เทคนิคการ ปลูกมะนาวต้นคู่ ออกผลทั้งปี และ วิธีรักษาโรคยางไหล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันไม้ผลเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้น “มะนาว” เพราะไม่ว่าไปจังหวัดไหนก็มีปลูกกันทั่วหน้าแทบจะทุกจังหวัดกันเลยทีเดียว ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่ได้ส่งออกมะนาว เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศค่อนข้างสูง และผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

มะนาวเป็นไม้ผลที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ผลมะนาวใช้ในการประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ไม่สามารถหาพืชชนิดอื่นแทนได้ รวมถึงใช้เป็นยาสมุนไพร และอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงทำให้มะนาวมีการปลูกและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วันนี้มะนาวสามารถให้ผลผลิตได้เร็วขึ้นและต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึงทำให้มะนาวก้าวสู่วงการธุรกิจไม้ผลอย่างน่าจับตามอง เพราะมะนาว “ไม่มีวันตาย” แม้ราคาจะสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคก็จำเป็นต้องใช้ และจะอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนาน

ทางทีมงาน นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์ .อ.อ.วิโรจน์ เพ็ชรรักษ์ (จ่าโรจน์) จากที่เคยรับราชการทหารอากาศ แต่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร “นักพัฒนา” โดยมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ให้คำแนะนำกับบุคคลหรือเกษตรกรที่สนใจในเรื่องของด้านเกษตรเพิ่มเติม อีกทั้งในสวนยังมีการปลูกพืชหลายชนิด อาทิเช่น เห็ด มะม่วง สับปะรด รวมถึงพืชเศรษฐกิจอย่างมะนาวอีกด้วย

จ่าโรจน์เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาลงตัวอยู่ตรงจุดนี้เขาเคยทำนามาก่อน แต่ด้วยความที่ไม่มีความรู้จึงเปลี่ยนมาค้าขายแทน แต่ด้วยความที่พูดไม่เก่ง การทำค้าขายจึงค่อนข้างยาก แม้จะยังรับราชการ แต่เขาก็สามารถทำสวนได้ โดยใช้เวลาที่เหลือจากงานราชการ

1.เทคนิคการ ปลูกมะนาวต้นคู่ ออกผลทั้งปี และ วิธีรักษาโรคยางไหล
1.เทคนิคการ ปลูกมะนาวต้นคู่ ออกผลทั้งปี และ วิธีรักษาโรคยางไหล
2.พ.อ.อ.วิโรจน์-เพ็ชรรักษ์-นับจากทางซ้ายคนที่4-กับชาวต่างชาติที่เข้ามาศึกษาดูงาน
2.พ.อ.อ.วิโรจน์-เพ็ชรรักษ์-นับจากทางซ้ายคนที่4-กับชาวต่างชาติที่เข้ามาศึกษาดูงาน

ข้อดีของการ ปลูกมะนาวต้นคู่

การ ปลูกมะนาวต้นคู่ นั้นจะมีการดูแลและการจัดการที่เหมือนกับการปลูกมะนาวต้นเดี่ยว ซึ่งถือว่าเป็นอีกเทคนิคหรือวิธีหนึ่งที่เป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตของมะนาวให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจ่าโรจน์บอกว่าการปลูกมะนาว 2 ต้นไขว้กัน เพื่อให้แข่งกันเติบโต เพราะต้นมะนาวจะแย่งอาหารกัน สัญชาตญาณของต้นไม้ คือ มันจะไม่ปล่อยให้ต้นอื่นทับหรือไปขี่ตัวมันเอง การปลูกต้นเดี่ยวจะโตช้ามาก สมมุติว่า ปลูกต้นเดี่ยวจะสูงอยู่ 1 เมตร แต่ปลูกแบบต้นคู่ไขว้จะสูงถึง 3 เมตร ความต่างจะต่างกันเยอะ ผลผลิตก็จะได้มากกว่า เพราะทรงพุ่มจะใหญ่กว่าต้นเดี่ยว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้การปลูกมะนาวด้วยวิธีนี้ เกษตรกรต้องดูแลต้นมะนาวอย่าให้แย่งอาหารกันเองมากเกินไป ที่สำคัญค่าปุ๋ย ค่ายา ไม่แตกต่างจากการปลูกต้นเดี่ยวเลย เพียงแต่ต้องเพิ่มทุนค่ากิ่งพันธุ์เท่านั้นเอง แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน และเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถนำไปทดลองทำกันได้

3.แปลงปลูกมะนาวต้นคู้
3.แปลง ปลูกมะนาวต้นคู้

การ ปลูกมะนาวต้นคู่

การ ปลูกมะนาวต้นคู่ ทำได้ 2 วิธี คือ การปลูกในบ่อซีเมนต์ และลงดินตามสวน

1.การปลูกในบ่อซีเมนต์ จะค่อนข้างดูแลง่าย แต่จะเป็นการบังคับพื้นที่ของต้นมะนาว ฉะนั้นต้องเตรียมปุ๋ยหรือสารอาหารมาให้พอกับความต้องการของมะนาวด้วย เริ่มแรกต้องเตรียมดินในการปลูก คือ หน้าดิน 4 ส่วน ก้อนเห็ดเหลือใช้แล้ว 2 ส่วน ขี้วัว 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปใส่ในบ่อซีเมนต์ โดยที่ไม่ต้องปิดก้นของบ่อซีเมนต์ หลังจากนั้นนำต้นมะนาวมาลงปลูกโดยปลูกไขว้กัน 2 ต้น ใน 1 บ่อซีเมนต์

2.การปลูกมะนาวลงดินตามสวน ทำลักษณะเหมือนการปลูกในบ่อซีเมนต์ เพียงแต่ขุดหลุมปลูกลงไปในดิน เว้นระยะห่างประมาณ 3-4 เมตรต่อต้น ใช้หลักการปลูกต้นคู่เหมือนกัน โดยไขว้ต้นมะนาวเวลาลงปลูก

4.ต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์
4.ต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์
6.เห็ดหลินจือที่ใช้รักษาโรคมะนาว
6.เห็ดหลินจือที่ใช้รักษาโรคมะนาว

การใช้เห็ดหลินจือกำจัดโรคและศัตรูพืช

ศัตรูมะนาวที่สำคัญ ได้แก่ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์ และโรคยางไหล

ส่วนใหญ่ที่สวนของจ่าโรจน์จะพบกับปัญหาโรคยางไหลของมะนาว และจะรักษายาก ส่วนมากต้นจะตาย วิธีสังเกตว่ามะนาวเป็นโรคยางไหล คือ สังเกตที่ใบ ถ้าต้นไหนใบจะมีสีนวลๆ ให้ดูที่โคนต้นมะนาวต้นนั้น จะเห็นว่ามียางไหลออกมาจากลำต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธีรักษา โรคยางไหล

วิธีรักษาโรคยางไหล จ่าโรจน์นำเห็ดหลินจือที่หยุดการเจริญเติบโตแล้ว แห้งแข็งแล้ว มาเลื่อยให้เป็นขี้เลื่อย จากนั้นนำมาผสมเหล้าขาว 1 ขวด ต่อเห็ดหลินจือ 1 ช้อนแกง แช่อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น เพราะยิ่งดองนานยิ่งดี จะได้คุณภาพ เหล้าจะไปละลายสารบางตัวในเห็ดหลินจือ เพื่อมาช่วยในการรักษาโรคยางไหลได้

หลังจากที่เจอต้นมะนาวที่เป็นโรคยางไหล ให้ใช้มีดขุดตรงยางที่ไหลออกมา แล้วนำเห็ดกับเหล้าที่ดองด้วยกันมาทาแผลบริเวณที่ขุดไว้ ช่วงนี้ห้ามรดน้ำต้นมะนาวที่ทาแผลไว้ ประมาณ 3 วัน นับจากวันที่ทา แผลจะเริ่มแห้ง แต่ถ้ายังไม่หายก็ทาซ้ำ ส่วนมากแผลจะแห้งแล้วหายในที่สุด

ส่วนโรคแคงเกอร์ก็ใช้เหล้าที่ดองเห็ดหลินจือผสมกับน้ำ หรือสารจับใบในอัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดบริเวณที่เป็นโรคแคงเกอร์ จะช่วยยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายได้

โรคยางไหลในมะนาว
โรคยางไหลในมะนาว

สายพันธุ์มะนาว

โดยสายพันธุ์ที่จ่าโรจน์เลือกปลูกในสวนมี 2 สายพันธุ์ คือ แป้นมาเลย์ กับแป้นดกพิเศษ “การปลูกมะนาวต้องเข้าให้ถึงสวน ไปดูต้น ไปดูลูก แล้วถามรายละเอียดกับเจ้าของสวน เราพอใจค่อยซื้อมาปลูก อย่าไปซื้อที่เราไม่รู้จัก หรือเขาไม่มีสวนยิ่งไม่สมควรซื้อ เพราะเขารับรองให้กับเราไม่ได้ กิ่งพันธุ์แป้นมาเลย์ จังหวัดชัยนาท เป็นผู้นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ส่วนแป้นดกพิเศษเอามาจากศูนย์วิจัย จังหวัดพิจิตร” จ่าโรจน์กล่าว

5.ต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์ประมาณ-1-ปี
5.ต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์ประมาณ-1-ปี

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นมะนาว

ช่วงที่มะนาวมีดอกจะใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-16 อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกก็จะใส่เสริมเรื่อยๆ ประมาณ 3-6 เดือน ต่อครั้ง การปลูกในบ่อซีเมนต์ จ่าโรจน์บอกว่าอย่าใส่ดินเต็ม ปลูกค้อนๆ วงก็พอ พอดินเริ่มยุบก็ใส่ขี้วัวกับขี้เถ้าแกลบเสริมในบ่อซีเมนต์ ต้นมะนาวก็จะได้รับปุ๋ยเต็ม 100%

ส่วนการรดน้ำควรรดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า ใช้ระบบให้น้ำแบบใช้ท่อเมน พุ่งน้ำไปที่ต้นมะนาวเลย มะนาวจริงๆ ไม่ต้องบังคับก็ออกผล “มะนาวจะออกทั้งปี ถ้าต้นสมบูรณ์ บนต้นจะมีลูกทุกรุ่น ตั้งแต่ดอกเริ่มบาน ลูกเล็ก ลูกกลาง จนลูกที่สามารถเก็บผลผลิตได้จะมีอยู่บนต้นตลอด ถ้าปลูกมะนาวไว้กินเอง 6 เดือน เราสามารถเอาลูกไว้ได้ แต่ถ้าจะปลูกเพื่อทำการค้า ต้องเอาไว้ 1 ปี ค่อยให้มีลูก เพราะช่วงนี้จะให้ผลผลิตเต็มที่” จ่าโรจน์กล่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.กิ่งตอนพร้อมปลูก
7.กิ่งตอนพร้อมปลูก

การตัดแต่งกิ่งต้นมะนาว

การตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นมะนาวยังเล็ก ต้องตัดกิ่งในทรงพุ่มออกเรียกว่า “กิ่งขยะ” ช่วงระยะ 3 เดือน ก็ทำการตัดแต่งกิ่งมะนาวออก ถ้าไม่ตัดแต่งตรงนั้นอากาศจะทึบ เป็นสาเหตุทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคและแมลง

หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ตัดแต่งเรื่อยๆ เมื่อมีกิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาควั่นกิ่งมะนาว แล้วนำขุยมะพร้าวไปคลุกกับน้ำ ผสมน้ำเห็ดหลินจือ ผสมเหล้าขาว หลังจากนั้นบีบน้ำออกจากขุยมะพร้าวให้หมด แล้วนำไปห่อหุ้มกับกิ่งที่ควั่นไว้ได้เลย จะช่วยในเรื่องของการป้องกันโรค เมื่อรากมะนาวออกมา 1 เดือน หรือ 45 วัน ก็สามารถตัดกิ่งที่ตอนได้แล้ว

ถ้าอากาศร้อนกิ่งตอนจะไม่ค่อยมีความเสียหาย แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวรากของมะนาวจะไม่ค่อยออก จะมีส่วนเสียหายได้ ส่วนมากจะไม่ค่อยทำกิ่งพันธุ์หน้าหนาวซักเท่าใดนัก “การทำกิ่งพันธุ์ก็เหมือนเด็ก เกิดมาต้องให้วัคซีนป้องกันโรคไปในตัว การทำกิ่งพันธุ์ก็เหมือนกัน เราก็ต้องป้องกันโรคให้เขาไปเลยทีเดียว ตอนปลูกจะได้ไม่มีโรคก่อกวน หรืออาจจะมีน้อยลง” จ่าโรจน์อธิบาย

8.กิ่งพันธุ์พร้อมจำหน่าย
8.กิ่งพันธุ์พร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดทั้งผลและกิ่งพันธุ์มะนาว

ช่วงสวนมะนาวมี “โบนัส” คือ เดือนมีนาคม เมษายน เพราะมะนาวมีราคาแพง ช่วงนี้ชาวบ้านจะจัดงานกันเยอะ ราคาแพงสุดตกลูกละ 5-6 บาท แต่พอช่วงปีใหม่ราคาจะถูกลงประมาณลูกละ 2-3 บาท ทั้งนี้สวนจ่าโรจน์จะมีแม่ค้ามาเหมาสวนทั้งสวน แบบซื้อเจ้าเดียว เก็บได้เท่าไหร่ก็คิดกันไปตามจริง เพราะเขาพอใจในน้ำของมะนาว แถมเปลือกบาง และลูกใหญ่ จึงไม่ต้องลำบากในการหาตลาดของลูกมะนาว

ส่วนกิ่งพันธุ์ จ่าโรจน์จะจำหน่ายแป้นมาเลย์อยู่ต้นละ 150 บาท ส่วนแป้นดกพิเศษอยู่ต้นละ 200 บาท ราคานี้ชำกิ่งเรียบร้อยแล้วพร้อมปลูกได้เลย ต้นมะนาวต้นใหญ่ก็จะขายแบบปลูกในวงบ่อซีเมนต์ ราคาจะคิดความสมบูรณ์ ทรงพุ่ม และอยู่ที่ข้อตกลงของผู้ซื้อและผู้ขายด้วย แพงสุดที่จ่าโรจน์เคยขาย คือ ต้นละ 5,000 บาท

แหล่งที่ขายดี เริ่มจากงานเกษตรที่จังหวัดอ่างทอง และมีการบอกต่อจากลูกค้าที่ซื้อไปแล้ว ต่อปีจ่าโรจน์มีรายได้จากมะนาวถึงหลักล้าน ในพื้นที่ 4 ไร่ มีต้นมะนาวทั้งหมดประมาณ 400 ต้น รวมกันทั้ง 2 พันธุ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.ปลูกมะนาวต้นคู่
9. ปลูกมะนาวต้นคู่ ปลูกมะนาวต้นคู่ ปลูกมะนาวต้นคู่ ปลูกมะนาวต้นคู่ ปลูกมะนาวต้นคู่ ปลูกมะนาวต้นคู่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พ.อ.อ.วิโรจน์ เพ็ชรรักษ์ 20 ม.4 ต.ป่างิ้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000 โทร.08-6126-9155 ปลูกมะนาวต้นคู่ ปลูกมะนาวต้นคู่