วิสาหกิจชุมชนผลิต ลำไยส่งออก ป้อนสู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 300 ตัน/ปี เกษตรกรได้ราคาดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในคำว่า “ธุรกิจไม้ผล” ถ้าพูดกันในเชิงปริมาณ…การปลูกลำไยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจกันอย่างมาก ด้วยปัจจัยทางรายได้ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ รวมถึงวิธีการเพาะปลูกดูแลก็ไม่ได้สลับซับซ้อนมากนัก หลายคนมองว่าปัจจุบันตั้งแต่มีการใช้สารราดกระตุ้นให้ลำไยออกผลผลิตได้ ความเสี่ยงที่จะทำแล้วขาดทุนก็น้อย เพียงแต่อาศัยวิธีบริหารจัดการ และเลือกทำเลในการเพาะปลูกให้ดีๆ คำว่า “ลำไยเงินล้าน” ในสายตาเกษตรกรจึงมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวนิดเดียว

แต่ถ้าเราติดตามข่าวสารให้ดีในเชิงปริมาณ เราอาจพูดได้ว่าลำไยให้ผลผลิตที่ไม่แพ้ไม้ผลตัวใด แต่มองในมุมกลับกันเมื่อทุกคนคิดในทิศทางเดียวกัน การปลูกก็เพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าก็เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับลำไยเองก็เป็นพืชที่ต้องอาศัยปัจจัยทางด้านอากาศควบคู่ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นปัจจัยสภาพแวดล้อมก็มีส่วนกำหนดปริมาณผลผลิตที่บางครั้งไม่ได้ตามที่ต้องการ แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือในการเพาะปลูกมากกว่าอดีตก็ตามที นอกจากนี้ราคาในการรับซื้อเป็นอีกตัวแปรที่เรียกว่าทำให้ชาวสวนลำไยตื่นเต้นกันได้ไม่น้อย เนื่องจากการกำหนดราคาปัจจุบันไม่สามารถทำกันได้เอง

รูปแบบการรับซื้อเป็นลักษณะของ “การเหมา” จากตัวแทนที่เข้ามารับซื้อ (ล้ง) มุมมองของเกษตรกรอาจจะยอมรับในเรื่องนี้ได้ แม้ในห้วงลึกๆ แล้วก็อาจจะรู้สึกว่าราคาที่ได้บางครั้งมันน่าจะดีกว่านี้ แต่เมื่อคิดในแง่ความสะดวกสบายไม่ต้องจ้างแรงงาน ไม่ต้องขนส่ง มีคนมารับซื้อมาเก็บถึงสวน ถึงเวลาก็ได้เงินเป็นก้อนเป็นกอบเป็นกำ ก็ทำให้ความรู้สึกที่ว่าเสียเปรียบแปรเปลี่ยนเป็นความชินชา และกลายเป็นวัฎจักรในการเพาะปลูกลำไยในปัจจุบัน

1.ลำไยออกผลดกได้ดี
1.ลำไยออกผลดกได้ดี
2.คุณสามารถ-ขามสันเทียะ-ประธานวิสาหกิจกลุ่มผู้ปลูกลำไย-บ้านเขาช่องแคบ
2.คุณสามารถ-ขามสันเทียะ-ประธานวิสาหกิจกลุ่มผู้ปลูกลำไย-บ้านเขาช่องแคบ

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกลำไย บ้านเขาช่องแคบ

แต่เมื่อมีปัญหาด้านราคาหรือการรับซื้อที่รุนแรงมากขึ้น ก็มีความคิดต่อต้านกันบ้างในบางปีการผลิตอย่างที่เคยเป็นข่าวมาเป็นระยะๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากมองในแง่การรวมกลุ่ม รวมตัว อาจจะสร้างแรงบวกในการขายในการกำหนดราคาได้บ้าง แต่ที่ผ่านมาหากลุ่มที่ปลูกลำไยแล้วรวมกันตัวกันนั้นยากเต็มที ซึ่งโมเดลการรวมตัวในธุรกิจไม้ผลที่มีการผูกขาดการรับซื้อจากนายทุนนั้น ตัวอย่างจากวิสาหกิจผู้ปลูกลำไยบ้านเขาช่องแคบ อ.คลองหาด จ.สระแก้ว

การรวมตัวนี้มีผลดีในหลายทาง แต่จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น รวมถึงผลผลิต และวิธีการในการเพาะปลูกลำไยของคนคลองหาดเป็นอย่างไร เมืองไม้ผลยินดีให้ความรู้แก่ทุกท่านกันอย่างเต็มที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บ้านเขาช่องแคบ หมู่ที่ 12 ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ.2539 แยกจากบ้านเขาดิน หมู่ที่ 8 ตำบลคลองหาด มีเนื้อที่ทั้งหมด 10,900 ไร่ มีครัวเรือนทั้งหมด 281 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,024 คน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 12 กิโลเมตร มีเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา

สมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้  คุณสามารถ ขามสันเทียะ ประธานวิสาหกิจผู้ปลูกลำไย บ้านเขาช่องแคบ ให้ข้อมูลว่า แถวนี้เคยเป็นพื้นที่สีแดง มีการตั้งกองกำลังของฝ่ายเขมร ในอดีตเรียกง่ายๆว่าเคยเป็นสนามรบในสมัยก่อน ในปี 2534  ทางหน่วยงานราชการโดยกรมที่ดินได้เข้ามาจัดสรรพื้นที่แถบนี้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้เข้ามาทำกิน

โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 220 แปลง ให้คนที่มีสิทธิ์เข้ามาทำกินคนละ 14 ไร่  และหลังจากจัดสรรแล้วมีพื้นที่เหลือก็จัดสรรเพิ่มเติมให้อีกคนละ 10 ไร่   ชาวบ้านเองก็เริ่มเข้ามาสร้างที่พักอาศัยกันในปี 2540 เริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมในยุคนั้นด้วยการปลูกพืชล้มลุกทั่วไป มีข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นพืชหลักๆ ผลผลิตที่ได้ในช่วงนั้นก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นสู่ภาคเกษตรอย่างเต็มรูปแบบเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา

3.สภาพพื้นที่ปลูก ลำไยส่งออก
3.สภาพพื้นที่ปลูก ลำไยส่งออก

จุดเริ่มต้นการปลูกลำไย

ประมาณปี 2540 ที่คุณสามารถเริ่มมีแนวคิดที่แตกต่างในการปลูกพืชในพื้นที่ ด้วยเหตุผลที่ว่าการปลูกพืชล้มลุกทั่วไปเป็นการปลูกที่ทำตามแบบกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย แต่ชาวบ้านที่ปลูกก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำ ที่สำคัญยังเป็นหนี้ ไม่สามารถเป็นอาชีพที่มั่นคง ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมองหาไม้ยืนต้นตัวใหม่ที่น่าจะสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ การเลือกมาปลูก “ลำไย” เพราะว่าในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างสอยดาวของจันทบุรี มีแหล่งรับซื้อ

คุณสามารถจึงเป็นคนจุดประกายการปลูกลำไยในพื้นที่เป็นเจ้าแรก ความรู้เบื้องต้นเรียกว่าลองผิดลองถูก ไม่รู้จักวิธีบริหารจัดการ แม้ลำไยจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ แต่การปลูกช่วงแรกก็ยังเป็นแบบธรรมชาติ ไม่มีความรู้แม้กระทั่งเรื่องการ “ราดสาร” อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ผลลิตที่ได้ก็เลยไม่มากนัก  ที่สำคัญตลาดก็ไม่มีคนมารับซื้อ  แต่อาศัยขายเองในพื้นที่

แต่ คุณสามารถเล่าว่าในปีที่ปลูกแรกๆ นั้นไม่มีความรู้เรื่องลำไยก็จริง แต่โชคดีที่อากาศในปีนั้นค่อนข้างหนาว ทำให้ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมาก ราคาขายที่จำหน่ายเองก็กิโลกรัมละ 25 บาท รายได้ในการขายปีแรกก็ดีกว่าการปลูกพืชล้มลุกทั่วไป ชาวบ้านในพื้นที่ก็เริ่มมาเรียนรู้และปลูกลำไยตามกัน เบื้องต้นในพื้นที่จึงมีสวนลำไยทั้งสิ้น 6 สวน ที่ถือว่าเป็นยุคแรกของคำว่า “ลำไยคลองหาด”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากนั้นเมื่อมีคนปลูกมากขึ้น และเริ่มมีความรู้ในเรื่องการปลูกลำไยมากกว่าเดิม รู้จักการใช้สารราด ที่เมื่อก่อนเป็นความลับกันมาก แต่ภายหลังความรู้นี้แพร่หลายไปมากขึ้น ทำให้คุณสามารถเองปรึกษากับเกษตรกรรายอื่นในพื้นที่ เพื่อรวมตัวกันในนามกลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกลำไย บ้านเขาช่องแคบ

4.กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกลำไย-บ้านเขาช่องแคบ
4.กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกลำไย-บ้านเขาช่องแคบ ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก

เป้าหมายของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกลำไยบ้านเขาช่องแคบจดทะเบียนก่อตั้งด้วยสมาชิกครั้งแรก 7 คน ในปี 2549 มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน คือ สำนักงานเกษตรคลองหาด มีผู้ตรวจการบัญชีขึ้นตรงกับสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สระแก้ว

เป้าหมายในการรวมกลุ่มกันเบื้องต้นเพื่อขอรับงบสนับสนุนด้านเงินทุนจากธนาคารเพื่อเอามาเป็นทุนในการเพาะปลูกลำไย เงินทุนเบื้องต้นที่สามารถกู้ยืมได้ในฐานะวิสาหกิจชุมชนเป็นจำนวนเงิน 2,000,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ย 5.50 บาท/ปี หลักการของวิสาหกิจชุมชนนี้เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาสมาชิกทุกคนจะต้องส่งเงินออมของตัวเองจำนวน 300 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะเป็นหลักในการค้ำประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และสมาชิกก็มีสิทธิ์จะได้รับเงินจำนวนนี้คืนเมื่อต้องการถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม

สิทธิที่ทางสมาชิกจะได้รับ คือ เงินกู้ยืมที่ทางกลุ่มยืมจากสถาบันการเงินมา ทำให้สมาชิกสามารถมีทุนหมุนเวียนใช้ในการเพาะปลูกได้มากขึ้น โดยปัจจุบันสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนนี้มีจำนวน 13 ราย ทำให้การแบ่งปันเงินกู้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมการบริหารจัดการได้ง่ายกว่าการมีจำนวนสมาชิกจำนวนมากๆ

นอกจากนี้ผลดีในการรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน นอกจากในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนที่มากขึ้น เรื่องของราคาในการจำหน่ายก็ถือว่าสูงกว่าในการขายแบบตัวใครตัวมัน เมื่อเป็นการขายในฐานะของกลุ่ม เมื่อตัวแทนรับซื้อมาติดต่อก็ผ่านทางกลุ่ม เป็นช่องทางสำคัญในการต่อรองราคาที่ทำให้ได้ราคาดีกว่าการขายแบบทั่วไป อย่างน้อยก็เพิ่มขึ้นกว่ากิโลกรัมละ 1 บาท

รวมถึงองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากหน่วยงานราชการที่จะส่งตรงเข้ามาสู่ตัวเกษตรกรได้ง่ายขึ้น ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกมีผลผลิตที่ดีขึ้นในทุกๆ ปี ปัจจุบันสมาชิก 13 ราย มีสวนลำไยที่ต้นลำไยได้อายุมากกว่า 5 ปี จำนวน 6 คน อีกประมาณ 7 คน เป็นลำไยที่อายุต้นไม่เกิน 4 ปี ผลผลิตที่เก็บรวบรวมได้จึงยังไม่ค่อยสูงนัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ลำไยบนต้นใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวได้แล้ว
5.ลำไยบนต้นใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวได้แล้ว ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก

การเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย

การเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาปริมาณผลผลิตโดยรวมมีประมาณ 200-300 ตัน แต่คาดการณ์ว่าเมื่อสมาชิกรายอื่นมีอายุต้นลำไยที่มากขึ้น การเก็บเกี่ยวในฤดูต่อๆไปจะได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว คำนวณคร่าวๆ ไม่น่าจะต่ำกว่า 500 ตัน และเมื่อปริมาณผลผลิตมีมากขึ้น อำนาจต่อรองราคาก็จะมากตามไป ทำให้ราคาที่ทางสมาชิกได้รับจะสูงกว่าในปัจจุบัน ที่รับซื้อกันกิโลกรัมละ 34-35 บาท

ผลผลิตลำไยในแหล่งผลิตที่สำคัญทางภาคเหนือมีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 447,108 ตัน ถือว่ามีปริมาณที่ลดลงที่มีปริมาณกว่า 473,686 ตัน

จากรายงานข้างต้นผลผลิตลำไยภาพรวมที่ลดลง อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน หนักไปทางร้อน และปริมาณน้ำฝนภายในประเทศลดลง ทำให้ผลผลิตลำไยลดลง ในขณะที่ความต้องการลำไยภายในประเทศก็มีมากขึ้น เนื่องจากมีนักธุรกิจชาวจีนเข้ามาเปิดกิจการมากขึ้น ซึ่งราคาของลำไยก็ขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ราคาขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละปี

ในการเหมาสวนและเก็บผลผลิต เนื่องจากผลผลิตลำไยลดลง ทำให้ลำไยขาดตลาดมาก ราคาจึงสูงขึ้น มีการแข่งขันเหมาสวนโดยดูแต่ใบ และประวัติผลผลิตปีล่าสุด เพื่อแย่งพื้นที่สวนที่ผลิตลำไยในช่วงฤดูกาลจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น

แต่ปี 2561 (เก็บ 2562) แนวโน้มราคายังไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และผลผลิตของพื้นที่การปลูกลำไยที่เพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รอบๆ บ้านใกล้เคียง ซึ่งจะสามารถเก็บผลผลิตลำไยได้ ซึ่งก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับประเทศไทย

6.ผลผลิตลำไยพร้อมจำหน่าย
6.ผลผลิตลำไยพร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดผลผลิต ลำไยส่งออก

ส่วนความต้องการลำไยในตลาดโลก ไยยังถือเป็นผลไม้ที่สามารถผลิตได้ในหลายประเทศทั่วโลก แต่คุณภาพของลำไย และต้นทุนในการผลิตในประเทศไทยยังถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มพื้นที่สวนลำไยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รวมไปถึงประเทศกัมพูชาด้วย ซึ่งจะเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในอนาคต แต่เนื่องจากกัมพูชามีปัญหาเรื่องพายุเกือบตลอดปี ซึ่งหมายความว่าปริมาณน้ำจะมีมากกว่าประเทศไทย  แม้ว่าคุณภาพความหวานจะด้อยกว่าประเทศไทย แต่ลูกลำไยจะมีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยมาก

ดังนั้นหากกัมพูชาแก้ปัญหาเรื่องมีน้ำมากเกินจนทำให้เปลือกแตกได้ รวมไปถึงค่าแรงงานที่มีราคาถูกกว่าประเทศไทย จะทำให้ลำไยของกัมพูชาทะลักเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น จนอาจจะมีปัญหาในด้านราคาได้

การคาดการณ์ราคาซื้อขายลำไยในประเทศไทยจึงยังมีแนวโน้มที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยโดยรอบดังที่กล่าว คาดการณ์ว่าราคาลำไยที่ราดสารในเดือนมีนาคม (เก็บตุลาคม) อาจจะมีราคา 25-30 บาท  และลำไยที่ราดสารในเดือนสิงหาคม(เก็บมีนาคม) อาจมีราคาประมาณ 38-42 บาท  ซึ่งจะเป็นราคาที่ให้กับสวนใหญ่ที่มีผลผลิตปริมาณมากเท่านั้น

ส่วนสวนขนาดเล็ก หรือลำไย ตามบ้านอาจจะมีราคาต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ชาวสวนลำไยเองก็ต้องหาวิธีบริหารจัดการให้ดีๆ เพื่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคต

รายการ

2554

2555

2556

1.ใช้ในประเทศ (ตัน)

20,000

50,000

45,000

2.ส่งออก

-ลำไยสด

ปริมาณ (ตัน)

มูลค่า (ล้านบาท)

 

 

382,013

6,209

 

 

455,663

8,454

 

 

413,400

8,503

   -ลำไยอบแห้ง

ปริมาณ (ตัน)

มูลค่า (ล้านบาท)

 

162,441

8,232

 

129,255

3,783

 

140,232

4,026

  -ลำไยบรรจุภาชนะอัดลม

ปริมาณ (ตัน)

มูลค่า (ล้านบาท)

-ลำไยแช่แข็ง

ปริมาณ (ตัน)

มูลค่า (ล้านบาท)

 

12,146

579

 

28

3

 

11,472

602

 

29

4

 

 

12,274

633

 

55

9

3.ราคาส่งออก (บาท/ตัน)

ลำไยสด

ลำไยอบแห้ง

ลำไยบรรจุภาชนะอัดลม

ลำไยแช่แข็ง

 

16,254

50,676

47,710

116,476

 

18,533

29,269

52,507

132,099

 

20,569

28,711

51,586

169,572

4.คู่ค้าที่สำคัญ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลำไยสด

ลำไยอบแห้ง

ลำไยบรรจุภาชนะอัดลม

ลำไยแช่แข็ง

 

 

จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จีน เวียดนาม ฮ่องกง

มาเลเซีย สิงคโปร์

สหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่น ฮ่องกง

5.คู่แข่งที่สำคัญ เวียดนาม จีน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

7.สวนลำไย
7.สวนลำไย ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก 

เทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดู

พื้นที่สำหรับปลูกลำไยหากเป็นพื้นที่ที่เคยปลูกพืชอย่างอื่นมาก่อนให้ไถดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วตากดินไว้ 20-25 วัน พรวนย่อยดินอีก 1-2 ครั้ง และปรับระดับดินให้สม่ำเสมอตามแนวลาดเอียง พันธุ์ลำไยที่นำมาปลูกควรเตรียมไว้ล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน-1 ปี เพื่อให้มีระบบรากที่แข็งแรง ระยะห่างที่เหมาะสม คือ 8×8 เมตร หรือ 10×8 เมตร แต่ถ้าระยะห่างน้อยกว่านี้ก็ต้องมีการควบคุมทรงพุ่มที่ดีมากพอ หลักการสำคัญในการผลิตลำไยนอกฤดูที่ดีเกษตรกรควรมีความเข้าใจดังนี้

1.ต้นลำไยต้องมีความสมบูรณ์ เกษตรกรผู้ที่จะทำการผลิตลำไยนอกฤดูต้องบำรุงต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์ หลังจากเก็บผลผลิตต้องทำการตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นลำไย ก่อนการใช้สารโปแทสเซียมคลอเรต โดยใช้ต้นลำไยมีการแตกช่อใบไม่น้อยกว่า 2-3 ครั้ง การผลิตลำไยนอกฤดูต้องคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ให้สารเคมีจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ต้องมีแหล่งน้ำให้ต้นลำไยในช่วงหลังจากมีการให้สารโปแสเซียมคลอเรต โดยเฉพาะในช่วงดอกเริ่มบานและติดผล ถ้าขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง และผลร่วง ทำให้การติดผลน้อย ถ้าในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงต้องมีการให้น้ำ  และถ้ามีการใส่ปุ๋ยเคมีก็ต้องให้น้ำตามด้วยเช่นกัน

3.ต้นลำไยจะต้องอยู่ในสภาพใบแก่ อายุของใบลำไยต้องอยู่ในระยะใบแก่จัด คือ หลังจากแตกใบอ่อนประมาณ 45-60 วัน จะเป็นระยะที่ได้ผลดีที่สุด ถ้าเป็นระยะใบอ่อนจะทำให้ออกดอกน้อย หรือถ้าพ่นทางใบจะทำให้ใบอ่อนไหม้และร่วง

4.ก่อนการใช้สารจะต้องงดให้ปุ๋ยต้นลำไยก่อนการใช้สารโปแทสเซียมคลอเรต ไม่ว่าจะเป็นพ่นทางใบหรือให้ทางดิน จะต้องงดการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมี ในช่วงก่อนการใช้สารผลิตลำไยนอกฤดู ควรใส่ในช่วงที่ลำต้นลำไยมีการแทงช่อดอกแล้ว

5.สารที่ใช้ในการผลิตลำไยนอกฤดูจะต้องมีความบริสุทธิ์สูง จะต้องตรวจสอบสาร เพราะถ้าเป็นสารผสมจะใช้ในอัตราที่แนะนำไม่ได้ หรือถ้าเป็นการพ่นทางใบจะทำให้เตรียมสารลำบาก เพราะจะทำให้ไม่ทราบว่าใช้สารอะไรผสม หรือผสมในอัตราเท่าไหร่ และจะส่งผลให้หัวพ่นอุดตันด้วย การใช้สารทางดินและการพ่นทางใบสามารถใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์ อัตราที่แนะนำอยู่ที่ประมาณ 5-10 กรัม/ตารางเมตรของทรงพุ่ม สำหรับการคำนวณวัดทรงพุ่ม 2 ด้าน ทำได้ง่ายๆ เช่น ทรงพุ่มด้านหนึ่งได้ 4 เมตร และอีกด้านได้ 4 เมตร ดังนั้นความกว้างของทรงพุ่มต้นลำไยเท่ากับ 4×4 คือ 16 เมตร เกษตรกรผู้ปลูกลำไยต้องใช้สาร 5-10 กรัม/ตารางเมตร คือ 5×16 = 100 กรัม (1 ขีด) และ 10×16 = 160 กรัม (1.6) ขีด

ในการพ่นไม่ควรใช้สารในปริมาณที่สูงกว่านี้ หากใช้ในปริมาณสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และร่วงได้ จากการทดลองพ่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่ถ้าจะให้มีการออกดอกเพิ่มมากขึ้นก็ควรพ่น 2 ครั้ง

ข้อควรรู้ในการพ่นสารผลิตลำไยนอกฤดู

  1. ควรพ่นในตอนเช้า หรือในช่วงอากาศไม่ร้อน เพราะหากพ่นในช่วงอากาศร้อนอาจทำให้เกิดอาการใบไหม้ และถ้ามีฝนตก 1-2 วัน หลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารใหม่อีกครั้ง
  2. ควรพ่นในช่วงที่ต้นลำไยมีใบแก่เท่านั้น เพราะหากพ่นในใบอ่อน ลำไยอาจออกดอกไม่ดี คือ ช่อที่แตกออกมาจะมีการพัฒนาใบก่อนแล้วแตกดอกตาม อาจทำให้ช่อดอกสั้น และการพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุด เพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก
  3. ก่อนพ่นสารเคมีควรสวมชุดป้องกันให้มิดชิด และหลังพ่นควรทำความสะอาดร่างกายและชุดที่สวมใส่ให้เรียบร้อย
8.บำรุงผลให้เจริญเติบโต-เพิ่มคุณภาพผลผลิตให้มากขึ้น
8.บำรุงผลให้เจริญเติบโต-เพิ่มคุณภาพผลผลิตให้มากขึ้น

การใส่ปุ๋ยให้ต้นลำไย

1.ต้นลำไยอายุ 1-3 ปี หลังจากต้นแตกใบอ่อนชุดที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 100 กรัมต่อต้น ปีละ 3 ครั้ง และเพิ่มขึ้นปีละ 2 เท่าทุกปี

2.ต้นลำไยอายุ 4 ปี จะเริ่มแตกใบอ่อนประมาณต้นเดือนสิงหาคม ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น และเดือนพฤศจิกายน พ่นปุ๋ยเคมีสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อไม่ให้ต้นลำไยแตกใบใหม่ พ่น 3 ครั้ง ทุก 7 วัน

3.สำหรับต้นลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุ 5 ปีขึ้นไป) หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีที่ผ่านมาใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนของต้นลำไยชุดที่ 1 หลังจากนั้นประมาณเดือนกันยายนใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

เมื่อต้นลำไยแตกใบอ่อนชุดที่ 2 กลางเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-46-0 + 0-0-60 สัดส่วน 1:1 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ต้นลำไยพักตัวและพร้อมต่อการออก และเมื่อต้นลำไยติดผลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต

และที่สำคัญก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้มากขึ้น และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

9.ลำไยพร้อมส่ง
9.ลำไยพร้อมส่ง ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก ลำไยส่งออก

การจำหน่ายผลผลิตลำไย

แม้ในภาพรวมการรวมกลุ่มของผู้ปลูกลำไยที่บ้านเขาช่องแคบจะเป็นเพียงวิสาหกิจเล็กๆ ที่มีสมาชิกไม่มากนัก ปริมาณการผลิต/ปีก็ยังไม่ถือว่ามากมายเท่าไหร่ อำนาจในการกำหนดราคาส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในมือของพ่อค้า เพียงแต่อำนาจของกลุ่มสามารถต่อรองราคาได้บ้างในบางครั้ง

ทั้งนี้เพราะกลไกของการปลูกลำไยเป็นวัฏจักรที่หยั่งรากฝังลึกกันมานาน การผูกขาดราคา การกำหนดราคา เป็นสิ่งที่ชาวสวนอาจจะต้องยอมทำใจ แต่โมเดลของการรวมกลุ่มนี้ถ้านำไปปรับใช้ในผลไม้ตัวอื่นที่รูปแบบการรับซื้อแตกต่างไปจากนี้ เชื่อว่าจะเป็นผลดีที่สร้างอำนาจในการซื้อขายได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากกว่า

ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะรวมกลุ่ม รวมตัวกันได้ สิ่งที่ต้องทำอันดับแรก คือ การละลายความคิดให้ทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น ฉีกหนีจากกฏเกณฑ์ปลูกมาขายไปแบบเดิมๆ ที่ทำตามกันมาแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย พัฒนาจากการเกษตรธรรมดาให้เข้ามาใกล้เคียงคำว่า “ธุรกิจ” มากขึ้น

เมื่อพืชผลหลายตัวสามารถทำได้เช่นนี้ เท่ากับเป็นการยกระดับมาตรฐานของไม้ผลเมืองไทยให้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีระดับโลก  ผลดีที่ย้อนกลับมา  คือ  เกษตรกรสามารถลืมตา อ้าปาก กลายเป็นอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่ดี ภาพลักษณ์ในสังคมเกษตรก็จะเริ่มเปลี่ยนโฉมหน้า ไม่ใช่แค่อาชีพที่ทำกันไปวันๆ เท่านั้น..แต่กว่าจะถึงจุดนี้ต้องมีก้าวแรกเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าก้าวได้เมื่อไหร่..ความสำเร็จที่คาดหวังไว้…ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ คุณสามารถ ขามสันเทียะ (ประธานวิสาหกิจกลุ่มผู้ปลูกลำไย บ้านเขาช่องแคบ) 173 หมู่ 12 ต.คลองหาด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว โทร.08-8487-6476