สวนอินทผลัม จากบ่อกุ้งเก่า ปลูกเป็นเนื้อเยื่อแบบแคปซูลพันธุ์บาฮี 800 จั่น ผลิต 6 ตัน ส่งห้างท๊อป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วันนี้พาไปตะลุยสวน อินทผลัม ฤดูนี้ไม่พูดถึงคงไม่ได้แล้ว เพราะเป็นฤดู อินทผลัม อย่างแท้จริง ได้ยินข่าวมาว่าปีนี้ลูกดก ให้ผลผลิตเยอะกว่าทุกปี ด้วยสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ทำให้ชาวสวนมีความสุขกันทั้งประเทศ สวนอินทผลัม

หลายคนรู้จักอินทผลัมในรูปของผลแห้งที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และเป็นสินค้าที่นำเข้าจากตะวันออกกลาง ทำให้มีราคาค่อนข้างแพงกว่าผลไม้ชนิดอื่น ทำให้ชาวสวนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับพืชชนิดนี้มากขึ้น แต่เพราะอินทผลัมเป็นพืชต่างถิ่นที่ไม่สมบูรณ์เพศ เพราะมีดอกตัวเมียและดอกตัวผู้แยกกันอยู่คนละต้น ทำให้มีการสั่งซื้อต้นพันธุ์จากประเทศเข้ามาปลูกในประเทศไทย แต่ด้วยสภาพอากาศและปัจจัยหลายๆ อย่าง ทำให้สามารถปลูกได้เพียงอินทผลัมที่ทานผลสดเท่านั้น

1.การตัดแต่งผลอินทผลัมตั้งแต่ยังลูกเล็กๆ
1.การตัดแต่งผลอินทผลัมตั้งแต่ยังลูกเล็กๆ

ลักษณะของต้นอินทผลัม

ต้นอินทผลัม ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย

ลูกอินทผลัม มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์)

2.ต้นพันธุ์อินทผลัม
2.ต้นพันธุ์อินทผลัม

จุดเริ่มต้นมาทำ สวนอินทผลัม ที่ จ.ฉะเชิงเทรา

ทีมงาน พลังเกษตร ได้แวะเยี่ยมชมสวนอินทผลัม ประทีป ฟาร์ม หรือ Prateep Farm” ที่อำเภอบ้านโพ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมี คุณนงนุช ถาวะโร เป็นเจ้าของสวนแห่งนี้ เดิมทีคุณนงนุชประกอบอาชีพรับเหมาติดตั้งสายโทรศัพท์ของค่ายแห่งหนึ่ง แต่ด้วยแรงจูงใจที่ทำให้หันมาปลูกอินทผลัมนั่นเพราะว่าตนเองชอบทานอินทผลัม ทั้งผลสดและผลแห้ง ชอบในรสชาติที่หวาน อร่อย และประโยชน์ที่ได้จากผลไม้ชนิดนี้ทำให้คุณนงนุชสนใจที่อยากจะปลูกอินทผลัม

3.คุณนงนุช-ถาวะโร-เจ้าของสวนอินทผลัม
3.คุณนงนุช-ถาวะโร-เจ้าของ สวนอินทผลัม

ประกอบอาชีพรับเหมา แต่มีความสนใจทำการเกษตร

คุณนงนุชเล่าให้ทีมงานฟังว่า ตนนั้นประกอบอาชีพรับเหมาอยู่แล้ว แต่มีความสนใจทำการเกษตร ก่อนที่จะมาปลูกอินทผลัมตนก็ปลูกพืชอย่างอื่นมาด้วย ลองผิดลองถูกมาเยอะเหมือนกัน อย่าง มะละกอ ก็เคยปลูก ผลผลิตจะส่งให้กับสายการบิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่พอมาเกิดโรคไวรัสจุดวงแหวนมะละกอ ทำให้เสียหายเป็นอย่างมาก สายการบินรับผลผลิตจากสวน ตอนนั้นเกิดความเสียหายอย่างมาก พอเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เราก็ไม่ท้อนะ เราเข้าใจธรรมชาติ คิดว่านี่คือบททดสอบ ถ้าวันนี้ไม่ลุกแล้วเมื่อไรเราจะเดินได้ เราก็พยายามเรียนรู้ด้วยตัวเองทุกสิ่งทุกอย่าง คำเดียวตอนนั้นคือไม่ยอมแพ้

4.ต้นพันธุ์ที่อนุบาลไว้ในกระถางก่อนลงปลูก
4.ต้นพันธุ์ที่อนุบาลไว้ในกระถางก่อนลงปลูก

สภาพพื้นที่ปลูกอินทผลัม

คุณนงนุชเล่าให้ฟังต่อว่า เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตนได้ซื้อที่ดินมาจากญาติทั้งหมด 9 ไร่ ด้วยจำนวนเงินเกือบ 3 ล้านบาท เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นบ่อกุ้งเก่า เมื่อซื้อมาก็ต้องทำการถมที่ให้เรียบร้อย เนื่องจากไม่อยากให้พื้นที่ปล่อยไว้ว่างเปล่า จึงคิดว่าต้องหาอะไรมาปลูก จนวันหนึ่งตนได้กินอินทผลัมซึ่งเป็นผลไม้ที่ตนชื่นชอบ เมื่อได้กินแล้วรู้สึกชอบในรสชาติของผลไม้ชนิดนี้ จึงศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต และได้พบกับ สวนอินทผลัม แห่งหนึ่งที่จำหน่ายต้นพันธุ์อินทผลัมเนื้อเยื่อ

จากตอนแรกที่ตั้งใจเพียงแค่จะแวะไปดูสวนและซื้ออินทผลัมเพียง 10 ต้น เท่านั้น พอได้คุยกับเจ้าของสวนแล้วรู้สึกถูกใจ เพราะเขาให้คำแนะนำดี และเขาค่อนข้างศึกษาข้อมูลของอินทผลัมมาเป็นอย่างดี วันนั้นเลยซื้อตันอินทผลัมมาทั้งหมด 120 ต้นเลย ราคาต้นละ 1,400 บาท รวมเป็นเงิน ร่วมแสนกว่าบาท

ซึ่งตอนนั้นเราก็ยังไม่ได้ทำแปลงอะไรเลย เลยเอาต้นพันธุ์มาอนุบาลในหลอดไว้ที่บ้านก่อน เพราะที่บ้านกับสวนจะห่างกัน 12 กิโลเมตร โดยองค์ความรู้ตนนั้นจะศึกษาจากอินเตอร์เน็ต และเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับอินทผลัมด้วย

5.สวนอินทผลัม สายพันธุ์บาฮี
5.สวนอินทผลัม สายพันธุ์บาฮี

สายพันธุ์อินทผลัม

ต้นพันธุ์ที่ปลูกเป็นเนื้อเยื่อแบบแคปซูล สายพันธุ์บาฮี (BARHEE /BARHI) เป็นพันธุ์ทานผลสดโดยเฉพาะ ในช่วงแรกคุณนงนุชจะอนุบาลต้นอินทผลัมไว้ในกระถางก่อน 6-7 เดือน ถึงเอาลงปลูก เพื่อให้มีอัตราการรอดสูง แนะนำว่าควรย้ายต้นพันธุ์ไปเพาะเลี้ยงในกระถางที่มีขนาดใหญ่ จนออกใบจริง (ใบขนนก) จำนวน 3-4 ใบ ก่อนนำไปปลูกในแปลง จะทำให้มีอัตราการรอดเกือบ 100% ช่วงนี้จะเน้นให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ผสมกับขี้ค้างคาว

โดยอัตราการให้ ต้นเล็กให้ครึ่งช้อน จะให้ตามขนาดต้น  เดือนละครั้ง จนถึง 6 เดือน ช่วงนี้จะให้น้ำทุกวัน จะรดให้ชุ่ม ยกเว้นวันไหนฝนตก หลังจาก 6 เดือน แล้วทำการเอาต้นพันธุ์ลงดิน ขุดหลุม กว้างxยาวxลึก 1 เมตร จากนั้นรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตรทำเอง จะมีฟางข้าว ขุยมะพร้าว มะพร้าวสับ แกลบสุก แกลบดิบ ขี้ไก่ และเฟอร์ไรท์ จะช่วยปรับสภาพดิน ทำให้ดินโปร่ง ทำการผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 8  เมตร เนื่องจากอินทผลัมเมื่อโตเต็มที่จะมีทางใบกว้างมาก รวมทั้งมีระบบรากลึก เพื่อให้อินทผลัมได้รับแสงแดดและลมเต็มที่  จึงเลือกปลูกระยะนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ให้น้ำและปุ๋ยต้นอินทผลัม
6.ให้น้ำและปุ๋ยต้นอินทผลัม

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นอินทผลัม

สังเกตเห็นได้ว่าหลังจากเอาต้นอินทผลัมลงปลูกในดินแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ ระบบรากจะเดินเต็มที่ ลำต้นจะเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ในระหว่างนี้ต้องอย่าทำการพรวนดินทุกเดือน ใส่ปุ๋ยทุกเดือน ยังคงเป็นสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 ให้ตามขนาดต้น สลับกับขี้ค้างคาว พอเข้าสู่เดือนที่ 8 จะเน้นใส่ขี้ไก่แห้ง EM เดือนละครั้ง และให้น้ำทุกวัน เพียงเท่านี้ต้นอินทผลัมก็จะโตสมบูรณ์

เมื่อเข้าถึงช่วงติดดอก คุณนงนุชจะใช้ฮอร์โมนผลไม้ที่ทำขึ้นเอง มีส่วนผสมขององุ่น และผลไม้อื่นๆ อีก 3 ชนิด+ EM ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งลำต้นและใบ เพื่อให้ฮอร์โมนช่วยทำให้ขั้วเหนียว ติดผลดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีดอกจะฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน แต่ถ้าดอกติดผลแล้วก็จะหยุดฉีด พอติดจั่นก็จะเริ่มเปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตรบำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 21-74-0 หว่านรอบทรงพุ่มให้ทั่ว จะให้ทุกเดือน ปริมาณตามขนาดผล

7.สวนอินทผลัมประทีปฟาร์มที่ฉะเชิงเทรา
7. สวนอินทผลัม ประทีปฟาร์มที่ฉะเชิงเทรา

การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืช เช่น ด้วงแรด 

คุณนงนุชยอมรับว่า สวนอินทผลัม ของตนนั้นมักเจอศัตรูพืช เช่น ด้วงแรด เป็นประจำ โดยตัวเต็มวัยของด้วงชนิดนี้จะเจาะใบอินทผลัมที่บริเวณโคนทางใบที่ 2 หรือที่ 3 ทะลุเข้าไปถึงยอดอ่อนตรงกลาง หรือทำลายบริเวณยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบอินทผลัมที่คลี่แตกใบใหม่ขาดแหว่งเป็นสามเหลี่ยม คล้ายถูกกรรไกรตัด

ถ้าด้วงกัดกินทางใบจะทำให้ทางใบพับ ต้นอินทผลัมชะงักการเจริญเติบโต และอาจเป็นเหตุให้โรคและแมลงศัตรูชนิดอื่นเข้าทำลายต่อไป วิธีการป้องกันและกำจัด ใช้ S-85 ผสมน้ำตามอัตราส่วน ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดหนักๆ

8.ให้ผลผลิตปีแรกลูกดกมาก
8.ให้ผลผลิตปีแรกลูกดกมาก

การบำรุงดูแลรักษาต้นอินทผลัม

อินทผลัมตั้งแต่ติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน โดยคุณนงนุชต้องทำการจดบันทึกทุกครั้งว่าวันไหนผสมเกสร เพื่อที่จะนับวันตัดเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่เต็มที่ได้  ทางสวนจะไม่เน้นใช้สารเคมีในการบำรุงดูแลต้นอินทผลัม เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในเรื่องของสุขภาพ และเพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น

มาตรฐาน  GAP

ซึ่งในตอนนี้ทางสวนกำลังขอมาตรฐาน  GAP (จี เอ พี) คือ การปฏิบัติในการผลิตพืชเพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐาน ปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และมีคุณภาพดี หรือก็คือค่ามาตรฐานผลผลิต ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตรและกรมการข้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่ง G A P ย่อมาจาก Good Agriculture Practice ที่แปลว่า การปฏิบัติการเกษตรที่ดีนั่นเอง ที่ต้องทำมาตรฐานก็เพื่อให้เกษตรกรอย่างเรา และตัวผู้บริโภค ได้รับประทานอินทผลัมที่ปลอดภัย และมีคุณภาพจากสวน ซึ่งตอนนี้ทางฟาร์มก็มีแผนส่งผลผลิตเข้าโมเดิร์นเทรด อย่าง ท๊อป ซุปเปอร์มาเก็ต โดยการรวมกลุ่มจากพี่น้องชาวอินทผลัมที่มีความสนใจ

9.ต้นนี้แทงจั่น-19-จั่น-ต้องตัดแต่งจั้นที่ไม่สมบูรณ์ออก
9.ต้นนี้แทงจั่น-19-จั่น-ต้องตัดแต่งจั้นที่ไม่สมบูรณ์ออก

การเก็บผลผลิตอินทผลัม

คุณนงนุชเล่าให้ฟังว่าปีนี้เป็นปีแรกที่ออกจั่น ออกมาเกือบ 800 จั่น เราตัดแต่งด้วย ให้เหลือเพียง 640 จั่น เฉลี่ยต้นละ10 จั่น ต้นเยอะสุด 19 จั่น ที่ต้นออกจั่นเยอะส่วนหนึ่งเพราะสภาพอากาศดี อีกทั้งต้นของเราสมบูรณ์ แข็งแรง ด้วย  ส่วนเรื่องของตลาดเราเคยไปคุยกับสวนที่รับซื้อผลผลิต ตอนนั้นเขาไม่คุยกับเราเลยนะ เพราะเราไม่มีผลผลิตให้เขา แต่ทุกวันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ พอเห็นผลผลิตเราก็หายเหนื่อย รู้สึกภาคภูมิใจมากเลยนะ

เราตั้งใจทำอินทผลัมคุณภาพ เพราะเราก็เป็นคนชอบกินอินทผลัมอยู่แล้ว เมื่อเรามาปลูกเอง ขายเอง ก็ต้องทำให้ดี มีคุณภาพ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก อย่างถ้าผลเสียเราก็จะเปิดถุง และเอาน้ำล้างออก ล้างให้มันหลุด การเก็บผลผลิตในจั่นต้องให้เม็ดสุดท้ายที่เขียว ต้องรอให้มันเหลืองทั้งจั่นถึงจะขายได้ เราจะไม่ขายแบบฝาดให้ลูกค้ากินแน่นอน

10.ผลผลิตอินทผลัมปีแรก
10.ผลผลิตอินทผลัมปีแรก จาก สวนอินทผลัม สวนอินทผลัม สวนอินทผลัม สวนอินทผลัม สวนอินทผลัม 

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตอินทผลัม

นอกจากจะส่งผลผลิตให้ท๊อปแล้ว ทางฟาร์มยังมีผลผลิตจำหน่ายหน้าฟาร์ม และขายผ่านระบบออนไลน์ สามารถสั่งได้ทางเฟสบุ๊ค “Prateep Farm” นอกจากที่ฉะเชิงเทราแล้ว คุณนงนุชยังปลูกอินทผลัมที่จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้ชื่อฟาร์มว่า ประทีป ฟาร์ม เช่นกัน เป็นอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อสายพันธุ์ บาฮี ราชินีแห่งผลสด 120 ต้น ก็สามารถแวะเข้ามาที่สวนได้

สุดท้ายนี้คุณนงนุชฝากไว้ว่าหากท่านใดสนใจต้องการคำปรึกษา วิธีการปลูก และการดูแล สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สวนประทีปฟาร์ม คุณนงนุช ถาวะโร โทร.08-1617-6198 เลขที่ 55 ม.4 ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพ จ.ฉะเชิงเทรา 24140