เผยเทคนิคการผลิต ต้นอ่อนทานตะวัน ราคาขายสูงถึง กก.ละ 120 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผลิตต้นทานตะวันงอก

เราอาจเคยได้ยิน หรือรู้จักผักออแกนิค ที่มาจากการเพาะเมล็ดธัญพืชต่างๆ จนได้ “ต้นอ่อน” เช่น ข้าวกล้องงอกจากการเพาะข้าวกล้อง ถั่วงอกจากการเพาะเมล็ดถั่วเขียว ถั่วงอกหัวโตจากการเพาะเมล็ดถั่วเหลือง หรือผักโต้วเหมี่ยวจากการเพาะเมล็ดถั่วลันเตา เป็นต้น ซึ่งต้นอ่อนจากธัญพืชเหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เป็นผักอนามัยไร้สารพิษ และยังอร่อยอีกด้วย

และในฉบับนี้จะพามารู้จักกับต้นอ่อนจากธัญพืชอีกชนิดหนึ่ง คือ “ทานตะวันงอก” หรือ “ต้นอ่อนทานตะวันงอก” (Sunflower Sproat) จากการเพาะเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นผักทางเลือกใหม่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีนสูงกว่าถั่วชนิดอื่นๆ และที่สำคัญเป็นผักที่มีกระแสมาแรง ทั้งในด้านการบริโภค และการจำหน่ายทั้งเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปเพาะเองจนไปถึงต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งในปัจจุบันมีการตอบรับกันเป็นอย่างดี

1.ต้นทานตะวันงอก
1.ต้นทานตะวันงอก

คุณนุชนภา ศรีธัญรัตน์ และคุณสุเทพ รุจิศักดิ์ เจ้าของทานตะวันงอก “เทพนภาฟาร์ม” เริ่มทำธุรกิจการเพาะทานตะวันงอกจากการทำรับประทานเองภายในครอบครัว และส่งขายให้ลูกค้าตามบริเวณแถวบ้าน หรือตามออเดอร์ที่มีลูกค้าสั่ง จนมาขยายหาตลาดจากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และส่งตามร้านแหล่งท่องเที่ยว

คุณนุชนภาเล่าให้ทีมงานฟังว่า สมัยก่อนทำฟาร์มเห็ดขาย ทั้งดอกสด และแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรเห็ดหลินจือ แต่เพราะไม่มีเวลาเปิดหน้าดอก บวกกับการทำตลาดของน้ำสมุนไพรเห็ดหลินจือเริ่มนิ่ง จึงคิดหาพืชตัวใหม่มาทำแทน จนได้มาเจอกับการผลิตต้นทานตะวันงอก เพราะคนรักสุขภาพสนใจเป็นจำนวนมากในขณะนี้ การเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกต้นทานตะวันงอก คุณนุชนภาเริ่มต้นจากการศึกษาดูในอินเตอร์เน็ต และมาผสมผสานจากการไปดูงานในที่ต่างๆ ที่จัดอบรมเรื่องการเพาะเมล็ดทานตะวันงอก ลองผิดลองถูก จนได้วิธีการเพาะเมล็ดทานตะวันที่ดีที่สุดในแบบฉบับของตน

2.คุณนุชนภา-ศรีธัญรัตน์-และคุณสุเทพ-รุจิศักดิ์-เจ้าของทานตะวันงอก-เทพนภาฟาร์ม
2.คุณนุชนภา-ศรีธัญรัตน์-และคุณสุเทพ-รุจิศักดิ์-เจ้าของทานตะวันงอก-เทพนภาฟาร์ม

วิธีการผลิตต้นอ่อนทานตะวัน

1.การเตรียมเมล็ดพันธุ์ โดยการนำเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้เพาะมาทำการคัดเอาเศษที่ไม่ใช่เมล็ดพันธุ์ และเมล็ดที่แตกทิ้ง เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่แตกมักเป็นสาเหตุของโรคเชื้อรา และนำเมล็ดพันธุ์ที่คัดแล้วลงแช่ในน้ำ (อาจจะผสมไคโตซานลงไปในน้ำที่ใช้แช่เมล็ดพันธุ์เพื่อป้องกันเชื้อรา) จะเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นก็ได้ (อุณหภูมิประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส) น้ำอุ่นจะทำให้เปลือกของเมล็ดพันธุ์อ่อนลง

เมื่อนำเมล็ดแช่ในน้ำให้แช่ประมาณ 6-8 ชั่วโมง หรือ 1 คืน จากนั้นเมื่อได้เมล็ดพันธุ์ที่แช่จากน้ำแล้วให้นำเมล็ดพันธุ์มาใส่ไว้ในผ้าที่ชุบน้ำไว้ ทำการเกลี่ยเมล็ดพันธุ์ในผ้าให้เป็นชั้นบางๆ อย่าให้หนามากจนเกินไป แล้วนำมาใส่ในภาชนะ หรือถาดที่เตรียมไว้ ปิดผ้าแล้วหาภาชนะอีกใบคว่ำทับไว้เพื่อเก็บความชื้น ตั้งทิ้งไว้กลางแดดประมาณ 8-10 ชั่วโมง (ตรงนี้จะเป็นตัวช่วยเร่งเมล็ดทานตะวันให้งอก)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากนั้นลองเปิดดู หากบริเวณปลายเมล็ดพันธุ์มีรากงอกออกมาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปริมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ของเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด ก็ถือว่าใช้ได้ที่จะพร้อมลงถาดเพาะ หากยังไม่มีรากงอกออกมาเลยให้บ่มทิ้งไว้อีกจนกว่าจะมีรากงอกตามต้องการ อย่าปล่อยให้รากของเมล็ดพันธุ์ยาวเกินไป เพราะอาจจะทำให้รากแห้ง เมื่อนำมาเพาะจะไม่สามารถยึดกับวัสดุปลูกได้

2.การเตรียมวัสดุปลูก จะเป็นวัสดุพิเศษที่ใช้สำหรับปลูกต้นทานตะวันอ่อนโดยเฉพาะ ประกอบด้วยขี้เลื่อย มูลค้างคาว และเพอร์ไลท์ ที่เป็นแร่ต่างๆ ต้นอ่อนต้องสวย (ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ดินปลูกต้นไม้ ขุยมะพร้าว แกลบดำ หรือวัสดุปลูกอื่นๆ ที่หาได้ง่ายๆ แทน) หลังจากนั้นใช้วัสดุปลูกรองพื้นถาดเพาะที่มีรูระบาย หากเป็นตะกร้าที่รูห่างมากๆ ให้ใช้ผ้าบางๆ ชุบน้ำรองพื้นก่อนนำวัสดุปลูกลงในภาชนะ ให้ชั้นวัสดุปลูกรองพื้นหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร เกลี่ยวัสดุปลูกให้ทั่ว และมีความหนาเท่าๆ กันทุกพื้นที่ ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ที่บ่มจะมีรากงอกออกมาแล้วลงปลูก

3.การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน หลังจากที่วัสดุปลูกและเมล็ดพันธุ์พร้อมแล้ว ให้นำเมล็ดพันธุ์โรยลงในถาด หรือในภาชนะที่เตรียมวัสดุปลูกไว้ให้เต็มหน้าวัสดุปลูก ให้มีความหนาแน่นของเมล็ดพันธุ์พอสมควร แต่ระวังอย่าให้ซ้อนกันเป็นชั้นหนา เพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่สามารถยึดเกาะวัสดุปลูกได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มโดยใช้บัวรดน้ำ หรือฟ๊อกกี้ที่มีรูขนาดเล็ก เพื่อให้น้ำที่ออกมาเป็นฝอยมากที่สุด เนื่องจากการรดน้ำแรงเกินไปเมล็ดพันธุ์จะกระจายตัวออก และขึ้นไม่สม่ำเสมอ เมื่อรดน้ำเสร็จให้ใช้วัสดุปลูกโรยหน้าทับพื้นที่ รดน้ำเพียงบางๆ แต่ให้ปิดทับทั่วหน้าภาชนะปลูก หากวัสดุปลูกเป็นดินให้ใช้ตะกร้าตาห่างประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นอุปกรณ์ช่วยร่อนดินให้ทั่วภาชนะที่ปลูก จะทำให้ชั้นดินไม่หนามากจนเกินไป ไม่ควรกดทับหน้าวัสดุปลูกให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้นอ่อนโผล่พ้นวัสดุปลูกได้ช้า

เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ลงปลูกเรียบร้อยแล้วให้นำภาชนะที่ปลูกเก็บไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดด ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ระหว่างนั้นหากหน้าวัสดุปลูกแห้งให้ใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดพรมให้ชุ่มพอประมาณ สังเกตหากต้นอ่อนโผล่พ้นวัสดุปลูกประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้ว ให้นำต้นอ่อนออกมารับแสงรำไร แต่ไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง ระหว่างนั้นรดน้ำให้ชุ่มเช้า-เย็น หรือหากวัสดุปลูกแห้งมากให้เพิ่มเป็น 3 ครั้งต่อวัน

รอจนต้นอ่อนโตเต็มที่ ประมาณวันที่ 5-7 (นับจากลงภาชนะปลูก) ต้นอ่อนบางต้นจะเริ่มมีการแตกใบที่ 3 และ 4 ออกมา ให้สามารถทำการเก็บเกี่ยวได้ ควรใช้มีดโกน หรือกรรไกร ตัดลงที่โคนต้นอ่อน โดยต้องใช้ใบมีดโกน หรือกรรไกร ที่คมมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โคนต้นช้ำ ซึ่งอาจจะเป็นผลทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นลง หลังจากที่ได้ต้นทานตะวันงอกที่ตัดรากแล้ว นำต้นทานตะวันงอกมาล้างน้ำสะอาดประมาณ 2 รอบ ระวังอย่าให้ต้นอ่อนหัก จากนั้นนำขึ้นจากน้ำ ใส่ตะแกรงผึ่งลมให้แห้ง แพ็คใส่กล่อง หรือภาชนะ เพื่อจำหน่าย โดยต้นอ่อนทานตะวันที่แช่ในตู้เย็นจะเก็บได้นานประมาณ 7-10 วัน

3.เมล็ดทานตะวัน
3.เมล็ดทานตะวัน

ประโยชน์ทางโภชนาการ ทั้งเมล็ดและต้นอ่อน

เมล็ดทานตะวัน 100 กรัม ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์นานัปการ ให้พลังงานแก่ร่างกาย 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 23 กรัม ไขมัน 50 กรัม แคลเซียม 14.3. กรัม คาร์โบไฮเดรต 19 กรัม สังกะสี 5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 690 มิลลิกรัม ไขมันที่อยู่ในเมล็ดทานตะวันงอกจะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี 1 วิตามินอี และไนอะซิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต้นอ่อนทานตะวัน หรือเมล็ดทานตะวันงอก มีวิตามินหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ และวิตามินอีสูง ที่สามารถช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ และชะลอความชรา วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ซึ่งช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) และธาตุเหล็กสูง ทานตะวันอ่อนจะมีกลิ่นหอม กรอบ และมีรสชาติหวาน สามารถกินได้ทั้งแบบสด เช่น จิ้มน้ำพริก เป็นผักสลัด ยำ หรือจะนำไปปรุงอาหารเมนูอร่อยๆ ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผัดน้ำมันหอย แกงจืด แกงส้ม แกงเลียง หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก หรือจะนำมาปั่นเป็นน้ำผักก็จะได้น้ำผักสีเขียวเข้ม กลิ่นหอม แต่ควรดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง หรือตอนท้องว่างอยู่ จะได้ประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีวิตามินและเอนไซม์สูง

ในปัจจุบันกระแสความแรงของการบริโภคเมล็ดทานตะวันงอกจะยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน การผลิตต้นอ่อนของทานตะวันเพื่อจำหน่ายจึงถือว่าเป็นธุรกิจที่ดีมาก ณ ตอนนี้ เพราะการเพาะเมล็ดทานตะวันไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยาก แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิตต้นอ่อนทานตะวันให้ออกมาดูสวย อวบ เพื่อทำให้ผู้บริโภคหรือตลาดสนใจซื้อไปรับประทาน

4.กระบะปลูกเมล็ดทานตะวัน
4.กระบะปลูกเมล็ดทานตะวัน
ดินปลูก
ดินปลูก
กระบะและดินพร้อมปลูก
กระบะและดินพร้อมปลูก

ด้านตลาดต้นอ่อนทานตะวัน

ต้นอ่อนทานตะวันอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าเทพนภาฟาร์มตีตลาด โดยใช้สั่งตามร้านสุขภาพต่างๆ แล้วตามออเดอร์ที่มีการสั่งเข้ามา แต่การรับออเดอร์ก็มีการเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ จากการขายต้นอ่อนทานตะวันในบริเวณแถวบ้านในตัวเมืองสระบุรี ก็เริ่มขยายมีฐานตลาดอยู่ตามปริมณฑล เช่น จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี เป็นต้น

การส่ง ต้นอ่อนทานตะวัน จะมีการส่งให้ลูกค้าประมาณอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ต้องมีการสั่งออเดอร์ล่วงหน้า เพื่อจะเตรียมการปลูก ต้นอ่อนทานตะวัน ส่งได้ ในแต่ละเดือนจะมียอดสั่ง ต้นอ่อนทานตะวัน ประมาณ 200 กว่ากิโลกรัม โดยจะจำหน่ายในราคา 120 บาท ต่อกิโลกรัม เป็นราคาส่งออกตามร้านค้า แต่ราคาตามท้องตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 150-300 บาท ขึ้นไป

เมล็ดทานตะวันงอกแล้วประมาณ-1-2-วัน
เมล็ดทานตะวันงอกแล้วประมาณ-1-2-วัน
5.วิธีการตัด ต้นอ่อนทานตะวัน งอก
5.วิธีการตัด ต้นอ่อนทานตะวัน งอก
เมล็ดทานตะวันที่ตัดออกจากกระบะปลูกพร้อมจำหน่าย
เมล็ดทานตะวันที่ตัดออกจากกระบะปลูกพร้อมจำหน่าย
พันธุ์อาร์ดูเอล
พันธุ์อาร์ดูเอล
พันธุ์สุรนารี
พันธุ์สุรนารี
พันธุ์ดำจัมโบ้
พันธุ์ดำจัมโบ้

การเก็บเกี่ยวและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน

เมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่จำหน่ายในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะพันธุ์ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความชอบทางผู้บริโภคว่ารับประทานพันธุ์ไหนได้อร่อย และถูกปากกว่ากัน แต่ส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่จำหน่ายกันจะมีประมาณ 4-5 พันธุ์ ที่นำมาปลูกต้นทานตะวันอ่อน ได้แก่ พันธุ์อาร์ดูเอล พันธุ์แปซิฟิค พันธุ์สุรนารี และพันธุ์ดำจัมโบ้ เป็นต้น ซึ่งพันธุ์เมล็ดทานตะวันเหล่านี้เมื่อนำมาปลูกเป็นต้นทานตะวันก็จะมีรสชาติแตกต่างกันไป แต่สารอาหารที่ได้รับคงเดิม มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามรสชาติแต่อย่างใด

การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ จำหน่ายในกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน 1 กิโลกรัม สามารถปลูกเป็นต้นอ่อนได้ประมาณ 6-8 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในช่วงของการปลูก อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ก็เป็นส่วนสำคัญ เพราะเมล็ดพันธุ์ทานตะวันจะสามารถเก็บไว้ได้แค่ 1 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นอัตราการงอกจะลดลง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเก็บเกี่ยวของเมล็ดพันธุ์ทานตะวันจะอยู่ในช่วงของเดือนมีนาคม ช่วงนี้เมล็ดพันธุ์จะมีอัตราการงอกเพาะได้ประมาณ 90% ถ้าเรานับจากเดือนมีนาคมไป 6-8 เดือน แต่ถ้าขึ้นเดือนที่ 9-10 เมื่อไร เมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่เรามีอยู่จะมีอัตราการงอกลดไปที่ 10% ทันที “เมล็ดพันธุ์ทานตะวันจะเก็บได้ประมาณ 1 ปี โดยไม่ต้องแช่เย็นก็ได้

ถ้าข้ามมาปีต่อมาแล้วห้ามใช้เมล็ดปีเก่า เพราะส่วนใหญ่เขาจะเก็บเกี่ยวพร้อมกันทั้งหมด เขาจะปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม-มกราคม มาเก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ถ้าเรานำมาปลูกข้ามปีอัตราการงอกก็จะลดลง ต้นทานตะวันอ่อนก็จะไม่มีคุณภาพตามไปด้วย” คุณนุชนภากล่าว

6.ชุดเพาะทานตะวันงอกพร้อมส่งลูกค้า
6.ชุดเพาะทานตะวันงอกพร้อมส่งลูกค้า
7.กลุ่มผู้เข้าอบรมเพาะเมล็ดทานตะวันงอกกับเทพนภาฟาร์ม
7.กลุ่มผู้เข้าอบรมเพาะเมล็ดทานตะวันงอกกับเทพนภาฟาร์ม

ฝากถึง..ผู้ที่สนใจปลูก ต้นอ่อนทานตะวัน

คุณนุชนภาฝากว่า “ ต้นอ่อนทานตะวัน ในปัจจุบันเป็นผักเศรษฐกิจตัวใหม่ และค่อนข้างน่าสนใจ เมื่อก่อนหาทานยาก ยังไม่รู้จักกันแพร่หลาย แต่ช่วงระยะหลังๆ ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเริ่มมีคนรู้จักกันมากขึ้น มันเป็นธุรกิจที่ดี อีกอย่างมันเพาะง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก ทำในครัวเรือน พอขายได้เล็กๆ น้อยๆ แล้วค่อยขยายไปเรื่อยๆ”

ผู้อ่านท่านใดสนใจอยากปลูก ต้นอ่อนทานตะวัน จำหน่าย หรืออยากจะปลูกไว้รับประทานเองภายในครอบครัวก็สามารถทำกันได้ ที่เทพนภาฟาร์ม มีชุดเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน ในราคา 350 บาท สามารถเพาะได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1-2 กิโลกรัม

สนใจติดต่อ คุณนุชนภา ศรีธัญรัตน์ 91 ม.4 ต.สร่างโศก อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี 18130 โทร.08-0422-7754