การปลูกอ้อย ไร่อ้อย โรงงาน + อ้อยคั้นน้ำ และ ปลูกผัก สร้างรายได้ 3 ทาง ตลอดปี!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม ที่มีเกษตรกรไทยชำนาญการ หรือมากด้วยประสบการณ์ในหลายอาชีพ หลายอาชีพได้เกิดการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อจากครอบครัว ผนวกกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านการทำเกษตรในแต่ละยุค แต่ละสมัย ส่งผลให้มีการประยุกต์ด้านเทคโนโลยี ด้านการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การผลิตพืชเกิดการพัฒนาไปตามกาลเวลา สร้างคุณภาพด้านอาชีพ รายได้ และเกิดการรักษาอาชีพได้อย่างมั่นคง

ไม่เว้นแม้แต่เกษตรกรคนดังคนนี้ คุณวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ผู้มากด้วยประสบการณ์ด้านการทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมและสังคม ตลอดการทำไร่อ้อย สานต่อจากครอบครัวได้จนประสบความสำเร็จ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นำมาซึ่งผลผลิตที่ดี รายได้ที่ดี อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำ “ไร่อ้อย” เป็นพืชที่สามารถใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานได้เป็นอย่างดี นำมาซึ่งการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และให้ผลผลิตที่ดีตลอดมา

ต้นทุน – รายได้ จาก การปลูกอ้อย ใหม่

การปลูกอ้อย ใหม่มีต้นทุนสูง เพราะต้อง

  • ไถพลิกหน้าดิน 2 ครั้ง และลงริปเปอร์อีกก็ตกประมาณ 2,000 บาท/ไร่
  • ปลูกอ้อยแบบให้น้ำ  ให้ปุ๋ย พร้อมปลูก ก็ตก 2,000 บาท/ไร่
  • ค่าท่อนพันธุ์ 2,000 บาท
  • แต่ถ้ามีพันธุ์เองก็ต้องตัดเหลือ 1,000 บาท/ไร่
  • ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ใช้รถตัดอ้อยของโรงงานในอัตรา 100 บาท/ตัน
  • แต่น้ำมันชาวไร่จ่ายเอง แล้วยังมีต้นทุนในการขนส่งอ้อยเข้าโรงงานอีก 160 บาท/ตัน

ในขณะที่ผลผลิตอ้อย 1 ตัน จะมีรายได้ทุกอย่างประมาณ 1,000 บาท/ตัน ถ้าเกษตรทำผลผลิตให้ได้ 15-16 ตัน/ไร่ ก็จะคุ้มค่า ยิ่งรักษาตออ้อยให้ได้ผลผลิตมากๆ ก็จะยิ่งคุ้มค่าแก่การลงทุน คุณวิชิตกล่าว

1.การปลูกอ้อย ไร่อ้อย โรงงาน + อ้อยคั้นน้ำ และ ปลูกผัก สร้างรายได้ 3 ทาง ตลอดปี
1.การปลูกอ้อย ไร่อ้อย โรงงาน + อ้อยคั้นน้ำ และ ปลูกผัก สร้างรายได้ 3 ทาง ตลอดปี
2.ระบบน้ำชลประทานไหลผ่าน
2.ระบบน้ำชลประทานไหลผ่าน

การทำ ไร่อ้อย

โดยคุณวิชิตย้อนถึงที่มาของการทำ ไร่อ้อย เกิดจากความที่เป็นลูกหลานของเกษตรกรที่มีพื้นเพอยู่ในพื้นที่ ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี อยู่แล้ว โดยได้เห็นครอบครัวทำ ไร่อ้อย มาแต่กำเนิด ควบคู่มากับการทำหน้าที่เป็นครูของผู้เป็นพ่อ ทำให้คุณวิชิตเกิดการซึมซับและรักอาชีพการทำเกษตรไปโดยปริยาย

แต่ด้วยความที่ครอบครัวมีลูกหลายคน ประกอบกับคุณวิชิตเป็นลูกชายคนโต จึงต้องรับผิดชอบดูแลการทำ ไร่อ้อย ต่อจากผู้เป็นพ่อ จึงมีโอกาสได้เรียนน้อยกว่าลูกๆ คนอื่นๆ เพราะต้องดูแล ไร่อ้อย 100 กว่าไร่ บวกกับพื้นที่ของลูกไร่ที่รวมกันแล้วจะมีผลผลิตเข้าสู่โควตามากกว่า 10,000 ตัน/ปี และเป็นคนรุ่นแรกในพื้นที่ทำ ไร่อ้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยมีเลขที่โควตาเป็นลำดับที่ 2 ของโรงงานน้ำตาลรายใหญ่ในพื้นที่ อย่าง “โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรือง” ภายใต้การดูแลของสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 ซึ่งเดิมทีนั้นเป็นพื้นที่ที่มี การปลูกอ้อย มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ที่คุณวิชิตยอมรับว่าการทำ ไร่อ้อยที่นี่จะให้ผลผลิตค่อนข้างดี เพราะสภาพดินดี น้ำดี เพราะมีระบบชลประทานไหลผ่าน

ทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ปลูกได้มากกว่า 5-6 ตอ/รอบการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลของแต่ละคนเป็นหลัก ที่สำคัญชาวไร่อ้อยที่นี่ส่วนใหญ่ทำกันมานาน จึงมีประสบการณ์และความชำนาญสูง เป็นเกษตรมืออาชีพมากกว่าหลายพื้นที่

3.เครื่องจักรที่ใช้ในการทำไร่อ้อย
3.เครื่องจักรที่ใช้ในการทำ ไร่อ้อย
เพิ่มอัตราการแตกหน่อที่ดี
เพิ่มอัตราการแตกหน่อที่ดี

รูปแบบของ การปลูกอ้อย

ด้วยความสมบูรณ์ของสภาพพื้นที่ ส่งผลให้คุณวิชิตและชาว ไร่อ้อย ที่นี่มี การปลูกอ้อย 2 แบบ ก็คือ

แบบที่ 1 การปลูกอ้อยโรงงาน สายพันธุ์ทั่วไป เพื่อนำผลผลิตส่งเข้าโรงงานน้ำตาลโดยตรง กับ

แบบที่ 2 ก็คือ การปลูก อ้อยคั้นน้ำ ที่มีการจัดการค่อนข้างมากกว่า เพื่อนำผลผลิตเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์คุณภาพในรูปแบบต่างๆ โดยมีโรงงานขนาดเล็กภายในพื้นที่แบบ SME รองรับผลผลิตจากเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี

4.การปลูกอ้อยใหม่ในระบบร่องคู่
4. การปลูกอ้อย ใหม่ในระบบร่องคู่

การปลูกอ้อย โรงงาน

การปลูกอ้อย โรงงานจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทั้งหมดเข้าสู่โรงงานในช่วงเปิดหีบของทุกปี ตั้งแต่เดือน ธ.ค.-พ.ค. แล้วชาว ไร่อ้อย ก็จะทำการไถพลิกหน้าดิน ไถพรวนดิน เพื่อตีดินให้ละเอียดและลึก ก่อนลงปลูกอ้อยด้วย “เครื่องปลูกอ้อย” ที่มีการให้น้ำในร่องอ้อย ใส่ปุ๋ยไปพร้อมๆ กับ การปลูกอ้อย ด้วย เป็นการปลูกในระบบร่องคู่แบบ 2 แถวคู่ ด้วยสายพันธุ์ขอนแก่น 3 เป็นหลัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลูกในระยะ 160-170 ซม. เพื่อให้เครื่องจักรเข้าทำงานใน ไร่อ้อย ได้ดี ซึ่งข้อดีของ การปลูกอ้อย แบบนี้สามารถปลูกอ้อยได้เลย โดยไม่ต้องรอน้ำฝน ความชื้นที่ได้จะทำให้อ้อยแตกหน่อดี การเจริญเติบโตดี ในขณะที่บนร่องอ้อยและหน้าดินแห้ง ที่ช่วยควบคุมวัชพืชได้โดยธรรมชาติ หลังจากนั้นไปอีกประมาณ 3-4 เดือน ก็จะกำจัดวัชพืชในร่องอ้อยด้วยสารเคมีเพื่อทำรุ่นอ้อย เพราะเป็นช่วงหน้าฝนพอดี

ก่อนจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0, 46-0-0 เป็นการให้ปุ๋ยด้วยเครื่องจักรขนาดเล็ก เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี แม้ในบางช่วงที่ฝนทิ้งช่วงไปก็ต้องสูบน้ำใส่ ไร่อ้อย เป็นแบบน้ำลาดมากกว่าวิธีอื่นๆ เพราะการไถให้ลึกตั้งแต่แรกจะทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดี หลังจากนั้นต้นอ้อยจะเจริญเติบโตดี

จนกระทั่งคุมหญ้าวัชพืช และโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางครั้งอาจจะต้องเสริมการให้ปุ๋ยเพิ่มบ้างในบางครั้ง จนกระทั่งต้นอ้อยมีอายุตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป เข้าสู่ช่วงเปิดหีบฤดูกาลใหม่ ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีกครั้ง

5.การใช้อุปกรณ์ในการบำรุงรักษาไร่อ้อย
5.การใช้อุปกรณ์ในการบำรุงรักษา ไร่อ้อย
การบำรุงอ้อยตอเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี
การบำรุงอ้อยตอเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี

การทำอ้อยตอ

ในขณะที่การทำอ้อยตอจะแตกต่างกันแค่หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะมีการลงริปเปอร์เพื่อจะพรวนดิน ก่อนจะมีการให้น้ำในระบบน้ำลาด เพื่อเพิ่มการแตกหน่อใหม่ของต้นอ้อย หลังจากนั้น 2-3 เดือน ก็จะทำรุ่นกำจัดหญ้าวัชพืชด้วยสารเคมี และมีระบบการให้ปุ๋ยตามที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่าง

จนกระทั่งต้นอายุโตเต็มที่ และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่นี่ 80% จะเน้นการตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อยมากกว่าการตัดอ้อยไฟไหม้ที่ลดมลภาวะ และอ้อยที่ได้มีคุณภาพที่ดีกว่า ผลผลิตเฉลี่ยทั้งอ้อยตอและอ้อยปลูกใหม่จะอยู่ที่ 15-16 ตัน/ไร่ สามารถปลูกได้มากกว่า 5-6 ตอ

6.อ้อยสุพรรณบุรี-50-เพื่อการผลิตอ้อยคั้นน้ำคุณภาพ
6.อ้อยสุพรรณบุรี-50-เพื่อการผลิต อ้อยคั้นน้ำ คุณภาพ

การทำ อ้อยคั้นน้ำ

ในขณะที่การทำ “ อ้อยคั้นน้ำ ” จะมีขั้นตอนและกระบวนการดูแลรักษาที่ค่อนข้างละเอียดกว่า เพราะการปลูก อ้อยคั้นน้ำ ต้องใช้อ้อยสายพันธุ์ “สุพรรณบุรี 50” เป็นหลัก แม้ว่าในขั้นตอนการปลูกจะใช้วิธีเดียวกันกับการปลูกอ้อยส่งโรงงาน หรือปลูกด้วยรถปลูกอ้อยแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่หลังจากนี้จะต้องทำรุ่นด้วยแรงงานและเครื่องจักรมากกว่าการใช้สารเคมี มีการใส่ปุ๋ย 21-0-0, 46-0-0 ในช่วง 3-4 เดือน คอยดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยอีก 0-0-60 บ้างในช่วงท้าย จนกระทั่งอ้อยมีอายุที่พอเหมาะ หรือประมาณ 8 เดือน เป็นต้นไป ก็จะสามารถตัดเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยแรงงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการน้ำอ้อยต่อไป

เริ่มจากการใช้แรงงานประจำตัดอ้อยสดในช่วงเช้า-บ่าย ก่อนจะลำเลียงผลผลิตมายังลานปูนซีเมนต์เพื่อใช้แรงงาน หลังเสร็จจากงานประจำในช่วงกลางวัน ปอกเปลือกอ้อยออกให้หมดในราคา 50 สตางค์ พอรุ่งเช้าแรงงานชายก็จะทำการหีบอ้อยด้วยค่าจ้าง 50 สตางค์/กก. เพื่อให้ได้ อ้อยคั้นน้ำ ส่งโรงงานแบบวันต่อวัน

โดยอ้อยสดสามารถหีบเป็นน้ำอ้อยได้หลายร้อยกก. แต่การปลูก อ้อยคั้นน้ำ มีต้นทุนสูงกว่า และให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 5-6 ตัน/ไร่ เท่านั้น แต่เมื่อทำการหีบอ้อยเพื่อให้ได้น้ำอ้อย จะสามารถขายน้ำอ้อยได้ในราคา 8,000 บาท/ตัน เลยทีเดียว ที่สำคัญสามารถหีบอ้อยป้อนขายให้กับโรงงานแปรรูปได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีรายได้ที่ดี และมั่นคง ภายใต้การบริหาร ทั้งด้านการผลิต การดูแล การจัดการ การหีบอ้อย ให้สัมพันธ์กัน เพื่อรองรับการผลิตให้ได้ตลอดทั้งปี

“ อ้อยคั้นน้ำ ดูแลยากกว่า เพราะเขาต้องการขายดี  เพื่อการผลิต อ้อยคั้นน้ำ เพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง เป็นผลผลิตที่ได้จากเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งโรงงานแปรรูปนี้ตั้งมาหลายปีแล้ว ที่สำคัญการผลิต อ้อยคั้นน้ำ ที่ใช้อ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และพิจิตร ต้องดูแลเรื่องการผลิตให้ดี

หากอ่อนไปแม้น้ำอ้อยจะสวย แต่รสชาติไม่ค่อยดี แต่ถ้าอ้อยอายุพอดีจะได้ทั้งน้ำอ้อยที่สวย รสชาติที่ดี แต่ถ้าอ้อยอายุมากไป ต้นอ้อยก็เสี่ยงที่จะเสียหาย ทั้งจากการทำลายของหนูในช่วงที่ผลผลิตเริ่มน้อยลง หากต้นอ้อยสูงเกินไปก็เสี่ยงที่จะล้ม และศัตรูพืชทำลายให้เสียหายง่ายขึ้น

แต่อ้อยสายพันธุ์ขอนแก่นเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับการปลูกอ้อยคั้นน้ำ เพราะอ้อยขอนแก่นให้น้ำดี และความหวานดีทีเดียว ทนแล้งกว่า ให้ผลผลิตดี แต่การปลูกอ้อยทั้ง 2 แบบ บนพื้นที่ 100 กว่าไร่ ยังไงก็ต้องบริหารจัดการให้ ถ้าอ้อยคั้นน้ำความต้องการสูงก็ต้องทำตลอด แต่ถ้ามีชาวไร่ปลูกอ้อยคั้นน้ำสุ่มเสี่ยงที่ผลผลิตจะเหลือ ก็จะตัดอ้อยขายส่งเข้าโรงงานไปเลย ก่อนที่จะถึงฤดูเปิดหีบ เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณวิชิตเผยถึงการผลิตอ้อยคั้นน้ำ และอ้อยโรงงาน โดยเฉพาะอ้อยโรงงานในปีนี้คุณวิชิตมีโควตาที่จะต้องส่งผลผลิตเข้าโควตาร่วม 3,000 ตัน/ปี แต่ปีนี้สามารถส่งอ้อยเข้าโรงงานได้ประมาณ 4,000 ตัน/ปี ซึ่งเกินกว่าโควตาที่กำหนด และส่งผลดีต่อทุกฝ่าย

แต่ปีนี้ฝนแล้ง ทำให้ผลผลิตชาวไร่บางรายเสียหาย แต่ด้วยความชำนาญด้านประสบการณ์ทำให้ชาว ไร่อ้อย ที่นี่สามารถปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดี ภายใต้การใช้เครื่องจักร เทคโนโลยี และการจัดการ ตั้งแต่ตอนปลูกได้ดี

7.การทำไร่ข้าวโพดฝักอ่อน
7.การทำไร่ข้าวโพดฝักอ่อน

การปลูกพืชผัก หญ้าเนเปียร์ และ การเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุน

นอกจากนี้คุณวิชิตยังมีพื้นที่อีก 30 ไร่ เพื่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย และยังแบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อการ ปลูกผัก สวนครัวเพื่อทานเอง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่น จากอดีตจนถึงปัจจุบัน อาทิ

  • การ ปลูกผัก บุ้งจีนส่ง MK ที่ต้องมีการบริหารจัดการอย่างดี เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น ที่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากต่อวัน ทั้งด้านการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาแบบปลอดภัย และการเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งเข้าโรงงานทุกวันประมาณ 500-600 กก./วัน

ต่อมาทางบริษัทฯ ได้เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 1,000 กก./1 วัน (1 ตัน) ที่ทำให้ต้องเพิ่มการผลิตขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งในบางช่วงผลผลิตสุ่มเสี่ยงที่จะเสียหายจากเชื้อราเข้าทำลาย โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ แรงงาน ที่จำเป็นมากต่อการผลิตในทุกขั้นตอน จนกระทั่งวันหนึ่งการผลิตผักบุ้งส่ง MK ต้องยุติลง ก็เพราะการขาดแคลนแรงงานอย่างหนักในกระบวนการผลิตผักบุ้งนั่นเอง

  • การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ป้อนโรงงาน และขายผลผลิตตกเกรดให้ถึงตลาดภายในพื้นที่ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยเครื่องจักร และแรงงานประจำที่มีอยู่อย่างลงตัว อีกทั้งเปลือกและต้นข้าวโพดยังสามารถสับขายเป็นอาหารหยาบอย่างดีให้กับโคเนื้อและโคนมที่นิยมเลี้ยงกันมากภายในพื้นที่
  • การปลูกหญ้าเนเปียร์ ผลิตอาหารหยาบให้กับผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ซึ่งการปลูกหญ้าเนเปียร์สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายรอบต่อปี ที่สำคัญมีโปรตีนสูง และให้ผลผลิต 8-10 ตัน/ไร่/รอบ ภายใต้การให้น้ำและการจัดการที่ดี
  • การเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุน ให้ได้ทั้งความสมบูรณ์และน้ำหนักที่ดี ก่อนจะขายออกไปในราคาที่พอใจ ภายในระยะเวลาของการดูแลให้เป็นโคขุนเพียง 4-5 เดือน เท่านั้น

ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการแรงงานประจำที่มีอยู่ประมาณ 5-6 คน ซึ่งเป็นแรงงานเพื่อนบ้าน ให้มีรายได้หลักและรายได้เสริมอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทั้งหญิงและชาย ภายใต้การปลูกพืชทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านแรงงาน

8.การมีส่วนร่วมผลักดันเกษตรกรไทยในฐานะผู้นำเกษตรกร
8.การมีส่วนร่วมผลักดันเกษตรกรไทยในฐานะผู้นำเกษตรกร

การให้ความรู้แก่เกษตรกร

นอกจากนี้คุณวิชิตยังได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำท้องถิ่นด้วยจิตอาสาตลอด เริ่มตั้งแต่การเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ดูแลลูกบ้าน  เป็นนักพัฒนา จนกระทั่งได้ผู้ใหญ่บ้านแหนบทองคำ เป็นนายกเทศมนตรี 2 สมัย ที่คอยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแกนนำเกษตรกรที่ตั้งใจพัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้รวมกลุ่มเพื่อสร้างพลัง สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในแต่ละสาขาอาชีพได้อย่างยั่งยืน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตลอดจนการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชน ทั้งในและนอกพื้นที่ ร้านการเกษตร เพื่อให้องค์กรเกษตรกรเกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาต่อไปได้ ในฐานะประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ภายใต้องค์ความรู้ที่ดี การดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง เป็นอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคทั้งประเทศ

ขอขอบคุณข้อมูล คุณวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี โทร.081-941-3584