ชมพู่เพชรสายรุ้ง ไซส์ใหญ่ 150 บาท/กก. เก็บได้ 3 ครั้ง/ปี ทำรายได้เฉลี่ย 2,000 บาทต่อต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูก ชมพู่เพชรสายรุ้ง

วันนี้ทีมงาน นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ จึงขอนำเสนอเรื่องราวของเกษตรคนหนึ่งที่ทำอาชีพเกษตรมาตลอดบรรพบุรุษก็ทำอาชีพเกษตร จึงทำให้เขาถูกปลูกฝังอาชีพนี้มาตั้งแต่รุ่นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ท่านนี้ คือ คุณต้อย พลอยม่วง ทำให้เกษตรกรคนนี้สู้กับอุปสรรคด้วยใจรัก ไม่ยอมโค่นต้นชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งที่เป็นพันธุ์ของถิ่นกำเนิดของเมืองเพชร

ที่คุณพ่อของเขาได้นำพันธุ์มาจากวัดชมภูมิพลมาปลูกทิ้งไว้ที่บ้านเพียงแค่ 2 ต้น เพื่อไว้เก็บผลผลิตรับประทาน จน ณ วันนั้นถึงปัจจุบันชมพู่สายพันธุ์เพชรสายรุ้งสร้างรายได้ให้กับเขา 100,000 กว่าบาท ต่อ 1 รอบ การเก็บเกี่ยวผลผลิตปีหนึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3 รอบ

ด้วยความที่มีใจรักเกษตร เห็นคุณค่าของชมพู่พันธุ์ที่คุณพ่อนำมาปลูก ถึงแม้ช่วงนั้นเกิดวิกฤตราคา ชมพู่เพชรสายรุ้ง ราคาตกต่ำ จนชาวเพชรบุรีโค่นตัดทิ้งกันหมด แต่คุณต้อยไม่โค่นทิ้ง จึงทำให้ตอนนี้มีเพียงสวนเดียวที่สามารถมีผลผลิตได้รับประทานกัน ถือเป็นเกษตรกรอีกบุคคลหนึ่งที่เป็นแบบอย่างสู้ด้วยความอดทนสูงจนได้ดี

คุณป้าต้อยจึงเป็นบุคคลที่อนุรักษ์พันธุ์ชมพู่เพชรสายรุ้งจนถึงปัจจุบัน ให้คนรุ่นหลังได้รับประทาน และอนุรักษ์สายพันธุ์ต่อไปไม่ให้สูญพันธุ์ เป็นของดีประจำเมืองเพชรบุรี เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง

1.ชมพุ่เพชรสายรุ้ง แท้
1.ชมพุ่เพชรสายรุ้ง แท้

ด้านตลาดชมพู่เพชรสายรุ้ง

ทำให้เรื่องของตลาด ชมพู่เพชรสายรุ้ง เกิดความนิยมกันมากขึ้นอีกครั้ง หลังจากเกิดวิกฤตถูกชมพู่เพชรสุวรรณได้รับความนิยมมากกว่ามานาน กว่าจะกลับมาดีอีกครั้งทำเอา ชมพู่เพชรสายรุ้ง เกือบดับ หรืออาจสูญพันธุ์กันไปแล้ว ในเมื่อวงการชมพู่ในช่วงที่เกิดวิกฤต ชมพู่เพชรสายรุ้ง ราคาถูกถึงกิโลกรัมละ 25 บาท ถือว่าเป็นราคาที่ถูกมากๆ

จนทำให้เกษตรกรชาวสวนชมพู่ที่ปลูกพันธุ์เพชรสายรุ้งตก ยอม “ยกธงขาว” กันหมด มีเพียงสวนของป้าต้อยเพียงสวนเดียวที่ยังยืนหยัดสู้ต่อ จนทำให้ ณ ปัจจุบันนี้เกิดสถานการณ์พลิกผัน เนื่องจาก ชมพู่เพชรสายรุ้ง กลับมาเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และท้องตลาด กันมากขึ้น ด้วยความมีดีในสายพันธุ์ของมันในเรื่องรสชาติหวาน อร่อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ณ ปัจจุบันมีแม่ค้ามารับซื้อหน้าสวนกิโลกรัมละ 70 บาท ไปขายกิโลกรัมละ 150-200 บาท ราคาจะขึ้นอยู่ที่ขนาดไซส์ หรือคุณภาพของเกรด ดังนี้

  • ไซส์ใหญ่กิโลกรัมละ 150 บาท,
  • ไซส์กลางกิโลกรัมละ 130 บาท,
  • ไซส์เล็กสุดกิโลกรัมละ 80 บาท และ
  • ชมพู่ที่มีตำหนิกิโลกรัมละ 50 บาท

ทางสวนป้าต้อยจะมีชมพู่ทั้งหมด 4 เกรด ด้วยกัน ราคาตามเกรด

  • เบอร์ใหญ่จะอยู่ที่ 1-10 ลูก ต่อกิโลกรัม
  • เบอร์กลาง 10-18 ลูก ต่อ 1 กิโลกรัม

ในระยะเวลา 1 ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3 ครั้ง รายได้ต่อครั้ง 100,000 กว่าบาท ต่อครั้ง ในแต่ละครั้งมีผลผลิต 1 ตัน ตลาดชมพู่เพชรสายรุ้งกลับมาสดใส พร้อมกับภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เมื่อรับประทานแล้วสามารถทราบได้เลยว่าเป็นชมพู่เพชรสายรุ้ง ด้วยรสชาติที่อร่อย หวาน กรอบ รับประทานแล้วติดใจ

10.การคัดชมพู่แต่ละขนาด
10.การคัดชมพู่แต่ละขนาด
ผลผลิตพร้อมจำหน่าย
ผลผลิตพร้อมจำหน่าย

การจำหน่ายชมพู่เพชรสายรุ้ง

ปัจจุบันเป็นที่รู้กันดีว่าเรื่องของแรงงานมีน้อยลงทุกวัน ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพอื่น ทำให้อาชีพเกษตรกรรมหาแรงงานได้ยาก และค่าแรงปัจจุบันนี้ก็สูง ทำให้เจ้าของสวนประสบปัญหาในด้านนี้ ทางสวนของป้าต้อยจ้างคนงาน 3-4 คน โดยจ้างเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละ 40 บาท วันหนึ่งค่าจ้างอยู่ที่ 350 บาท ต่อ 1 คน

สวนบางสวนที่ไม่ปลูกชมพู่เพราะสู้ค่าแรงไม่ไหว และชมพู่เก็บเกี่ยวผลผลิตปีละ 3 รอบ ค่าแรงต่อรอบ 20,000 บาท ในรายที่ปลูกไม่มากนักก็พออยู่ได้ เพราะสามารถใช้แรงงานในครอบครัวช่วยกัน ไม่ต้องจ้างแรงงาน ช่วยลดต้นทุนตรงนี้ได้ จึงสามารถมีกำไรให้ทำต่อไป ไม่เหมือนกับรายที่ปลูกมากๆ ส่วนใหญ่จะสู้กับปัญหาค่าแรงกันไม่ไหวก็มี บางรายเลิกทำกันไปบ้าง

อีกหนึ่งปัญหา คือ เรื่องของการทำนั่งร้าน เพื่อใช้ในการห่อผลชมพู่ให้ง่าย ทางสวนป้าต้อยใช้เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้เหมาะสม ไม่สูงมาก เพื่อให้ห่อผลได้ง่าย โดยการใช้บันไดขึ้นห่อ เป็นการลดต้นทุนการทำนั่งร้าน เพราะวัสดุที่นำมาทำนั่งร้าน คือ ไม้ไผ่ มีราคาแพงถึงลำละ 30 บาท ในรายที่ปลูกไว้มากจะเจอกับปัญหานี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทางทีมงานนิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ จึงมีโอกาสพูดคุยปัญหานี้กับป้าต้อยอย่างจริงจัง โดยการแก้ไขปัญหาเรื่องนั่งร้าน ป้าต้อยบอกว่าไม่ทำนั่งร้าน แต่เปลี่ยนมาตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้สามารถห่อผลได้สะดวก ง่าย แทนการทำนั่งร้านขึ้นห่อผลชมพู่ ถือว่าเป็นการใช้เทคนิคการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มที่สามารถช่วยลดต้นทุนในการทำสวนชมพู่ได้มากเลยทีเดียว สวนชมพู่ของเกษตรกรคนใดที่ยังทำนั่งร้านอยู่ และคิดว่าสนใจเทคนิคการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มแทน

2.ป้าต้อยกับลุงสมศักดิ์-เจ้าของสวนชมพู่เพชรสายรุ้ง
2.ป้าต้อยกับลุงสมศักดิ์-เจ้าของสวนชมพู่เพชรสายรุ้ง

ลักษณะของชมพู่เพชรสายรุ้ง

  • ชื่อท้องถิ่น : ชมพู่เพชร ชมพู่เขียวเสวย ชมพู่สายน้ำผึ้ง
  • ชื่อสามัญ : Ros apple
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euqenia  javanica  larnk

ชมพู่เพชรสายรุ้งเดิมมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน คือ ชมพู่เขียวเสวย เพราะมีผลสีเขียว บางท้องที่เรียกชมพู่สายน้ำผึ้ง เพราะเวลามองจะเห็นเป็นเส้นที่ข้างผลเป็นสายๆ บางท้องที่เรียกชมพู่เพชร แต่ปัจจุบันเรียกชมพู่เพชรสายรุ้ง เพื่อให้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นพันธุ์ใหม่ เพราะนิยมตั้งชื่อพันธุ์ชมพู่ขึ้นต้นด้วยคำว่าเพชร เช่น เพชรสุวรรณ เพชรจินดา เพชรทูลเกล้า ทำให้ผู้บริโภคสับสนไม่รู้ว่าชมพู่เพชรสายรุ้งแท้ๆ เป็นอย่างไร

ชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นชมพู่ที่มีรสหวาน กรอบ และยังคงพูดกันติดปากอยู่เสมอว่า คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน สาเหตุเนื่องจากส่วนใหญ่ชอบซื้อไปฝากญาติมิตร หรือผู้ป่วย ไม่ซื้อไปบริโภคเอง เพราะราคาแพง ชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อผู้บริโภค เนื่องจากเกษตรกรห่อผลตั้งแต่เล็ก และระยะเวลาห่อผลอย่างน้อย 20-30 วัน สารเคมีที่ใช้ฉีดก่อนห่อผลหมดฤทธิ์แล้ว เมื่อซื้อมานำมาล้างน้ำก็บริโภคได้เลย

3.ลักษณะของชมพู่เพชรสายรุ้ง
3.ลักษณะของชมพู่เพชรสายรุ้ง
4.ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผลชมพู่
4.ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผลชมพู่

สภาพพื้นที่ปลูกชมพู่

ชมพู่เพชรสายรุ้ง คนที่นำมาปลูกเป็นคนแรก คือ พระครูญาณวิมล (หลวงพ่อพ่วง) เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของวัดศาลาเขื่อน ต่อมาได้สมณะศักดิ์เป็นพระครูญาณเพชรรัตน์ เมื่อปี พ.ศ.2375 หลวงพ่อพวงได้เดินทางไปศึกษาพระธรรม ณ วัดราชาธิวาส ซึ่งขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช และเป็นเจ้าอาวาสของวัดอยู่

และก่อนเดินทางกลับจังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานต้นชมพู่ 1 ต้น ซึ่งเป็นต้นที่ตอนจากต้นที่ปลูกอยู่ที่วังที่ประทับ และต้นอโศกระย้า 1 ต้น หลวงพ่อจึงได้นำมาปลูกที่หน้าวัดศาลาเขื่อน ตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี 2378

นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานห้องครัว ซึ่งสร้างด้วยไม้สักจำนวน 3 ห้อง และเรือมาศ 4 แจว จำนวน 1 ลำ ใช้สำหรับบรรทุกวัสดุในการทำกุฏิ ปัจจุบันยังอยู่ที่วัดศาลาเขื่อน เมื่อหลวงพ่อกลับมาถึงศาลาเขื่อน ปี 2378 ได้ปลูกต้นชมพู่นี้ที่ข้างบันไดทางขึ้นวัด เมื่อต้นชมพู่เจริญเติมโต หลวงพ่อได้ก่ออิฐโบกปูนล้อมรอบต้นชมพู่ไว้ ทำให้การถ่ายเทอากาศไม่สะดวก รวมทั้งการขยายตัวทางด้านข้างของต้นชมพู่ถูกจำกัด ปัจจุบันต้นชมพู่ได้ตายแล้วเมื่อปี 2530 รวมอายุได้ 152 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากเมื่อก่อนปลูกกล้วยน้ำว้าได้ผลผลิตช้า 15 วัน ได้ผลผลิตครั้งหนึ่ง ต้นทุนการปลูกกล้วยน้อยก็จริง มีรายได้ไม่เพียงพอ เห็นเพื่อนบ้านปลูกชมพู่แล้วมีรายได้ดี จึงเริ่มปลูก โดยใช้พันธุ์จากที่คุณพ่อนำมาจากวัดชมภูมิพล คือ พันธุ์เพชรสายรุ้ง เริ่มปลูก 30 ต้น แต่ตอนนี้มีทั้งหมด 170 กว่าต้น ในเนื้อที่ 11 ไร่ มีเฉลี่ยปลูกมะนาว กล้วย ส่วนใหญ่เป็นชมพู่ 90 เปอร์เซ็นต์

ปลูกช่วงแรกทำนั่งร้านเพื่อสำหรับทำให้ขึ้นห่อผลได้ง่าย ด้วยความที่ปลูกไว้มาก ราคาค่าใช้จ่ายสูง ไม้แพง ไม้ลำละ 30 บาท สู้ไม่ไหว จึงต้องยกเลิกการทำนั่งร้านไป อาศัยเทคนิคการดูแลลักษณะของต้นชมพู่เป็นพิเศษ โดยการตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้ต้นสูงจนเกินไป และใช้บันไดขึ้นห่อผลชมพู่ได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายการทำนั่งร้านไปได้มาก

5.ผลดกเต็มต้น
5.ผลดกเต็มต้น

ปัญหาและอุปสรรค

อีกปัญหาในช่วงที่มีชมพู่พันธุ์เพชรสุวรรณมาขายถูกกว่า ทำให้ชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งของเขาขายไม่ได้ราคา ถูกมากกิโลละ 25 บาท เกิดวิกฤตปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกรชาวสวนชมพู่ที่ปลูกพันธุ์เพชรสายรุ้ง ตอนนั้นถูก ชมพู่เพชรสุวรรณ “ตีตลาด” ทำให้ขายไม่ได้ ขาดทุนกันเป็นแถว จึงต้องถึงกับมีการเลิกปลูก โค่นต้นทิ้งกันหมด

แต่ในเวลาเดียวกันป้าต้อยมองต่างมุม จึงขออนุรักษ์พันธุ์ไว้ ไม่ยอมโค่นทิ้ง ถึงแม้ช่วงนั้นจะเกิดปัญหาหนัก แม้กระทั่งแรงกดดันจากครอบครัวบอกให้เลิกปลูกก็ตาม การฝ่าวิกฤตอันแสนสาหัสครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนที่ดีให้กับเกษตรกรคนนี้มากเลยทีเดียว เพราะหลังจากนั้นเริ่มมีการประชุมอาเซียนครั้งใหญ่ที่ชะอำที่ผ่านมาเป็นช่วงพลิกวิกฤตนี้ ให้กลับมา “จากหน้ามือเป็นหลังมือ” ในเมื่อรสชาติของ ชมพู่เพชรสายรุ้ง มีรสชาติอร่อย กรอบ หวาน กว่าชมพู่พันธุ์เพชรสุวรรณ ลูกค้ารับประทานแล้วติดใจความอร่อย จึงทำให้ลูกค้าหันกลับมารับประทาน ชมพู่เพชรสายรุ้ง กันมากขึ้น

ในสิ่งที่โชคดีกว่านั้น คือ เป็นสวนเดียวที่มี ชมพู่เพชรสายรุ้ง เพราะส่วนมากสวนอื่นโค่นทิ้งหมด ทำให้ตามสวนของป้าต้อยไม่ทัน กว่าจะปลูก กว่าจะให้ผลผลิต นับว่าเป็นความคุ้มค่ากับการฝ่าอุปสรรคในครั้งนี้

6.วางระบบน้ำด้วยสปริงเกลอร์
6.วางระบบน้ำด้วยสปริงเกลอร์

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นชมพู่

เป็นสิ่งสำคัญกับพืชชนิดนี้มาก สำคัญเรื่องน้ำ ปุ๋ย และดิน เป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้พืชชนิดนี้มีคุณภาพในเรื่องของลักษณะรูปร่างภายนอกของผล รสชาติ พื้นที่ของเพชรบุรีเหมาะกับการปลูกชมพู่อยู่แล้ว มีธาตุอาหารดี การบำรุงรักษาโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เสริม หลังจากได้ระยะเวลา 3 เดือน ตามด้วยปุ๋ยมูลไก่เพียงอย่างเดียว มูลวัว รสชาติชมพู่จะเปรี้ยว มูลไก่จะดี และเหมาะสมกับชมพู่มากที่สุด จะใส่ในตอนแรกที่เริ่มปลูก ใส่ปีละครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เดือนตุลาคมจะเร่งด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในช่วงบำรุงผลให้ผลดกโต ถ้าดูแลถูกช่วงเวลา ผลิตจะออกมาดี สวย ขายได้ราคา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ ราคาสูง ค่าใช้จ่ายปุ๋ยต่อรอบอยู่ที่ 4,000-5,000 บาท แต่ลดต้นทุนทางด้านยกเลิกการทำนั่งร้านมาเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านปุ๋ย และยา แทน จึงมีกำไรเพิ่มมาบ้าง

ส่วนการให้น้ำ พืชมีการปรับสภาพตามน้ำที่ใช้ โดยเฉพาะรสชาติ มีผลกับน้ำที่ใช้ ถ้าเป็นไปได้ใช้น้ำบ่อ ชมพู่จะมีรสชาติหวาน อร่อย ระบบในสวนใช้ระบบสปริงเกลอร์ในการให้น้ำ โดยใช้มอเตอร์สูบน้ำจากบ่อขึ้นมา

7.ห่อเพื่อป้องกันแมลงและสิ่งแปลกปลอมภายนอก
7.ห่อเพื่อป้องกันแมลงและสิ่งแปลกปลอมภายนอก

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ส่วนมากจะไม่ค่อยเจอโรค มีแค่แมลงวันทองที่เป็นปัญหามาก ใช้ยาพาราไทออนล่อให้ตาย แต่แมลงชนิดนี้มีมาก และมีตลอดทั้งปี ทำให้กำจัดได้ยาก จะฉีดคลุมไว้ก่อน ป้าต้อยบอกว่า “จะไม่ให้เราใช้สารเคมีเลย เราทำไม่ได้ ผลผลิตมันไม่ออก” แต่ต้องมีระยะปลอดภัย ปกติชมพู่จะไม่ค่อยมีสารอยู่แล้ว เนื่องจากผลจะถูกห่อไว้ ทำให้สารพิษต่างๆ เข้าไปได้ยาก

ผลผลิตจะสามารถเก็บได้ 3 รอบ ใน 1 ปี ช่วงที่ดีที่สุดจะอยู่ช่วงปีใหม่ ราคาดี และในช่วงที่มีผลผลิตที่ไม่ตรงกับสวนอื่น ราคาก็จะดีเช่นกัน การเก็บเกี่ยวต่อรอบประมาณ 1 ตัน/รอบ ผลผลิตจะให้แน่นอนเลยไม่ได้ บางครั้งก็เสียมาก จนทำให้ผลผลิตเหลือน้อยห่อ ในระยะ 1 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้ เริ่มปลูกชมพู่จะให้ผลผลิตได้ในระยะเวลา 3 ปี จะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยว

8.ดอกชมพู่เพชรสายรุ้ง
8.ดอก ชมพู่เพชรสายรุ้ง

ขั้นตอนการปลูก ชมพู่เพชรสายรุ้ง

เป็นพืชทรงพุ่มใหญ่สูงพอสมควร ระยะปลูกอยู่ที่ 8 วา ปลูกโดยการไม่ขุดร่องเป็นระยะก็เหมาะสม ดูแลตัดแต่งทรงพุ่มง่าย เก็บเกี่ยวผลผลิตสะดวก ดูแลจัดการง่าย ทางสวนของเขาใช้วิธีการตัดหญ้า ไม่ใช้สารเคมีฉีด เพราะจะทำให้ผลผลิตเน่า เกิดความเสียหายตามมา ใช้แรงงานตัดหญ้า เป็นพืชที่มีอายุยืน ยิ่งมีอายุมาก ผลผลิตก็จะดี ลำต้นแข็งแรง ดูแลง่าย มีระยะยืนต้นยาว ทางสวนเป็นสิบปีแล้วยังคงมีผลผลิตดีเป็นปกติ “ยิ่งแก่ ยิ่งดี” สำหรับชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง

เลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่มีโรค และที่สำคัญเลือกกิ่งใหญ่ๆ พอนำไปปลูกจะมีเปอร์เซ็นต์สูง รากเดินดี เจริญเติบโตเร็ว ขายกิ่งพันธุ์ละ 100 บาท ส่วนใหญ่จะมีแม่ค้าคนกลางมาซื้อจากสวนนำไปขายริมถนนในราคากิ่งละ 250 บาท การทำกิ่งพันธุ์จะใช้วิธีการตอนกิ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธีการตอนจะเหมือนกับการตอนทั่วไป ระยะเวลาการตอนเมื่อครบ 1 เดือน รากจะเริ่มออก ต้องมีการดูแลบำรุงต้นที่ดี น้ำสำคัญ ต้องให้เพียงพอต่อความต้องการ กิ่งตอนจะมีเปอร์เซ็นต์รอดสูง เมื่อนำมาปลูกลงดินในรายที่โค่นต้นทิ้งในช่วงวิกฤตราคาชมพู่ถูก จะหันกลับมาซื้อกิ่งพันธุ์จากสวนป้าต้อยไปปลูกใหม่

9.การเก็บชมพู่บนต้น
9.การเก็บชมพู่บนต้น

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณต้อย พลอยม่วง 278 ม.11 ต.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 76130 โทร. 08-5264-2820