ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แปลง สวนทุเรียน มังคุค เงาะ ลองกอง ต้อนรับนักท่องเที่ยว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้านการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรให้เอื้อต่อทางภาวการณ์ตลาด รวมถึงการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้แก่เกษตรนั้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสนับสนุนการทำการเกษตรให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ในเขตพื้นที่ ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง นอกจากนั้นในการพัฒนาการกำกับดูแลยังได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของเทศบาลเมืองแล้ว ทั้งในการทำการเกษตรกรรมของเกษตรยังหาได้มีการรับรองการทำการเกษตรจากสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง

การส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

การประกอบอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่ส่วนมากจะเน้นการทำเกษตรเพาะปลูกพืชสวนไม้ผลแบบผสมผสานเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับการทำตลาดให้แก่นักท่องเที่ยวที่มีทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวสวน  ทั้งได้ลองลิ้มชิมรสผลไม้ และจับจ่ายซื้อผลไม้เพื่อเป็นของฝากซึ่งกันและกันในฤดูกาลไม้ผล

1.บรรยากาศภายในสวน
1.บรรยากาศภายในสวน

สภาพพื้นที่ปลูกทุเรียนแบบผสมผสาน

อย่างไรก็ดีนิตยสารเมืองไม้ผลได้มีโอกาสได้เข้าไปเที่ยวสวนผลไม้ในช่วงที่ยังไม่ถึงฤดูกาลให้ผลผลิตเต็มที่ นั่นคือ  ผลผลิตยังอ่อน จากนั้นจึงได้พูดคุยกับ คุณป้าลำดวน ธรรมสุมหา ซึ่งเป็นเจ้าของสวนลำดวน เล่าว่า ในละแวกนี้เป็นพื้นที่ดินร่วนปนทราย ซึ่งตนได้ทำสวนการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน มังคุด และมีลองกอง ปลูกไม่มาก แจมไปในเนื้อที่ 25 ไร่ จากนั้นก็จะมีสวนเงาะอยู่ 5 ไร่ จำนวน 40 ต้น นอกจากทำสวนเกษตรแบบผสมผสานแล้ว ยังทำนาปีอีก 20 ไร่ รวมแล้วตนมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ 50 ไร่

เริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 โดยได้ปลูกมังคุดกับทุเรียน ส่วนการปลูกในตอนนั้นจะปลูกไปแบบธรรมชาติมากกว่า คือ ไม่มีหลักวิชาการเกษตรอะไร เพียงขุดหลุมปลูก ความกว้างลึกให้เหมาะสมกับต้น จากนั้นนำต้นพันธุ์ลงปลูก เอาดินกลบก็เสร็จแล้ว ส่วนระยะความห่างของต้นก็จะให้ได้ 6 เมตร/ต้น

ส่วนการปลูกทุเรียนกับมังคุดแบบผสมผสานกันนั้น คุณป้าลำดวนบอกว่าในระยะห่างของต้น 6 เมตร นั้น อย่างเช่น หลุมที่ 1 ปลูกทุเรียน ระยะห่างออกไปอีก 6 เมตร หลุมปลูกที่ 2 ก็จะปลูกมังคุด ต่อไปก็จะเป็นหลุมที่ 3 ก็จะปลูกทุเรียน หลุมที่ 4 ก็จะเป็นมังคุด ก็จะปลูกสลับกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ

2.ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
2.ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

การให้น้ำและปุ๋ย ต้นทุเรียน และมังคุด

สำหรับการให้น้ำทุเรียนและมังคุดจะให้พร้อมกัน โดยจะได้น้ำจากสระที่ขุดไว้กลางสวน จากนั้นก็จะใช้มอเตอร์ 1 แรงม้า สูบน้ำขึ้นมาจากสระ ซึ่งจะใช้ท่อสายยางขนาด 2 นิ้วครึ่ง เป็นตัวส่งน้ำ  จากนั้นก็จะใช้แรงงานคนจับสายยางเดินรดต้นทุเรียนและมังคุด ในส่วนของการให้น้ำจะให้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ทั้งนี้ในการให้ปุ๋ย ให้ฮอร์โมน บำรุงต้น จะให้หลังการตัดแต่งกิ่งเสร็จ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนปุ๋ยนั้นก็จะเป็นปุ๋ยหมักโดยได้จากการทำขึ้นมาเอง ซึ่งได้จากการนำเอาก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ทางฟาร์มเห็ดเขาเพาะเชื้อหมดแล้วนำมาผสมกับปุ๋ยคอก อาทิ มูลวัว และมูลไก่ เป็นต้น ส่วนการให้จะโรยไปรอบๆ บริเวณระยะโคนต้น หรือตามร่มของต้น

3.ลองกองลูกใหญ่ เนื้อเยอะ
3.ลองกองลูกใหญ่ เนื้อเยอะ

การบำรุงดูแลรักษา ต้นทุเรียน และมังคุด

อย่างไรก็ตามในการดูแลรักษาทุเรียนกับมังคุด คุณป้าลำดวนบอกว่าทุเรียนจะรักษายากกว่า เนื่องจากทุเรียนส่วนมากจะเกิดโรคเชื้อราหรือรากเน่า ซึ่งอาการจะมีน้ำยางไหลที่ต้น ใบร่วง หรือที่เรียกว่า โรคเชื้อราไฟทอปทอร่า ส่วนยาหรือสารใช้ฉีดพ่นตนจะให้ลูกช่วยไปหาซื้อตามร้านเคมีการเกษตรทั่วไป อย่างเช่น สารฟังกูราน

นอกจากทุเรียนจะเป็นโรคเชื้อราแล้ว ยังมีศัตรูทุเรียน คือ แมลงหนอนด้วงหรือหนอนไชต้นที่ชาวบ้านเรียกกัน หนอนชนิดนี้จะร้ายกาจมาก การเข้าทำลายของมันจะเข้ามาแทะเจาะกินลำต้นและเปลือกของทุเรียน หากไม่เห็นหรือหาไม่เจอตัวมันก่อนมันก็จะเข้าไปกัดเจาะกินส่วนในหรือข้างในของต้น เมื่อกินเข้าไปลึกๆ ยันถึงท่อน้ำเลี้ยงทำให้ลำต้นไม่สามารถลำเลียงอาหารไปเลี้ยงระบบของต้นได้

จากนั้นอาการใบและระบบส่วนของลำต้นทุเรียนก็จะเหี่ยวแห้งและใบก็จะร่วง หลังจากนั้นต้นทุเรียนก็จะค่อยๆ ยืนต้นตาย อย่างไรก็ตามคุณป้าลำดวนยังเล่าว่าการที่มันเจาะเข้าไปกินลึกๆ ตนก็ไม่สามารถที่จะใช้สารปราบหรือฉีดเข้าไปปราบมันได้ นอกจากจะใช้มีดเซาะ เจาะ ตามหาเอาตัวมันออกมา “ส่วนมากเราจะต้องหาตัวมันให้เจอจึงจะกำจัดหรือฆ่ามันได้”

สำหรับมังคุดจะรักษาง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องโรคพืช แต่จะมีปัญหาเรื่องแมลงเพลี้ยไฟที่เป็นศัตรูของมังคุด การเข้าทำลายของมันจะเข้ามาแทะกัดกินใบอ่อนๆ และผล การเข้ากินใบจะทำให้ใบหยิกงอ เหี่ยวแห้ง หรือยอดก็จะหลุดขาดไป ส่วนอาการของผลก็จะเป็นจุดดำๆ และเป็นลายๆ เส้นยาวรอบๆ ผล ส่วนมากอาการไม่ค่อยรุนแรง การใช้สารปราบจะใช้สารอาบาฯ ฉีดพ่นทั่วต้น ในขณะที่มังคุดออกใบอ่อนและผลอ่อน

4.ลองกองลูกดกเต็มต้น
4.ลองกองลูกดกเต็มต้น

การตัดแต่งกิ่ง ทุเรียน และมังคุด

สำหรับการตัดแต่งกิ่งทุเรียนนั้น กิ่งก้านที่ไม่ควรตัดออก หรือเรียกว่า กิ่งแท้  โดยปกติธรรมชาติของกิ่งต้นทุเรียนจะให้ผลผลิตออกดอก ติดผล ไปตามกิ่งก้านที่สมบูรณ์ ทั้งมีรูปทรงที่สวยตรงเสมอกัน หรือไม่มีตาตุ่ม และในลักษณะเรียบไม่เป็นปุ่ม แต่ควรตัดกิ่งก้านที่เป็นแขนง หรือที่เรียกว่า กิ่งเทียม ซึ่งตรงกันข้ามกับกิ่งก้านแท้ เนื่องจากจะทำให้กิ่งก้านแท้หรือกิ่งก้านที่สมบูรณ์มีความสมดุลกัน และได้รับสารอาหารได้เพียงพอ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนการตัดแต่งกิ่งมังคุดโดยปกติมังคุดลักษณะการเจริญเติบโตของต้นจะสูงใหญ่ คุณป้าลำดวนบอกว่าส่วนมากตนจะตัดหลังจากเก็บผลผลิตหมด การตัดจะเน้นตัดที่ส่วนปลายออก เนื่องจากต้นมังคุดเป็นไม้ยืนต้น ในรูปลักษณะสูงกว่าต้นทุเรียน และจะใหญ่ขยายไปตลอด หากปล่อยไปจะยากลำบากแก่การเก็บเกี่ยว นอกจากนั้นก็จะทำให้ดูแลรักษาแล้วยังทำให้ติดดอก ติดผลดก

5.ทุเรียนหมอนทองพร้อมเก็บจำหน่าย
5.ทุเรียนหมอนทองพร้อมเก็บจำหน่าย

การเก็บเกี่ยวผลผลิต ทุเรียน และมังคุด

ป้าลำดวนเล่าอีกว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนและมังคุด ซึ่งตนได้ปลูกแบบผสมผสานกันนั้น การให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวจะให้เก็บได้เพียงครั้งเดียวในฤดูกาลเท่านั้น คือ เดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่สำหรับทุเรียนปกติจะให้ผลผลิตออกดอกในระยะกลางเดือน  หรือปลายเดือนพฤศจิกายน ก็จะบานดอกได้เต็มที่  แล้วก็จะติดผลปลายเดือนธันวาคม  หลังจากติดผลแล้วให้นับไปอีก 120 วัน ผลของทุเรียนก็จะแก่ จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้

แต่มาปีนี้ทุเรียนออกช้ากว่าทุกปี เพิ่งมาติดดอกเมื่อปลายเดือนธันวาคมนี้ และมาติดผลเมื่อเดือนมกราคม บางต้นก็ไม่ติดเลย อาจจะเป็นเพราะเนื่องจากอากาศแปรปรวน และมีทั้งฝน และลม และร้อน หากมีอากาศหนาวเข้ามาบ้างผลทุเรียนก็จะติดดี แต่มาช่วงนี้ทั้งผลอ่อนของทุเรียนและมังคุดจะสลัดดอกและผลร่วงออกเยอะกว่าทุกปีที่ผ่านมา ส่วนต้นทุเรียนที่ติดผลก็ประมาณเดือนเมษายนผล ก็จะแก่พอจะเก็บเกี่ยวขายได้

สำหรับมังคุดจะเริ่มผลิตดอกปลายเดือนธันวาคม หรือย่างเข้าเดือนมกราคม และดอกจะบานเต็มที่เดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นก็จะติดผลในระยะการเก็บเกี่ยวได้นับไปอีก 120 วัน อายุผลเท่ากับทุเรียนก็จะเก็บเกี่ยวได้

อย่างไรก็ตามเมื่อนิตยสารเมืองไม้ผลถามถึงเรื่องของการปลูกเงาะที่มีปลูกไว้ต่างหากในพื้นที่ 5 ไร่ จึงได้ความว่าสำหรับเงาะต้นตอเป็นเงาะพันธุ์บางยี่ขัน ตั้งแต่คุณป้าลำดวนเกิดมาก็เห็นเลย ส่วนอายุต้นก็ประมาณ 80 กว่าปีแล้ว ต่อมาเมื่อปี 2528-2529 ตนได้ซื้อกิ่งพันธุ์เงาะโรงเรียนมาทาบหรือเสียบยอด จากนั้นได้ตัดต้นเงาะพันธุ์บางยี่ขันออกให้เหลือแต่ตอ หลังจากต้นตอได้แตกแขนงออกตนจึงได้นำกิ่งพันธุ์เงาะโรงเรียนมาทาบหรือเสียบยอด

ปัจจุบันนี้อายุได้ประมาณ 28-29 ปี ส่วนการดูแลรักษาในช่วงระยะเงาะโรงเรียนให้ดอกติดผลยันถึงผลขนาดเก็บผลผลิตได้ เงาะจะกินน้ำมาก ให้น้ำได้ทุกวันยิ่งดี การบำรุงดูแลรักษาจะง่าย การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยหมักเพียงปีละครั้งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ และแมลงรบกวนที่นี่ก็ไม่มี ระยะการเก็บเกี่ยวจะเก็บได้ตามฤดูกาล คือ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.มังคุดที่เก็บได้แล้ว
6.มังคุดที่เก็บได้แล้ว ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ผลผลิตมังคุดพร้อมส่งลูกค้า
ผลผลิตมังคุดพร้อมส่งลูกค้า ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิต ทุเรียน มังคุด และเงาะ

สำหรับการตลาด คุณป้าลำดวนบอกว่าหน้าฤดูกาลผลไม้ในพื้นที่ ต.ตะพง จะมีในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ส่วนมากพ่อค้า แม่ค้า ที่เข้ามาซื้อที่สวนจะมาจากพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง ในตลาดผลไม้ ต.ตะพง หรือที่เรียกว่า ตลาดผลไม้ตะพง ส่วนราคาขายที่หน้าสวน อย่างเช่น ทุเรียน จะขายได้กิโลละ 60-70 บาท/กก. ส่วนเงาะและมังคุดจะอยู่ที่ 20-30 บาท/กก. นอกจากนั้นก็จะมีทั้งนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเข้าเที่ยวที่สวน และก็ซื้อเป็นของฝาก

ทั้งนี้นิตยสารเมืองไม้ผลจึงอยากขอฝากให้นักท่องเที่ยว หากมาเที่ยวในพื้นที่ จ.ระยอง อย่าลืมพื้นที่ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต.ตะพง นอกจากนี้ยังมีริมทะเลสวยๆ ให้ชมกัน หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ คุณลำดวน ธรรมสุมหา หรือสวนลำดวน บ้านเลขที่ 78 ม.14 ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง โทร.08-9933-3798

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร คอลัมน์ เมืองไม้ผล