มะม่วงฟ้าลั่น นอกฤดู ตลาดโตกัมพูชา รับซื้อถึงสวน มีเท่าไหร่รับซื้อหมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“มะม่วง” เป็นผลไม้เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก ผู้คนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลกรู้จักกันดี ที่สำคัญชาวบ้านพื้นถิ่นเหล่านี้ล้วนเป็นที่รวมองค์ความรู้ที่สำคัญของมะม่วง เช่น การปลูก การขยายพันธุ์ การใช้เป็นยา และอาหาร การแปรรูปต่างๆ ฯลฯ

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

ประเทศไทยเหนือจรดใต้จะพบว่ามีพันธุ์มะม่วงมากมาย และต้นมะม่วงเองสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของไทยได้ดี ปลูกได้เกือบทั่วทั้งประเทศ และเป็นไม้ผลที่มีผู้นิยมปลูก และรับประทานมาก เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

ทีมงานเมืองไม้ผลขอแนะนำสวนมะม่วงฟ้าลั่นของ คุณณัฏชาติ นอบน้อม ที่บ้านเลขที่ 80 ม.2 ต.สวนส้ม อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ซึ่งบริเวณแถบนี้จะทำอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน ปลูกข้าว ทำไม้ดอกส่งขาย เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง รวมไปถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ผลผลิตที่ออกเต็มต้น
ผลผลิตที่ออกเต็มต้น
1.คุณณัฏชาติ-นอบน้อม-เจ้าของสวนมะม่วงฟ้าลั่น
1.คุณณัฏชาติ-นอบน้อม-เจ้าของสวน มะม่วงฟ้าลั่น

คุณณัฏชาติในอดีตเคยปลูกต้นมะนาวมาก่อน แต่เพราะต้นมะนาวมีอายุมาก และค่อนข้างหมดสภาพในการผลิตผลมะนาว ดังนั้นจึง “โล๊ะ” ต้นมะนาวมาปลูกมะม่วงฟ้าลั่นแทน ภายในพื้นที่ทำสวน 25 ไร่ ได้ทำการปลูกมะม่วงฟ้าลั่นถึง 1,600 กว่าต้น

ช่วงแรกที่เริ่มทำการปลูกเขาเล่าให้ทีมงานฟังว่า นำพันธุ์มะม่วงฟ้าลั่นมาจากแถวบริเวณบ้านแพ้วต้นละ 25 บาท ในช่วงเวลานั้นมาปลูกในพื้นที่ๆ นำต้นมะนาวออกจากสวนแล้ว สาเหตุที่นำต้นมะม่วงฟ้าลั่นมาลงปลูกแทนมะนาวเพราะต้นทุนในการผลิตน้อย 3-5 ปี ก็เริ่มมีผลผลิตให้จำหน่ายได้แล้ว

2.พื้นที่ปลูก มะม่วงฟ้าลั่น
2.พื้นที่ปลูก มะม่วงฟ้าลั่น

สภาพพื้นที่ปลูกมะม่วงฟ้าลั่น

การปลูกมะม่วงฟ้าลั่นในสวนของคุณณัฏชาติ ในระยะแรกๆ ต้องปลูกแซมระหว่างต้นมะนาว หลังจากนำมะนาวออกเพื่อการดูแลต้นมะม่วงฟ้าลั่นได้อย่างเต็มที่ ระยะห่างระหว่างต้นจะอยู่ที่ประมาณ 9 ศอก ทำให้ทรงพุ่มชนกันพอดี หลังจากนำต้นมะนาวออกจึงทำ “ช่อมะม่วง” เพื่อให้ได้ผลผลิตในจำนวนที่มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่มะม่วงในฤดูฝนในช่วงนี้จะค่อนข้างติดยาก เพราะสภาพอากาศไม่ค่อยสู้ดีนัก ผลผลิตอาจมีลดบ้าง เพิ่มบ้าง ตามช่วงเวลาและความแปรผันขององค์ประกอบหลายๆ อย่าง และลมตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มะม่วงฟ้าลั่นมีผลผลิตลดลง แถมยังพัดพานำเอาโรคและแมลงต่างๆ เข้ามาภายในสวนอีกด้วย ทำให้ต้องมีการฉีดสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงเหล่านี้เพื่อยับยั้งการทำลายมะม่วงภายในสวนให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้นจึงมีผลให้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ยา ร่วม 200,000 บาท ต่อปี แต่ก็ถือว่ายังพอมีกำไร ถ้าเปรียบเทียบกับผลผลิตที่จำหน่ายออกไป และเงินรายได้ที่เข้ามาต่อปี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตของมะม่วงฟ้าลั่น

การเก็บเกี่ยวผลผลิตของมะม่วงฟ้าลั่นจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 รอบ ต่อปี รอบแรกจะเก็บผลผลิตในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และรอบที่ 2 จะเก็บผลผลิตในเดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งในแต่ละรอบผลผลิตที่ได้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ การให้ปุ๋ย บำรุงต้น เพราะฉะนั้นการดูแลเอาใจใส่จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และผลผลิตมะม่วงฟ้าลั่นที่ได้ในแต่ละรอบสามารถเก็บได้ประมาณ 3-4 หมื่นกิโลกรัม ต่อรอบ หรือประมาณ 30-40 ตัน

แต่บางช่วงผลผลิตจะไม่ได้แบบนี้เสมอไป เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง จึงต้องมีการควบคุมผลผลิตมะม่วงฟ้าลั่นให้ไปในทิศทางเดียวกัน  ซึ่งการควบคุมนั้นนอกจากปุ๋ย ยา  ที่ใช้ จำเป็นจะต้องให้สภาวะอากาศเอื้ออำนวยด้วย  เพราะมิเช่นนั้นการควบคุมก็จะเป็นไปได้ยาก หรือถ้าปล่อยให้มะม่วงฟ้าลั่นออกเองตามฤดูกาลก็จะส่งผลต่อจำนวนผลผลิตที่ได้ในแต่ละรอบ เมื่อผลผลิตได้น้อย รายได้ก็จะน้อยตามไปด้วย

3.เรือยนต์สำหรับรดน้ำ-พ่นปุ๋ย-พ่นยา
3.เรือยนต์สำหรับรดน้ำ-พ่นปุ๋ย-พ่นยา

การบำรุงดูแลรักษายอด ดอก และช่อ มะม่วงฟ้าลั่น

เมื่อสภาพดินฟ้าไม่เอื้ออำนวยก็ควรบำรุงต้นมะม่วงอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมามีจำนวนมาก และคุณภาพตรงตามที่ตลาดยอมรับเช่นกัน คุณณัฏชาติมีวิธีดังนี้

1.การฉีดยาที่ยอดมะม่วง ครั้งที่ 1 จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม โดยใช้ยาฉีดพ่นดังนี้

-ไทโอยูเรีย 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-สาหร่าย 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-แลนเนท 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ออบา 1 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

การฉีดพ่นสารในแต่ละตัวจะใช้เรือยนต์พ่นตามร่องสวน เรือในแต่ละลำจะสามารถฉีดพ่นได้ถึง 200 ลิตร ต่อครั้ง เพราะฉะนั้นการฉีดพ่นยาทุกตัวในพื้นที่ 20 ไร่ จะต้องเติมตัวยาประมาณถึง 10 ครั้ง ต่อน้ำ 200 ลิตร ถึงจะฉีดพ่นหมดในแต่ละชนิดตัวยา

2.การฉีดยาที่ยอดมะม่วง ครั้งที่ 2 นับจากฉีดครั้งแรกไปแล้ว 7 วัน

-ไทโอยูเรีย 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

-สาหร่าย 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-25-10-10 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ซิโทร K 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-แลนเนท 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ออบา 1 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อฉีดพ่นสารครั้งที่ 2 แล้ว ยอดมะม่วงจะเริ่มแตกออกมาให้เห็น แต่ถ้ายังไม่มีการแตกยอดออกให้ทำการฉีดพ่นสารนับจากวันที่ฉีดครั้งที่ 2 ไปอีก 7 วัน เพื่อให้ยอดมะม่วงแตกออกมา หลังจากที่มียอดแตกออกมาแล้ว จากนี้ควรทำการสะสมตาดอก นับจากวันที่ฉีดพ่นสารที่ยอดมะม่วงไปแล้ว 15 วัน

ช่อดอกมะม่วงฟ้าลั่น
ช่อดอก มะม่วงฟ้าลั่น

3.การฉีดพ่นสะสมตาดอกมะม่วง ครั้งที่ 1

-ไฮเฟรต 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-โพ K 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ปุ๋ยเกร็ด 6 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร

-แลนเนท 1.5 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-คาลอส 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

หลังจากนั้น 7-15 วัน ควรฉีดพ่นครั้งที่ 2 อีกครั้ง เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับสารอาหารในการสะสมตาดอกอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

4.การฉีดพ่นสะสมตาดอกมะม่วง ครั้งที่ 2

-ไฮเฟรต 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-โพ K 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ปุ๋ยเกร็ด 6 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร

-แลนเนท 1.5 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-อาบา 1 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อฉีดพ่นสารสะสมตาดอกไปแล้ว หลังจากนั้นรอให้ดอกมะม่วงฟ้าลั่นเริ่มบาน จึงทำการฉีดพ่นสารเพื่อดึงช่อดอกมะม่วง เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมามีจำนวนสารอาหารที่เพียงพอ

ดอกมะม่วงฟ้าลั่นที่กำลังออกเต็มต้น
ดอกมะม่วงฟ้าลั่นที่กำลังออกเต็มต้น
ช่อมะม่วงกำลังเปลี่ยนผลเล็กๆ
ช่อมะม่วงกำลังเปลี่ยนผลเล็กๆ

5.การฉีดพ่นสารเคมีเพื่อดึงช่อมะม่วง ครั้งที่ 1

-แมกซิน 6 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ไทโอ 0.5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ลอสโฟ 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-โปรวาโด 0.5 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร

ครั้งแรกฉีดไป 7 วัน ควรฉีดพ่นครั้งที่ 2 ตาม เพื่อให้ช่อดอกมีอาหารสะสมเพียงพอและต่อเนื่อง

6.การฉีดพ่นสารเพื่อดึงช่อมะม่วง ครั้งที่ 2

-แมกซิน 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ซิโค K 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ลอสโฟ 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-โปรวาโด 0.5 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร

-A ฟรีม 30 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อฉีดพ่นสารเพื่อดึงช่อดอกของมะม่วง จะมีช่อดอกออกมาให้เห็นเท่าเดือยไก่ นับจากวันฉีดพ่นครั้งที่ 2 ไปแล้วประมาณ 7 วัน ควรฉีดสารซ้ำ ได้แก่

-คูชั่นไนท์ 4 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-โกรแคล 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ลอสโฟ 2 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-แลนเนท 3 ฝา ต่อน้ำ 200 ลิตร

-A ฟรีม 30 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร

-ปุ๋ยเกร็ด 6 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร

การฉีดพ่นยาถ้ามีฝนควรฉีดเว้นการฉีดไปในวันถัดไป เพื่อป้องกันการชะล้างหลังการฉีดพ่น และทำให้ต้นมะม่วงไม่ได้รับสารอาหารเต็มที่ เมื่อช่อมะม่วงฟ้าลั่นเริ่มขึ้นเม็ดจากช่อดอกควรฉีดพ่นสารข้างต้นอีกครั้ง แต่ควรงดยาฆ่าแมลงก่อน เพื่อให้มะม่วงได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ และสามารถดึงเอาไปใช้ได้โดยง่าย

จากการที่ทำการฉีดพ่นสารต่างๆ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ในการทำผลผลิตในระยะแรกจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 90-100 วัน นับจากวันที่มะม่วงเริ่มมีดอก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ผลอ่อนของมะม่วงฟ้าลั่น
4.ผลอ่อนของ มะม่วงฟ้าลั่น

การเก็บเกี่ยวผลผลิต มะม่วงฟ้าลั่น

ฉะนั้นการเก็บผลผลิตรอบแรกจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป การเก็บผลผลิตที่นี่จะมีการจ้างแรงงานคนละ 350 บาท 6 ชั่วโมง ต่อวัน ประมาณ 12 คน ภายใน 3-4 วัน ก็จะเก็บผลผลิตในสวนมะม่วงฟ้าลั่นหมด 1 วัน จะสามารถเก็บผลผลิตได้ 10,000 กิโลกรัม ต่อวัน รวมค่าแรงงาน กับค่าปุ๋ย ค่ายา ที่ใช้ในสวนมะม่วงของตนจะเป็นเงินประมาณ 200,000 กว่าบาท ต่อปี

และในปัจจุบันค่าปุ๋ย ค่ายา ต่างพากันขึ้นราคา ทำให้ค่าใช้จ่ายต้องเพิ่มสูงขึ้น นี่ยังไม่รวมกับค่าน้ำมันที่ใช้กับเรือยนต์พ่นปุ๋ย ยา อีก ถึงแม้ผลผลิตที่ออกมาจะมีจำนวนมากเพียงใด แต่ถ้าวัตถุดิบที่ใช้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรก็ไม่อาจจะแบกรับภาระตรงนี้ได้เช่นกัน

การตัดแต่งกิ่งต้นมะม่วง

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว เขาจะทำการตัดแต่งกิ่งต้นมะม่วงออกเพื่อทำลายกิ่งที่เป็นโรค และมีแมลงอาศัยอยู่ รวมทั้งตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นการตัดแต่งต้องระวังเรื่องการตัดปลายกิ่ง เพราะหากตัดแต่งผิดช่วงจังหวะ หรือปลายกิ่งเล็กเกินไป รอบถัดไปมะม่วงก็จะไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตน้อย และถ้าไม่มีการตัดปลายกิ่งเลยก็จะทำให้ทรงพุ่มต้นแผ่ขยายกว้างเกินไป หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วควรพ่นสารกันเชื้อราเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราทำลายทางรอยตัด และดูแลใบอ่อนในระยะต่อมา

เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ประมาณ 15 วัน ก็ทำการฉีดพ่นปุ๋ยตามข้างต้นอีกครั้ง เพื่อทำผลผลิต มะม่วงฟ้าลั่น รอบ 2 หรือที่เรียกว่าการทำยอดนั่นเอง ส่วนการกำจัดวัชพืชในสวนมะม่วงจะใช้วิธีการตัดเพื่อลดการใช้สารเคมี และลดสารตกค้างภายในดิน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อต้นมะม่วงที่ปลูก

5.สวนมะม่วงฟ้าลั่น
5.สวน มะม่วงฟ้าลั่น

ด้านตลาดผลผลิต มะม่วงฟ้าลั่น

สมัยก่อนคุณณัฏชาติทำตลาดโดยการส่งผลผลิต มะม่วงฟ้าลั่น ไปขายแถวปากคลองตลาด ช่วงแรกๆ ราคา มะม่วงฟ้าลั่น จะดีมาก ราคากิโลกรัมละ 30 บาท แต่พอมาช่วงหลังๆ จะเหลือแค่กิโลกรัมละไม่เกิน 25 บาท แต่ถือว่ายังโชคดี เพราะช่วงหลังมีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อถึงสวน มีเท่าไหร่รับซื้อหมด ไม่เว้นลูกที่แตก หรือมีตำหนิ แต่จะคัดไซส์ มะม่วงฟ้าลั่น เพื่อให้ราคาขนาดตามไซส์อีกที

เป็นที่น่าแปลกใจว่าคนไทยไม่นิยมรับประทาน มะม่วงฟ้าลั่น  จากการสอบถามเจ้าของสวนมะม่วงฟ้าลั่น  อย่าง        คุณณัฏชาติ จึงได้ทราบว่า มะม่วงฟ้าลั่น บ้านเราถูกพ่อค้า แม่ค้า ที่มารับซื้อกับเจ้าของสวนไปขายกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง กัมพูชา เพราะมีคนนิยมรับประทานมะม่วงฟ้าลั่นกันมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าเทียบกับประเทศไทยตลาดบ้านเราส่วนใหญ่จะชอบรับประทานมะม่วงสุก อย่าง น้ำดอกไม้สีทอง เป็นต้น ทำให้มะม่วงกินดิบอย่างฟ้าลั่นไปติดตลาดตามประเทศเพื่อนบ้านเราแทน

สนใจติดต่อสอบถาม คุณณัฏชาติ นอบน้อม 80 ม.2 ต.สวนส้ม อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร 74120 โทร.08-7209-3156