5 เรื่องใหญ่ กำหนดอนาคตชาวสวน ทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่อง “ ทุเรียน ” กรมการค้าภายในได้ทำสถิติปริมาณผลผลิตและราคา ปี 63-65

โดยเฉพาะปี 65 นี้ ได้ตัวเลขการผลิตและการตลาดแบบประมาณไว้ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับตัวเลขจริงที่ผ่านไปแล้ว จะเห็นได้ว่า 22% บริโภคผลสดในประเทศ ประมาณ 343,291 ตัน แปรรูป 7,006 ตัน และส่งออกทั้ง สด แช่แข็ง และ แปรรูป 1,109,273 ตัน หรือ 76% ของปริมาณผลผลิต

เมื่อตลาดต่างประเทศเป็นตัวกำหนดทิศทางการผลิต โดยมีหลายประเทศเป็นคู่แข่ง โจทย์คือจะผลิตอย่างไรให้ได้ทั้ง ปริมาณ และ คุณภาพ ผลผลิต และที่สำคัญคนในวงการควรจะรู้เรื่องอะไรบ้าง เพื่อวางแผนกำหนดบทบาทของตัวเอง

ดังนั้นใครที่อยากรวยนานๆ กับการขายทุเรียน จะต้องถามตัวเอง ดังนี้

1.ทุเรียนลูกใหญ่ พูเต็ม
1.ทุเรียนลูกใหญ่ พูเต็ม

พันธุ์อะไร ให้ผลผลิตคุ้มค่า มีตลาดถาวร และไม่กลัวคู่แข่ง

เนื่องจากทุเรียนเป็นพืชร้อนชื้นเขตเส้นศูนย์สูตร จึงมีสายพันธุ์ที่หลากหลาย ตามสภาพพื้นที่แต่ละสายพันธุ์ มีจุดเด่น/จุดด้อย แตกต่างกัน พันธุ์พื้นเมือง บางพันธุ์ ทำเงิน/ต้น มากกว่าหมอนทองเสียด้วยซ้ำ และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมที่โหดได้มากกว่า ไม่กลัวเชื้อราไฟท็อปฯ เหมือนหมอนทอง การให้ความสำคัญกับสายพันธุ์ คือ การวางแผนผลิตเบื้องต้น เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการตลาด บางสวนปลูกทั้ง พันธุ์หมอนทอง และ พันธุ์พื้นเมือง

2.ทุเรียน2

สภาพและคุณภาพดิน ก็เป็นเรื่องสำคัญ

เสือมีเพราะป่าปก ป่ารก เพราะเสือยัง ดินดีเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินเย็น ปัจจุบันดินทั่วประเทศขาดป่าและหญ้าปกคลุม จึงเสื่อม และ pH ดินเป็นกรดมากขึ้น ส่งผลให้การปลูกพืชเศรษฐกิจ ผลผลิตตกต่ำ โดยเฉพาะ “ทุเรียน” ตระกูลหมอนทอง มีความอ่อนไหวด้าน “รากขนอ่อน” หรือ ปาก ดูดอาหาร ที่ป่วยด้วยเชื้อโรคเป็นเชื้อรา เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องนี้เซียนทุเรียน อย่าง คุณธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกรดีเด่นจันทบุรี ที่ดูแลสวนทุเรียนของตน และลูกสวนกว่า 3,870 ไร่ ก็ยืนยันว่า เมื่อดินเป็นกรด จะเกิดโรคไฟท็อปฯ (รากเน่าโคนเน่า) ต้องแก้ปัญหาเรื่องดินเป็น ก็ได้ผล ทั้งๆ ที่ทุเรียนเป็นแผลให้เห็นชัดเจน

เชื้อราไฟท็อปฯ เป็นเชื้อที่ฟักตัวในดินที่เป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 5 พอมีความชื้นสูงก็เข้าทำลายราก ท่อน้ำ ผิวเปลือกและใบ เป็นต้น เป็นเชื้อราที่กระจายไปทางดิน น้ำ ลม ได้รวดเร็ว โดยเฉพาะน้ำฝน ต้นปีจะระบาดหนัก เพราะอากาศแปรปรวน ความชื้นสูง ถ้าเป็น “ดินเหนียว” จะอุ้มน้ำได้ดี โอกาสเป็นโรครากเน่าก็มีสูง

การเช็ค pH ดิน ปีละ 2 ครั้ง เป็นสิ่งจำเป็นมากๆ เพราะถ้าดิน pH 5.5 ตลอด ดินดี เชื้อราจะขยายตัวไม่ได้ แต่ถ้าต่ำกว่านี้เชื้อราจะบูม ทำลายรากและโคนต้นจนเน่าได้ตลอดเวลา การปรับปรุงบำรุงดินให้ pH 5.5 นิ่งๆ จะก่อให้เกิดสัตว์หน้าดิน เช่น ไส้เดือน และ จุลินทรีย์ ตัวดี จะช่วยย่อยซากพืช ซากสัตว์ หรืออินทรียวัตถุ ก็จะมีธาตุอาหารในดินมากขึ้น และเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี ทุเรียนก็จะกินได้หมด ไม่ตกค้างให้ดินเป็นกรดนั่นเอง

3.คุณลุงบุญยิ่ง เจ้าของสวนทุเรียน และคุณเดียร์
3.คุณลุงบุญยิ่ง เจ้าของสวนทุเรียน และคุณเดียร์

พีค รูทเตอร์ คืออะไร?

ทำไมหยุดโรคไฟท็อปฯ

ในวงการพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทุเรียน ย่อมรู้จักชื่อ “พีค รูทเตอร์” มากขึ้น เพราะเป็นชื่อการค้า แต่มันคือ ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แมกนีเซียม (Mgo) สารซิลิคอน (SILICON) หรือ ซิลิก้า (SILICA) สารอะมิโน จากพืช (PLANT AMINO) และธาตุอาหารรองจากธรรมชาติ ที่จำเป็นสำหรับพืช  ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ได้ดี เพราะธาตุอาหารเหล่านี้จะทำให้เชื้อไตรโคเดอร์มาออกฤทธิ์ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม “จุลินทรีย์” ในดินให้มากขึ้น จึงสรุปได้ว่า ธาตุอาหารรอง “พีค รูทเตอร์” ช่วยปรับปรุงดินที่เป็นกรดให้เป็นกลาง และเมื่อใช้ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา จะทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถกำจัดเชื้อราไฟท็อปฯ และ ราสีชมพู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อดินดี ร่วนซุย อันเกิดจากจุลินทรีย์ ย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ ได้ดี จะเกิดอินทรียวัตถุ (OM) ในดินมากขึ้น

นอกจากนี้สารซิลิคอนซึ่งมีประจุบวก จะช่วยทำลายเชื้อโรคในดิน เมื่อรากพืชแข็งแรงก็จะกินปุ๋ยได้หมด ไม่ตกค้างในดิน มากไปกว่านั้นธาตุอาหารรอง พีค รูทเตอร์ เมื่อผสมคลุกกับปุ๋ยจะช่วยป้องกันปัญหาปุ๋ยชื้นจับตัวเป็นก้อน จึงเก็บปุ๋ยไว้ได้นาน เมื่อดินดี รากแข็งแรง พืชก็สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโต ออกดอก ออกผล ได้ดี การใช้ พีค รูทเตอร์ คลุกเคล้าผสมกับปุ๋ยสามารถทำได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำเป็นตัวช่วยในการผสม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นธาตุอาหารรอง พีค รูทเตอร์ จึงสร้างดินให้มีชีวิต ช่วยทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเข้มแข็ง และสร้างจุลินทรีย์ในดินให้มากขึ้น เมื่อพืชได้สารอาหารครบจะแข็งแรง กินอาหารเก่ง ไม่กลัวโรคทั้งหลาย และยังช่วยประหยัดการใช้ปุ๋ยได้มากถึง 50% จากการพิสูจน์เชิงสถิติจากผู้ใช้จริง แต่ข้อห้ามคือ ห้ามใช้ พีค รูทเตอร์ กับสารเคมีกำจัดเชื้อรา และควรใช้ช่วงที่แดดไม่จัด และเมื่อผสมกับน้ำควรใช้ให้หมดทุกครั้ง

เพื่อให้เกิดหลักฐานเชิงประจักษ์ในการใช้ พีค รูทเตอร์ ได้เปิดตัว คุณบุญยิ่ง ทองสร้อย ชาวสวนทุเรียนหัวก้าวหน้า แห่ง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ทำสวนทุเรียน หมอนทอง และ นวลทองจันทร์ 30 ไร่ เมื่อปี 54 เวลา 11 ปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับเขา เรื่องแรกก็คือ ทุเรียนทั้งหมดเป็นโรครากเน่าโคนเน่าทุกต้น

ร้อนถึงลูกชาย ชื่อ คุณบัณฑิต ทองสร้อย ที่เรียนจบด้านเครื่องจักรกล ต้องเปิดเว็บไซต์หาข้อมูลเพื่อจะแก้ปัญหา จนพบว่า มี  พีค รูทเตอร์  ใน  เว็บไซต์พลังเกษตร ลงไว้  จึงติดต่อร้านค้านำมาทดลองตามคำแนะนำ ปรากฏว่า ทุเรียนค่อยๆ ฟื้น จนให้ผลผลิต 400 กว่าต้น ปีนี้รายได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

กลายเป็น สวนตัวอย่าง ของชาวสวนทุเรียน ที่แวะมาสัมผัส และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ พร้อมๆ กับ ร้านสามเกษตร ตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ ขายกันเพลิน คุณบุญยิ่งยอมรับว่า พีค รูทเตอร์ มีบุญคุณต่อเขามากๆ ชุบชีวิตเขาและครอบครัว จากหน้ามือเป็นหลังมือ กลายเป็นสวนตัวอย่าง การปลูกทุเรียนไม่กลัวโรคไฟท็อปฯ แต่อย่างใด

ที่ฮือฮามากๆ ก็คือ บริษัท เหวินจี้ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทแนวหน้าของจีน ที่มารับซื้อทุเรียน เหมาทุเรียนของเขาทั้งสวน หมอนทอง กก.ละ 135 บาท และ นวลทองจันทร์ ขายกิโลละ 200 บาท เหวินจี้ เป็นบริษัทที่เน้นมาตรฐานทุเรียน มุ่งทุเรียนแก่จัดทุกลูก จะถูก สแกนขั้ว ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น ขายในจีนลูกละ 5,000 บาท โดยรับประกันทุกลูก ถ้าผิดพลาดชดเชยให้ทันที

ในเรื่องดินที่เคยเป็นกรด วันนี้ pH 5.5-6 ดินดีมาก หลังจากใช้ พีค รูทเตอร์ ดังนั้นชาวสวนทุเรียนที่ไปดูงานจะได้รับการถ่ายทอดโดยไม่หวงวิชา เพราะตนเคยผิดพลาดมาก่อน เห็นใจชาวสวนด้วยกัน แม้จะไม่หวั่นโรคไฟท็อปฯ แต่ แรงงาน ดูแลสวนก็สำคัญ วันนี้ลูกชายได้นำความรู้เรื่องเครื่องจักรกลมาประยุกต์ใช้ เช่น ใช้ แอร์บรานซ์ ติดเครื่องรถยนต์ ฉีดพ่นยาได้ไวทันใจ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ต้นทุเรียนที่เกือบตายเริ่มแตกใบอ่อน
4.ต้นทุเรียนที่เกือบตายเริ่มแตกใบอ่อน

เรื่องการตัดทุเรียนอ่อน กระทบภาพลักษณ์ทุเรียนไทย

รู้กันจนตกผลึกว่า ทุเรียนอ่อน คือ ตัวทำลายภาพลักษณ์ทุเรียน จนทุกภาคส่วนทำงานเต็มที่เพื่อมิให้เกิดปัญหา แต่ก็ยังเกิดประปราย ซึ่งเรื่องนี้ คุณภาณุศักดิ์ สายพาณิช นายกสมาคมทุเรียนไทย 2 สมัย ยืนยันว่า ยังมีอยู่จริง เพราะเหตุหลายประการ

“ภาคตะวันออกต้องมีของไม่ดีหลุดออกไปได้ เพราะว่าเวลาตัดทุเรียน บางคนไม่เข้าใจ ระหว่างล้งกับชาวสวน เช่น มีการทำสัญญา ต้องตัดให้หมดสวนภายในวันที่กำหนด พอมีเดทไลน์เข้ามา ซึ่งในสัญญาจะต้องเป็นธรรมและถูกกฎหมาย” คุณภาณุศักดิ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ล้งตัดทุเรียนอ่อน ซึ่งล้งต้องการปิดตู้ตามกำหนด  และชาวสวนต้องการให้ตัดหมด ตามวันเวลาที่กำหนด พอเกิดปัญหาก็บอกว่าตนไม่เกี่ยว

ความจริงในสัญญาควรระบุเปอร์เซ็นต์แป้งในทุเรียนต้องถึง 32% ถ้าไม่ถึงตัดไม่ได้ ก็จะหยุดปัญหาทุเรียนอ่อน

แน่นอนสวนใหญ่ๆ ต้องตัดวันละหลายหมื่นลูก ก็ย่อมเกิดผิดพลาดได้บ้าง แต่เมื่อเกิดผิดพลาด ปรากฎว่าล้งบางแห่งนำทุเรียนอ่อนไปขายถูกๆ จนเกิดปัญหาดังกล่าว หรือคนคัดบางคนขโมยลงกล่องเพื่อส่งออกก็มี

ซึ่งเรื่องนี้คุณภาณุศักดิ์เห็นว่าทางที่จะป้องกัน-แก้ปัญหาทุเรียนอ่อน คือ ต้องนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีการคัดทุเรียนมาใช้อย่างเร่งด่วน แม้วันนี้จะมี ไมโครเวฟ NIR หรือเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มาใช้ แต่ก็ไม่เสถียร “ยังไม่มีอันไหนชัวร์ จริงๆ ถ้ามันได้ถูกต้อง 90% ชาวสวนยิงแล้วรู้ว่าลูกนี้แก่ ลูกนี้อ่อน ก็จะไม่ตัด การดูทุเรียนว่าอ่อนหรือแก่ ชาวสวนยังดูไม่เป็นเลย” นายกสมาคมทุเรียนไทย ยืนยัน

5.ต้นทุเรียนที่ฉีดพ่นพีค รูทเตอร์ ใบเขียวเข้ม ต้นสมบูรณ์
5.ต้นทุเรียนที่ฉีดพ่นพีค รูทเตอร์ ใบเขียวเข้ม ต้นสมบูรณ์

ต้องไม่ประมาทประเทศคู่แข่ง

ยอมรับว่า แม้ หมอนทอง ของไทย จะครองใจชาวจีนแผ่นดินใหญ่ แต่วันนี้ มูซานคิง ของมาเลเซีย ก็แชร์ตลาดมากขึ้น เช่นเดียวกับทุเรียนของเวียดนาม ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน และมีความสะดวกในการส่งเข้าจีนมากกว่าไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เมื่อเราต้องแข่งที่จีน จะเห็นว่ามาเลเซียเขาทำตลาดเยอะมาก ของไทยอ่อนไป เรามีอาวุธที่ดี ต้องเอามาใช้ ต้องกระตุ้นการสร้างแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่มีอิทธิพลสูงมาก” คุณภาณุศักดิ์ แนะนำให้ไทยพยายามสร้างแบรนด์ทุเรียนไทยให้จริงจัง เพราะวันนี้คนจีนกินทุเรียนเพียง 9% ของประชากร กระจุกอยู่ในเมืองต่างๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง หางโจว กวางโจว ซูโจว หนานจิง หนิ๋งโป อู่ฮั่น และ เฉิงตู เพราะชาวเมืองชอบทานทุเรียนสุกมาก รสหวาน เนื้อนุ่ม เนื้อแน่น เม็ดเล็ก และสีเหลืองเข้ม นอกจาก หมอนทอง แล้ว ยังนิยม ก้านยาว มากขึ้น โดยทุเรียนผ่านตลาดเหล่านี้ ได้แก่ ซินฟาตี้ (ปักกิ่ง) เจียงหนาน (กวางโจว) เจียซิง (มณฑลเจ้อเจียง) และ ตลาดฮุ่ยจ่าน (เซี่ยงไฮ้) เป็นต้น

ชาวจีนนอกจากทานทุเรียนสดแล้ว ยังนำไปแช่แข็งด้วยเทคนิคไนโตรเจนเหลว ยืดอายุได้นาน 18 เดือน โดยมีกลิ่นและรสเหมือนทุเรียนสด โดยเฉพาะการนำทุเรียนจากมาเลเซียที่แช่แข็งทั้งเปลือกเพื่อทำตลาดอย่างจริงจัง โดยโปรโมทเป็นทุเรียนพรีเมียม ขายราคาสูงกว่าทุเรียนไทย 2-3 เท่า แม้แต่ ฟิลิปปินส์ ก็ซิกแซกส่งเข้าจีนด้วยรูปแบบต่างๆ

ที่น่าจับตามองก็คือ มณฑลไห่หนาน ทางใต้ของจีน ก็เริ่มปลูกทุเรียนหมอนทอง และ มูซานคิง ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ถ้าสำเร็จก็จะทดแทนการนำเข้าทุเรียนแน่นอน นอกจากนี้ทางลาวก็มีนักลงทุนปลูกทุเรียน มูซานคิง หลายแสนไร่ ไม่เกินปี 2568 ผลผลิตจะออกเต็มที่ นี่เท่ากับทุเรียนไทยมีคู่แข่งที่รุนแรงมากขึ้น

6.พีค รูทเตอร์
6.พีค รูทเตอร์

รัฐไทยไร้น้ำยา เจรจาปิดด่านกับจีน

เพราะความที่ “คนจีน” เข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่เศรษฐกิจทุเรียนไทยทั้งประเทศ มีอำนาจและอิทธิพลที่จะกำหนดทิศทางธุรกิจทั้งระบบ นั่นเท่ากับเราได้นำไข่ใส่ตะกร้าใบเดียว ย่อมมีความเสี่ยงสูงมากๆ ครั้นจะเปิดตลาดยุโรป-อเมริกา ก็ไม่ง่าย เพราะ เนื้อทุเรียน ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของหวาน หรืออาหารที่จำเป็น “กลิ่น” และ รสชาติ ก็เป็นข้อจำกัดในการบริโภคของชาวตะวันตก

ดังนั้นตลาดทุเรียนจึงกระจุกอยู่ที่เอเซียเป็นหลัก ซึ่งจีนคือตลาดใหญ่สุด ขณะที่ระบบการขนส่ง หรือโลจิสติกส์ เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้ คุณภาณุศักดิ์ นายกสมาคมทุเรียนไทย ยอมรับว่า วันนี้ด่านที่ไทยส่งออกมาก คือ ด่านเวียดนาม (หยวนอี้กวน, ซ่งซิ่ง, ปาซิง) แต่ปีนี้ส่งด่านนี้ไม่ได้ เนื่องจากผลไม้เวียดนามมากขึ้น ก็ทำของเขาก่อนของเรา

ในที่สุดทุเรียนไทยต้องส่งทางเรือ ด่านทางรถยนต์ และทางรถไฟ เส้นทาง 3A ไม่ต้องผ่านด่านเวียดนาม “ค่าขนส่งแพงขึ้นที่ผ่านมา แต่เราไม่มีทางเลือก เพราะถ้าไปด่านเวียดนามรถติด รอนาน ของเน่า รัฐบาลได้คุยกับสถานทูตจีนให้ขยายเวลาด่านเวียดนาม ให้เจ้าหน้าที่ทำงาน 24 ชั่วโมง หรือให้เป็นด่านสากล แต่ก็ไม่ทำ เพราะเขาไม่ได้อะไร แต่เราก็เจรจาต่อ” คุณภาณุศักดิ์ เปิดเผย และยืนยันว่า ทางเวียดนามและลาวก็ไม่ยอมขยายด่านให้เรา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ทางรถไฟมีโอกาสมาก วิ่งตรงเข้าคุนหมิง ไม่เกิน 3 วันๆ ละหลายร้อยตู้คอนเทนเนอร์ แต่ตอนนี้เรายังส่งไม่ได้ ต้องรอจนถึงปีหน้า ต้องรอให้ด่านตรวจโม่ฮานเรียบร้อย แต่ขนส่งทางรถไฟก็มีปัญหา เพราะต้องยกตู้คอนเทนเนอร์ลงจากรถไฟแล้วนำไปขึ้นรถยนต์ ต้องเสียเงินและเวลา “ถ้าส่งออกไม่ได้ กระทบต่อราคาแน่นอน เดือดร้อน แม้ปลายทางจะเอาของ แต่เราส่งออกไม่ได้ เราจึงต้องเตรียมความพร้อมเรื่องช่องทางส่งออกทั้ง 3 วิธี เพื่อทำให้ฤดูกาลหน้าราบรื่น” นายกสมาคมทุเรียนไทย เปิดเผย ซึ่งมันจะวัดกึ๋นรัฐบาลว่ามีน้ำยาแค่ไหน

เรื่องทุเรียน วันนี้คนในวงการเป็น ปลากระดี่ ได้น้ำ เพราะเม็ดเงินจีนทะลักเข้ามา แต่ถ้าชาวสวนและคนในวงการยังไม่พร้อมใจพัฒนาร่วมกัน ตั้งแต่การผลิตทุเรียนให้ปลอดสาร มีคุณภาพ มีปริมาณเพียงพอต่อตลาด เพื่อให้การทำงานเป็น “คลัสเตอร์ทุเรียน” แน่นอนคู่แข่งที่พร้อมกว่าจะแชร์ตลาดมากขึ้น จนสุดท้าย ทุเรียนไทย กลายเป็นตำนาน ตายเพราะความประมาทโดยแท้

สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ พีค รูทเตอร์ ติดต่อ บริษัท พีค อโกรเคมี 2 จำกัด 32/21 หมู่ที่ 4 ต.ท้ายเกาะ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160 สายด่วน : รากเน่าโคนเน่า 087-977-1590, 02-598-9207, Youtube : กดค้นหา Peak Agro Channel, Line ID : @peakagrokemee2, Facebook : พีค อโกรเคมี 2, เว็บไซต์ : www.peakagro.co.th

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 27