การปลูกมะพร้าวกะทิ คุณภาพและปริมาณได้ตามที่ตลาดต้องการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันวงการอาหารในเมืองไทยนั้นถือว่าเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเลยก็ว่าได้ เพราะว่าอาหารไทยถือได้ว่าเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์ และรสชาติที่เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว ทำให้หลายๆ คนต่างติดใจในรสชาติของอาหารไทยเป็นอย่างมากเลยทีเดียว การปลูกมะพร้าวกะทิ

ยิ่งถ้าเป็นอาหารประเภทแกง หรืออาหารที่ต้องใช้กะทิเป็นส่วนผสมนั้น ก็ถือว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่สำหรับต่างชาติเลยทีเดียว ซึ่งครั้งนี้เราก็จะมาทำความรู้จักกับมะพร้าวกะทิกันว่ามีหน้าตาและวิธีการปลูกสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

1.มะพร้าวกะทิ สุดยอดผลผลิตที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้ดียิ่งขึ้น
1.มะพร้าวกะทิ สุดยอดผลผลิตที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้ดียิ่งขึ้น

จุดเด่นของกะทิ 

กะทินั้นถือว่าเป็นเครื่องปรุงที่มีความสำคัญในอาหารประเภทแกงในเมืองไทยเป็นอย่างมาก ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เพิ่มความหวานมันให้ตัวแกงได้เป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้งน้ำข้น และอีกหลายชนิด ซึ่งถือได้ว่ากะทิก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวันเลยทีเดียว นอกจากวิธีการดูแลและปลูกนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ถือว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่เราต้องมาทำความรู้จักให้มากขึ้นกันดีกว่า

เรื่องราวของกะทินั้นยังคงเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมาก ถ้านับในต่างประเทศที่มีการนำกะทิที่ผลิตจากประเทศไทยไปวางจำหน่ายนั้นถือว่าเป็นอาหารที่มีราคาสูง แต่อย่างที่บอกกะทิจะมีเอกลักษณ์ของรสชาติเฉพาะตัว ทำให้หลายๆ คนติดใจในรสชาตินี้ แต่อย่างว่าการใส่กะทิในการประกอบอาหารนั้นจะต้องบริโภคให้หมดภายใน 1 วัน เพราะว่าเสี่ยงที่อาหารจะเสียได้ แต่ถึงอย่างไรการนำกะทิมาใช้ในการประกอบอาหารก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอยู่นั่นเอง

2.มะพร้าวกะทิสุดยอดผลผลิตของเกษตรกรไทย
2.มะพร้าวกะทิสุดยอดผลผลิตของเกษตรกรไทย

การปลูกมะพร้าวกะทิ

มะพร้าวกะทินั้นถือว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่แตกแยกออกมาจากมะพร้าวน้ำหอมที่สามารถนำมาดื่มได้ แต่มะพร้าวกะทินั้นนอกจากจะใช้ในการประกอบอาหารแล้ว ยังสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมะพร้าวบริสุทธิ์ใช้ในการดูแลผิวพรรณได้เป็นอย่างดีด้วย ถือว่าเป็นพืชที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งวิธีการปลูกนั้นก็สามารถทำได้ง่าย และดูแลได้ไม่ยากด้วย

ซึ่งมะพร้าวแกงหรือมะพร้าวกะทินั้นถือได้ว่าเป็นมะพร้าวที่สามารถจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ทำการปลูกได้เป็นอย่างดี ไม่แพ้มะพร้าวน้ำหอมเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถปลูกได้แทบทุกฤดูกาลเลยทีเดียว เพราะเป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพอากาศได้ทุกรูปแบบเลย อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีอายุยืนยาวด้วย ยิ่งถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจะถือว่าปลูกครั้งเดียวก็คุ้มตลอดยาวนานเลยทีเดียว อีกทั้งยังถือได้ว่ามะพร้าวกะทินั้นเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลของปาล์ม ซึ่งมะพร้าวในเมืองไทยนั้นก็มีอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวแกง มะพร้าวกะทิ มะพร้าวตาล มะพร้าวน้ำหอม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีลำต้นที่เล็ก และขนาดผลที่เล็กและใกล้เคียงกันด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้มะพร้าวกะทินั้นก็ยังมีคุณประโยชน์ที่น่าสนใจด้วย ถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักกับมะพร้าวกะทิให้มากขึ้นกว่านี้กันดีกว่าว่ามีวิธีการปลูก การดูแล รวมไปถึงการตลาด ของมะพร้าวกะทินั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

ลักษณะทั่วไปของมะพร้าวกะทิ

โดยปกติแล้วลักษณะทั่วไปของมะพร้าวกะทิ ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ใบ ใบย่อย และรูปทรงภายนอกของผลเหมือนกับมะพร้าวทั่วไปเลยทีเดียว ถ้าเป็นลักษณะนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่จะเป็นเพียงภายในของผลเท่านั้น คือ ถ้าเป็นมะพร้าวกะทินั้นจะมีเนื้ออ่อน นิ่ม ฟู และคล้ายกับผิวมะกรูด ความหนานั้นจะประมาณ 2-3 เซนติเมตร รสชาติหวานมัน ภายในจะมีน้ำเล็กน้อยและเหนียวข้น

นอกจากนี้ยังได้มีการจำแนกและศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเนื้อมะพร้าวกะทิด้วย โดยมีการแบ่งผลผลิตของเนื้อมะพร้าวธรรมดาออกเป็น 3 ส่วน และมะพร้าวกะทิ 1 ส่วน ซึ่งลักษณะของเนื้อมะพร้าวกะทินั้นก็แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • เนื้อมะพร้าวกะทิแบบฟูเต็มกะลามะพร้าว และมีน้ำข้นเหนียวภายใน
  • เนื้อมะพร้าวกะทิที่ฟูปานกลาง และมีน้ำข้นเล็กน้อย
  • เนื้อมะพร้าวกะทิที่ฟูเล็กน้อย และมีน้ำใสภายใน

ซึ่งโดยปกติแล้วมะพร้าวกะทิทุกสายพันธุ์นั้นเวลาติดผลจะมีหนึ่งทะลาย ที่จะมีผลเป็นกะทิร่วมอยู่ด้วยประมาณ 1 ผล หรือเป็นกะทิได้มากที่สุดเลย คือ จะไม่เกิน 3 ผล ต่อหนึ่งทะลาย จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมมะพร้าวกะทิจึงมีราคาที่แพงกว่ามะพร้าวแกงทั่วไป เพราะโดยปกติแล้วมะพร้าวกะทินั้นจะมีสายพันธุ์เดียวเลย คือ สายพันธุ์ที่มีต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ซึ่งในบางครั้งโอกาสที่จะมีกะทิที่เกิดในต้นมะพร้าวนั้นจะเกิดประมาณ 2 กรณี คือ มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่เพียงต้นเดียวท่ามกลางมะพร้าวที่ให้ผลปกติ

ซึ่งการเกิดมะพร้าวกะทิได้นั้นจะต้องเกิดจากการผสมเกสรระหว่างตัวเมีย ตัวพี่กับตัวน้องภายในต้นเดียวกันด้วย หรืออีกกรณี คือ มะพร้าวกะทิที่ให้ผลกะทินั้นปลูกอยู่ด้วยกันหลายต้นในบริเวณเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ซึ่งการเกิดนั้นอาจจะเกิดจากการผสมข้ามต้นหรือภายในต้นเดียวกันก็ได้แต่คนละจั่น

ซึ่งทั้งหมดก็เป็นลักษณะของมะพร้าวกะทิข้างต้น ซึ่งข้อมูลในเชิงลึกนั้นก็ยังไม่มีลักษณะที่ชัดเจนมากนักอาจจะต้องสอบถามผู้รู้หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกทางด้วยเช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก ทนต่อสภาพอากาศได้ดี
3.ปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก ทนต่อสภาพอากาศได้ดี

การขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิ

สำหรับการขยายพันธุ์มะพร้าวกะทินั้นอาจจะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงหรือมีความชำนาญ แต่วิธีการที่เหมาะสมและอยากแนะนำเลยนั้นมีอยู่ประมาณ 2 วิธี คือ

เลือกผลที่ไม่ได้เป็นกะทิจากต้นที่เป็นกะทิ ซึ่งการใช้วิธีดังกล่าวนี้อาจจะมียีนที่เป็น AA หรือ Aa ก็ได้ เมื่อเพาะขึ้นมาจึงมีโอกาสที่ได้ต้นที่เป็นกะทิอยู่ประมาณร้อยละ 50 และเมื่อต้นที่เป็นกะทินั้นออกผลจะมีโอกาสที่ได้ผลที่เป็นกะทิอยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนี้นั้นจะสามารถเพาะได้ตั้งแต่เริ่มเพาะจนถึงตกผล จะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี

เทคนิคเพาะเลี้ยงแบบเอ็มบริโอ วิธีการนี้อาจจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย โดยใช้เอ็มบริโอของผลมะพร้าวกะทิมาเลี้ยงในวุ้นสภาพปลอดเชื้อ จากนั้นเอ็มบริโอของมะพร้าวก็จะเริ่มมีการพัฒนาขึ้น โดยเริ่มจากการสร้างราก ยอด ใบ และเมื่อเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่งก็จะสามารถนำออกไปปลูกได้ โดยการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงประมาณ 2-3 ปี แล้วค่อยนำออกไปปลูกในแปลงได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการเติบโตอีกประมาณ 5 ปี จึงจะเริ่มออกผล

ถึงแม้ว่าวิธีการขยายพันธุ์ของมะพร้าวกะทินั้นจะกินเวลานาน แต่การใช้วิธีการดังกล่าวทั้ง 2 วิธีนั้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนับจำนวนต้นและจำนวนของผลมะพร้าวได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตภายในประเทศได้ด้วย เพราะว่าปัจจุบันความต้องการของมะพร้าวกะทินั้นมีเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงถือว่าเป็นการพัฒนาและต่อยอดการเพาะเลี้ยงมะพร้าวกะทิให้มีความต้องการที่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

ซึ่งในการบริโภคนั้นอาจจะเป็นการบริโภคแบบสด หรือมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในรูปแบบของ วิตามิน ของทานเล่น ของหวาน หรือแม้แต่การนำไปบรรจุเป็นรูปแบบกระป๋อง หรือใส่ไว้ในขวดบรรจุภัณฑ์แบบสำเร็จรูปด้วยเช่นกัน

4.คุณภาพและปริมาณได้ตามที่ตลาดต้องการ
4.คุณภาพและปริมาณได้ตามที่ตลาดต้องการ

สภาพพื้นที่ปลูกมะพร้าวกะทิ

สำหรับการเริ่มต้นปลูกมะพร้าวกะทินั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องคัดเลือกพันธุ์ที่จะนำมาปลูกก่อน รวมไปถึงทำเลที่เหมาะสมในการปลูก เพราะว่ามะพร้าวกะทินั้นถึงแม้ว่าจะเป็นพืชที่สามารถเติบโตได้เป็นอย่างดีในสภาพอากาศต่างๆ  แต่การเลือกทำเลที่เหมาะสมนั้นก็จะช่วยทำให้มะพร้าวกะทินั้นสามารถให้ผลผลิตได้ดีและมีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สิ่งแรกใน การปลูกมะพร้าวกะทิ นั้น คือ ทำเล เพราะเป็นปัจจัยอันดับแรกที่จะเริ่มปลูกนั้น นอกจากทำเลแล้วการดูเรื่องสภาพดินก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะว่าดินที่เหมาะสมกับ การปลูกมะพร้าวกะทิ นั้นควรจะเป็นดินที่เป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ดินจะต้องอุ้มน้ำได้ดี แต่ถ้าดินเป็นดินเหนียวจะต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วยเช่นกัน สภาพของดินนั้นค่าดินควรเป็นกลาง หรือเป็นกรดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น pH ต้องอยู่ระหว่าง 6-7 และหน้าดินต้องมีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำในดินควรไม่ตื้นกว่า 2 เมตร และควรมีระยะห่างของต้นมะพร้าวระหว่างต้นประมาณ 7-8 เมตร ส่วนระหว่างแถวนั้นประมาณ 9 เมตร ซึ่งจะสามารถปลูกต้นมะพร้าวได้ประมาณ 22-25 ต้น ต่อไร่เลยทีเดียว

การเตรียมดินนั้น ก็คือ การขุดหลุมเพื่อเตรียมที่จะทำการปลูก ถ้าต้องการปลูกในช่วงหน้าแล้ง ขนาดของหลุมที่ขุดนั้นควรจะอยู่ที่ประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร และให้ทำการแยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก จากนั้นก็ให้ทำการตากหลุมที่ขุดไว้เรียบร้อยแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่านี้ แต่ถ้าช่วงที่ทำการตากหลุมมีปลวกก็ให้ทำการเผาเศษไม้ ใบไม้แห้ง หรือขยะ ในหลุมทิ้ง หรือาจจะใช้ยากันปลวกโรยไว้ก้นหลุมแทนการเผาก็ได้เช่นกัน

จากนั้นก็ใช้กาบมะพร้าวเป็นตัวรองก้นหลุมไว้ โดยวางกาบมะพร้าวให้ด้านที่เส้นใยนั้นหงายขึ้น วางซ้อนกันประมาณ 2-3 ชั้น เพื่อจะช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินได้ดี แต่ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวก็อาจจะใช้วัสดุอื่นมาทดแทนได้เช่นกัน

เมื่อทำการขุดหลุมและรองก้นหลุมเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการใส่ดินที่มีการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 1:7 รองก้นหลุมซ้ำอีกครั้ง ส่วนดินที่อยู่ด้านล่างก็ให้ผสมด้วยปุ๋ยร็อกฟอสเฟตประมาณหลุมละครึ่งกิโลกรัมและฟูราดาน 1 กระป๋องนม เพื่อเป็นการป้องกันปลวกกินผลพันธุ์มะพร้าว และค่อยเอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูกต่อไป เท่านี้ก็เสร็จสิ้นการเตรียมดินที่จะทำการปลูก และวิธีการเริ่มปลูกได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนนี้ยังไม่ได้มีการเริ่มลงต้นพันธุ์ เป็นเพียงวิธีการเริ่มจากเตรียมดิน เตรียมพื้นที่ และเตรียมปุ๋ย เท่านั้น เราจะมาเข้าสู่การลงต้นพันธุ์กันดีกว่า

5.การปลูกมะพร้าวกะทิ เพิ่มคุณค่าให้กับอาหาร หอม มัน
5.การปลูกมะพร้าวกะทิ เพิ่มคุณค่าให้กับอาหาร หอม มัน

การปลูกและบำรุงดูแลต้นมะพร้าว

การเริ่มต้นในการปลูกมะพร้าวทุกชนิดเลยนั้นส่วนใหญ่แล้วควรจะเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด โดยปกติแล้วก็จะเริ่มจากการขุดหลุมเล็กๆ ขนาดทำการผลมะพร้าว หรือขนาดประมาณ 50×50 จากนั้นก็ทำการคัดเลือกพันธุ์ที่จะนำมาปลูก โดยมาทำการตัดรากที่หักช้ำออก และใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาบริเวณรอยแผลที่ทำการตัด ก่อนจะนำไปวางลงในหลุม โดยการวางควรวางให้หน่อตั้งตรง และหันหน่อไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดด้วย

หลังจากที่เราเริ่มเตรียมการแล้วเรียบร้อย จากนั้นก็มาถึงการกลบดินลงในหลุม โดยให้กลบดินอย่างน้อย 2 ใน 3 ของผล หรืออาจจะกลบให้มิดผลพอดีก็ได้ แต่ต้องระวังอย่าให้ดินนั้นทับโคนหน่อเป็นอันขาด เพราะว่าจะทำให้หน่อนั้นถูกรัด จะทำให้ต้นโตได้ช้า แต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นก็ควรจะกลบดินเพิ่มหรือกลบให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนต้นลอย นอกจากป้องกันโคนลอยแล้วจะต้องดูสภาพอากาศตามความเป็นจริงด้วยว่ามีความร้อนหรือแล้งมากเพียงใดเพื่อจะได้ให้น้ำตามความเหมาะสมของสถานการณ์นั้นๆ ด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อเริ่มนำลงดินเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ให้หาไม้ที่สามารถปักลงดินได้และมีความแข็งแรงเพื่อเป็นหลักในการช่วยยึดของต้นมะพร้าวให้แน่น เพราะว่าการใช้ไม้มาปักช่วยนั้นก็เพื่อเป็นการป้องกันลมและการโยกจากลมที่พัดแรง หรือจะเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่นขึ้นด้วยก็ได้  ในระยะแรกนั้นควรจะทำให้ร่มก่อน เพื่อที่จะลดอัตราการตายของต้นมะพร้าว  เนื่องจากถูกแสงแดดจัดเกินไปด้วยนั่นเอง

ถ้าใครปลูกมะพร้าวกะทิหรือมะพร้าวน้ำหอมนั้น ถ้าในพื้นที่ไหนมีสัตว์เลี้ยงหรือเลี้ยงสัตว์ใกล้เคียงก็ควรจะมีการทำรั้วเกิดขึ้น เพราะว่าการสร้างรั้วนั้นจะเป็นการป้องกันการทำลายของสัตว์ด้วยนั่นเอง

เรื่องคุณภาพและปริมาณนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าปัจจุบันมะพร้าวกะทินั้นเริ่มเป็นที่นิยมและได้รับการบริโภคในท้องตลาดเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้นั้นบางครั้งกลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด บ้างก็เกิดจากการที่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ หรือมีปริมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเกิดจากการดูแลที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือมีวัชพืช ศัตรูพืชรบกวน

การใส่ปุ๋ยและน้ำต้นมะพร้าว

แม้ว่ามะพร้าวนั้นจะเป็นผลไม้หรือพืชที่สามารถปลูกได้กับดินแทบทุกชนิด  แต่ปริมาณธาตุอาหารในดินนั้น ก็มีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพของดิน และความสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มเพื่อเป็นการเข้าไปช่วยในการปรับสภาพดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน ส่วนใหญ่แล้วอาจจะใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในปริมาณที่เหมาะสม หรือจะเป็นการช่วยกระตุ้นเพิ่มผลผลิต ก็คือ จะใช้ปุ๋ยเกรด 13-13-21 หรือปุ๋ยเกรด 12-12-17-2 หรือปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับมะพร้าวและดินแต่ละชนิดด้วย

ซึ่งการใส่ปุ๋ยสำหรับต้นมะพร้าวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใส่ปุ๋ยในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ และจะช่วยให้ปุ๋ยละลายตัวได้ดีด้วย อีกทั้งยังเป็นช่วงที่รากของมะพร้าวกำลังเจริญเติบโตจะช่วยให้สามารถดูดซึมปุ๋ยได้ดีด้วย การหว่านปุ๋ยนั้นควรจะหว่านในรัศมี 2 เมตร โดยรอบต้นมะพร้าวหรือโคนต้น หลังจากหว่านแล้วก็พรวนดินตื้นๆ ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดิน และป้องกันการชะล้างด้วย

การให้ปุ๋ยนั้นส่วนใหญ่แล้วอาจจะมีการแบ่งให้ปุ๋ยทุกๆ 6 เดือน ก็ได้เช่นกัน  นอกจากนี้อาจจะใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก ก็ได้เช่นกัน เพราะว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเขตร้อน ถ้าเป็นอินทรียวัตถุนั้นจะช่วยย่อยสลายได้เร็วทำให้ต้นมะพร้าวนั้นสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปได้เร็วขึ้น อีกทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลสัตว์นั้น ยังช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ดินนั้นสามารถระบายน้ำได้ดี ระบายอากาศได้ดีขึ้น รากของมะพร้าวก็สามารถชอนไชไปได้กว้างขึ้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการใช้ปุ๋ยที่น่าสนใจนอกจากปุ๋ยเคมีนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การกำจัดวัชพืชต้นมะพร้าว

สำหรับการกำจัดวัชพืชในมะพร้าวกะทิและมะพร้าวทั่วไปนั้นไม่ยากเลย อาจจะใช้แรงงานคนช่วยกำจัดได้ คือ สามารถถากหญ้าหรือวัชพืชออกด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด ถ้าวัชพืชมีปริมาณไม่เยอะจนเกินไป หรืออาจจะใช้เครื่องทุ่นแรงในการช่วยกำจัดวัชพืชก็ได้ อาจจะเป็นรถไถหญ้า เครื่องตัดหญ้าขนาดเล็ก

นอกจากนี้อาจจะใช้วิธีการกำจัดด้วยการปลูกพืชคลุมดินรอบๆ บริเวณต้นมะพร้าวไปเลยก็ได้ โดยพืชที่เหมาะกับการปลูกคลุมดินเพื่อช่วยในการกำจัดวัชพืชนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพืชตระกูลถั่ว โดยปลูกให้ห่างจากโคนต้นประมาณรัศมีไม่เกิน 1 วา เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชในดินไม่ให้เติบโตขึ้นมาแย่งอาหารจากต้นมะพร้าวที่ปลูกได้ อาจจะใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชได้เช่นกัน แต่วิธีนี้แนะนำว่าไม่ควรจะใช้บ่อย เพราะว่าจะมีผลกระทบกับผลผลิตที่จะได้ และทำให้ดินนั้นมีความเสี่ยงที่จะมีสารเคมีสะสมด้วย

6.รับประทานได้ง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย
6.รับประทานได้ง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย การปลูกมะพร้าวกะทิ การปลูกมะพร้าวกะทิ 

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะพร้าว

มะพร้าวแต่ละชนิดนั้นต่างก็มีวิธีการเก็บและระยะเวลาในการเก็บที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าเป็นมะพร้าวแกงหรือมะพร้าวกะทินั้นส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเก็บผลได้เมื่ออายุประมาณ 5-6 ปีขึ้นไป โดยเกษตรกรจะนิยมเก็บมะพร้าวกัน ทุกๆ 30-60 วัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ทำการปลูกด้วย เพราะไม่ใช่ว่าจะเกี่ยวกับเวลาเพียงอย่างเดียว การพิจารณาความอ่อน ความแก่ ของมะพร้าว ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะจะสามารถแยกแยะได้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดด้วย

สำหรับความอ่อน และความแก่ ของมะพร้าว ส่วนใหญ่แล้วเราจะดูที่สีของเปลือกและปลายขอบหมวก ถ้าเป็นขอบที่มีสีขาวกว้างมากแสดงว่ายังอ่อนมาก เนื้อมะพร้าวจะนิ่มอ่อนและน้ำเป็นวุ้น ถ้าขอบสีขาวแคบแสดงว่ามะพร้าวนั้นแก่ปานกลาง เนื้อข้างในจะกรุบๆ แต่ถ้าขอบเป็นสีเขียวเข้มทั้งหมดแสดงว่าผลข้างในนั้นจะเป็นเนื้อแข็ง

ความแห้งของขั้วผลหรือหางหนู ถ้าแห้งหรือไหม้จากส่วนปลายเข้ามาน้อยกว่า 1 ใน 4 ของความยาวห่าง แสดงว่าอ่อนมาก เนื้อข้างในจะเหลวเป็นวุ้น ถ้าแห้งครึ่งหนึ่งของความยาวแสดงว่าแก่ปานกลาง แต่ถ้าแห้งทั้งหมดแสดงว่าแก่มาก เนื้อข้างในจะแข็งทั้งหมด สำหรับผลแก่นั้นน้ำข้างในผลจะน้อย และเหมาะกับการเก็บเกี่ยวนำมาทำเป็นมะพร้าวแกงหรือกะทิ เวลาเขย่าจะได้เสียงน้ำคลอน

7.นำผลผลิตที่ได้มาแปรรูปสู่ท้องตลาด
7.นำผลผลิตที่ได้มาแปรรูปสู่ท้องตลาด การปลูกมะพร้าวกะทิ การปลูกมะพร้าวกะทิ การปลูกมะพร้าวกะทิ

ประโยชน์ของมะพร้าวกะทิ

สำหรับใครที่คิดว่าการรับประทานกะทินั้นอาจจะเข้าไปช่วยเพิ่มไขมันในร่างกายทำให้อ้วนได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงนั้นมะพร้าวกะทินั้นมีประโยชน์ที่แฝงมากับตัวเอง ซึ่งถ้าบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะและพอดีไม่มากเกินไป ก็จะช่วยเพิ่มประโยชน์ให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี เรามาดูกันดีกว่าว่ามะพร้าวกะทินั้นมีประโยชน์ในเรื่องอะไรกันบ้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ช่วยทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น สำหรับไขมันในมะพร้าวนั้นจะมีปริมาณของกรดลอริกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง

เกี่ยวข้องกับระดับคอเลสเตอรอลที่ดีขึ้น และพบว่าแร่ธาตุในกะทิ ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ยังช่วยส่งเสริมในเรื่องของการไหลเวียนโลหิตได้ดี ช่วยลดความดันโลหิตด้วย ทำให้หลอดเลือดนั้นสามารถยืดหยุ่นได้ดี และยังป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัวด้วย

  • ช่วยปรับปรุงภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น นอกจากจะช่วยให้หลอดเลือดแดงแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังช่วยเรื่องของการสร้างสาร

ต้านไวรัสและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งกะทินั้นก็ถือว่าเป็นตัวช่วยในการป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดได้ดีนั่นเอง

  • บำรุงผมและผิวหนังให้มีสุขภาพดีขึ้น มะพร้าวนั้นขึ้นชื่อในเรื่องของการปรับปรุงและบำรุงเส้นผมให้มีความ

แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อผิวพรรณและเส้นผมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีสารที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและการต้านอาการอักเสบได้ด้วย

ฝากถึงผู้ที่สนใจปลูกมะพร้าวกะทิ 

ถือได้ว่า การปลูกมะพร้าวกะทิ นั้นไม่ใช่เพียงแต่ใช้ในการประกอบอาหารได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หรือสารสกัดที่ช่วยทำให้ร่างกายนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย อีกทั้งวิธีการปลูกก็สามารถที่จะปลูกได้ง่าย ทำให้หมดปัญหาในเรื่องของการปลูกไปได้มากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ถ้าเกษตรกรได้ลองปลูกและพัฒนาสายพันธุ์ได้มากจะยิ่งช่วยเพิ่มผลผลิตที่มีอยู่ได้ด้วย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.kasetkaoklai.com,http://www.kasedtakon.com/116, http://buydoxycycline-online.net,https://www.technologychaoban.com

โฆษณา
AP Chemical Thailand