สวนมะม่วง ดีเด่น พื้นที่ 5 ไร่ ให้ผลผลิตกว่า 10 ตัน / ปี ทั้งในและนอกฤดู เน้นเก็บผลสุก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกมะม่วง

เรื่องของผลไม้นอกฤดูก็ยังเป็นกระแสความนิยมที่ดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ผู้บริโภค แต่กับเกษตรกรเองก็ค่อนข้างพอใจ เพราะคำว่า “ นอกฤดู ” หมายถึง ราคาที่จะดีกว่า ทั้งนี้ใช่ว่าการทำนอกฤดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ แค่คิดก็จะทำได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องมีองค์ประกอบด้านความรู้ และความชำนาญ เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณและคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดในช่วงเวลานั้นด้วย

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

คุณสมศรี สุขเกษม เกษตรกรชาว สวนมะม่วง ดีเด่นจังหวัดอ่างทอง หรือ ” สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ” (Smart Farmer) ที่ประสบความสำเร็จในการทำมะม่วงนอกฤดูที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ลบล้างความรู้สึกของผู้บริโภคบางส่วนที่มองว่ามะม่วงอ่างทองนั้นรสชาติไม่ดี ไม่อร่อย คุณภาพสู้มะม่วงจากที่อื่นไม่ได้ ปัญหานานาประการที่คุณสมศรีใช้เวลาแก้ไขและรวบรวมเป็นประสบการณ์

จนวันนี้ที่ได้ผลิตมะม่วงคุณภาพ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดได้ รวมถึงผลผลิตที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ถึงขนาดได้รับคัดเลือกเป็นสวนมะม่วงดีเด่นของจังหวัดอ่างทอง และเป็นตัวแทนสวนมะม่วงจังหวัดอ่างทอง ให้ไปออกงานแสดงสินค้าที่คลองผดุงกรุงเกษม ข้างทำเนียบรัฐบาล ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมา

2.คุณสมศรี-สุขเกษม-และครอบครัว
2.คุณสมศรี-สุขเกษม-และครอบครัว

นอกจากนี้คุณสมศรียังมีการจดบันทึกการจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับการทำเกษตร ควบคู่ไปกับการจัดการ สวนมะม่วง ได้เป็นอย่างดี จึงมีคุณสมบัติและได้รับเลือกให้เป็นเกษตรกรตัวอย่างของจังหวัดอ่างทองในปีนี้ ที่มี

“ แนวทางการปลูกมะม่วงทั้งในและนอกฤดู ” ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานทั้งปริมาณและคุณภาพ ผลผลิต มีวิธีบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ลดการพึ่งพาสารเคมีบางตัวลงไปได้ เน้นใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น เป็นสวนมะม่วงที่มีการใช้ชีวภาพผสมผสานกับเคมีได้อย่างลงตัว

3.การปลูกต้นมะม่วงตามระยะของทางสวน
3.การปลูกต้นมะม่วงตามระยะของทางสวน

ด้านตลาดมะม่วง

คุณสมศรีกล่าวทิ้งท้ายว่าการทำสวนมะม่วงนั้นหากมุ่งหวังในเชิงปริมาณมากเกินไป หรือต้องการผลผลิตที่มากเกินไปจะเหนื่อยมาก หากแต่ทำพอดี ๆ เพื่อการบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง รักษามาตรฐานผลผลิตของสวนเอาไว้ ลงทุนไม่ต้องมาก แต่ได้ผลผลิตที่ดี เทียบกันแล้วเกษตรกรเองก็ไม่ต้องเหนื่อยมาก ดังนั้นการทำเกษตรต้องเข้าใจว่า ทำแค่พอดี พอมี พอใช้ ลงทุนมากแต่ได้น้อย สู้ลงทุนน้อยแต่ได้เรื่อย ๆ จะดีกว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อนาคตของมะม่วงนั้นก็ยังถือว่าสดใส ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการสูงมาก อยู่ที่เกษตรกรมากกว่าที่จะเดินทางในส่วนนี้อย่างไร โดยส่วนตัวแล้วถือว่าตัวเองยังไม่ได้มาไกลแต่มาเรื่อยๆ และจะก้าวต่อไปเรื่อย ๆ อย่างมั่นคงจะดีที่สุด และข้อดีของการทำสวนมะม่วงก็คือ ถ้าทำให้ดี บริหารจัดการให้ได้ จะเป็นอาชีพที่ดี พออยู่ได้ เน้นทำเกษตรแบบผสมผสาน ให้มีรายได้เข้ามาตลอด เน้นการผลิตที่มีคุณภาพ ให้ลูกค้าติดใจ จะทำให้ตลาดไปได้แน่นอน

นอกจากนี้คุณสมศรียังทำหน้าที่เป็นประธาน “กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดอ่างทอง” ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา มีสมาชิกร่วม 20 กว่าสวนทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพ ร่วมกันพัฒนาผลผลิต ยกระดับด้านราคาผลผลิต ซึ่งในเบื้องต้นได้มีตลาดต่างประเทศวิ่งเข้ามาเพื่อรอรับซื้อผลผลิตถึงที่

แต่ด้วยเกษตรกรที่ยังรวมตัวกันไม่แน่น และติดปัญหาด้านการผลิตที่ยังไม่ลงตัว จึงพลาดโอกาสครั้งนี้ไป แต่กระนั้นคุณสมศรีก็ยังไม่ท้อ แต่จะมุ่งมั่นหันมาพัฒนาและสานต่อเรื่องกลุ่มอีกครั้ง เพื่อรวมตัวกันผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพ ได้มาตรฐานตรงตามที่ตลาดต้องการให้มะม่วงอ่างทองเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการตลาดที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่กลุ่มได้พัฒนาจนเข้มแข็งแล้ว

8.จำหน่ายมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์
8.จำหน่ายมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์

สภาพพื้นที่การทำ สวนมะม่วง

ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดของคุณสมศรีมี 12 ไร่ แบ่งเป็นการทำนา 7 ไร่ และทำ สวนมะม่วง อีก 5 ไร่ ซึ่งโดยทำเลแล้วจังหวัดอ่างทองก็ถือเป็นอีกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการทำเกษตร เนื่องจากลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ดินเหนียวปนทราย มีแม่น้ำไหลผ่านถึง 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ถ้าในปีไหนไม่มีปัญหา การกักเก็บน้ำไว้ตามเขื่อนมีการปล่อยน้ำลงมาอย่างอิสระ

ปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรของอ่างทองถือว่าเพียงพอ แต่ก็มีบ้างในบางปีที่เป็นปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากการงดปล่อยน้ำลงสู่ระบบ แต่การแก้ปัญหาของเกษตรกรส่วนมาก คือ การขุดบ่อน้ำเอาไว้ใช้เองในยามจำเป็น รวมถึงบางคนก็ลงทุนขุดบ่อบาดาลเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลนด้วย

คุณสมศรีเล่าว่าย้อนไปก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ กับครอบครัว ภายหลังได้กลับมาทำ สวนมะม่วง ของครอบครัวอย่างเต็มตัว และเริ่มเข้ามาแก้ไขในส่วนที่ขาดหาย โดยเฉพาะในเรื่องการตลาด จากสมัยก่อนที่คุณแม่เป็นคนทำการขาย ส่วนใหญ่ คือ การให้เหมาสวน ทำให้ราคาที่ได้ไม่สะท้อนคุณภาพของมะม่วงที่มีอยู่จริง เมื่อเข้ามาทำเองแล้วการจำหน่ายจึงเน้นที่การเก็บ และนำไปจำหน่ายด้วยตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพและราคาได้อย่างเต็มที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยเน้นการเก็บผลที่แก่ไม่ต่ำกว่า 70 % ไม่มีการบ่มแก๊ส และจะปล่อยให้สุกเองตามธรรมชาติ แม้จะมีข้อจำกัดที่อายุการเก็บรักษาจะสั้นแค่ประมาณ 3 วัน ก็จะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลเกิดขึ้น แต่อย่างน้อยก็ได้เรื่องรสชาติ หวาน หอม อร่อย เข้ามาทดแทน

นอกจากนี้ยังได้คุณภาพในเรื่องของขนาดที่เป็นมะม่วงไซส์ใหญ่ ขนาดไม่เกิน 3 ผล/กก. นำไปจำหน่ายในราคา 50 บาท/กก. เท่านั้น เพื่อให้ผู้บริโภคทุกคนสามารถซื้อทานได้ ได้ทานของดี ได้ทานมะม่วงที่อร่อย ซึ่งตลาดให้ผลตอบรับที่ดีตลอดมา

4.มะม่วงเขียวเสวยบนต้น
4.มะม่วงเขียวเสวยบนต้น

สายพันธุ์มะม่วง

ปัจจุบันมะม่วงที่ปลูกอยู่ในพื้นที่นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งเขียวเสวย น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ทวายเดือน 9 และโชคอนันต์  ที่จะสลับกันให้ผลผลิต ทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สามารถขายได้ทั้งมะม่วงสด หรือมะม่วงยำ ส่วนเขียวเสวยและน้ำดอกไม้ส่วนใหญ่จะเน้นผลิตเป็นมะม่วงสุกออกสู่ตลาด ซึ่งมะม่วงแต่ละสายพันธุ์จะมีความยากง่ายในการดูแลที่ต่างกัน

โดยเฉพาะมะม่วงเขียวเสวยที่มีการดูแลยากกว่าสายพันธุ์อื่น เพราะหากดูแลไม่ดี บำรุงไม่ถึง จะให้ผลผลิตค่อนข้างน้อยมาก หรือไม่ติดลูกเลยก็ได้ แต่ด้วยความชำนาญและประสบการณ์ด้านการทำมะม่วง ทำให้เขียวเสวยให้ผลผลิตได้ดีไม่แพ้สายพันธุ์อื่นเลย อีกทั้งมะม่วงแต่ละสายพันธุ์จะให้ผลผลิตในระยะเวลาที่ต่างกัน เป็นการวางระบบในการบริหารจัดการสวนที่สำคัญอย่างหนึ่งเพื่อรายได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่อายุต้นมะม่วงบางต้นวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี และเป็น สวนมะม่วง ที่ค่อนข้างมีศักยภาพในด้านการผลิตอันดับต้นๆ ของจังหวัดอ่างทอง ที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในแต่ละปีกว่า 10 ตัน ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

5.การให้ผลผลิตในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว
5.การให้ผลผลิตในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว

การบริหารจัดการ สวนมะม่วง

การทำมะม่วงฤดูปกติเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ และสารเคมี บางตัวบ้าง เพื่อลดต้นทุน ซึ่งปุ๋ยชีวภาพที่ใช้นี้ก็ได้แก่ ขี้ไก่อัดเม็ด และมูลสัตว์ เป็นต้น โดยเน้นการใช้สมุนไพรฉีดพ่นเพื่อป้องกันแมลง ที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อตัวเกษตรกร และผู้บริโภค ถือว่าในฤดูการทำมะม่วงปกตินั้นสัดส่วนใช้สารเคมีแทบจะน้อยมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยเฉพาะ “ การทำมะม่วงนอกฤดู ” หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการราดสารเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิต ด้วยความชำนาญจึงสามารถทำมะม่วงนอกฤดูได้ไม่ยากจนเกินไปโดยมีเทคนิคการราดสาร มีการดูแลและบำรุงต้น

การดูแลใบอ่อนและตาดอกให้สมบูรณ์ ที่คล้ายคลึงกับการผลิตมะม่วงในฤดู แต่วิธีจะแตกต่างกันอยู่บ้างเรื่องเทคนิคปลีกย่อยเท่านั้น เพราะปัจจัยที่ทำให้ต้นมะม่วงแทงช่อดอกได้ดีขึ้นอยู่กับสัดส่วนของปริมาณสารประกอบคาร์โบไฮเดรต และไนโตรเจน ที่สะสมอยู่ที่ใบและยอดมีปริมาณพอเหมาะ “ แสงสว่าง ” ที่มีผลต่อการผลิดอก

แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถควบคุมเพื่อให้มะม่วงออกตอกตามฤดูกาลได้ โดยต้องเตรียมการตั้งแต่หลังฤดูการเก็บเกี่ยว ตามปกติมะม่วงจะเก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน หลังการเก็บเกี่ยวแล้วควรตัดแต่งกิ่งในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ควรตัดกิ่งออกร้อยละ 20 – 30 ของจำนวนกิ่งเดิม

ต่อจากนั้นจึงให้ปุ๋ยและน้ำสม่ำเสมอ อาจใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีก็ได้ มะม่วงจะแตกยอดอ่อนติดต่อกันประมาณ 2 – 3 ชุด ในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ก่อนหมดฤดูฝนใบอ่อนชุดสุดท้ายจะเริ่มแก่ ควรงดให้น้ำและปุ๋ย เพื่อให้มะม่วงเข้าสู่ระยะพักตัวเพื่อสะสมอาหาร

ในระยะนี้จะสังเกตเห็นใบมะม่วงมีสีเขียวเข้ม ใบหนา และแข็ง ประกอบกับย่างเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูหนาวอากาศเย็น จะกระตุ้นให้มะม่วงผลิตาดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม

แต่ถ้ามีฝนตกในช่วงนี้ ประกอบกับมีไนโตรเจนในดินสูง มะม่วงจะดูดซึมธาตุอาหารไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว อาจทำให้แตกยอดอ่อน วิธีแก้ไข คือ ต้องลดปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนในดิน โดยการใส่ปุ๋ยสูตรที่มีเฉพาะโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เพื่อช่วยเหนี่ยวนำให้ในโตรเจนที่หลงเหลืออยู่ในดินถูกลำเลียงไปใช้ในการแตกยอดอ่อน ตามะม่วงซึ่งจะเจริญเป็นตาดอกนั้นจะมีลักษณะอวบอ้วน เป็นจะงอยเด่นชัด ส่วนตาที่จะเจริญไปเป็นยอดและใบจะมีลักษณะผอม และตั้งตรง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.การติดลูกของมะม่วง
6.การติดลูกของมะม่วง

การบำรุงดูแลรักษาต้นมะม่วง

การใส่ปุ๋ยก็ต้องรู้สภาพดิน ฟ้า อากาศ ไม่ใช่รู้มาสูตรไหนใส่สูตรนั้น ทำให้ไม่ได้ผล ยิ่งการทำ สวนมะม่วง นอกฤดูไม่มีสูตรที่ตายตัว หากทำตามหลักวิชาการ “เป๊ะๆ” ก็ไปไม่รอด เพราะต้องดูด้วยว่าสภาพอากาศ การตัดแต่งทรงพุ่ม พื้นที่ไปดูงานมาเหมือนกับของเราหรือไม่

การใส่ปุ๋ยก็ต้องให้สัมพันธ์กับปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในดิน หลังการใส่ปุ๋ยประมาณ 1 เดือน จะเริ่มดึงตาดอก ตามหลักวิชาการเองก็แนะนำหลายอย่าง เช่น พวกสาหร่ายทะเล ซึ่งมีราคาสูง เกษตรกรก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นตัวอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันได้ อาจใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในการฉีดพ่น

เมื่อออกดอกก็ต้องบำรุงรักษาดอกให้แข็งแรง การดูแลมีหลายวิธีสังเกต หากธาตุอาหารเพียงพอก็ไม่ต้องบำรุงมาก และต้องรู้ด้วยว่าควรใส่ธาตุอาหารชนิดใดลงไป พร้อมทั้งกำจัดแมลง ในครั้งแรกจำเป็นต้องใช้เคมีเพื่อ “ล้างดง” เป็นการ “น็อก” ให้แมลงศัตรูพืชตายก่อน

จึงเริ่มใช้ชีวภาพ ก่อนดอกบาน 3 – 5 วัน ควรหยุดเพื่อป้องกันเรื่องสารตกค้างช่อดอก เพราะจะทำให้แมลงไม่สามารถผสมเกสรได้ ทำให้ไม่ติดดอกผล และเมื่อผลมีขนาดเท่าหัวไม้ขีด จึงฉีดยาซึ่งจะทำให้ขั้วผลแข็งแรง ดูแลจะง่ายขึ้น

7.ผลผลิตมะม่วงเขียวเสวย
7.ผลผลิตมะม่วงเขียวเสวย
ผลผลิตในสวนมีทั้งมะม่วงสุกและมะม่วงดิบ
ผลผลิตในสวนมีทั้งมะม่วงสุกและมะม่วงดิบ

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง

การห่อผลควรทำหลังจากติดผลอ่อนประมาณ 45 วัน ก่อนห่อให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เชื้อรา เพลี้ยแป้ง แล้วห่อผลโดยใช้ถุงคาร์บอน จุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันการทำลายของแมลงวันทอง และแมลงอื่น ๆ ผลที่ได้ตามมา คือ ผลมะม่วงมีสีเหลืองสดใส สวยงาม และก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน

ควรงดการใช้สารเคมีทุกชนิด เพื่อป้องกันการตกค้าง และผู้บริโภคได้ทานมะม่วงที่อร่อย และปลอดภัย ที่จะทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาด เน้นเก็บผลแก่เพื่อรักษาคุณภาพของมะม่วงทุกล๊อต ที่จะมีทั้งแม่ค้ามารับซื้อถึงหน้าสวน และการนำผลผลิตออกไปจำหน่ายเอง เพื่อให้ทุกท่านได้ทานมะม่วงที่ดี ราคาไม่แพงมากจนเกินไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.มะม่วงไซซ์ใหญ่-รสชาติดี
9.มะม่วงไซซ์ใหญ่-รสชาติดี

แนวโน้มในอนาคต

และในอนาคตคุณสมศรีมีแผนที่จะขยายพื้นที่การทำสวนมะม่วงออกไปอีก 2 ไร่ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

“ เราจะรวมตัว รวมกลุ่มกันใหม่ เพื่อผลผลิตที่ดียิ่งขึ้นไป  ให้กลุ่มผลิตมะม่วงที่ดี มีคุณภาพใกล้เคียงกันทั้งหมด ตลาดก็จะวิ่งเข้ามาหาเรา เราถนัดทำ สวนมะม่วง ที่ให้ลูก ให้ผลผลิต เราก็ทำสิ่งนี้ต่อไป การทำ สวนมะม่วง เป็นอาชีพที่ดี ดีใจที่ทุกคนตอบรับว่ามะม่วงอ่างทองอร่อย ทั้งเขียวเสวย และน้ำดอกไม้ เราภูมิใจที่ทุกคนได้ทานมะม่วงอ่างทองที่อร่อยอย่างนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านเราทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างสวนให้ดี ทำผลผลิตให้ดี เพื่อผู้บริโภคทุกคน วันนี้ทุกคนได้กินของดี ของสดจากสวน จากเกษตรกรจริงๆ เราก็ภูมิใจ ถึงจะเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่ากับการทุ่มเท ” คุณสมศรียืนยันในตอนท้าย

สอบถามเพิ่มเติมคุณสมศรี สุขเกษม สวนมะม่วง ดีเด่นและประธานกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงอ่างทอง

ที่อยู่ 161 หมู่ 3 ต.สาวร้องไห้ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 14110 โทร. 081-944-0957