวไรซ์เบอร์รี่

ในการแปรรูปออกจำหน่ายเขาได้ใช้โลโก้ “ไร่ภาไพศาล” ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้วางตลาดที่ไหน แต่เป็นการเริ่มต้นเท่านั้น เขาเคยนำข้าวไปเปิดตัวครั้งแรกที่ห้างโรบินสัน ที่จังหวัดสุพรรณบุรี จากการเปิดตัวครั้งแรกการตอบรับค่อนข้างดี แต่ไม่ได้ทำตลาดต่อ เนื่องจากยังไม่ได้ไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ เพราะอาชีพของหลักของเขาเอง คือ ปลูกอ้อย ทำให้เขาชะงักเรื่องของข้าวเอาไว้ก่อนทำให้ไม่มีความต่อเนื่อง

อีกไม่นานคุณขวัญชัยจะทำข้าวไรซ์เบอร์รี่อย่างเอาจริงเอาจัง ในตอนนี้เขากำลังจะทำเองเข้าจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ในเร็วๆ นี้จะเห็นข้าวไรซ์เบอร์รี่แบรนด์ ไร่ภาไพศาล วางจำหน่ายในตลาดอย่างแน่นอน

สาเหตุที่แปรรูปข้าวจำหน่าย คุณขวัญชัยกล่าวว่า “ข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาสูงและเป็นข้าวที่กำลังนิยม ทำให้เขามีแรงบันดาลใจในการแปรรูปขายตรงนี้เพื่อผู้ที่รักสุขภาพเป็นหลัก เราทำสิ่งดีๆมาสู่ผู้บริโภค เพื่อต้องการให้คนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ความตั้งใจของผมที่ตั้งปณิธานไว้ คือ ผมจะไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นน้ำก็ตาม ผมจะตรวจสอบหรือพิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำข้าวปลอดสารเคมีจริงๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.คุณขวัญชัยและภรรยากับแปลงนาข้าวไรซ์เบอร์รี่
5.คุณขวัญชัยและภรรยากับแปลงนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

แนวโน้มในอนาคต

คุณขวัญชัยได้มองในเรื่องการตลาดในอนาคตว่า “หลังจากที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว ผมจะทำให้เป็นแบบครัวเรือน ถ้าเป็นไปได้ก็มีแนวโน้มในการเป็นสินค้าโอทอป เพราะเรามีสถานที่อยู่หน้าบ้าน ซึ่งในส่วนนี้เราต้องดูกำลังการผลิตเพื่อที่จะสามารถบอกได้ว่าตลาดในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหนบ้าง”

คุณขวัญชัยบอกว่าจะขยายขึ้นแน่นอน แต่ค่อยๆ ขยายจากจุดเล็กๆ แต่ยังไม่เป็นจุดใหญ่ๆ เนื่องจากข้าวตัวนี้จะมีเฉพาะผู้ที่รักสุขภาพ หากตลาดคนรักสุขภาพขยายตัวมากขึ้น เขาวางแผนว่าจะขยายพื้นที่ปลูกและจะพัฒนาพันธุ์ให้ดีขึ้น ส่วนเรื่องการขยายพื้นที่ปลูกในอนาคตสำหรับคุณขวัญชัยเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะอุปสรรคในการปลูกมีมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเมล็ดพันธุ์ ความอ่อนแอต่อโรคถอดฝักดาบ ปัญหาต่างๆ เขาต้องแก้ไขให้ได้ดีเสียก่อน

สุดท้ายนี้คุณขวัญชัยได้ฝากไว้ว่า “สำหรับผมผ่านอุปสรรคมามาก กว่าจะดูแลให้ข้าวออกมาเป็นผลผลิตได้ หลายคนอาจเจอปัญหาเช่นเดียวกับผม แต่ถ้าอดทนสู้กับมันจนเห็นผลผลิต เห็นผลลัพธ์ของมัน ผมเชื่อว่าทุกคนจะชอบและรักที่จะทำมัน”

ท่านใดสนใจข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.08-1867-2243