ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบ DRFT ราคาดีทั้งตลาดล่างและบน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

เมื่อพูดถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หลายคนคงนึกถึงการปลูกพืชที่เรียกว่า “ไฮโดรโปนิกส์” เป็นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารอาหารโดยตรงนั่นเอง การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ในอดีตประเทศไทยนั้นยังคงไม่แพร่หลายนัก เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกษตรกรในบ้านเรายังมีสับสนกับการปลูกพืชแบบไร้ดิน และการปลูกพืชในดินอย่างไหนเหมาะสมกว่ากัน

ในปัจจุบันการปลูกพืชไร้ดิน หรือที่เรียกกันว่า ไฮโดรโปนิกส์ เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง มีการปลูกในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพกันมากขึ้น จึงเลือกที่จะบริโภคผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งมีการปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมแมลง ศัตรูพืช ได้ ทำให้มีการใช้สารเคมีน้อยลง ผักที่ได้จึงเป็นผักอนามัย เหมาะแก่ผู้ที่รักษาสุขภาพอย่างแท้จริง

สำหรับผู้ที่ชอบรับประทาน หรือสนใจ ในเรื่องการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องติดตามคอลัมน์นี้ เพราะผู้เขียนมีฟาร์ม ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกล จากกรุงเทพฯ ของเรามากนัก นั่นก็คือ ฟาร์ม ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์  “Plant sense” ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งที่นี่จะมีผักสลัดสดๆ ที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ให้เราได้เลือกซื้อแบบตระการตา แต่แนะนำว่าโทรมาสั่งก่อนจะดีกว่า ถ้าต้องการผักในปริมาณที่เยอะ เพราะที่นี่ผักทุกต้นจะมีออเดอร์สั่งซื้อแล้วทั้งนั้น

1.ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบ DRFT ราคาดีทั้งตลาดล่างและบน
1.ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบ DRFT ราคาดีทั้งตลาดล่างและบน

ผู้จัดการ ดูแลกระบวนการผลิตในฟาร์ม Plant sense หรือ บริษัท แพลนท์ เซนส์ จำกัด เล่าว่า คุณราชรัตน์ สุดยอด เจ้าของฟาร์มไฮโดรโปนิกส์แห่งนี้สนใจในเรื่องของเกษตรกรรม และคิดว่างานประจำที่คุณราชรัตน์ทำอยู่นั้นในอนาคตอาจจะไม่มีความยั่งยืน จึงหันมาเรียนรู้การปลูกพืชผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ เพื่อในอนาคตอาชีพการปลูกผักก็จะกลายมาเป็นอาชีพหลักหลังวัยเกษียณได้ ซึ่งคุณราชรัตน์ก็ยึดตามรอยพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา ในเรื่องของการพอเพียง สร้างความสุข โดยให้ผลผลิตที่ดีต่อลูกค้าของตน

ด้านตลาดและการจำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์

ปัจจุบันมีผู้บริโภคให้ความสนใจหันมารับประทานผักเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็เป็นผักที่ปลูกในระบบโฮโดรโปนิกส์ เพราะมีความสะอาด และปลอดภัยจากสารเคมี

การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปัจจัยสำคัญ คือ “ตลาด” ถ้าปลูกมาแล้วไม่รู้ว่าจะขายใคร ผักที่ปลูกออกมาก็จะจำหน่ายไม่ได้ เกิดความเสียหายในการลงทุน ดังนั้นการวางรากฐานตลาดเพื่อรองรับผลผลิตเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตควรทำ เพราะจะทำให้ผลผลิตระบายออกสู่ตลาดได้ง่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณสุรเดชจะรับยอดออเดอร์จากลูกค้าเพื่อมาคำนวณในการผลิตผัก และในแต่ละเดือนจะมีพ่อค้า แม่ค้า เข้ามารับซื้อผักจากที่ฟาร์ม เมื่อถึงกำหนดเวลาที่จะมารับผัก ประมาณ 3-4 เจ้า ส่วนใหญ่จะนำผักไปขายต่อ นอกจากพ่อค้า แม่ค้า ที่เข้ามารับซื้อผักในฟาร์มแล้ว

ที่นี่ยังจำหน่ายผักสลัดส่งห้าง foodland เพื่อเข้าไปทำสลัดบาร์ให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคผักสด ปลอดภัย และสะอาด อีกด้วย และในแต่ละเดือน Plant sense ฟาร์ม จะมียอดสั่งซื้อผักไฮโดรโปนิกส์ประมาณเดือนละ 1,000 กิโลกรัม

  • ราคาจำหน่ายถ้าเป็นผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า จะอยู่ที่ประมาณ 50-55 บาท
  • ผักสลัดจำหน่ายอยู่ที่ 80-100 บาท ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสภาวะอากาศ ถ้า

อากาศร้อนมากเกินไปจะทำให้ผักเจริญเติบโตช้า และสารละลายธาตุอาหารของพืช ถ้ามีอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไป รากของผักที่ปลูกก็จะเกิดการเน่า ทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ทำไมต้องปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์

การเรียนรู้เกิดจากการไปศึกษาดูงานการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ในหลายๆ ที่ เพื่อมาประยุกต์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทำไมต้องปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ คำตอบที่ได้รับ คือ การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์นั้นไม่มีวิธีการอะไรยุ่งยากมากนัก ไม่ต้องนำรถไถมาเตรียมดิน หรือตีแปลง แค่มีอุปกรณ์เพาะปลูกก็สามารถปลูกได้แล้ว ถ้าไม่มีพื้นที่หรือมีพื้นที่จำกัดก็สามารถจัดตั้งอุปกรณ์ให้เหมาะกับความต้องการได้ โดยไม่ต้องใช้ดินมาเป็นองค์ประกอบในการผลิตเลย และที่สำคัญตลาดของผักที่ปลูกด้วยระบบน้ำจะมีราคาค่อนข้างสูง ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 70 บาท และตลาดก็มีความต้องการสูง

เมื่อตลาดมีความต้องการสูง และผู้จำหน่ายสามารถหาตลาดที่จะส่งผลผลิตได้ ผลกระทบต่อผลผลิตที่ล้นตลาด หรือมีจำนวนมากเกินความต้องการของผู้บริโภคก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะถ้าสามารถคำนวณออเดอร์ในแต่ละเดือนได้ การควบคุมผลผลิตให้ถึงมือลูกค้าก็ง่ายต่อการจัดการด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาอยู่ตลอดเวลา เพราะปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด จนทำให้ต้องคิดแก้ไขและปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น เพื่อสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อ และผู้บริโภค ให้เกิดความไว้วางใจของผลผลิต

3.ปลูกผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์
3.ปลูกผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักในระบบ DRFT Hydroponics

การปลูกพืชผักในระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้ดินระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการใช้วัสดุปลูกต่างๆ เช่น ฟองน้ำ เพอร์ไลท์ เวอร์มิคไลท์ เป็นต้น ทดแทนการปลูกในดิน

โดยต้นพืชจะดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางรากที่จุ่มแช่อยู่ในสารละลาย หรือปุ๋ยที่ละลายในน้ำ และทำให้มีการไหลเวียนของสารละลายในระบบปลูกด้วยปั๊มน้ำ โรงเรือน หรือโต๊ะปลูก ล้อมด้วยมุ้งตาข่ายขาว ทำเป็นระบบปิด เพื่อช่วยป้องกันแมลง ศัตรูพืช หลังคาคลุมด้วยแผ่นพลาสติกใสเคลือบกันรังสี UV และช่วยให้แสง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชสามารถผ่านได้ดี

การปลูกผักด้วยระบบ DRFT ได้พัฒนาเพิ่มเติมมาจากแบบที่นิยมใช้กันในประเทศไต้หวัน ซึ่งพัฒนามาจากระบบ DFT (Deep Flow Technique) เพื่อการผลิตพืชเชิงการค้า โดยต้องการให้พืชได้รับทั้งอากาศและสารละลายธาตุอาหารที่มีการหมุนเวียนที่รากพืชอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบ DRFT นั้น เหมาะสำหรับการปลูกผัก Hydroponics ในประเทศไทย เพราะสามารถควบคุมโรคและแมลงที่มารบกวนพืชผักที่ปลูกได้ เนื่องจากเป็นระบบที่ต้องทำโรงเรือนแบบปิด

ระบบของโรงเรือนที่นี่จะปลูกผักสลัดตามความต้องการของตลาด เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค และบัตเตอร์เฮด เป็นต้น ส่วนผักในบ้านเราจะเป็นกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า เป็นต้น

การปลูกผักในแต่ละโต๊ะปลูก ที่นี่ปลูกได้ 1,200 ต้น หรือ 40-50 กิโลกรัม/โต๊ะ ถ้าคิดเป็นการปลูกคะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง แต่สำหรับผักสลัดน้ำหนักขึ้นอยู่กับฤดูกาล และการเจริญเติบโต

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.เพาะเมล็ดในวัสดุปลูก
4.เพาะเมล็ดในวัสดุปลูก
ประมาณ-3-7-วัน-ต้นกล้าพร้อมย้ายไปลงโต๊ะปลูก
ประมาณ-3-7-วัน-ต้นกล้าพร้อมย้ายไปลงโต๊ะปลูก
ย้ายต้นกล้ามาปลูกที่โต๊ะปลูก
ย้ายต้นกล้ามาปลูกที่โต๊ะปลูก
การพ่นหมอกเพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน
การพ่นหมอกเพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน

ขั้นตอนการ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ของ Plant sense มีขั้นตอนการปลูกดังนี้

1.เพาะเมล็ดในวัสดุปลูก ที่นี่จะใช้ฟองน้ำเป็นวัสดุในการเพาะ เมื่อเวลาผ่านไปซักประมาณ 3-7 วัน ต้นกล้าก็จะพร้อมย้ายไปลงโต๊ะปลูก อัตราการงอกของเมล็ดจะอยู่ที่ 70-80%

2.นำฟองน้ำที่มีต้นกล้างอกออกมาแล้วย้ายมาปลูกลงในแปลงปลูก หรือโต๊ะปลูกที่เตรียมไว้ โดยย้ายในช่วงที่แดดยังไม่แรงมาก

3.เติมสาร A และสาร B (ปุ๋ย) ที่เตรียมไว้ลงไปในโต๊ะปลูก ตามระยะเวลาที่ต้องการ หรือจะเติมวันเว้นวันก็ได้ตามสูตรของ Plant sense

4.เมื่อพืชเติบโตได้ขนาด ตามวัน และเวลา ที่กำหนด จึงทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต

5.ผลผลิตพร้อมเก็บจำหน่าย
5.ผลผลิตพร้อมเก็บจำหน่าย

การเก็บเกี่ยวผักไฮโดรโปนิกส์

เมื่อพืชผักเติบโตได้ 1 สัปดาห์ ก่อนถึงอายุการเก็บเกี่ยว จะไม่มีการเติมปุ๋ย หรือสารละลายธาตุอาหารพืชลงในระบบปลูกอีก แต่จะเติมเพียงน้ำเปล่าเท่านั้น เพื่อให้ต้นพืชที่อยู่ในแปลงใช้ปุ๋ยที่มีอยู่ในระบบให้หมดก่อน อันจะเป็นการลดความเข้มข้นของปุ๋ยที่อาจจะตกค้างอยู่ในต้นพืช ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเช้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากนั้นจึงนำมาทำความสะอาดและตกแต่ง โดยนำใบแก่ หรือใบที่เหี่ยวแห้งทิ้งไป จากนั้นจึงนำมาชั่งน้ำหนัก และบรรจุลงภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายต่อไป หากยังไม่สามารถส่งผักออกจำหน่ายได้ในทันที ให้เก็บผักแช่ตู้เย็น โดยไม่ให้ผักกระทบความเย็นโดยตรง เพราะจะทำให้ผักเหี่ยวเร็ว ควรนำผักใส่ถุงพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ ให้ผักได้คายน้ำได้สะดวก

6.การไหลเวียนของสารละลายในระบบปลูกด้วยปั๊มน้ำ
6.การไหลเวียนของสารละลายในระบบปลูกด้วยปั๊มน้ำ

การบริหารจัดการโรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์มีข้อแนะนำให้ลองปลูกจากโครงสร้างขนาดเล็กๆ ก่อน เพื่อให้รู้จักวิธีการจัดการ เทคโนโลยี รวมไปถึงความเชี่ยวชาญก่อน เมื่อมั่นใจแล้วจึงขยายการปลูกผักในระบบนี้ออกไป เพราะข้อมูลพื้นฐานที่เราสะสมมาก็จะมีเพียงพอต่อการแก้ปัญหาและการจัดการต่อไป

ค่าของ pH หมายถึง ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ของสารละลายธาตุอาหารพืช สาเหตุที่ต้องมีการควบคุม pH เพื่อให้พืชสามารถดูดใช้ปุ๋ยหรือสารอาหารได้ดี เพราะค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ในสารละลาย จะเป็นค่าที่บอกให้ทราบถึงความสามารถของปุ๋ยที่จะอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในสารละลายธาตุอาหารพืชได้ ถ้าค่า pH สูงหรือต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดการตกตะกอน หากสารละลายธาตุอาหารพืชมีความเป็นกรดมากเกิน

เครื่องมือที่ใช้วัดค่าความเป็นกรด เป็นด่าง หรือ pH meter ก่อนใช้ควรปรับเครื่องมือให้มีความเที่ยงตรงก่อน โดยใช้น้ำยามาตรฐาน หรือที่เรียกว่า “สารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน” (Buffer Solution)

ชนิดของพืช ระยะการเติบโต ความเข้มของแสง และขนาดของถังที่บรรจุสารอาหารพืช สภาพภูมิอากาศก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า EC เนื่องจากโดยทั่วไปเมื่อพืชยังเล็กจะมีความต้องการ EC ที่ต่ำ และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อพืชมีความเจริญเติบโตที่มากขึ้น และพืชแต่ละชนิดจะมีความต้องการค่า EC ที่แตกต่างกัน

เครื่องมือที่ใช้วัดค่าการนำไฟฟ้า เรียกว่า EC meter (Electrical Conductivity) ซึ่งค่าที่วัดได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสารละลาย กล่าวคือ ยิ่งสารละลายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ค่า EC ก็จะสูงขึ้นตามด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
7.โรงเรือน ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์

การจัดการการดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ต้นทุนส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือน และวัสดุปลูก ซึ่งค่อนข้างสูง นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในเมืองไทยยังไม่เหมาะสม และงานวิจัยทางด้านนี้ยังมีน้อย การ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จึงจำเป็นต้องปลูกในโรงเรือน เพื่อควบคุมอุณหภูมิ แมลง ศัตรูพืช รวมถึงสามารถลดการใช้สารเคมีได้เกือบ 100%

ข้อดี ของการ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ที่ดินไม่ดี
  2. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย ในการเตรียมดิน และการกำจัดวัชพืช
  3. สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปีในพื้นที่เดิม เนื่องจากไม่ต้องเตรียมดิน และกำจัดวัชพืช
  4. ตัดปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน
  5. เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารพืชอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ
  6. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้อง แน่นอน และรวดเร็ว โดยเฉพาะในระดับรากพืช ได้แก่ การควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิความเข้มข้นของออกซิเจน ฯลฯ ซึ่งการปลูกพืชทั่วไปทำได้ยาก
  7. พืชเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกในดิน ผลผลิตรวมต่อปีจะมากกว่าการปลูกในดิน เมื่อเทียบพื้นที่การผลิตที่เท่ากัน
  8. ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ไม่มีสารตกค้าง ราคาสูงกว่าพืชที่ปลูกบนดิน
  9. ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงาน และสารป้องกันกำจัดแมลงได้ 100%
  10. เป็นทางเลือกให้กับเกษตรรุ่นใหม่

ข้อเสีย ของการ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  1. การลงทุนขั้นต้นสูงกว่าการปลูกบนดิน
  2. จะต้องมีผู้ชำนาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในเทคนิคการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ และมีประสบการณ์มากพอในการควบคุมดูแล
  3. ต้องการการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ
  4. เป็นสิ่งใหม่สำหรับเกษตรกรที่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
8.จำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์
8.จำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์

ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม ก็จะมีกระแสของการต่อต้าน หรือคัดค้าน ซึ่งเปรียบเหมือนเหรียญอันเดียวแต่มี 2 ด้าน ผักที่ปลูกด้วยไฮโดรโปนิกส์นั้นใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นพวกไนโตรเจน ไนเตรท การยอมรับจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็จะออกมาบอกว่าน่าจะมีสารตกค้างในพืช

แต่ทางด้านนักวิชาการก็แย้งว่าสารไนโตรเจน ไนเตรท แทบจะไม่มีเลย หรือมีก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะการ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ซึ่งในหลักของด้านวิทยาศาสตร์ก็ยืนยันว่าปลอดภัยแน่นอน ไม่มีเรื่องสารพิษตกค้าง ถ้าเทียบกับการปลูกพืชบนดินที่มีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้างในดินมากกว่า

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริโภคว่าจะตัดสินใจเลือกซื้อหรือบริโภคกันแบบไหน แต่สิ่งสำคัญ คือ การล้าง หรือทำความสะอาด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดสารเคมีที่ติดมากับพืชผัก อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่บริโภคสารเคมีโดยตรงจนเกินไป

ขอขอบคุณข้อมูล คุณสุรเดช สดคมขำ (บริษัท Plant sense จำกัด) 44/2 ม.7 ต.แก่นเสี้ยน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000 โทร.09-9123-4123, 08-6369-8121 (คุณตั้ม)