วิธีปลูกเมล่อน ด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ 100% ความหวาน 17 บริกซ์ ขาย 250- 300บาท/ลูก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ชาละวันเมล่อนฟาร์ม” คือ สวนผลไม้ผสมผสาน ที่มี คุณวิทยา ไชยโย และคุณไพลิน เนตรแสง เป็นเจ้าของสวน ซึ่งทั้งคู่ คือ อดีตพนักงานเงินเดือนสูง และอดีตข้าราชการ ซึ่งหากมองในบางมุมอาจจะคิดว่าเป็นอาชีพที่มั่นคง แข็งแรง สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้เป็นอย่างดี แต่อีกมุม คือ การใช้ชีวิตที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา อีกทั้งการเป็นลูกน้อง หรือลูกจ้าง เป็นอาชีพที่ไม่มีเวลาเป็นของตนเอง ด้วยเหตุนี้ทั้งสองจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรมอย่างเต็มตัว วิธีปลูกเมล่อน

1.คุณวิทยา-โชยโย-เจ้าของสวนชาละวันเมล่อนฟาร์ม
1.คุณวิทยา-โชยโย-เจ้าของสวนชาละวันเมล่อนฟาร์ม

จุดเริ่มต้นของการปลูกเมล่อน

คุณวิทยาได้เล่าความเป็นมาของฟาร์มเมล่อนแห่งนี้ว่า เดิมทีตนเองเป็นพนักงานบริษัทรถยนต์ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ได้มีโอกาสไปทานอาหารที่ร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง โดยมีของหวานเมนูตบท้าย คือ “เมล่อน” ซึ่งก่อนหน้านี้คุณวิทยาไม่รู้เลยว่าผลไม้ชนิดนี้คืออะไร แต่พอได้ทานเข้าไปแล้ว ด้วยความหอม หวาน ของเมล่อน ทำให้ “ติดใจในรสชาติ” จนอยากรู้ว่ามันคือผลไม้อะไร

จากวันนั้นได้กลับมาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเรื่อง “เมล่อน” แต่เนื่องจากเมล่อนยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก มีเพียงกลุ่มเล็กที่รู้จัก โดยใช้ชื่อกลุ่มนี้ว่า  “กลุ่มคนรักเมล่อน” จึงศึกษาข้อมูลเมล่อนจากกลุ่มนี้

2.การไว้ลูก-1-ต้น-1-ลูก-เพื่อคุณภาพที่ดี
2.การไว้ลูก-1-ต้น-1-ลูก-เพื่อคุณภาพที่ดี

ครั้งแรกทดลองปลูกทั้งหมด 4 ต้น

จากการศึกษาค้นคว้าประวัติของเมล่อน ทำให้คุณวิทยาสนใจพืชชนิดนี้เป็นอย่างมาก และตัดสินใจทดลองปลูก โดยใช้ชุดปลูกเล็กๆ ปลูกบริเวณระเบียงหลังคอนโด ซึ่งครั้งแรกทดลองปลูกทั้งหมด 4 ต้น ปรากฏว่าได้ผลผลิตมาเพียง 1 ลูก เท่านั้น นอกจากผลผลิตแล้ว สิ่งที่คุณวิทยาได้อีกอย่าง คือ ประสบการณ์ และความรู้ ในการดูแลเมล่อน รู้ว่าเมล่อนต้องจัดการอย่างไร ไต่เชือกอย่างไร ต้องไว้แขนงอย่างไร และอะไรคือโรคของมัน

3.ปลูกเมล่อนในรูปแบบประเทศญี่ปุ่น
3.ปลูกเมล่อนในรูปแบบประเทศญี่ปุ่น

สภาพพื้นที่ปลูกเมล่อน

หลังจากทดลองปลูกจนประสบผลสำเร็จ คุณวิทยาจึงตัดสินใจลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกที่บ้านเกิด คือ จังหวัดพิจิตร เราลงทุนครั้งแรกประมาณ 20,000 บาท ซึ่งก็คือเป็นเงินเก็บของเราเอง เริ่มปลูกประมาณ 200 ต้น เพาะเมล็ดเอง หาซื้อเมล็ดพันธุ์ตามเว็บไซต์ ได้พันธุ์ไหนก็ลองเอามาปลูก ยังไม่รู้ว่าพันธุ์ไหนดี “มันเหมือนการลงสนามครั้งแรก” ซึ่งมีภรรยาและคุณพ่อคอยเป็นผู้ช่วย และคอยเป็นกำลังใจให้

ผลที่ได้ คือ ได้ผลเมล่อนประมาณ 100 ลูก แต่รสชาติยังไม่หวานเท่าที่ควร ซึ่งจริงๆ แล้วเมล่อนมันหวานได้อีก แต่เราจะสร้างความหวานให้ได้ยังไง ตอนนั้นยังจับใจความอะไรไม่ได้ เคล็ดลับการสร้างผลให้ใหญ่ การสร้างลายให้สวย การสร้างความหวานของเมล่อน มันคืออะไร ซึ่ง 200 ต้น ตรงนั้น ยังไม่ใช่พันธุ์ที่เราต้องการ”

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.สายพันธู์เมล่อน
4.สายพันธู์เมล่อน

สายพันธุ์เมล่อน

คุณวิทยาเล่าต่อไปว่าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสไปดูงานที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีสายพันธุ์เมล่อนคุณภาพมากมาย จึงลองซื้อเมล็ดพันธุ์มาทดลองปลูกที่เมืองไทย ที่ญี่ปุ่นจะมี 2 สายพันธุ์ ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ คราวน์เมล่อน (Crown Melon)ปลูกแถบเมืองฟุกุโรอิชิ จังหวัดชิซึโอกะ และพันธุ์ ยูบาริคิง (Yubari King Melon)

ซึ่งปลูกมากแถบฮอกไกโด ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพ ทั้งรสชาติ และสีสัน แต่คุณวิทยาอยากได้พันธุ์ยูบาริคิงมาปลูกมากที่สุด แต่ไม่สามารถนำมาได้ เนื่องจากพันธุ์นี้มีลิขสิทธิ์อยู่ ดังนั้นคุณวิทยาจึงหาเมล่อนสายพันธุ์ที่มีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์นี้มากที่สุดมาปลูก จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ต้องการ ตั้งชื่อว่า สายพันธุ์ ชาละวัน เมล่อน ดังชื่อฟาร์มนั่นเอง

5.โรงเรือนปลูกเมล่อน
5.โรงเรือนปลูกเมล่อน
การวางระบบน้ำโดยวิศวกรมืออาชีพ
การวางระบบน้ำโดยวิศวกรมืออาชีพ

วิธีปลูกเมล่อน และการดูแลเมล่อน 

1.การทำโรงเรือน

หลังจากที่คุณวิทยาได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเมล่อน ได้ปรึกษากับทางคุณพ่อเกี่ยวกับการสร้างโรงเรือน เมื่อคุณพ่อเห็นด้วยจึงเริ่มลงมือสร้างโรงเรือนเป็นอันดับแรก โดยโรงเรือนแรกที่ทำยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังขาดประสบการณ์ เนื่องจากโรงเรือนต่ำเกินไป ส่งผลให้อากาศด้านในร้อนเกินไป  เมล่อนไม่โตเท่าที่ควร

จากนั้นจึงปรับปรุงและสร้างโรงเรือนขึ้นมาใหม่ 2 หลัง คือ โรงเรือนปัจจุบัน ลักษณะหลังคาแบบหน้าจั่ว สามารถป้องกันความร้อนได้ ขนาดโรงเรือน 6×24 เมตร ปลูกเมล่อน 5 แถว แถวละ 90 ต้น รวมแล้ว 1 โรงเรือน จะมีต้นเมล่อนทั้งหมด 450 ต้น ราคาโรงเรือนตารางเมตรละ 700-1,000 บาท โรงเรือนหนึ่งใช้ต้นทุนในการสร้างประมาณ 170,000-200,000 บาท รวมวัสดุปลูก ซึ่งโรงเรือนแห่งนี้คุณวิทยาเป็นคนออกแบบเองทั้งหมดจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และที่สำคัญใช้เงินเก็บของตนเองสร้าง ไม่มีการกู้ยืมเงินจากไหนเลย

2.การวางระบบน้ำ

การวางระบบน้ำในแปลงจะเป็นระบบอัตโนมัติ ตั้งเวลาให้น้ำไว้ โดยคุณวิทยาจะเป็นผู้ออกแบบเอง และติดตั้งเอง ทั้งหมด โดยใช้ความรู้จากการเป็นวิศวกร เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ และสะดวก รวดเร็ว โดยจะมีท่อเมนเดินหมดทุกโซน มีท่อประธาน และท่อย่อยๆ แยกไปตามหัวแปลง ที่หัวแปลงจะมีจุดจ่ายน้ำ เป็นการให้แบบระบบน้ำหยด การให้น้ำในแปลงจะควบคุมการให้น้ำ และอัตราการไหลของน้ำ

3.การเตรียมดิน

เมื่อสร้างโรงเรือนและวางระบบน้ำแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การเตรียมดินปลูก และอุปกรณ์ในการปลูก คุณวิทยาเริ่มต้นจากการบรรจุวัสดุปลูกลงถุง ขนาดหน้ากว้าง 8 นิ้ว โดยวัสดุปลูกนั้นจะใช้ “ขี้เถ้าอ้อย” หรือ (ขี้เค้ก) แกลบที่ได้จากการเผาอ้อย เนื้อละเอียดกว่าแกลบข้าว ลักษณะคล้ายพีทมอส ซึ่งจะสามารถดูดซับน้ำดีกว่าแกลบข้าว อีกทั้งความเป็นด่างน้อยกว่า และที่สำคัญราคาถูกกว่า ซึ่งราคาหกล้อละ 300-350 บาท/รอบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.การเพาะปลูก

เริ่มต้นโดยการแช่เมล็ดในน้ำอุ่นประมาณ 1 คืน จากนั้นนำทิชชูชุบน้ำ แล้วเอาไปปูในกล่องพลาสติก นำเมล็ดที่แช่น้ำไปบ่ม ปิดทับด้วยทิชชูเปียกอีก 1 ชั้น บ่มไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้รากงอกประมาณ 5มม. จากนั้นนำมาเพาะในพีทมอส โดยเพาะลงในถ้วยปลูกขนาด 4 นิ้ว รดน้ำ เช้า-เย็น ต้นทุนเมล็ดพันธุ์ประมาณ 16 บาท ค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 7,000-8,000 บาท

ซึ่งคุณวิทยาพูดถึงข้อดีว่า “การปลูกในถ้วยปลูกจะทำให้เมล็ดเจริญเติบโตเร็ว เมื่อเทียบกับถาดหลุม พีทมอสมีพื้นที่จำกัด รากจะตีกรวย ทำให้รากเบียดอยู่ในนั้น แต่ถ้าปลูกในถ้วย ดินค่อนข้างเยอะ เมื่อเทียบกันแล้วในถ้วยจะโตเร็วกว่า และสะดวก เพราะเราปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์ ปลูกไว้ประมาณ 12 วัน ใบจริงที่ 2 เกิด ก็ย้ายลงถุงปลูก”

5.การบำรุงดูแล

ในการดูแลต้นเมล่อนตั้งแต่ลงปลูก ทางสวนจะมีสูตรปุ๋ยซึ่งเป็นสูตรเฉพาะ โดยชาละวันเมล่อนแบ่งปุ๋ยเป็น 4 สูตร ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของที่นี่ จากการนำปุ๋ยเม็ดหลายๆ สูตรมาละลายน้ำ แต่ก่อนจะใส่ปุ๋ย ทางสวนจะมีการวัดค่า pH ของดินก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าดินต้องการอะไร โดยการใช้โปรแกรมในการคำนวณ เครื่องมือที่ใช้วัดเรียกว่า เครื่อง EC เพราะแต่ละช่วงความเข้มข้นของดินแต่ละช่วงไม่เท่ากัน

6.วิธีปลูกเมล่อน ให้ได้ผลผลิตเมล่อนคุณภาพ ปลอดสารพิษ
6.วิธีปลูกเมล่อน ให้ได้ผลผลิตเมล่อนคุณภาพ ปลอดสารพิษ

สูตรปุ๋ยของชาละวัน เมล่อน

สูตรที่ 1 สร้างลำต้นและใบ จะให้ 1-2 อาทิตย์ หลังจากย้ายต้นลงถุง ให้ครั้งละ 100-150 ซีซี. ให้แบบระบบหยด เรียกว่า ปุ๋ย A B ช่วยให้เมล่อนในโรงเรือนได้ปุ๋ย ได้น้ำ เท่ากันทุกต้น ทำให้ต้นเมล่อนเติบโตเสมอกันทุกต้น

สูตรที่ 2 สร้างแขนง เพื่อให้ต้นออกดอก และติดดอก ต้องผสมเกสรเอง เพราะเมล่อนดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละดอกกัน การให้ปุ๋ยเริ่มในอาทิตย์ที่ 3 หลังจากย้ายต้นลงถุงแล้ว

สูตรที่ 3 สร้างดอก หลังจากผสมเกสรแล้ว ต้นจะติดดอกทั้งหมด 3 ดอก จะอยู่ตามแขนงที่ 10-13 เท่านั้น เมื่อผสมได้ประมาณ 1 อาทิตย์ จะได้ผลเมล่อนขนาดประมาณไข่ไก่ ตรงนี้เกษตรกรจะต้องเลือกลูกที่สมบูรณ์ที่สุด “วิธีการคัดลูก” เลือกลูกที่สมมาตร ลูกที่ไม่บิดเบี้ยว ลูกที่สมบูรณ์ที่สุด ต้องเลือกทรงรียาว ไม่เอากลม ถ้าลูกกลมพอมันโตมันจะดันลูกแตก  แต่ถ้าเราเลือกลูกรีๆ ยาวๆ เวลาโตมันจะขยายออกด้านข้าง และสุดท้ายมันจะกลม พอเมล่อนขยายผล ในช่วงนี้จะเริ่มสร้างลาย ตรงนี้เป็นจุดสำคัญของเมล่อน เพราะลายมีผลต่อความสวยงามของเมล่อน ซึ่งคุณวิทยาจะมีวิธีการสร้างลายให้สวย โดยใช้เทคนิคการให้น้ำ เป็นการสร้างลายให้สวยงาม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สูตรที่ 4 สร้างความหวาน ในขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด ถึงเมล่อนจะมีลายสวย ผลสมบูรณ์ แต่เมื่อผ่ามารับประทานแล้วมีรสชาติจืด ไม่มีความหวาน ก็จะทำให้เมล่อนผลนั้นไม่มีคุณภาพ ซึ่งในช่วงนี้คุณวิทยาจะบำรุงใบให้สมบูรณ์ แข็งแรง ที่สุด ก่อนตัด เพราะเมล่อนความหวานจะอยู่ที่ใบ ถ้าใบสมบูรณ์ ผลผลิตจะมีรสชาติหวาน กลมกล่อม ถ้ารักษาใบให้เขียว ใบเยอะ น้ำตาลที่ใบก็จะถูกลำเลียงมาที่ลูก โดยที่เราไม่ต้องทำความหวานเลย

7.เมล่อนเนื้อสีส้มจะให้ความหอมกว่าเนื้อสีเขียว
7.เมล่อนเนื้อสีส้มจะให้ความหอมกว่าเนื้อสีเขียว
เมล่อนสีเขียวพันธุ์เฉพาะของทางสวน-รสชาติหวาน-หอม
เมล่อนสีเขียวพันธุ์เฉพาะของทางสวน-รสชาติหวาน-หอม

การเก็บเกี่ยวผลผลิตเมล่อน

โดยเฉลี่ยเมล่อนจะปลูกกันช่วงฤดูร้อน เพื่อให้สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงปลายฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวเมล่อน จะให้ผลผลิตเมื่อมีอายุ 70-75 วัน ซึ่งแต่ละสายพันธุ์อายุการเก็บเกี่ยวจะไม่เท่ากัน แต่ที่ “ชาละวัน เมล่อน” จะนับตั้งแต่ก่อนเพาะเมล็ดจนถึงย้ายเข้าโรงเรือนประมาณ 15 วัน

ถ้าเป็นพันธุ์เบา (เนื้อสีส้ม) จะเลี้ยงต่ออีก 60 วัน จะเก็บเกี่ยวได้เลย แต่ถ้าเป็นพันธุ์หนัก (เนื้อสีเขียว) ใช้ระยะเวลาประมาณ 75 วัน ถ้าเป็นพันธุ์หนักรวมๆ ประมาณ 90 วัน ส่วนพันธุ์เบาประมาณ 75 วัน

8.อุปกรณ์เสริมในการห้อยลูกเมล่อนเพื่อป้องกันกิ่งหัก
8.อุปกรณ์เสริมในการห้อยลูกเมล่อนเพื่อป้องกันกิ่งหัก

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ชาละวัน เมล่อน ใช้ระบบปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ 100% เป็นแบบใช้วัสดุปลูก ข้อดี คือ จะไม่มีโรคทางดิน ถ้าปลูกแปลงเปิดจะมีโรคเหี่ยวเขียว แต่ถ้าปลูกในโรงเรือนโรคทางดินแทบจะไม่มี เพราะว่ามันเติบโตมาจากแกลบ สารอาหารในนั้นมันครบหมด เชื้อโรคมันเข้าไปไม่ได้ ส่วนโรคทางใบ ส่วนใหญ่จะเป็นเพลี้ย และแมลงหวี่ขาว แต่ทีนี้จะใช้กับดักกาวสีเหลืองแปะไว้ที่ยอด จะช่วยได้มาก เพราะแมลงหวี่ขาวจะวิ่งใส่สีเหลืองก่อนเลย ตรงนี้จะสามารถเช็คได้ว่าตอนนี้มีแมลงมาระบาดหรือยัง ที่นี่แทบจะไม่ได้ใช้สารเคมีฉีดพ่นเลย

หลังจากที่เก็บเกี่ยวเมล่อนแล้ว จะมีวิธีการจัดการโรงเรือนง่ายๆโดยการฆ่าเชื้อในโรงเรือนโดยใช้ไฮเตอร์ ที่ต้องฆ่าเชื้อเพราะละอองเกสร เชื้อรา ฝุ่น ที่มันปลิวติดพลาสติก ตาข่าย ต้องล้างใหม่หมด ทั้งในและนอก ไม่อย่างงั้นมันจะพรางแสง แสงจะส่องไม่ถึง ฉะนั้นต้องกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อโรคเหล่านี้ หลังจากฉีดต้องทิ้งโรงเรือนไว้ซักอาทิตย์หนึ่ง

9.ผลผลิตเมล่อน
9.ผลผลิตเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน
ผลผลิตเมล่อนสร้างลวดลายบนผิวได้สวยงาม
ผลผลิตเมล่อนสร้างลวดลายบนผิวได้สวยงาม วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน

การจำหน่ายผลผลิตเมล่อน

ช่วงแรกที่คุณวิทยาโปรโมทผ่านเฟสบุ๊คลูกค้า 60-70% จะถูกขายผ่านเฟสบุ๊ค โดยการส่งผลผลิตผ่านทางไปรษณีย์ และมีลูกค้าเข้ามาซื้อที่สวนเอง ด้วยความที่ชาละวัน เมล่อน เป็นสวนเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม และสามารถเลือกซื้อจากต้นได้เลย ซึ่งพันธุ์ชาละวันที่ขายอยู่กิโลละ150 บาท 1 ลูก ประมาณ 250-300 บาท ความหวานต้อง15 บริกซ์ขึ้นไป แต่ถ้าเป็นพันธุ์สีส้มความหวานมาก 17 บริกซ์ ปรากฏว่าการที่ทำเป็นสวนเปิด ผลผลิตสามารถขายหมด โดยที่ไม่ต้องส่งตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณวิทยาเล่าให้ทางทีมงานฟังว่า “เริ่มรู้ตัวว่าสนใจเกษตร เพราะเราได้เดินทางบ่อยๆ มันทำให้เรารู้ว่าเราชอบอยู่กับดิน กับธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ดีที่สุด เพราะทุกพื้นที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะปลูกอะไร ก็สามารถเจริญเติบโต ให้ผลผลิตได้หมด และที่สำคัญเราได้ความรู้จากการที่เราลงมือทำจริง และเราสามารถให้ความรู้กับอีกหลายๆ คนที่สนใจในด้านนี้ อีกทั้งมีเวลาเป็นของตัวเอง ครอบครัวอยู่พร้อมหน้า”

10.คุณพ่อของคุณวิทยา
10.คุณพ่อของคุณวิทยา วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน 

อนาคตปรับปรุงพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรม

คุณวิทยาจะปรับปรุงพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรม สำหรับเกษตรกร และประชาชน ที่สนใจเรื่องการปลูกเมล่อน และมะเดื่อฝรั่ง ให้เข้ามาเรียนรู้ ดูวิธีการจัดการเพื่อเป็นประโยชน์ และให้เกษตรกรสามารถนำประโยชน์จากการที่มาเรียนรู้ไปใช้ในสวนของตัวเอง ในการเพิ่มผลผลิต แนวทางการหาตลาด หรือว่าจะเป็นการจัดรูปแบบองค์กร

ในด้านการท่องเที่ยว ชาละวัน เมล่อน จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ และมีผลไม้หลากหลายชนิดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกด้วย มีเกษตรกรหลายคนที่สนใจเข้ามาสอบถามข้อมูล เพราะคิดว่ามันทำง่าย บางคนทำสุดท้ายก็เลิกทำ เพราะเมื่อลงมือทำมันไม่ได้ง่ายอย่างในทฤษฎีที่เขียนไว้ ทุกอย่างต้องลงมือทำ งานเกษตรไม่ใช่ทำเดือน หรือสองเดือน แล้วเห็นผล กว่าจะมาเป็นชาละวัน เมล่อน ผมและภรรยาต้องขับรถกลับบ้านทุกอาทิตย์ เพื่อที่จะมาลงมือทำเองทุกขั้นตอน เพื่อให้รู้ถึงปัญหาที่แท้จริง เมื่อมีปัญหาต้องแก้ปัญหาไปทีละจุด  ศึกษาไปเรื่อยๆ กว่าจะมาเป็นชาละวัน เมล่อน ที่คนรู้จักในทุกวันนี้ ใช้เวลาถึง 5 ปี

ที่สำคัญของการทำเกษตร ต้องเน้นสร้างคุณภาพก่อน ไม่จำเป็นต้องเป็นเมล่อน หรือมะเดื่อฝรั่ง จะเป็นพืชตัวไหนก็ได้  สร้างมาตรฐานทางการค้าขึ้นมา สร้างตลาดขึ้นมาด้วยตัวเราเอง เมื่อผลผลิตมีคุณภาพ ตลาดย่อมไม่หนีไปไหนไกล

ชาละวัน เมล่อน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง ลงทุนแต่พอดี ตามทุนที่เรามี สร้างงานแต่ไม่สร้างหนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง คิด วิเคราะห์ เข้าใจหลักการตลาด และพืชที่เราต้องปลูก

ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง มีการศึกษาข้อมูลมาอย่างดี เตรียมตัวให้พร้อม รับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

11.แปลงเมล่อน
11.แปลงเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน วิธีปลูกเมล่อน

ฝากถึง…เกษตรกรที่สนใจปลูกเมล่อน

ท้ายนี้หากเกษตรกรท่านใดสนใจการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างเมล่อน สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ที่ “ชาละวัน เมล่อน” ซึ่งคุณวิทยายินดีให้ความรู้แบบถึงพริกถึงขิงกันเลยทีเดียว หรือหากใครต้องการทานเมล่อนคุณภาพจากทางฟาร์ม ขอให้อดใจรอนิดเดียว เพราะทางฟาร์มจะมีผลผลิตเมล่อนออกจำหน่ายอีกครั้งในช่วงเดือนเมษายนนี้แน่นอน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม “ชาละวันเมล่อนฟาร์ม” คุณวิทยา ไชยโย  และคุณไพลิน เนตรแสง โทร :08-8019-5809 เฟสบุ๊ค:Chalawan Melon ชาละวัน เมล่อน บ้านหนองจิก เลขที่ 2 หมู่ 7 ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร  66150

โฆษณา
AP Chemical Thailand