มังคุด ผิวมัน ท่ามะพลา ราชินีไม้ผลในเกาหลีและจีน ตอนที่ 1

โฆษณา
AP Chemical Thailand

<a target=“_blank” href=“ http://www.palangkaset.com/เมืองไม้ผล/มังคุดผิวมันท่ามะพลา-2/”>มังคุด ผิวมัน ท่ามะพลา ราชินีไม้ผลในเกาหลีและจีน ตอนที่ 2</a>

 

เมืองไม้ผล พาทุกท่านไปพบกับ ต้นแบบดีๆ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับกลุ่มผู้ปลูกผลไม้ทุกภูมิภาคในประเทศไทยกับ ท่ามะพลา โมเดล วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา ที่จะทำให้ทุกท่านได้เรียนรู้คุณค่าของการรวมกลุ่ม ว่าสามารถสร้างอำนาจต่อรองเรื่องราคาได้อย่างน่าสนใจเพียงใด

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา

ท่ามะพลา เมืองแห่งผลไม้ยาวนานกว่า 100 ปี

ท่ามะพลา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร พื้นที่โดยทั่วไปมีทั้งที่ราบและเป็นเชิงเขามีเนื้อที่ประมาณ25.423 ตร.กม. หรือประมาณ 15,889.37 ไร่  แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 3,165 คน อาชีพหลักก็คือการทำสวนผลไม้ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตายายเนื่องจากพื้นดินที่นี่เอื้อต่อการเกษตรผลผลิตจึงค่อนข้างดีมีผลไม้หลากหลาย

ชนิดที่วนเวียนปลูกกันในพื้นที่คิดเป็นพื้นที่สำหรับการทำสวนผลไม้มีไม่ต่ำกว่า 3,000ไร่และในปัจจุบันที่ปลูกกันมากที่สุดเป็นของขึ้นชื่อประจำตำบลท่ามะพลาก็คือ มังคุด ราชินีแห่งไม้ผล

 

มังคุด ผลไม้สุขภาพระดับอินเตอร์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

มังคุด ( Mangosteen ) เป็นไม้ยืนต้น สูง 10 – 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 – 11 ซม. ยาว 15 – 25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือกมังคุดถูกขนานนามว่าเป็น ราชินีแห่งผลไม้ (Queen of Fruits) อาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผล ที่มีกลีบบนหัวคล้ายๆกับมงกุฎเป็นผลไม้ที่จัดว่ามีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง

ในมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก ที่มีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่างๆ

นอกจากนี้เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนินและแมงโกสติน แทนนินมีคุณสมบัติในการสมานแผลทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย นอกจากนี้สรรพคุณทางยาตามงานวิจัยยังมีอีกมากมายนักไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง  ,ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ,ลดความดันโลหิต ,ป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย ,บำรุงและรักษาสายตาบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง ฯลฯ

ส่วนประกอบอื่นๆไม่ว่าจะเปลือกหรือเนื้อยังสามารถเอาไปแปรรูปเป็นอาหารคาวหวาน สบู่ หรือว่าปุ๋ยหมัก ถือว่าเป็นผลไม้ทรงคุณค่าที่มีประโยชน์มากๆอีกประเภทหนึ่ง

 

สมาชิก ช่วยกันคัดเลือก มังคุดคุณภาพ
สมาชิก ช่วยกันคัดเลือก มังคุดคุณภาพ

ปัญหา มังคุด ราคาตกต่ำ

          ดูจากคุณค่าที่ผ่านมาแล้ว “มังคุด” เป็นผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการมาก เกษตรกรเองก็น่าจะได้ “ราคา” ที่ดี แต่ในความเป็นจริงเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดหลายรายในท่ามะพลาเองถึงขนาดล้มต้นมังคุดหันไปปลูกพืชตัวอื่นแทนก็ด้วยเหตุผลที่ว่าราคาไม่ดีซึ่งสวนทางกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ยังมีอีกมาก เรื่องนี้ คุณสมพงษ์ จินาบุญ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลาได้ให้ข้อมูลกับทีมงานว่า นั้นเป็นเพราะว่า เกษตรกรหลายคนยังไม่สามารถเข้าถึงกลไกความต้องการของตลาดได้อย่างแท้จริง มังคุดที่เป็นที่ต้องการในตลาดนั้นต้องเป็น มังคุดผิวมัน ที่สามารถทำตลาดส่งออกได้ดีที่สุด แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรจำนวนมากปลูกมังคุดด้วยวิธีธรรมชาติขาดการดูแลรักษาทำให้ผลผลิตที่ออกมาเป็น  “มังคุดผิวด้านไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ผู้รับซื้อเองก็ทำตลาดได้ยาก ราคาก็เลยไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็นช่วงที่ราคาตกต่ำเหลือเพียงแค่กิโลกรัมละ 5-6 บาท เมื่อหักลบต้นทุนแล้วเกษตรกรไม่มีกำไร จึงทำให้มองว่ามังคุดราคาไม่ดีดังนั้นการแก้ปัญหาส่วนนี้ที่ดีที่สุดก็คือ การรวมกลุ่มที่น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

 

รวมกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชน ผลิตมังคุดผิวมันส่งเมืองนอก

          แนวความคิดนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2551 เป็นการรวมกลุ่มกันแบบไม่เป็นทางการคล้ายกับเป็นการรวบรวมผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่แล้วนำไปเสนอให้กับผู้รับซื้อเป็นการแก้ปัญหาในระดับหนึ่งแต่ราคาก็ยังไม่ดีนักเพราะผู้รับซื้อก็เป็นพ่อค้าคนเดียวที่สามารถกำหนดราคาเองได้ในปี 2552 จึงเริ่มเปลี่ยนแนวความคิดจากการทำมังคุดแบบธรรมดา เป็นการทำ “มังคุดผิวมัน”  ก็ทำให้เห็นภาพของการซื้อขายที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากพ่อค้าคนเดียวที่รับซื้อก็เริ่มมีพ่อค้ามากขึ้นเพราะว่ามังคุดผิวมันเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะจีน และเกาหลี และเมื่อเดินมาถูกทางในการจับกระแสตลาดที่เหลือก็คือการพัฒนาการรวมกลุ่มให้เป็นรูปแบบทางการในปี 2553 จึงเริ่มมีการจดทะเบียนกับเกษตรอำเภออย่างเป็นทางการในนามของ“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา”

 

มังคุด
มังคุด

จากสมาชิก 35 คน เป็น 186 คน

          ตาม พรบ.ปี 2548 ที่ระบุไว้ว่าเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจได้เมื่อมีการรวมตัวกันตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปเพื่อจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีโครงสร้างและวาระการประชุมชัดเจน โครงสร้างที่ว่าก็ประกอบไปด้วยหลักๆคือ ประธาน

รองประธาน เหรัญญิก ฝ่ายบัญชี เลขา และสมาชิก มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนว่าเพื่ออะไร เป้าหมายคืออะไร ซึ่งถ้าทุกอย่างพร้อมก็สามารถไปจดทะเบียนอย่างเป็นทางการได้ที่เกษตรอำเภอ ในเบื้องต้นที่“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา” จดทะเบียนมีสมาชิกเริ่มต้นเพียงแค่ 35 ราย ก่อนที่จะดำเนินงานเรื่อยมาตั้งแต่ปี2553 จนถึงปี 2557 รวมระยะเวลากว่า 4 ปี มีสมาชิกปัจจุบัน 186 ราย คลอบคลุมพื้นที่หมู่ 7 ในตำบลท่ามะพลาปริมาณพื้นที่สำหรับปลูกมังคุดเพื่อส่งรวบรวมในกลุ่มไม่ต่ำกว่า 2,500 ไร่จากสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน

 

 

ด้านตลาดเน้นการประมูลรัฐหนุนด้านการเงิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

          ข้อดีที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดอย่างแรกคืออำนาจในการต่อรองเรื่อง “ราคา” สามารถเลือกได้ว่าพอใจราคาของพ่อค้าคนไหนซึ่งในรูปแบบของทางวิสาหกิจชุมชนท่ามะพลานี้ใช้ “การประมูล” ราคา พ่อค้าผู้รับซื้อมังคุดต้องแข่งขันกันในด้านราคาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ทางวิสาหกิจได้รวบรวมจากเกษตรกรเอาไว้ นอกจากนี้เมื่อเป็นการรวมกลุ่มในรูปแบบของวิสาหกิจยังสามารถรับความช่วยเหลือในด้านงบประมาณจากทางเกษตรจังหวัดที่ส่งตรงลงมาในชุมชนได้ทันที งบประมาณแต่ละปีที่จัดสรรให้มาก็สามารถแปรเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ในการเกษตรให้แก่สมาชิก หรือไม่ก็แปรเปลี่ยนเป็นพวกปุ๋ยยา หรือว่าสารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ เท่ากับเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกทำให้ทุกคนมีกำไรที่เพิ่มมากขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

เนื้อมังคุดที่ได้คุณภาพ
เนื้อมังคุดที่ได้คุณภาพ

 

เน้นกฏเหล็ก 8 ข้อ เพื่อผลผระโยชน์ส่วนรวม

          คุณสมพงษ์ จินาบุญ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา ให้ความสำคัญกับ คุณภาพการผลิตมังคุดที่เน้นการทำมังคุด ผิวมัน เป็นหลัก มีการประชุมสมาชิกทั้ง 186 รายในวันที่ 12 ของทุกเดือนเพื่อเป็นการแจกแจงการดำเนินงาน ให้ความรู้แก่สมาชิกในเรื่องการผลิตมังคุดผิวมัน อีกทั้งเป็นการแจ้งข่าวสารที่สำคัญให้ได้รับทราบทั่วกันทุกคน ในการประชุมนี้จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานที่สำคัญว่าเกษตรกรที่เป็นสมาชิกแต่ละคนควรมีทิศทางในการเพาะปลูกอย่างไรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการซึ่งทางประธานกลุ่มและทีมงานเองก็จะให้ความรู้เรื่องเทคนิคใหม่ๆในการทำมังคุดและรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบเดือนที่ผ่านมาเพื่อนำมาสู่การแก้ไขร่วมกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นใครที่สนใจอยากเข้ามาเป็นสมาชิกทางวิสาหกิจจะเปิดรับสมัครเพียงปีละ 1 ครั้งในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวเกษตรกรสามารถมาสมัครได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแต่ว่าต้องเป็นเกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่ามะพลา ทางวิสาหกิจชุมชนไม่มีนโยบายรับเกษตรกรที่อยู่ภายนอกพื้นที่

เพราะจะทำให้การควบคุมดูแลเรื่องมาตรฐานเป็นไปได้ยาก และทุกคนที่มาเป็นสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ 8 ข้อที่วิสาหกิจชุมชนวางไว้อย่างเคร่งครัด

  • สมาชิกต้องแจ้งพื้นที่ปลูก จำนวนต้น อายุการปลูก (กี่ปี) เพื่อควบคุมปริมาณในตอนหลัง
  • สมาชิกต้องส่งผลผลิตเข้าสู่กลุ่มตั้งแต่ 13.00 น.-18.00น.
  • การคัดเกรดให้เป็นดุลพินิจของประธานฝ่ายคุณภาพถือเป็นที่สุด
  • การจ่ายเงินจะจ่ายในวันถัดไปหรือตามดุลพินิจของฝ่ายบัญชี
  • มังคุดเบอร์ไหนถ้าไม่มีการประมูลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายตลาดสามารถจำหน่ายได้โดยที่สมาชิกไม่มีสิทธิ์โต้แย้ง
  • สมาชิกต้องหักเงินให้ทางวิสาหกิจ กิโลกรัมละ 1 บาท
  • ถ้าสมาชิกนำมังคุดด้อยคุณภาพเข้าสู่กลุ่มจะตักเตือนในครั้งที่ 1  ถ้าครั้งที่ 2 จะประกาศให้สาธารณะรับทราบ ครั้งที่ 3 พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิก (เป็นข้อสำคัญ เช่นห้ามมีลูกตกดินเข้ามาผสม ฯ)
  • ห้ามนำมังคุดของบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นของสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกับทางกลุ่ม  (สอดคล้องกับข้อที่ 1 ที่ต้องแจ้งพื้นที่ปลูก จำนวนต้น เพื่อจะได้คำนวณได้ว่า เกษตรกรน่าจะมีกำลังผลิตประมาณเท่าไหร่ ป้องกันการเอาของที่อื่นมาผสมในตอนที่ราคามันดีมากๆใช้เกณฑ์เฉลี่ยที่ 1 ไร่ได้มังคุดประมาณ 1,200 กก. เป็นเกณฑ์ ถ้าเกษตรกรมีมากกว่านี้ในจำนวนไร่จำนวนต้นที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นแสดงว่ามีการนำเข้าจากที่อื่นมาด้วย)
 มังคุดแบบออกเป็น 6 เบอร์
มังคุดแบบออกเป็น 6 เบอร์

การประชุมคือหัวใจ

ในการที่จะทำให้สมาชิกมีคุณภาพนั้น คุณสมพงษ์ เปิดเผยว่าได้เน้นเรื่องการประชุมคือหัวใจสำคัญในการกำหนดคุณภาพมาตรฐานเพราะวาระการประชุมจะสอดแทรกเรื่องเทคนิคการทำมังคุดผิวมันให้ได้ผลดี รวมถึงแจ้งให้สมาชิกทุกคนรับทราบว่าควรทำอะไรอย่างไรในเวลาไหน เช่นการตัดแต่งกิ่งที่เกษตรกรบางคนละเลยซึ่งก็มีผลต่อคุณภาพของมังคุดที่อาจไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ การประชุมที่ว่านี้เป็นการแจ้งข้อมูลให้ทราบถึงผลิตภัณฑ์สำคัญๆที่ควรใช้แต่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าเกษตรกรต้องเลือกใช้ยี่ห้อใดๆเป็นสำคัญ คำแนะนำจากกลุ่มผู้นำคือเป็นการทดลองที่ผ่านมาแล้วได้ผลดี มีต้นทุนที่ต่ำจึงนำมาบอกต่อกับสมาชิก ซึ่งสมาชิกเองสามารถทำตามได้แต่บางรายที่ฟังแล้วอาจไม่ทำตามหรือมีแนวคิดที่แตกต่างออกไปก็ต้องยอมรับในผลที่จะตามมาหากมังคุดไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

tags: มังคุด ผิวมัน ท่ามะพลา ต้นมังคุด การปลูกมังคุด มังคุด ภาษาอังกฤษ รูปมังคุด มังคุดคัด ปลูกมังคุด มังคุด ท่ามะพลา ต้นมังคุด การปลูกมังคุด มังคุดภาษาอังกฤษ

[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]