ส่องทิศทาง มะม่วง ไทยกับ สุวิทย์ คุณาวุฒิ เซียนส่งออกน้ำดอกไม้รายใหญ่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากถามถึงผู้ผลิตและจำหน่าย มะม่วง ส่งออกรายใหญ่ของเมืองแปดริ้ว ชื่อ คุณลุงสุวิทย์ คุณาวุฒิ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2551 เจ้าของสวนมะม่วง “เพชรสำโรง” อ.แปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จะต้องถูกกล่าวถึงเป็นรายชื่อแรกๆ

1.ภาพมุมสูงของสวนเพชรสำโรง
1.ภาพมุมสูงของสวนเพชรสำโรง

การบริหารจัดการสวนมะม่วง

บนพื้นที่กว่า 250 ไร่ รายล้อมด้วย มะม่วง หลากหลายสายพันธุ์อาทิ น้ำดอกไม้ เขียวเสวย ฟ้าลั่น และพันธุ์ขายตึก โดยต้นมะม่วงทุกสายพันธุ์ที่ตั้งตระหง่านรอวันให้เก็บผลผลิตในสวนที่อำเภอแปลงยาวแห่งนี้รับผิดชอบและวางแผนการเก็บเกี่ยวทุกขั้นตอนจากคุณลุงสุวิทย์ซึ่งผ่านประสบการณ์ในตลาดมะม่วงไทยมาอย่างโชกโชน

สวนเพชรสำโรง 54 ม. 9 ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
สวนเพชรสำโรง 54 ม. 9 ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
คุณสุวิทย์กับผลผลิตที่กำลังรอเก็บเกี่ยว
คุณสุวิทย์กับผลผลิตที่กำลังรอเก็บเกี่ยว

“ช่วงนี้ดีทุกพันธุ์เพราะสภาพอากาศค่อนข้างดี น้ำดอกไม้ เขียวเสวย ฟ้าลั่น ขายตึก กำลังเป็นลูกเท่าหัวแม่มือตอนนี้ก็ได้เริ่มห่อมา 10 วัน แล้ว คาดไว้ว่าจะห่อสัก 40 วัน” คุณลุงสุวิทย์ เล่าถึงภาพรวมของผลผลิตในสวนซึ่งเป็นผลผลิตมะม่วงชุดที่ 2 ของฤดูกาลผลิตปีนี้

สำหรับฤดูกาลผลิตเที่ยวล่าสุด สวนเพชรสำโรงได้เก็บเกี่ยวชุดแรกหมดไปตั้งแต่พฤศจิกายน ปี 63โดยรอบนั้นต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องของฟ้าฝนซึ่งตกลงมาอย่างหนัก ทำให้ตัวเลขของผลผลิตตกอยู่ที่ประมาณ 400-500 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งปกติเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนๆ ผลผลิตจะมีปริมาณมากกว่านี้

อย่างไรก็ตามสำหรับชุดการผลิตเที่ยวที่สอง คุณสุวิทย์มั่นใจว่ามะม่วงที่สวนจะให้ผลผลิตดีกว่าทุกปี เพราะตั้งแต่เริ่มรอบการผลิต มะม่วงออกดอก ติดผลดก แทบจะทุกต้น โดยปัจจัยที่เอื้อให้ผลดกเป็นเพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

สภาพอากาศหนาวที่ผ่านมาช่วยให้มะม่วงติดผลดก
สภาพอากาศหนาวที่ผ่านมาช่วยให้มะม่วงติดผลดก
ผลผลิตซึ่งกำลังติดลูกดก
ผลผลิตซึ่งกำลังติดลูกดก
มะม่วงเบาพันธุ์พื้นบ้านปักษ์ใต้
มะม่วงเบาพันธุ์พื้นบ้านปักษ์ใต้

“รุ่นนี้แทบไม่เจอฝนเลย แล้วมีอากาศเย็นมาร่วมด้วย ทำให้ติดผลผลิตดี ปัจจัยหลักๆ อยู่ที่อากาศ ฝนเยอะตอนตุลาคม พอพฤศจิกายนมีฝนมานิดหน่อย แต่พอหยุดก็หยุดไปเลย พวกอาหารเสริมพืชช่วยได้นิดหน่อย เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ให้เรื่องอากาศ 70% ช่วงนี้ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ใส่ตั้งแต่หน้าฝนไปแล้ว เราไม่ได้ให้ระบบน้ำ ให้ตั้งแต่หน้าฝนให้กินให้อิ่มเลย ให้ไปแล้ว 2 ครั้ง พอใช้แล้ว”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับการจัดการสวนในช่วงนี้ คุณสุวิทย์เน้นไปที่เรื่องของการห่อผลมะม่วง ถ้าเป็นน้ำดอกไม้กับพันธุ์ขายตึกจะเน้นการห่อเป็นพิเศษ

ถ้าเขียวเสวยกับฟ้าลั่น พวกนั้นไม่ห่อ จะปล่อยตามธรรมชาติ ฉีดยาประมาณ 10 วันต่อครั้ง เพื่อกันหนอน กันแมลง ทำผลผลิตเสียหาย

สำคัญเรื่องห่อผล

2.ชาวสวนขณะห่อผลมะม่วง
2.ชาวสวนขณะห่อผลมะม่วง

เทคนิคการห่อผลมะม่วง สวนของคุณลุงสุวิทย์ไม่มีอะไรมาก เน้นใช้ถุงห่อที่มีคุณภาพ อย่าห่อลูกโต ระยะเวลาเกิน 70-80 วัน ลูกมันใหญ่ เปลี่ยนสียาก ต้องห่อตั้งแต่เล็ก ตอนที่ขนาดเท่าหัวแม่มือ

ต้นมะม่วงที่กำลังอยู่ในช่วงห่อผล
ต้นมะม่วงที่กำลังอยู่ในช่วงห่อผล

“ห่อผลแต่เล็กจะเปลี่ยนสีดี ผิวสวยส่งออกได้เยอะ” คุณสุวิทย์ให้ความเห็นเมื่อถูกถามถึงผลลัพธ์ของการห่อ

 

กังวลเรื่องส่งออก/ค่าระวางสูงมาก

เมื่อถามถึงเรื่องของตลาดมะม่วง ณ ตอนนี้ คุณสุวิทย์ยอมรับตามตรงว่ากังวลกับตลาดเที่ยวนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เล่นเอาทุกภาคส่วนประสบปัญหาหนัก

ฤดูกาลผลิตปีที่แล้ว คุณสุวิทย์ เผยว่าโดนผลกระทบจากโควิด-19 ประมาณ 20% มาเล่นงานในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. แต่ปีนี้ปัญหาไวรัสดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ต้นปีฤดูกาลผลิต โดยเฉพาะการขนส่งซึ่งไม่มีเที่ยวบิน พอไม่มีคน ราคาก็ถีบตัวขึ้นสูง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.การส่งออกผลผลิตมะม่วงไทยกำลังเจอผลกระทบจากโควิด-19
3.การส่งออกผลผลิตมะม่วงไทยกำลังเจอผลกระทบจากโควิด-19

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่าย ผลผลิตมะม่วง

ตอนนี้มีแต่แอร์คาร์โก (Air Cargo) เครื่องบินที่มารับของอย่างเดียว ซึ่งค่าใช้จ่ายค่าระวางสินค้าทางอากาศ (Air Freight) ขึ้นไป 95-96 บาท/กิโลกรัม ราคาแพงสูงมากกว่า 2 เท่า จากเดิมที่เคยเสีย 29 บาท/กิโลกรัม เมื่อค่าขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาการกดราคามะม่วงจึงเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงในสถานการณ์เช่นนี้

สำหรับสัดส่วนส่งออกกับในประเทศก่อนช่วงโควิด-19 ของสวนเพชรสำโรง จะแบ่งเป็นส่งออก  30% ภายในประเทศ 70% แต่หลังจากเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด คุณสุวิทย์เคยพูดคุยกับพ่อค้าใหญ่บางรายเตรียมเปลี่ยนแผนการขนส่ง โดยจะใช้ตู้คอนเทนเนอร์แล้วขนส่งไปทางเรือ แต่ปัญหา คือ พอไปถึงปลายทางผลผลิตเสียหายถึงประมาณ 40% เพราะขนส่งทางเรือ อย่างไปญี่ปุ่น เกาหลี ใช้เวลา 10-15 วัน แต่ข้อดี คือ ค่าขนส่งถูกลง 20 กว่าบาท/กิโลกรัม

 

เตรียมแปรรูปเป็นหลัก

ราคามะม่วง ถ้าเป็นช่วงขาดตลาดราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 90-100 บาท ต่างกับช่วงฤดูกาลผลิตก.พ.-มี.ค.จะออกมาพร้อมกันหมด เรื่องนี้คุณสุวิทย์มองว่ากลายเป็นปัญหาตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ แถมยังต้องเจอโควิดหนักๆ กลัวจะเสียหายกันหนักสำหรับชาวสวนมะม่วง

4.มะม่วงพันธุ์มหาชนก
4.มะม่วงพันธุ์มหาชนก

คุณสุวิทย์เล่าถึงแผนการรับมือ แต่ละสวน แต่ละกลุ่ม ต้องหาช่องทางระบายผลผลิตไปทางอื่นบ้าง อย่าหวังที่ส่งออกอย่างเดียว สถานการณ์ตอนนี้มีปัญหาแน่นอน ต้องเตรียมมองหาช่องทางส่งแปรรูปในโรงงาน “ปีนี้ก็มีติดต่อมาหลายบริษัท ราคารับซื้อจะถูกหน่อย 20 -30 บาท/กิโลกรัม แต่เน้นรับซื้อในปริมาณมาก ปีที่แล้วตอนไม่มีตลาดช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ส่งโรงงานได้เป็น 100 ตัน อย่างตอนนี้ต้องวางแผนไว้เลย ออกซ้าย ออกขวา ยังไง เขียวเสวยปีนี้เวียดนามก็มาซื้อเยอะ เอา 10 ล้อ มาใส่ที่สวนเลย ไม่รู้ด่านจะปิดขนาดไหน”

 

เกาหลีใต้จะกลายเป็นตลาดหลัก

คุณสุวิทย์เห็นว่าปีนี้ดูจะมีข่าวดีขึ้นมาบ้าง ตรงที่มะม่วง “พันธุ์มหาชนก” ทางรัฐบาลเกาหลีใต้อนุญาตให้นำผลสดเข้าไปขายได้แล้ว ตอนนี้ตลาดพันธุ์มหาชนกค่อนข้างแคบ แต่ความต้องการในตลาดปรากฏเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกาหลีใต้ 1 ปี ส่งออกไป 3-4 พันตัน เปรียบเทียบกับเมื่อก่อนที่ญี่ปุ่นครองอันดับ 1 ตัวเลขส่งออกยังอยู่ที่ 2 พันกว่าตันเท่านั้น แต่เกาหลี 6-7 ปีหลังสุด แตะระดับ 4-5 พันตันแล้ว

ด้านตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้ เกาหลีใต้อันดับ 1 ประมาณ 4-5 พันตัน/ปี ส่วนญี่ปุ่น 1-2 พันตัน ตลาดไม่โตเท่ากับเกาหลีใต้ที่ถีบตัวสูงในช่วงหลัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนในไทยมะม่วงน้ำดอกไม้ไปได้เรื่อยๆ เพราะผู้คนนิยมรับประทานกันอยู่แล้ว ช่วงนอกฤดูจะไม่มีปัญหาเรื่องตลาดเพราะของน้อย คุณสุวิทย์กังวลรุ่นที่ 2 ช่วง ก.พ. รุ่นนี้มาพร้อมกันหมดทั้งประเทศ ปกติแล้วคนมีวิชาจะทำกันก่อน อาทิ ประจวบคีรีขันธ์ เก็บตั้งแต่สิงหาคมไปถึงพฤศจิกายน ทางปากช่องก็เร็ว ส่วนทางฉะเชิงเทราจะมาเก็บช่วงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ทยอยๆ กันออก สามารถที่จะทำให้ผลผลิตออกมาไม่พร้อมกัน

เรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าเป็นน้ำดอกไม้จะหยุดประมาณ 3-4 เดือน ถ้ามะม่วงเปรี้ยวมีทั้งปี ทวายเดือน 9 โชคอนันต์ ทยอยออกไปเรื่อย อันนั้นจะเป็นเอาไปทำอาหาร

น้ำดอกไม้ 1 ปี เก็บผลผลิต ได้ 2-3 ครั้ง ออกผล เพราะอากาศมันหนาว ถ้าเรื่องออกดอกแทบไม่ต้องไปทำอะไรเลย ถ้าอากาศหนาวก็ออกเองเลย แต่ปัญหาเรื่องติดลูก สิ่งที่กลัวที่สุดสำหรับมะม่วงนอกฤดู คือ ฝน เพราะทำให้ดอกเน่าเสียหมด ฉีดยาก็สู้ไม่ไหว

 

มะม่วงพันธุ์ขายตึก มะม่วงเศรษฐกิจตัวใหม่

หลังจากเปิดใจถึงมะม่วงสายพันธุ์ที่นิยมในท้องตลาดไปแล้ว คุณสุวิทย์ก็ไม่ลืมที่จะกล่าวถึงมะม่วงสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีมาแต่อดีตของฉะเชิงเทรา ซึ่งมะม่วงพันธุ์นี้คนจะคุ้นหูในชื่อของพันธุ์ขายตึก

5.บรรยากาศภายในสวนมะม่วง
5.บรรยากาศภายในสวนมะม่วง

ความโดดเด่นของมะม่วงพันธุ์ขายตึก นอกจากเรื่องของรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ การออกดอก ติดผล ถือว่าน่าสนใจทีเดียว 1 ปีได้ 2-3 ครั้ง ออกดอกเมื่อไหร่เป็นต้องติดผล แถมตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างขอการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI หลังจากก่อนหน้านี้ฉะเชิงเทรามีสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ไปแล้ว อย่าง มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบางคล้า ตอนนี้ที่กำลังอยู่ระหว่างรอขึ้นทะเบียน ได้แก่ มะม่วงพันธุ์ขายตึก และมะม่วงแรด

สำหรับความเป็นมาของมะม่วงพันธุ์ดั้งเดิมนี้ คุณลุงสุวิทย์เล่าย้อนความว่า “พันธุ์นี้ญาติผมเป็นคนปลูกรุ่นแรกๆ น่าจะมีมาเป็น 100 ปี พันธุ์ดั้งเดิมเป็นขายตึก ลูกเล็ก ตรงก้นมะม่วงจะบุ๋ม ลูกจะเล็กประมาณ 5-6 ลูก/กิโลกรัมโดยพื้นที่ปลูกเริ่มแรกอยู่ที่คลองบางกระเสน ซึ่งกั้นระหว่างอำเภอคลองเขื่อนกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยพื้นที่ปลูกอยู่ทางฝั่งอำเภอเมือง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ในช่วง 25 ปีหลังมานี้ มีคนนำไปปลูกแบบเพาะเมล็ดไว้ 20 ไร่ ปรากฏมีอยู่ 1 ต้น กลายพันธุ์ออกมาเป็นขายตึกลูกใหญ่ คุณภาพเนื้ออร่อยเหมือนเดิม เนื้อเหลืองเหมือนเดิม แต่ขนาดของลูกใหญ่ขึ้น ก้นไม่บุ๋ม แล้ว น้ำหนักของลูกใหญ่ๆ 300-400 กรัม เฉลี่ย 3 ลูก/กิโลกรัม เวลานี้ติดตลาดหมด ช่วงฤดูกาลสามารถส่งตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ได้สบาย”

ตอนนี้ตลาดพันธุ์ขายตึกกำลังอยู่ในทิศทางที่ดีมากทีเดียว เพราะผลผลิตยังไม่พอกับความต้องการ คุณสุวิทย์แนะนำให้พี่น้องเกษตรกรขยายพันธุ์นี้ เพราะว่าผลผลิตติดดี ออกง่าย โดยที่สวนของตัวเองก็ขยายเพิ่มเป็น 30 ไร่ แล้วในปัจจุบัน ขณะที่บางสายพันธุ์อาจต้องลดไป เช่น “ทวายเดือน 9” ที่เจอปัญหาตลาดอย่างหนักจากการเจอ “แก้วขมิ้น” เข้ามาตีตลาด ราคาของทวายเดือน 9 ตอนนี้เหลือกิโลกรัมละ 4-6 บาท

สวนทางกับพันธุ์ขายตึก ที่คุณสุวิทย์ยืนยันขายได้ไม่ต่ำกว่า 40-50 บาท/กิโลกรัม คนซื้อไปขายต่อราคาสูง 70-80 บาท ส่วนใหญ่คนชอบที่เนื้อในสีเหลือง มีสารเบต้าแคโรทีน เนื้อจะกรอบ มันอมเปรี้ยว อมหวาน ชวนกิน ถ้าจิ้มน้ำปลาหวานหรือพริกเกลือยิ่งเหมาะเลย

 

เน้นปลูก 6 สายพันธุ์

ในฐานะเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ คุณสุวิทย์ได้ปลูกมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ พันธุ์ขายตึก 30 ไร่น้ำดอกไม้ 100 ไร่ เขียวเสวย 30 ไร่, ฟ้าลั่น 20 ไร่ มะม่วงอาทูอีทู มะม่วงออสเตรเลีย 60 ไร่ และมะม่วงมหาชนก 30 ไร่

6.คุณสุวิทย์กับผลผลิตมะม่วง
6.คุณสุวิทย์กับผลผลิตมะม่วง

แนวโน้มตลาดมะม่วง

สุดท้ายคุณสุวิทย์ให้ความเห็นว่าตลาดมะม่วงไทยช่วงหลังๆ ปลูกกันเยอะทั่วประเทศ ตลาดค่อนข้างขาลง ถ้าพูดตรงๆ ไม่เหมือนทุเรียน ตอนนี้ขาขึ้น ราคาสูงขึ้นๆ ความต้องการสูงขึ้น อย่างมะม่วงออกพร้อมกันเลย อย่างคนเก่าๆ แก่ๆ ไม่มีปัญหา ยังจัดการได้ แต่คนที่ปลูกใหม่ๆ มีปัญหาเรื่องตลาด ใครทำออกมาก่อน ทำนอกฤดูไม่มีปัญหา แต่มะม่วงปีเมษายนนี้กำลังจะออกล้นตลาด กินใช้ไม่หมด ไม่รู้จะเอาไปไหน ต้องให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องการแปรรูปเพิ่มมูลค่าจึงจะไปรอด

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร