การทำนาอินทรีย์ และ สวนพืชผักสวนครัวอินทรีย์ ส่งป้อนบริษัท ซองเดอร์ฯ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นาอินทรีย์ และนาเคมี ต่างกันอย่างไร? เชื่อว่าพี่น้องชาวนาหลายท่านก็คงจะเข้าใจ และรู้ถึงประโยชน์-โทษ  และเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนในการทำนาทั้ง 2 รูปแบบนี้ แต่ด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของผลผลิตเพียงอย่างเดียว ทำให้ชาวนาหลายท่านยังคงใช้สารเคมีอยู่ ทำให้มีต้นทุนการทำนาที่สูงขึ้น จนเกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่สูงขึ้น ทำให้เมื่อขายข้าวแล้วมองแทบไม่เห็นผลกำไร การทำนาอินทรีย์

และจากการใช้สารเคมีมายาวนาน ก็ยังส่งผลต่อสุขภาพชาวนาเอง รวมถึงผู้บริโภค และยังสะเทือนถึงธุรกิจการส่งออก เพราะข้าวไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นแล้วพิษภัยจากการใช้สารเคมีเป็นสิ่งที่อันตรายมากต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค แต่เหตุไฉนยังใช้เคมีกันอยู่ การทำนาอินทรีย์

1.คุณปัญญาให้ดูรากต้นข้าว เผยแนวทาง การทำนาอินทรีย์
1.คุณปัญญาให้ดูรากต้นข้าว เผยแนวทาง การทำนาอินทรีย์

การปลูกข้าว

ทีมงานนิตยสารข้าวเศรษฐกิจ ขอนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจของชาวนาท่านหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นผู้คร่ำหวอดในการทำนาอินทรีย์ คุณปัญญา ใคร่ครวญ ชาวนาผู้สู้ชีวิต ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยความเชี่ยวชาญในการทำนามาแล้วสารพัดรูปแบบ ทั้งการทำนาเคมี นาอินทรีย์ จนทำให้เขาเล็งเห็นความสำคัญในการทำนาอินทรีย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นการช่วยลดต้นทุนในการทำนา

ทั้งนี้เขายังได้นำวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติมาทำการผลิตปุ๋ยหมักในสูตรต่างๆ และผลิตสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูข้าว จนประสบความสำเร็จในการทำนาในที่สุด ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ต่างยกย่องให้คุณปัญญาเป็นกูรูด้านการทำนาอินทรีย์เลยทีเดียว

คุณปัญญาเผยว่า ตนเองได้มีโอกาสช่วยครอบครัวทำนามาตั้งแต่ครั้งยังเด็กๆ ทำให้พอมีความรู้ในเรื่องการทำนามาบ้าง ต่อมาในปี 2540 ก็ได้มีโอกาสทำนาแบบเต็มตัว ประกอบกับน้องชาย ทำธุรกิจเกี่ยวกับเคมีเกษตร จึงทำให้คุณปัญญาเองสนใจหันมาทำธุรกิจขายปุ๋ย และยา เคมี และได้ใช้พื้นที่แปลงนาของตนปลูกข้าวทำนาเคมี โดยใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่ตนมีอยู่ เพื่อเป็นการทดลองให้ลูกค้าเห็นประสิทธิภาพในปุ๋ยและยา เคมี รวมทั้งไว้บริโภคเอง

“ตอนนั้นผมทำนา เรียกได้ว่า เรามีปัจจัยในการผลิต ทั้งปุ๋ย ทั้งยา จึงนำไปใช้ในแปลงนา ผลปรากฏว่าจากการที่ใช้เคมีทำให้สภาพต้นข้าวสวยมาก แลดูว่าจะได้ข้าวมาก แต่พอใกล้ที่จะเก็บเกี่ยว มันกลับกลายเป็นว่าข้าวล้มหมด ได้ข้าวบ้าง ไม่ได้บ้าง  จนในที่สุดตั้งใจจะเอาไว้กินเอง เราก็ไม่กล้ากิน เพราะรู้ว่าเราใส่อะไรไป ทำให้ต้องไปซื้อข้าวจากที่อื่นมากินแทน” คุณปัญญากล่าวถึงความผิดพลาดในการใช้สารเคมีทำนา

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.มีเกษตรกรมาศึกษาดูงานการทำเกษตรอินทรีย์
2.มีเกษตรกรมาศึกษาดูงานการทำเกษตรอินทรีย์

การทำนาอินทรีย์

จากการทำนาในครั้งแรกทำให้คุณปัญญาตระหนักถึงพิษภัยในการใช้สารเคมีมาก จนทำให้เขาหันมาศึกษาค้นคว้าการทำนารูปแบบใหม่ๆ ที่ดี และมีประโยชน์ทั้งตนเองและผู้บริโภค จนค้นพบกับการทำนาในรูปแบบอินทรีย์ จากการไปอบรมดูงานที่ทางกรมวิชาการเกษตรจัดขึ้นเป็นโครงการเกษตรยั่งยืน เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวนาตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมี และลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในที่สุด จากการเข้าอบรมศึกษาดูงานในครั้งนั้น ทำให้เขาได้พบกับเกษตรกรชาวนาที่มีความเชี่ยวชาญในการทำนาอินทรีย์ที่ยึดหลักธรรมชาติ

“ผมได้มีโอกาสไปดูงานที่ชุมชนราวเทียนทอง จ.ชัยนาท พวกเขาทำนาอินทรีย์ ยึดหลักธรรมชาติ  รักษาสิ่งแวดล้อม เมื่อผมไปดูนาก็ทำให้เข้าใจอะไรๆ หลายๆ อย่างในชีวิต มองเห็นอนาคตในการทำนาของเรา เห็นเขามีข้าวคุณภาพกิน อยู่กินกับธรรมชาติ มีรายได้จากการขายข้าวอินทรีย์มากมาย ทั้งๆ ที่ไม่ต้องพึ่งสารเคมีซักนิด ต้นทุนการทำนาก็ไม่กี่บาทต่อไร่ ซึ่งทำให้ผมมองเห็นประโยชน์ในการทำนาอินทรีย์ จึงตัดสินใจเลิกทำนาเคมี และหันมาทำนาอินทรีย์เต็มตัว” คุณปัญญาเผยนาทีคิดตัดสินใจเลิกใช้สารเคมี

3.สภาพแปลงนาของคุณปัญญา
3.สภาพแปลงนาของคุณปัญญา

ปัญหาและอุปสรรคของการทำนาอินทรีย์

ครั้งแรกกับการทำนาอินทรีย์  คุณปัญญาเล่าว่าในการทำนาอินทรีย์ครั้งแรกนั้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ต้นทุนลดลง แต่ผลผลิตข้าวกลับได้ลดน้อยลงมาก เนื่องจากข้าวมันไม่โตเท่าที่ควร แต่ข้าวที่เคยล้มกลับไม่ล้มเหมือนที่เคย มีลักษณะตั้งต้นเตี้ยๆ แกร็นๆ

“ในตอนนั้นผมยังไม่ได้ปุ๋ยหมัก และฮอร์โมน สารสมุนไพร เลย จึงทำให้ได้ข้าวไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร และพบกับปัญหาเรื่องวัชพืชในนาข้าว เช่น หญ้า เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว ผลปรากฏว่าได้ข้าวครึ่งนึง หญ้าครึ่งนึง ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างหัวเราะผมกันเป็นแถวๆ” คุณปัญญากล่าวถึงผลลัพธ์ของการทำนาอินทรีย์ครั้งแรกของตน

ต่อมาหลังจากได้รับประสบการณ์จากการทำนาอินทรีย์ที่ผ่านมา ทำให้เขาได้ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ ฮอร์โมน และสมุนไพรไล่แมลง เพื่อนำมาใช้กับแปลงนาของตน เพื่อหวังว่าจะเป็นการช่วยในเรื่องการบำรุงดิน เพื่อให้ดินกลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

เนื่องจากว่าแปลงนาดังกล่าวใช้สารเคมีมานาน ส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพ ต้องมีการฟื้นฟูแร่ธาตุสารอาหารให้กับดินเสียก่อน อีกทั้งยังเป็นการช่วยบำรุงต้นข้าวให้เจริญเติบโต จนในที่สุดจากการนำปุ๋ยหมัก ฮอร์โมน และสมุนไพร มาใช้ในแปลงนาของตน ทำให้เขาเห็นความแตกต่างกันเรื่องของต้นทุน จากการทำนาเคมีเคยมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 5,500 บาท แตกต่างจากการทำอินทรีย์ซึ่งมีต้นทุนทำนาอยู่ที่ 3,000-3,500 บาทต่อไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในเรื่องของผลผลิตข้าวที่ได้ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด “เชื่อไหมว่าลุงเพิ่งถึงบางอ้อว่าธรรมชาติมันไม่ใช่แค่ตัวเรา ไม่ใช่คนนู้น คนนี้ ธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ อากาศ แมลง หนู กบ เขียด ในนา มันเป็นตัวที่ให้เราโดยไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย แต่เรากลับเป็นผู้ทำลาย เห็นเขาเป็นศัตรู เราก็ไปใช้ต้นทุนๆ จากการใช้สารเคมีไม่รู้จบ ทำให้มีค่าใช่จ่ายเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆ ที่เรามีต้นทุนธรรมชาติอยู่แล้ว มีคนเคยบอกว่าหญ้าขึ้นเยอะเลย ทำไมไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ผมเลยตอบกลับไปว่าผมยอมให้หญ้าขึ้นรกดีกว่าใช้ยาฉีด เหมือนอย่างที่ในหลวงท่านตรัสไว้ว่า อย่าปล่อยให้หน้าดินโล่งมีแต่ดิน เราปล่อยให้หญ้าขึ้นยังมีค่ากว่า และวันหนึ่งเมื่อเราปลูกอะไรมันง่ายมาก แค่เมล็ดหล่นมันก็ขึ้น” คุณปัญญากล่าวด้วยความภูมิใจ

4.หลังจากการโยนกล้า
4.หลังจากการโยนกล้า

สภาพพื้นที่การทำนาโยน

ปัจจุบันคุณปัญญาได้ใช้พื้นที่ของตนเกือบ 50 ไร่ ทำนาอินทรีย์ทั้งหมด โดยเลือกใช้พันธุ์ข้าวหอมปทุม หอมมะลิแดง หอมสุพรรณ และข้าวไรซ์เบอรี่ โดยในการทำนาของเขานั้นจะใช้แหล่งน้ำจากคลองชลประทานเป็นหลัก ในการทำนาของเขานั้นจะเน้นในเรื่องของคุณภาพข้าวมาก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเน้นในเรื่องการทำอินทรีย์ปลอดสารพิษโดยตรง และเหตุนี้เองทำให้ลูกค้าในพื้นที่และต่างจังหวัดแวะเวียนมาซื้อข้าวอินทรีย์ของคุณปัญญาอย่างไม่ขาดสาย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าปลอดภัยจากสารเคมี 100%

ทั้งนี้คุณปัญญาเลือกใช้นาทำนาโยนกล้า เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่จะสามารถลดต้นทุนได้ ในเรื่องของการใช้เมล็ดพันธุ์ ในการโยนกล้าของเขานั้นจะมีความแตกต่างจากที่อื่น ด้วยวิธีการโยนแบบปาเป้า โดยการใช้คนเดินลงไปในแปลงนา เดินเรียงกันตามกระดาน แล้วใช้กล้าที่เพาะไว้โยนตามจังหวะ สิ่งที่ได้จากการโยนแบบปาเป้านี้

คุณปัญญากล่าวเสริมว่าการโยนในลักษณะนี้จะทำให้ต้นกล้านั้นโยนได้เป็นระเบียบ เรียบร้อย และสามารถประหยัดต้นกล้าและถาดกล้าที่ใช้เพาะได้มาก สามารถทำให้ประหยัดต้นทุนได้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากการโยนทั่วไป ที่พบว่าโยนไม่เป็นระเบียบ เหมือนโยนมั่วๆ ทำให้ข้าวไม่ตั้งบ้าง เป็นกระจุกบ้าง เลยต้องมาประยุกต์ใหม่ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช่จ่าย

ในส่วนของการเพาะกล้านั้น คุณปัญญาใช้วิธีการเพาะกล้าโดยการใช้ถาดเพาะกล้าปูกับน้ำตม จะทำแปลงไหนก็ไปปลูกกล้าในส่วนนั้น เพื่อเป็นการลดอัตราความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อกล้าในการขนส่ง เพื่อที่จะนำไปใช้โยนกล้า ทั้งนี้เขาได้เลือกต้นกล้าที่ใช้โยนที่มีอายุอยู่ที่ 10-15 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวมีความเหมาะสมกับการโยนมากที่สุด เพราะข้าวสามารถแตกกอได้ดี รากไม่ยาว เมื่อโยนไปแล้วรากไม่ซ้ำ เพราะสามารถรัดตัวได้เร็ว

หากต้นกล้าที่มีอายุมากกว่านี้จะทำให้มีลักษณะรากที่ยาว เมื่อโยนไปแล้วจะทำให้ต้นกล้าเหี่ยวเฉาได้ง่าย  ปัจจุบันคุณปัญญาได้ใช้ถาดเพาะกล้าอยู่ประมาณ 70 ถาดต่อไร่ หากเทียบกับการโยนแบบทั่วไปแล้วที่เคยทำ ใช้จำนวนถาดเพาะกล้าถึง 100 ถาดต่อไร่ จึงทำให้วิธีการโยนกล้าแบบเขานั้นสามารถประหยัดค่าใช่จ่ายได้มาก และอนาคตอันใกล้นี้เขายังจะใช้วิธีการลากเส้นในแปลงนา โดยใช้ไม้ไผ่เพื่อตั้งระยะห่างของกล้าที่โยน เพื่อต้องการให้เป็นระเบียบมากขึ้น และจากการตั้งระยะยังง่ายต่อการเก็บวัชพืช เช่น หญ้า เพราะมีระยะห่างที่สามารถเดินลงไปเก็บได้ง่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.โรงปุ๋ยของคุณปัญญา
5.โรงปุ๋ยของคุณปัญญา การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์
แหนแดงที่อยู่ในแปลงนาบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง
แหนแดงที่อยู่ในแปลงนาบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง
ต้นตำลึงหลังจาการใช้ฮอร์โมนและน้ำหมักชีวภาพ
ต้นตำลึงหลังจาการใช้ฮอร์โมนและน้ำหมักชีวภาพ

เทคนิคการทำนา และการบำรุงดิน

ใช้ปอเทือง และปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อหมุนเวียน เป็นการบำรุงดินแบบปุ๋ยพืชสด และการใช้ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ที่ได้จากการนำขี้วัว ขี้ไก่ ขี้แพะ จากพื้นที่ นำมาผลิตปุ๋ยหมักเพื่อบำรุงดิน โดยการรองพื้นดิน หลังจากย่ำฟางเสร็จแล้วก็นำปุ๋ยหมักลง หมักดินให้มีลักษณะฟู  และหลังจากโยนข้าวเสร็จจะเติมน้ำหมักและกลุ่มฮอร์โมนลงไปบำรุงต้นข้าว เพื่อให้ข้าวมีความเจริญเติบโตได้ดี ช่วยเสริมสร้างรากข้าว ใบข้าว และเมล็ดข้าว ให้อุดมสมบูรณ์

ซึ่งคุณปัญญากล่าวว่าปุ๋ยหมักจะใช้ทั้งหมด 3 ช่วง ครั้งแรกตอนข้าวอายุ 20 วัน ครั้งที่สองช่วงข้าวเริ่มแตกกออายุประมาณ 40-45 วัน และช่วงข้าวเริ่มตั้งท้องอายุข้าว 60 วัน ในส่วนของปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก ที่ใช้หลักๆ นั้นจะเป็นน้ำหมักขี้วัว น้ำหมักหน่อกล้วย และน้ำหมักปลา ในส่วนปุ๋ยหมักที่ใช้นี้ช่วยบำรุงต้นข้าวได้อย่างดีมากๆ หากช่วงไหนเกิดหนอนกอลงก็จะเติมสมุนไพรบวกเข้าไปด้วย เช่น สะเดา ขมิ้นชัน เพื่อเป็นการป้องกันแมลงศัตรูพืช ซึ่งมันใช้ได้ผลดีมาก

ใช้เบญจคุณในการบำรุงต้นข้าว และการไล่แมลง คุณปัญญาเผยว่าตนได้เรียนรู้การทำเบญจคุณจากการดูงานของกลุ่มข้าวคุณธรรมอำนาจเจริญ ที่นำสมุนไพรพื้นบ้าน และวัตถุดิบที่หาได้รอบบ้าน 5 อย่าง มาเป็นการช่วยบำรุงข้าว และป้องกันแมลง โดยทั้งการนำรากข้าว จอมปลวก ใบไผ่ แป้งข้าวหมาก และรำละเอียด โดยใช้อัตราส่วน 1:1 นำมาสับรวมกัน จากนั้นจะใช้น้ำตาล นม และน้ำมะพร้าว มาหมักไว้ 3 คืน ก่อนที่จะเอามาใช้พรมกับส่วนของเบญจคุณ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำปรุง

ทั้งนี้เขาบอกต่อว่า “ตัวนี้มันเป็นอาหารจุลินทรีย์ทำให้เกิดความหอม ดินที่อยู่ในจุลินทรีย์จะผลัดตัวขึ้นมา พอได้ความชื้นก็จะเกิดจุลินทรีย์ ปั้นเป็นก้อนเหมือนจุลินทรีย์บอล จากนั้นประมาณ 20 วัน ราข้าวจะแห้งเป็นก้อน หากนำไปลอยน้ำมันก็จะลอย ซึ่งจะทำเป็นหัวเชื้อแห้งก่อนจะใช้ได้ง่าย”

หลังจากจากนั้นเมื่อปั้นเป็นก้อนแล้วจะนำมาทุบใส่กระสอบ หรือผ้า แล้วทำการปิดไว้ประมาณ 20 วัน จุลินทรีย์ก็จะเดินจะพร้อมใช้ในแปลงนาต่อไป ซึ่งหากจะนำไปใช้เป็นน้ำหมักก็จะใช้อัตราส่วน 15 ก้อนต่อน้ำ 200 ลิตร ในส่วนนี้จะไปช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในนาข้าว ช่วยให้ข้าวมีลักษณะเขียว และมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และจะใช้ทั้งหมด 3 ช่วง

ตอนข้าวอายุ 20 วัน ช่วงข้าวแตกกอ 40-45 วัน และช่วงข้าวตั้งท้อง 60 วัน จากการใช้ปุ๋ยหมัก ฮอร์โมน และเบญจคุณ นี้ ทำให้ปัจจุบันคุณปัญญามีแนวโน้มได้ข้าวเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อไร่ หากเป็นข้าวหอมปทุมอยู่ที่ 75 ถังต่อไร่ หอมสุพรรณ 60 ถังต่อไร่  และข้าวไรซ์เบอรี่ 40-45 ถังต่อไร่ และมีโอกาสได้ข้าวเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ครั้งอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ภายในกลุ่ม
6.เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ภายในกลุ่ม
กำลังประชุมกันภายในกลุ่ม
กำลังประชุมกันภายในกลุ่ม การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ 

การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน

ปัจจุบันจากการที่คุณปัญญาประสบความสำเร็จในการทำนาอินทรีย์จนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันในวงการเกษตรอินทรีย์ ทำให้เขาได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืนขึ้นมา ในปี 2556 โดยที่คุณปัญญาดำรงตำแหน่งเป็นประธานกลุ่มฯ

ทั้งนี้เขาเปิดเผยถึงสาเหตุการจัดตั้งกลุ่มในครั้งนี้ว่า ต้องการเผยแพร่ความรู้ในการทำนาอินทรีย์แก่พี่น้องชาวนา เพื่อต้องการให้พี่น้องชาวนาในพื้นที่หันมาสนใจใส่ใจในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งดีต่อชาวนาเอง และผู้บริโภค รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

7.รวงข้าวสวยๆ หลังตะวันตกดิน
7.รวงข้าวสวยๆ หลังตะวันตกดิน การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายข้าวกล้องอินทรีย์

ปัจจุบันทางกลุ่มฯ มีสมาชิกทั้งหมด 39 ครอบครัว มีพื้นที่ในการผลิตข้าวอินทรีย์มากกว่า 300 ไร่ ซึ่งผลผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่จะมี บริษัท ซองเดอร์ ออแกนิก เข้ามารับซื้อข้าวกล้องอินทรีย์รวม ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท เพื่อนำไปแปรรูปต่อเป็นขนมซีเรียล และขนมชนิดธัญพืช เพื่อจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ และ 7-11 eleven ต่อไป

ทั้งนี้ในส่วนของกลุ่มลูกค้ายังมีทั้งภายในพื้นที่และต่างจังหวัด โดยจะมีการจำหน่ายข้าวให้กับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ในราคาข้าวขาวกิโลกรัมละ 50 บาท ไรซ์เบอรี่กิโลกรัมละ 60-70 บาท ส่งผลให้พี่น้องชาวนาในกลุ่มฯ มีรายได้จากการขายข้าวเพิ่มมากขึ้น ทั้งขายส่งผ่านทาง บริษัท ซองเดอร์ ออแกนิก ซึ่งทำให้ปัจจุบันสมาชิกทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน มีรายได้จากการขายข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นมาก จนทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกันไปตามๆ กัน

8.สวนพืชผักสวนครัวอินทรีย์หลังบ้านคุณปัญญา
8.สวนพืชผักสวนครัวอินทรีย์หลังบ้านคุณปัญญา การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ การทำนาอินทรีย์ 

แนวโน้มในอนาคต

ในอนาคตอันใกล้นี้ คุณปัญญามุ่งเป้าไปที่ข้าวอินทรีย์ที่ออกไปจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน มีคุณภาพ และราคาไม่แพง เผื่อผู้บริโภคระดับรากหญ้าจะได้มีสินค้าอินทรีย์ที่มีคุณภาพราคาไม่แพง ได้กิน ได้บริโภคสิ่งดีๆ

ซึ่งเขาเห็นว่าปัจจุบันบางครั้งคนทำอินทรีย์ก็ฉวยโอกาสทำให้สินค้ามีราคาแพงจนเกินไป ทำให้การบริโภคสินค้าอินทรีย์ยังไม่ทั่วถึงผู้บริโภคในทุกระดับชั้น ซึ่งตรงจุดนี้คุณปัญญาอยากให้ข้าวอินทรีย์ของกลุ่มฯ ตน “คนรวยกินได้ คนจนกินดี” เพราะทุกคนช่วยกันสร้างโลก สร้างสิ่งแวดล้อม และจะคืนให้เป็นของขวัญให้กับทุกคน และจับมือเดินหน้ากันเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสืบต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตบท้ายด้วยแง่คิดของคุณปัญญา “เรามีทรัพย์ คือ ผืนดิน ผืนน้ำ อากาศ ธรรมชาติ ธรรมชาติมันไม่ใช่แค่เราคนเดียว แต่คือทุกสิ่ง สรรพสิ่งในโลกนี้ มันคือธรรมชาติ เพื่อนเรา พี่เรา พ่อ แม่ สังคม แม้แต่สัตว์ และแมลง ถ้าเรามีความเข้าใจตรงจุดนี้มันเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหมด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่พึ่งพาอาศัยกัน

อยากให้เกษตรกรหันมาใส่ใจในเรื่องการทำอินทรีย์ เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี แล้วเดินหน้าสู่อินทรีย์เต็มตัว และลงมือทำ ทำด้วยความรัก ด้วยความสามัคคี แล้วเดินหน้าสร้างครอบครัว สร้างชุมชน สร้างประเทศชาติ พร้อมใจกัน ร่วมกันทำ ดิน น้ำ แผ่นดินของเราให้อุดมสมบูรณ์ เผื่อที่จะมีข้าวอินทรีย์ หรือสินค้าอินทรีย์ต่างๆ เรากินเองก็ดี ผู้บริโภคกินก็เกิดความสุขไปด้วยกัน”

สนใจข้าวอินทรีย์คุณภาพดี ติดต่อ คุณปัญญา ใคร่ครวญ 355/1 ม.5 ต.จระเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร คอลัมน์ข้าวเศรษฐกิจ