โต้วเหมี่ยว และทานตะวันงอก เผยวิธีการปลูก (แบบละเอียด) ตลาดรุ่ง ผลิตไม่ทัน!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อพูดถึงกระแสของการรับประทานผัก-ผลไม้ในปีที่ผ่านมา คงจะหนีไม่พ้นการรับประทาน “เมล็ดงอก” ทั้งหลาย อาทิเช่น ทานตะวันงอก และโต้วเหมี่ยว เป็นต้น หากท่านใดเป็นผู้ที่รักสุขภาพอย่างแท้จริงคงได้เคยลิ้มลองรสชาติต้นเมล็ดงอกต่างๆ กันอย่างถูกปาก เพราะจะทำเป็นเมนูใดก็สามารถเข้ากับส่วนประกอบได้ทุกชนิด เช่น นำมาผัดน้ำมันหอย ต้มจืด แกงส้ม หรือจะนำมาทานสดกับผักสลัดก็ได้ แล้วแต่ความชื่นชอบของผู้บริโภค

ที่จริงแล้วเมล็ดพืชทุกชนิดประกอบด้วย “เอนไซม์” จำนวนมาก แต่ขณะที่เมล็ดแห้งอยู่นั้นเอนไซม์จะไม่ทำงาน เพราะเอนไซม์นั้นจะพักการทำงานชั่วคราวโดยสารยับยั้งที่มีอยู่ในเมล็ดพืช เอนไซม์มีความสำคัญต่อการทำงานในทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่การย่อยอาหารไปจนถึงการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ถ้าปราศจากเอนไซม์แล้วร่างกายจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ เอนไซม์จึงมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากขนาดนี้

1.ต้นโต้วเมี่ยว
1.ต้นโต้วเมี่ยว
2.คุณเฉิน-ฮ้วน-ฮุย-เจ้าของ-บริษัท-ห้างเฮียงฮวด-จำกัด
2.คุณเฉิน-ฮ้วน-ฮุย-เจ้าของ-บริษัท-ห้างเฮียงฮวด-จำกัด

จุดเริ่มจ้นการปลูกโต้วเหมี่ยว และเมล็ดทานตะวันงอก 

คุณเฉิน ฮ้วน ฮุย เจ้าของ บริษัท ห้างเฮียงฮวด จำกัด ชาวไต้หวันที่เข้ามาตั้งบริษัทปลูก โต้วเหมี่ยว และเมล็ดทานตะวันงอก จำหน่ายในแบรนด์ เชียงพงสวนเกษตร โดยกว่าจะมายืนถึงจุดนี้ได้ก็ผ่านอุปสรรคมามิใช่น้อย โดยตัวคุณเฉินเองเป็นคนไต้หวัน ซึ่งในช่วงแรกของการทำเกษตรได้มีการขุดบ่อปลาเพื่อเลี้ยงเป็นอาชีพ แต่ก็ไปไม่รอด หรือที่เรียกว่า “เจ๊ง” ไม่เป็นท่า

ต่อมาได้นำต้นแก้วมังกรสายพันธุ์จากไต้หวันมาปลูก มีทั้งพันธุ์เนื้อ ด้านในสีขาว สีแดง และสีเหลือง ด้วยความไม่เป็นที่นิยม จึงทำให้ต้องเลิกทำอีกเป็นครั้งที่ 2 แต่ต่อมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว การปลูกถั่วลันเตางอก หรือที่เรียกว่า “โต้วเหมี่ยว” ยังไม่แพร่หลายนัก ทำให้ทิศทางการตลาดยังคงสามารถเดินต่อไปได้ และการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก ที่จะเพาะทั้งต้นโต้วเหมี่ยว และทานตะวันงอก ทำให้คุณเฉินศึกษาการเพาะอย่างจริงจัง จนต้องหมดเงินเสียค่าเรียนหลายบาท

เมื่อได้วิชาความรู้จนสามารถเพาะปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด ได้แล้ว ก็เจอปัญหากับตลาดไม่รองรับ เพราะพืช 2 ชนิดนี้ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ยังไม่รู้จักกันแพร่หลาย บางคนรับประทานไม่เป็น ไม่กล้ารับประทาน เพราะยังคงเป็นพืชที่แปลกอยู่ในสมัยนั้น

ดังนั้นการที่จะทำตลาดได้จึงต้องนำผลผลิตมาให้ผู้บริโภคทดลองรับประทานก่อน ทำให้ในช่วงปีแรกๆ นั้นเกิดการขาดทุน แต่ด้วยความไม่ย่อท้อของคุณเฉินจึงอดทนทำการตลาดเรื่อยมา จากที่คนไม่รู้จัก รับประทานไม่เป็น ก็กลายมีผู้บริโภคมากขึ้น รู้จักพืชทั้ง 2 ชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถผลิตทั้งโต้วเหมี่ยว และทานตะวันงอก ออกสู่ตลาดทันต่อความต้องการของผู้บริโภค

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ต้นโต้วเหมี่ยวที่ติดเชื้อเกิดเป็นเชื้อรา
3.ต้นโต้วเหมี่ยวที่ติดเชื้อเกิดเป็นเชื้อรา
โรงเพาะ โต้วเหมี่ยว ที่ควบคุมอุณหภูมิ
โรงเพาะ โต้วเหมี่ยว ที่ควบคุมอุณหภูมิ

ขั้นตอนการปลูกโต้วเหมี่ยว

เริ่มจากการปลูกถั่วลันเตางอก หรือที่คุ้นหูกัน คือ ต้นโต้วเหมี่ยว คุณศิลาภัทธ์ เจ้าหน้าที่ฟาร์ม กล่าวว่า เมล็ดถั่วลันเตาที่เพาะนำเข้ามาจากประเทศจีน และออสเตรเลีย ซึ่งสามารถนำเข้ามาได้ตลอด เพราะมีทุกช่วงฤดู อีกทั้งยังดูแลเมล็ดง่ายกว่าทานตะวัน การที่เมล็ดถั่วลันเตานั้นตากแห้งมาแล้วจึงสามารถเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิปกติได้ การควบคุมอุณหภูมิในการเก็บเมล็ดพันธุ์จึงไม่เป็นปัญหาเท่าที่ควร

การเพาะต้นโต้วเหมี่ยว

หลังจากที่ได้เมล็ดพันธุ์มาแล้ว การเพาะต้นโต้วเหมี่ยวมีดังนี้

1.นำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 8 ชั่วโมง โดยควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิของน้ำมากกว่า 25 องศาเซลเซียส ก็ควรเพิ่มชั่วโมงการแช่เมล็ดพันธุ์ออกไป แต่อุณหภูมิของน้ำไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส หรือไม่ควรแช่เมล็ดพันธุ์นานกว่า 8 ชั่วโมง มากเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ถั่วลันเตานั้นมีปริมาณการงอกที่ไม่ดี หรืออาจจะงอกช้าขึ้น ทำให้เกิดเชื้อรา และเน่าไปในที่สุด ดังนั้นผลผลิตที่ได้อาจจะเสียหายจนไม่สามารถจำหน่ายได้

2.เมื่อแช่น้ำครบตามที่กำหนดแล้ว ให้นำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาจากน้ำเพื่อพักไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ให้เมล็ดสะเด็ดน้ำ

3.นำขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว และปุ๋ยเก่า (เป็นวัสดุที่ปลูกแล้ว นำไปหมักไว้ในน้ำประมาณ 5 เดือนขึ้นไป) มาผสมกัน เพื่อเป็นวัสดุปลูกต้น โต้วเหมี่ยว เมื่อผสมเข้ากันแล้วจึงนำมาใส่ในถาด หรือกระบะเพาะ

4.จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่สะเด็ดน้ำมาโรยปลูกลงในถาด หรือกระบะ ที่เตรียมไว้ โดยโรยเมล็ดพันธุ์ให้แน่นจนเต็มพื้นที่ปลูกประมาณ 400 กรัม ต่อ 1 ถาด หรือกระบะ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

5.เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ลงปลูกในกระบะเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปเข้าโรงเพาะ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และมีเสียงเข้าได้เพียงเล็กน้อย การควบคุมอุณหภูมิในการเพาะจะทำให้ต้น โต้วเหมี่ยว มีการเจริญเติบโตที่ดี และป้องกันพวกโรคและแมลงเข้าไปทำลายได้อีกด้วย ขั้นตอนนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเมล็ดถั่วลันเตาให้ได้เป็นต้น โต้วเหมี่ยว ที่ได้คุณภาพมากที่สุด

6.การให้น้ำ ในช่วงแรกที่ลงปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำ 2 เวลา คือ เช้า-บ่าย หลังจาก โต้วเหมี่ยว เริ่มขึ้นมาบ้างแล้วเป็นเวลา 3 วัน นับจากวันปลูก ก็ให้น้ำแค่ 1 ครั้ง เท่านั้น ในตอนเช้า

7.ต้นโต้วเหมี่ยวจะเก็บผลผลิตเมื่อมีอายุได้ประมาณ 8 วัน ก็สามารถนำไปจำหน่าย หรือมาปรุงเป็นอาหารได้ ภายใน 1 ถาด หรือกระบะที่ปลูกจะเก็บผลผลิตได้ 1.2 กิโลกรัม

การเพาะเมล็ดพันธุ์โต้วเหมี่ยวในแต่ละวันจะอยู่ที่ 80 กิโลกรัม  ผลผลิตที่สามารถเก็บได้ คือ 140-150 กิโลกรัม

อัตราการงอกในแต่ละฤดูอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในฤดูร้อนต้น โต้วเหมี่ยว จะเจริญเติบโตเร็วกว่าในฤดูหนาวเพียง 1-2 วัน แต่การควบคุมอุณหภูมิให้คงที่อยู่เสมอจะทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างคงที่ สม่ำเสมอ

4.ต้นทานตะวันงอกที่เพาะในห้องควบคุมอุณหภูมิ
4.ต้นทานตะวันงอกที่เพาะในห้องควบคุมอุณหภูมิ
ทานตะวันเริ่มงอกแล้วประมาณ-3-วัน
ทานตะวันเริ่มงอกแล้วประมาณ-3-วัน

ขั้นตอนการปลูกเมล็ดทานตะวันงอก

1.นำเมล็ดทานตะวันมาแช่น้ำประมาณ 4-5 ชั่วโมง โดยควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส เหมือนการแช่เมล็ดถั่วลันเตา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.การปลูกทานตะวันงอกจะทำเหมือนลักษณะการปลูกต้นโต้วเหมี่ยว เมื่อแช่น้ำครบ 4-5 ชั่วโมง แล้ว ก็นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ พักให้น้ำสะเด็ด 3-4 ชั่วโมง แล้วนำมาโรยบนถาดเพาะที่เตรียม วัสดุปลูกก็คือ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว และปุ๋ยที่หมักไว้

3.โรยเมล็ดทานตะวันให้แน่นเหมือนโรยเมล็ดถั่วลันเตา แต่เมล็ดทานตะวันจะใช้ปริมาณที่น้อยกว่าอยู่ที่ 100-150 กรัม ต่อถาด แต่ผลผลิตที่ได้จะประมาณ 1.5 กิโลกรัม

4.เมื่อทำการโรยเมล็ดทานตะวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำถาดเพาะย้ายเข้าไปในโรงเพาะที่ควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส

5.การเพาะต้นทานตะวันงอกจะเพาะไว้ในโรงเพาะประมาณ 3-4 วัน จากนั้นย้ายออกมารับแสงอีก 3-4 วัน ก็สามารถตัดต้นทานตะวันงอกเพื่อจำหน่าย หรือนำมาปรุงเป็นอาหารได้

ปัจจุบันกระแสความนิยมในการบริโภคต้นทานตะวันเริ่มมีมากขึ้นในกลุ่มคนรักสุขภาพ แต่การควบคุมการผลิตยังเป็นไปได้ยาก เพราะเมล็ดทานตะวันสามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 1 ครั้ง การเพาะทานตะวันงอกของที่นี่จึงจำกัดเมล็ดได้แค่ปีละ 4-5 ตัน ถ้าถามว่าเพียงพอไหม? คุณเฉินตอบทันทีว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่ที่มีผลผลิตน้อยเป็นเพราะการเก็บรักษาเมล็ดทานตะวันเป็นไปได้ยาก ไม่สามารถควบคุมได้

และอีกประการหนึ่ง คือ ตลาด ในแต่ละปีมีกระแสการบริโภคต้นอ่อนทานตะวันมากน้อยต่างกันไป จึงมีความเห็นสมควรที่จะรับซื้อเมล็ดทานตะวันไว้แค่พอดีกับลูกค้าเจ้าประจำที่มีการสั่งซื้อที่แน่นอน เพื่อไม่ให้ผลผลิตที่ออกมานั้นล้นเกินความต้องการของตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ห้องควบคุมอุณหภูมิ
5.ห้องควบคุมอุณหภูมิ

การควบคุมอุณหภูมิโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอก

“การปลูกต้นโต้วเหมี่ยวและต้นทานตะวันงอก ผมดูในเวปไซด์ ที่อื่นๆ จะปลูกหรือเพาะในโรงเรือนทั่วๆ ไม่ได้มีกระบวนการรักษาอุณหภูมิเหมือนที่นี่ ต้นทานตะวันงอกเราคุมอุณหภูมิอยู่ 3 วัน หลังจากนั้นนำออกมารับแสงเพื่อให้สร้างคลอโรฟิลล์ ส่วนต้นโต้วเหมี่ยวผู้บริโภคนิยมรับประทานเหมือนต้นถั่วงอก ตรงนี้จึงไม่ต้องนำออกมารับแสง การที่เราควบคุมอุณหภูมิจะทำให้เมล็ดพันธุ์ของเราขึ้นเกือบ 100% แน่นอน ซึ่งต่างจากของคนอื่นทั่วไปที่อาจมีเปอร์เซ็นต์การงอกอยู่ที่ 80%” คุณศิลาภัทธ์ กล่าว

6.ต้นโต้วเมี่ยวพร้อมตัดส่งจำหน่าย
6.ต้นโต้วเมี่ยวพร้อมตัดส่งจำหน่าย
ทานตะวันงอกที่พร้อมตัดจำหน่าย
ทานตะวันงอกที่พร้อมตัดจำหน่าย

การจำหน่ายโต้วเหมี่ยว และทานตะวันงอก

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าตลาดของต้นโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอกไม่ได้เป็นไปอย่างง่ายดายนัก เพราะสมัยก่อนผู้บริโภคและตลาดยังไม่รู้จักกันกว้างขวางนัก จึงไม่เป็นที่ยอมรับในการบริโภคต้นอ่อน 2 ชนิดนี้ แต่พอมาถึงยุคปัจจุบันมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะรู้ถึงสรรพคุณและประโยชน์ที่จะได้รับ บวกกับการทำอาหารได้หลายประเภท พร้อมทั้งผู้คนในยุคปัจจุบันหันมารักษาสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้ต้นอ่อน 2 ชนิดนี้ มีผู้บริโภคจนตลาดต้องการเพิ่มมากขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบในปีแรกๆ ที่คุณเฉินเพาะต้นโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอก แล้วนำผลผลิตที่ได้ไปเสนอขายให้กับผู้บริโภค ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า “กินไม่เป็น ไม่รู้จัก ต้องขอชิมก่อน” ทำให้ผลผลิตของพืชทั้ง 2 ตัวนี้ จำหน่ายไม่ได้มากเท่าที่ควร เพียงอาทิตย์ละ 5-10 กิโลกรัม เท่านั้น แต่ด้วยความไม่ย่อท้อ คุณเฉินจึงนำไปเสนอกับทางร้านขายอาหาร เพื่อให้มีเมนูสุขภาพให้กับผู้บริโภคที่สนใจ จึงมีการสั่งซื้อต้นโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอกเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันการผลิตทั้งต้นโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอกยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและตลาดมากนัก โดยเฉพาะทานตะวันงอกที่มีเหตุผลด้วยเมล็ดที่เพาะนั้นยังไม่สามารถควบคุมการเก็บรักษาได้ บวกกับผู้บริโภคหันมาสนใจในการรับประทานทานตะวันงอกกันมากขึ้น จึงทำให้ผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนโต้วเหมี่ยวนั้นเมล็ดที่เพาะสามารถสั่งได้อยู่ตลอด จึงไม่เป็นปัญหาต่อการผลิตเพื่อส่งจำหน่ายป้อนสู่ตลาด

ในแต่ละวันคุณเฉินจะมีผลผลิตของโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอกแตกต่างกัน ซึ่งผลผลิตของโต้วเหมี่ยวจะมีมากกว่าประมาณวันละ 100-120 กิโลกรัม ต่อวัน ส่วนทานตะวันงอกมีประมาณ 40-50 กิโลกรัม ต่อวัน ผลผลิตที่ได้ก็จะนำไปจำหน่ายให้กับลูกค้าตามจำนวนออเดอร์แตกต่างกันไป

7.โต้วเหมี่ยวพร้อมส่งลูกค้า
7.โต้วเหมี่ยวพร้อมส่งลูกค้า

ปัญหาและอุปสรรค

สำหรับอีกปัญหาของที่นี่ คือ เมล็ดทานตะวันที่นำมาเพาะในแต่ละปีจะคาดคะเนเลยไม่ได้ว่าต้องใช้ในปริมาณที่เท่าไหร่? เพราะเมล็ดทานตะวันนั้นใน 1 ปี จะเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียว ดังนั้นการเก็บรักษาเมล็ดทานตะวันเพื่อให้อัตราการงอกมีปริมาณที่มากนั้นค่อนข้างจะต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม จึงต้องมีที่เก็บรักษาเป็นอย่างดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งเมล็ดทานตะวันไม่สามารถสั่งซื้อได้ง่ายเหมือนกับเมล็ดถั่วลันเตาที่นำมาเพาะโต้วเหมี่ยว เพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเมล็ดทานตะวันสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้เพียงครั้งเดียวต่อปี จึงทำให้ต้องซื้อมาสต็อกเพื่อทำการปลูกได้ทั้งปี จึงเป็นการยากที่จะทำให้ผลผลิตของทานตะวันงอกนั้นมีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ทำให้อาชีพแบ่งปลูกโดยการนำเอาเมล็ดทานตะวันที่ได้ในแต่ละปีหาร 365 วัน ก็จะเป็นตัวเลขในการเพาะทานตะวันงอกในแต่ละวันในปีนั้นๆ จนทำให้การควบคุมการผลิตเป็นไปได้ยาก เพราะไม่สามารถทราบได้เลยว่าตลาด หรือผู้บริโภค ในแต่ละปี จะมีกระแสการบริโภคต้นทานตะวันงอกมากน้อยเพียงใด

แพ็คผลผลิตเตรียมส่ง
แพ็คผลผลิตเตรียมส่ง

ด้านตลาด โต้วเหมี่ยว และทานตะวันงอก

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเดิมที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนลูกค้าในกรุงเทพฯ คุณเฉินบอกว่าตอนนี้ต้องงดการจำหน่ายไปก่อน เพราะผลผลิตไม่เพียงพอ กำลังขยายโรงเพาะเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น จึงจะทำตลาดในกรุงเทพฯ ต่อไป โดยมีลูกชายวางแผนทำตลาดต่อจากตนอยู่ในขณะนี้

ตลาดที่ส่งส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และตลาดสดทั่วไป ได้แก่ ร้านหมูกระทะสุคนทาริมปิง ซุปเปอร์มาร์เก็ต และตลาดสดแถวอำเภอสันทราย เป็นต้น

“เมื่อมีการขยายโรงเพาะ ตลาดของโต้วเหมี่ยวและทานตะวันงอกก็จะสามารถขยายออกไปยังพื้นที่ใกล้เคียงได้อีกจำนวนไม่น้อย เมื่อฐานการผลิตยังไม่มีจำนวนมากก็คงต้องจำหน่ายให้ลูกค้าเดิมไปก่อน เพื่อให้มีวัตถุดิบในการทำอาหาร หรือขายปลีกในลูกค้ารายย่อย อย่างน้อยผลผลิตที่ออกมาก็สามารถจำหน่ายได้หมดทุกวัน โดยที่ไม่เสียลูกค้าเก่า และถ้ามีการขยายจำนวนผลผลิตมากขึ้น ลูกค้าใหม่ก็จะหาได้ง่ายขึ้น” คุณเฉินกล่าวทิ้งท้าย

หากผู้อ่านท่านใดสนใจจะสอบถามเรื่องการเพาะต้น โต้วเหมี่ยว และทานตะวันงอกในแบบฉบับของคุณเฉิน หรือสนใจสั่งซื้อผลผลิต สามารถสอบถามได้ที่ คุณเฉิน ฮ้วน ฮุย 133 ม.5 ต.ดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140 หรือติดต่อคุณศิลาภัทธ์ โทร.08-9953-0051, 08-9850-5646

โฆษณา
AP Chemical Thailand