สละ ปลูกแบบสวนสละชุมพร เก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สละ ปลูกแบบสวนสละชุมพร เก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน

สละ เป็นพืชในวงศ์ปาล์มและอยู่ในสกุลเดียวกับระกำ เป็นผลไม้รสชาติเปรี้ยว หวาน อร่อย เป็นที่ถูกอกถูกใจของใครหลายๆ คน ซึ่งนอกจากกินสดแล้วยังนิยมนำมาทำลอยแก้ว กินดับร้อน ได้เป็นอย่างดี

เมื่อพูดถึงการปลูกสละนั้น คงต้องถามผู้รู้ อย่าง คุณวิรัช กำเนิดโทน ที่มีสวนสละมากถึง 50 ไร่ โดยแบ่งให้ลูกๆ ช่วยกันดูแล เป็นสละพันธุ์เนินวงที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน และ สละสุมาลี ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การจัดการสวน ให้สามารถเก็บขายได้ทุกวัน

ซึ่งการจัดการของสวนนี้จะสามารถเก็บสละได้ทุกวัน มีการจัดการต้นสละเป็น 6×6 เมตร ซึ่งจะปลูกเป็นกอๆ ละ 3 ต้น ซึ่งสละ 1 ทะลาย หรือ 1 คาน นั้น จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 70 กก. ดังนั้นในแต่ละกอจะสามารถเก็บผลผลิตได้ถึง 200 กก. โดยหลายๆ สวนจะปลูกเพียงกอละ 1 ต้น เพื่อความสะดวกในการจัดการ เป็นข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

สละคุณภาพจากชุมพร
สละคุณภาพจากชุมพร
1.คุณวิรัช-กำเนิดโทน-ผู้ปลูกสละมากถึง-50-ไร่
1.คุณวิรัช-กำเนิดโทน-ผู้ปลูกสละมากถึง-50-ไร่

 

2.การให้ปุ๋ย-ให้น้ำในต้นสละ
2.การให้ปุ๋ย-ให้น้ำในต้นสละ

การผสมเกสรใน ต้นสละ

การออกดอกของต้นสละเป็นการออกดอกแยกต้นตัวผู้และตัวเมีย จึงต้องมีการช่วยผสมเกสร โดยทั่วไปจะมีการเก็บเกสรตัวผู้ในรูปแบบผงแห้งเพื่อประหยัดเกสรตัวผู้ แต่สำหรับสวนแห่งนี้จะใช้เกสรตัวผู้สด เนื่องจากมีโอกาสติดสูงมาก เมื่อมีการผสมเกสรแล้ว

ผ่านไป 7 เดือนครึ่ง ก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยจะมีการผสมเกสรทุกวัน เนื่องจากการบานของดอกสละจะไม่บานพร้อมกัน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมสวนแห่งนี้จึงเก็บสละได้ทุกวัน

4.การป้องกันโรคและศัตรูพืช
4.การป้องกันโรคและศัตรูพืช

การให้ปุ๋ย-ให้น้ำใน ต้นสละ

การดูแลต้นสละนั้นจะต้องมีการตัดแต่งใบอยู่เสมอๆ การบำรุงด้วยปุ๋ยของสวนแห่งนี้ใช้จะเป็นมูลวัว มูลไก่อัดเม็ด และทางสับบด สำหรับปิดหน้าดิน โดยทางสับบดจะรักษาความชื้น และย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้กับต้นสละได้อีกด้วย ด้านการให้น้ำจะให้วันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง และในหน้าฝนจะต้องมีการดูแลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเชื้อราและศัตรูพืชต่างๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.การผสมเกสรในต้นสละ
3.การผสมเกสรในต้นสละ

การป้องกันโรคและศัตรูพืช

เมื่อสละเริ่มออกลูกจะต้องมีการตัดแต่งลูก เพื่อให้ต้นสละสามารถส่งสารอาหารให้ลูกที่เหลือได้อย่างเต็มที่ การเก็บช่อนั้นไม่ควรปล่อยให้เลี้ยงลูกเกินกว่า 20 ช่อ พร้อมกัน เนื่องจากสารอาหารจะส่งไปยังผลสละไม่เพียงพอ และจะต้องปักเสาเพื่อโยงทะลายขึ้นไม่ให้โน้มลงถึงพื้น เพื่อป้องกันปัญหาเชื้อราต่างๆ ซึ่งปัญหาของสละนั้นส่วนใหญ่จะเป็น “ราน้ำตาล” ซึ่งหากเป็นมากจะต้องใช้สารกำจัดเชื้อรา

5.ต้นทุเรียนในสวนสละ
5.ต้นทุเรียนในสวนสละ

ข้อดีของการปลูกผสมระหว่างทุเรียนและสละ

ซึ่งนอกจากการปลูกสละที่มีคุณภาพดีแล้ว สวนแห่งนี้ยังเคยปลูกทุเรียนได้คุณภาพอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันยังมีต้นทุเรียนปลูกผสมผสานไว้บ้าง โดยข้อดีของการปลูกผสมระหว่างทุเรียนและสละนั้น คือ สามารถลดต้นทุนการให้ปุ๋ยและยาได้ แต่ข้อเสียก็คือ ช่วงเวลาที่ใช้สารเคมีกับทุเรียน สารเคมีจะปกคลุมต้นสละด้วย ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวต้นสละขายได้

6.การเก็บเกี่ยวผลผลิต สละ ต้นสละ
6.การเก็บเกี่ยวผลผลิต สละ ต้นสละ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต สละสุมาลี

สำหรับตัวคุณวิรัชนั้น เป็นผู้ที่มีจิตอาสาเข้าช่วยให้ความรู้ในเรื่องสวนสละแก่ผู้ที่สนใจ และเข้ามาสอบถามกับสมาคมชาวสวนผลไม้ ชุมพร ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจจะทำสวนสละ คุณวิรัชมีองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุน การจัดการที่ดิน เพื่อทำสวนสละ การดูแลต้นสละ การผสมเกสรต้นสละ และดูแลช่วงออกลูก ซึ่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรหลายๆ ท่านมาแล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณวิรัช กำเนิดโทน (อุปนายกสมาคมชาวสวนทุเรียน จังหวัดชุมพร)

16/1 ม.3 ต.ถ้ำสิงห์ อ.เมือง จ.ชุมพร

สละ ต้นสละ สละสุมาลี สละอินโด  สละลอยแก้ว การปลูกสละ  ผลไม้สละ การปลูกสละอินโด

โฆษณา
AP Chemical Thailand