ลำไย นอกฤดู สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท/ไร่ (ตอนที่ 1)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถึงลำไย จะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของภาคเหนือ แต่ก็ยังสามารถปลูกได้ในหลายภูมิภาคในประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดราชบุรีที่หลายพื้นที่มีการปลูกลำไยกันขยายเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกษตรกรมีการเรียนรู้เรื่องการปลูกลำไยทั้งในฤดูและการทำลำไยนอกฤดูให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ

คุณวันเพ็ญ ขันธ์สุวรรณ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยชาวจังหวัดราชบุรี
คุณวันเพ็ญ ขันธ์สุวรรณ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยชาวจังหวัดราชบุรี

คุณวันเพ็ญ ขันธ์สุวรรณ เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ชาวจังหวัดราชบุรี และยังเป็นผู้นำในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ปลูกลำไย ที่ตนดูแลอยู่ รวมทั้งมีการดูแลลูกไร่ที่เข้าร่วมในกลุ่มปลูกลำไยในหลายพื้นที่ในจังหวัดราชบุรีเองและจังหวัดใกล้เคียง

เดิมทีคุณวันเพ็ญเป็นเกษตรกรไร่อ้อยแต่เนื่องจากน้าชายได้ พันธุ์ลำไย มาจากจังหวัดเชียงใหม่เมื่อนำมาปลูกในพื้นที่ปรากฎว่าในช่วงฤดูหนาวผลผลิตของลำไยที่ออกมานั้นมีปริมาณที่มากสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงจึงเริ่มหันมาปลูกต้น ลำใย ควบคู่กับการปลูกอ้อยไปด้วยจนกระทั่งมีการผลิตลำไยนอกฤดูโดย สารโพแทสเซียมคลอเรต เป็นตัวควบคุมในการออกดอก ออกผล ได้

เริ่มแรกที่ ปลูกลำใย นิดหน่อยประมาณ 15 ไร่ และก็มีปลูกฝักควบคู่กันไปด้วย ปลูกอ้อยด้วย พอมีสารเข้ามาทำให้ลำไยออกนอกฤดูก็ทิ้งหมดทุกอย่าง หันมาปลูกลำไยอย่างเดียว ต่อมาจึงมีการตั้งกลุ่มผู้ปลูกลำไยขึ้นได้ประมาณ 10 ปี กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปทำของตัวเอง กลุ่มตรงนี้ก็ต้องปิดลง แต่พี่ก็ยังเหลือลูกน้องที่ต้องดูแล ลูกไร่ที่ต้องช่วยเหลือ เพราะพี่เป็นทั้งตัวแทนรับซื้อผลผลิตและรับราดสารโพแทสเซียมคลอเรตให้ลูกไร่ตามที่ต่างๆ ถึงไม่มีกลุ่มแต่เราก็ยังต้องทำต่อไปคุณวันเพ็ญกล่าวให้ทีมงานฟัง

ก่อนราดสารโพแทสเซียมคลอเรตต้องทำความสะอาดใต้ต้นลำไยให้สะอาดและโปร่ง
ก่อนราดสารโพแทสเซียมคลอเรตต้องทำความสะอาดใต้ต้นลำไยให้สะอาดและโปร่ง

การผลิตลำไย นอกฤดูด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต

ในการผลิตลำไย นอกจากจะมุ่งผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณของผลผลิตแล้วผู้ผลิตควรจะต้องคำนึงถึงการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพทางการตลาดด้วยซึ่งในการเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตนั้นเกษตรกรต้องมีความรู้และความเข้าใจในปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของต้นเพื่อการออกดอกติดผลตลอดจนการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการผลผลิตลำไยให้มีคุณภาพเพื่อให้การลงทุนทำสวนลำไยนั้นได้ผลตอบแทนที่มีคุ้มค่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เกี่ยวกับสารโพแทสเซียมคลอเรตที่ใช้ในการราดต้นลำไยเพื่อเป็นตัวเร่งให้ ลำไย ออกดอกออกผลซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่าหากจะให้ ลำไย ออกดอกออกผลให้เป็นไปตามธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากสาเหตุนั้นก็จะมาจากหลายสาเหตุเช่นสภาพภูมิอากาศได้เปลี่ยนแปลงไปความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสมบูรณ์ของ ต้นลำไ ยเป็นต้นแต่ในปัจจุบันได้มีการค้นพบว่าได้มีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเป็นตัวเร่งให้ลำไยสามารถออกดอกออกผลได้

ต้นลำไยพร้อมสารโพแทสเซียมคลอเรต
ต้นลำไยพร้อมสารโพแทสเซียมคลอเรต

1. การเตรียมความพร้อมของต้น ลำไย

    1.1 เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และควรตัดกิ่งมีโรคและแมลงทำลายออกไปเพื่อให้ลุกลาม

    1.2 ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก บำรุงต้น สะสมอาหารให้ได้มากพอ

    1.3 เพื่อให้ยอดแตกมาใหม่สมบูรณ์พร้อมออกดอกควรป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงแตกใบอ่อน เช่น โรคราน้ำค้าง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และแมลงปีกแข็ง เป็นต้น

ต้นลำไยอายุได้ 4 ปีสามารมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้แล้ว
ต้นลำไยอายุได้ 4 ปีสามารมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้แล้ว

2. การปฏิบัติในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

    2.1 การให้ทางดิน โดยการหว่านสารราดลำไย ภายในทรงพุ่มแล้วให้น้ำตาม หรืออาจทำให้เป็นร่องรอบทรงพุ่มแล้วให้สารโพแทสเซียมในร่องแล้วให้น้ำตาม หรือใช้สารละลายน้ำแล้วราดสารในทรงพุ่มก็ได้ (ปริมาณขึ้นอยู่กับอายุและทรงพุ่มของต้นลำไย)

การผสมน้ำราดมีข้อดีคือมีการกระจายตัวของสารอย่างสม่ำเสมอเหมาะสำหรับช่วงเวลาที่ไม่มีฝนตกแต่จากการสังเกตวิธีการให้สารโดยผสมน้ำราดในช่วงที่ฝนตกมักไม่ค่อยได้ผลแต่การให้สารโดยการหว่านกลับได้ผลดีกว่าทั้งนี้อาจเป็นเพราะสารค่อยๆละลายออกมาไม่ถูกชะไปกับน้ำฝนในทางปฏิบัติก่อนการให้สารควรทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่มโดยการกำจัดพืชและกวาดวัสดุคลุมดินออกจากโคนต้นหว่านสารหรือราดสารบริเวณชายพุ่มแล้วให้น้ำตามพอชุ่มเพื่อให้รากดูดสารเข้าสู่ลำต้นให้มากที่สุดในช่วง 15 วันแรกของการให้สาร ควรรักษาความชื้นอย่างสม่ำเสมอ

นิตยสาร เมืองไม้ผล
นิตยสาร เมืองไม้ผล

    2.2 การให้ทางใบ ใช้ความเข้มข้น 2,000 มล./. โดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ควรเน้นบริเวณปลายยอด สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ การให้สารวิธีนี้มีข้อดี คือ ใช้สารในปริมาณที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทางดิน แต่มีข้อจำกัด คือ ใบลำไย บางส่วนจะร่วง

ในช่วงฤดูฝนถ้ามีฝนตกควรมีการพ่นสาร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน การพ่นสารในช่วงก่อนฤดูกาลหรือให้ ลำไย ออกนอกฤดูกาลหรือหลังฤดูกาลไม่เกิน 2 เดือน จะทำให้ต้นลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกสูง

ติดตามตอนที่ 2 เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต, ข้อควรพิจารณาในการผลิตลำไยนอกฤดู,ตลาดมีส่งให้และมารับซื้อเอง และ กำไรต้องสอดคล้องกับต้นทุน

tags: นอกฤดู ทำยังไง ( ตอนที่1 ) การปลูกลำไยนอกฤดู วิธีปลูกลำไยนอกฤดู ต้นลำไย น้ำลำไย บ้านน้ำพุ ลำไย นอกฤดู การปลูกลำไยนอกฤดู วิธีปลูกลำไยนอกฤดู ต้นลำไย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]