ตัดอ้อย “ไฟไหม้” คุ้มค่ากว่าตัดสด เซียนอ้อยเพชรบูรณ์ฟันธง! พร้อมเผยต้นทุน-กำไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องอ้อยและน้ำตาลจะเป็นปัญหามากในไทย โดยเฉพาะ “แรงงาน” ในช่วงตัดอ้อยตั้งแต่ ธ.ค.-เม.ย. เป็นงานเหมาที่ต้องอาศัยความชำนาญซึ่งหายากมากขึ้น ดังนั้นเจ้าของไร่อ้อยจึงต้องเลือกวิธีตัดอ้อยระหว่างเผาแล้วตัด กับตัดสดๆ อันไหนจะจูงใจแรงงานมากกว่ากัน ปรากฏว่าเถ้าแก่ทั่วประเทศมุ่งเผาแล้วตัด ซึ่งเรื่องนี้เถ้าแก่สมศักดิ์ สิทธิชัย หรือ “เฮียอ่อง” เจ้าของไร่อ้อย 500 ไร่ พร้อมลูกไร่รวม 2,000 ไร่ ได้ให้รายละเอียดเรื่องนี้

1.คุณสมศักดิ์-สิทธิชัย-เจ้าของไร่อ้อย
1.คุณสมศักดิ์-สิทธิชัย-เจ้าของไร่อ้อย
2.ไร่อ้อยก่อนจุดไฟตัดอ้อยแบบไฟไหม้
2.ไร่อ้อยก่อนจุดไฟ ตัดอ้อย แบบไฟไหม้

สภาพพื้นที่ปลูกอ้อย

เฮียอ่องยอมรับว่า ปีนี้ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ในพื้นที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ต่างประสบปัญหาด้านภัยแล้งไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้เกษตรกรที่นี่ต้องเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยการสร้างแหล่งบนดินเพื่อกักเก็บน้ำ หรือการขุดเจาะบ่อบาดาลนำน้ำขึ้นมาใช้เพื่อทำไร่อ้อย

โดยเฉพาะในช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งเข้าโรงงานเสร็จแล้ว เกษตรกรจะต้องสูบน้ำขึ้นมารดตออ้อยให้เกิดความชื้นและแตกหน่อออกมาอย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญจะช่วยป้องกันโรคหนอนกอได้ในระดับหนึ่ง เพราะการทำไร่อ้อยทุกวันนี้หากไม่ขึ้นน้ำจะสุ่มเสี่ยงเกิดโรคหนอนกอขึ้นในไร่อ้อย

จากเดิมในอดีตจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้เลย “พอตัดเสร็จเราก็สูบน้ำใส่เรื่อยๆ เพื่อให้แตกหน่อ ถ้าแถวนี้เราไม่สูบน้ำหนอนกอไม่ลง สมัยก่อนไม่มี เพิ่งมีหนอนกอมาไม่กี่ปี ถ้าไม่สูบน้ำพอหน่ออ้อยขึ้นแล้วหนอนกอก็กินหมด แต่ก่อนไม่ต้องสูบน้ำ แต่ตอนนี้ไม่ได้ ต้องสูบน้ำที่ต้องใช้คนงาน คนงานก็ไม่ค่อยมี  สภาพอากาศฝนก็แล้ง อากาศร้อนมาก ส่งผลกับพืชเรา ถ้าไม่ให้น้ำทำไปก็ไม่ได้กิน ต้องไถทิ้งเฉพาะเขตนี้นะ” เฮียอ่องย้ำก่อนจะเก็บหญ้าทำรุ่น ใส่ปุ๋ยบำรุงให้เจริญเติบโตที่ดี ภายใต้แรงงานที่มีอยู่จำกัด หลังจากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยอีกรอบ และต้องใช้เวลาในการดูแลรักษาไม่ต่ำกว่า 10 เดือน

3.การใช้แรงงาน ตัดอ้อย แทนการใช้รถตัดอ้อย
3.การใช้แรงงาน ตัดอ้อย แทนการใช้รถตัดอ้อย
การใช้รถคีบอ้อยขึ้นรถบรรทุก
การใช้รถคีบอ้อยขึ้นรถบรรทุก

ปัญหาและอุปสรรคในการ ตัดอ้อย

ก่อนจะตัดเก็บผลผลิตเข้าสู่โรงงานน้ำตาลในพื้นที่ ซึ่งในปีนี้ทางโรงงานได้เปิดหีบเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา เกษตรกรบางรายได้เริ่มต้นตัดอ้อยส่งโรงงานทันที แต่อาจจะไม่ทุกเจ้า ซึ่งปีนี้เฮียอ่องยังเน้นการใช้แรงงานตัดอ้อยเช่นเคยทั้งหมด  40 กว่าคน ที่จะ ตัดอ้อย ได้ประมาณ 100-120 ตัน/วัน เป็นอ้อยไฟไหม้ทั้งหมด

ซึ่งปีนี้อ้อยลำเล็กเพราะฝนทิ้งช่วง ติดแล้งนาน ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่ถ้าอ้อยสวยๆ แรงงาน 40 กว่าคนนี้ ต้อง ตัดอ้อย ได้ประมาณ 200 ตัน/วัน แต่อ้อยไฟไหม้จะถูกโรงงานหักตันละ 20 บาท แต่ในทางกลับกันถ้าไม่จุดไฟ หรือ ตัดอ้อย ไฟไหม้ แล้วหันมาตัดอ้อยสดอย่างเดียว ที่จะตัดอ้อยยากกว่าก็จะไม่คุ้ม เพราะอ้อยลำเล็กมาก และต้องจ้างแรงงานแพงขึ้นหลายเท่าตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตอนนี้ตัดอ้อยไฟไหม้ 20 ลำ/มัด ในราคา 6 สลึง เทียบกับการตัดอ้อยสด 15 ลำ/มัด ในราคา 3 บาท ราคาต่างกันมาก การตัดอ้อยสดใช้ต้นทุนสูงมาก เราจึงพยายามตัดอ้อยไฟไหม้  ถ้าอ้อยสวย ตัดสดมันยังคุ้ม 15 ลำ/มัด ก็ต้องได้น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 15 กก./มัด แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ เพราะวันนี้ ตัดอ้อย 15 ลำ/มัด เต็มที่ก็น้ำหนักเพียง 7-8 กก./มัด น้ำหนักหายไปมาก

เราจึง ตัดอ้อย ไฟไหม้คุ้มค่ากว่าตัดสด ซึ่งค่าจ้าง ตัดอ้อย ไม่ใช่ 300 บาท แล้ว อย่างน้อยต้องเฉลี่ย 400-500บาท/คน/วัน เพราะตัดแบบเหมา แต่ถ้าราคาอ้อยอย่างปีนี้ยังไงชาวไร่อ้อยทำแล้วก็ไม่คุ้ม เพราะราคาคุ้มทุนของชาวไร่ต้อง 1,000 บาท/ตันขึ้นไป แต่ราคารับซื้อ 800 บาท/ตัน

ชาวไร่ก็เริ่มจะอยู่ไม่ได้ เพราะค่าแรง 300 บาท/วัน แม้ว่าค่าพลังงานในปีนี้จะถูกลงก็ตาม ที่สำคัญต้องใช้แรงงานเพื่อลดความเสียหายจากการใช้เครื่องจักรให้มากที่สุด เพราะทำให้ดินแน่น โดยเฉพาะหัวแปลง ท้ายแปลง ที่อ้อยแทบจะไม่ขึ้นเลย หรืออ้อยตอขึ้นไม่สวย เพราะรถตัดอ้อยน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 10 กว่าตัน/คัน

ปัญหาอีกอย่างของรถตัดอ้อย คือ เมื่อรถเสียขึ้นมาช่างก็ไม่มี ต้องหาชาวบ้านมาช่วยซ่อมให้ เพราะไม่มีอู่ซ่อมรถตัดอ้อย ถ้ามีอู่ก็จะดีมาก พอรถเสียก็เอาเข้าอู่ แต่นี่ไม่มีอู่ต้องซ่อมกันเอง อะไหล่ก็ไม่มี ชาวไร่ต้องดิ้นรนหาอะไหล่กันเอง อ้อยก็ต้องตัดส่งโรงงาน มันยากตรงนี้ ชาวบ้านที่ซ่อมรถให้ก็รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ซึ่งการใช้แรงงานจะช่วยลดปัญหานี้ได้ แต่ก็มีปัญหาค่าแรงหาคนยาก” เฮียอ่องอธิบายปัญหาในการตัดอ้อยเข้าโรงงาน

แต่จริงๆ ถ้าการทำไร่อ้อยไม่มีปัญหา แรงงานก็ยังเป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุด ยังไม่มีอะไรสู้อ้อยได้ แม้ราคาจะตกต่ำ แต่ชาวไร่อ้อยก็ยังมีสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องและต่อรองกับรัฐบาลได้ ซึ่งพืชอื่นยังไม่มี และไม่แน่นอน เพราะไม่มีสมาคมฯ

4.การบรรทุกอ้อยส่งเข้าโรงงาน
4.การบรรทุกอ้อยส่งเข้าโรงงาน

การเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย

เฮียอ่องเผยถึงผลกระทบจากภัยแล้งปีนี้ที่ส่งให้ผลผลิตโดยรวมลดลงไปมาก จากเดิมที่เคยได้ผลผลิตเฉลี่ย 11 ตัน/ไร่ แต่ปีนี้อ้อยตอ 3 และตอ 4 ให้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 5 ตัน/ไร่ อ้อยใหม่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 7-8 ตัน/ไร่ คาดว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตของที่นี่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 7 ตัน/ไร่ นั่นหมายความว่าไร่อ้อยแห่งนี้ต้องขาดทุนมากถึง 1 ล้านกว่าบาท แน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยค่าจัดการที่สูง ปีนี้จะเอาทุนคืนยังแย่ ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตั้งแต่การไถไปจนถึงเก็บเกี่ยวเข้าโรงงาน ผมเองก็กู้จากโรงงานเหมือนกัน ชาวไร่อ้อยต้องกู้เงินทั้งนั้น ไม่มีใครที่ไม่กู้เงินจากโรงงานมาลงทุนก่อน ปีนี้ชาวไร่เอาเงินมาลงทุน ส่วนใหญ่ที่ลงทุนไปแล้วจะใช้หนี้ไม่หลุด เพราะทำแล้วขาดทุน แต่ปีหน้ายังไงราคาก็น่าจะดีกว่าปีนี้ แต่ผมไม่รู้ว่าจะดีไหม แต่บางคนก็บอกว่าปีหน้าฝนจะแย่กว่าปีนี้” เฮียอ่องเปิดเผยความจริงที่เกิดขึ้น

5.สวนปาล์มหลังปลูกข้าวโพดแซมและเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว
5.สวนปาล์มหลังปลูกข้าวโพดแซมและเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว
การปลูกมันแซมร่องปาล์ม
การปลูกมันแซมร่องปาล์ม

การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมัน

แต่บนความขาดทุนก็ยังมีความโชคดี และมีรายได้เข้ามาบ้าง เมื่อสวนปาล์มเล็กจำนวนหลายร้อยไร่ สามารถปลูกพืชล้มลุกแซมเพื่อสร้างรายได้ให้เฮียอ่องมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปลูก “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” หรือ (ตอง 2) บนเนื้อที่ 80 กว่าไร่ ให้ผลผลิต 1,000 กก./ไร่ หรือมีรายได้ประมาณไร่ละ 7,000 บาท ซึ่งปลูกในช่วงหน้าฝน

การปลูก “ฟักทอง” แซมปาล์ม บนเนื้อที่ 80 กว่าไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,000 บาท มีรายได้เพียง  2 แสนกว่าบาท เพราะลูกที่สวยมาก จะขายได้ 10 บาท/กก. ลูกสวยหน่อยจะขายได้ 8 บาท/กก. แต่ถ้ามีลูกเบี้ยวพ่อค้าจะไม่ซื้อเลย ทิ้งเลย แต่ตอนนี้ฟักทองกลับมาราคาแพงอีกครั้ง

รวมไปถึงการปลูก “มันสำปะหลัง” บนเนื้อที่ 180 ไร่ ด้วยสายพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 72 เกล็ดมังกรและน้องแบมที่มีการยกร่องในร่องปาล์มจำนวน 6 แถว แล้ววางระบบน้ำหยดให้ดินเปียกก่อนทำการเสียบท่อนมันที่ชุบด้วยฮอร์โมน จะช่วยให้ท่อนพันธุ์รอดเกือบ 100% ความเสียน้อยมาก

6.ความสมบูรณ์ของต้นมันสำปะหลัง
6.ความสมบูรณ์ของต้นมันสำปะหลัง

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นมันสำปะหลัง

หลังจากนั้นประมาณ 10 กว่าวัน ท่อนมันจะแตกใบอ่อน จึงค่อยหยอดปุ๋ยเพื่อบำรุง เมื่อดินแห้งต้นมันสำปะหลังจะแตกรากขึ้นไม่ค่อยดี จึงต้องให้น้ำอีกครั้ง จะทำให้ต้นมันเจริญเติบโต ขึ้นต้นสวยอย่างสม่ำเสมอ พอมันเริ่มโตจะฉีดพ่นฮอร์โมน 1-2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของมูลค้างคาวแบบอินทรีย์เคมี ต่อมาจะใส่ปุ๋ยสูตร0-0-60

7.หัวมันสดระยอง-5-ของเฮียอ่อง
7.หัวมันสดระยอง-5-ของเฮียอ่อง
หัวมันสดที่เตรียมส่งขายลานมัน
หัวมันสดที่เตรียมส่งขายลานมัน

รายได้จากการขุดมันสำปะหลัง

จนกระทั่งอายุ 11 เดือนขึ้นไป ก็จะขุดเก็บผลผลิตได้ ระยอง 72 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 8 ตัน/ไร่ หัวมันสดไซซ์เสมอกันหมด ระยอง 5 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 6 ตัน/ไร่ มีรายได้จากการขุดมันในช่วงต้นฤดูกาล 2.30-2.40 บาท/กก. ซึ่งขณะนี้มีการรับซื้อแบบเหมาในราคา 2 บาท/กก. ภายใต้ต้นทุนการผลิต 4,000 บาท/ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 7 ตัน/ไร่ จะมีรายได้ 14,000 บาท/ไร่ ก็ยังพอเหลืออีกประมาณ 10,000 บาท/ไร่ จึงได้ผลผลิตมันสำปะหลังมาชดเชยในส่วนที่ขาดทุนไปได้บ้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผมมีคนงานขุดมันให้ 3-4 ชุด/วัน ขุดแบบเหมา โดยใช้รถและอุปกรณ์ผม คนงานก็ใช้แรงอย่างเดียว ขุดมันได้ผลผลิต 3-4 ตัน/วัน/2 คนครอบครัว ในราคา 450 บาท/ตัน หักค่าอุปกรณ์ 70 บาท ก็จะได้ค่าแรงที่ 380 บาท/ตัน ขุดมัน 1 วัน จะมีรายได้ราว 1,000 กว่าบาท/ครอบครัว เป็นคนงานที่ขยันมาก เมื่อปีที่แล้ว 2 คนนี้ผมก็ให้เขาเสียบมันตลอดปี แต่ปีนี้ขุดมันรอแล้วจะปลูกมันต่อก็จะจ้างเขาทำด้วย”  เฮียอ่องเผยที่มาของรายได้

8.ผลผลิตที่ได้มากกว่า-6-7-ตันต่อไร่
8.ผลผลิตที่ได้มากกว่า-6-7-ตันต่อไร่

การขุดมันสำปะหลัง

ปัจจุบันได้ขุดมันไปแล้ว 130 ไร่ ยังเหลืออีก 50 ไร่ ที่กำลังทยอยขุดหัวมันสดขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในฤดูกาลหน้านี้ที่ต้นปาล์มเริ่มโตขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะลดพื้นที่การปลูกมันแซมปาล์มลงให้เหลือเพียง 60 ไร่ และจะหันมาปลูกมะละกอ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ส่วนปาล์มน้ำมันบางส่วนที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 4 เริ่มเก็บผลผลิตได้ แต่ยังมีปริมาณน้อยมาก เพราะดูแลยังไม่ถึง ทั้งการใส่ปุ๋ย และให้น้ำนั้น ได้เตรียมที่จะวางระบบน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้ปาล์มได้รับน้ำในปริมาณมากขึ้น และให้ผลผลิตดีขึ้นได้

สอบถามเพิ่มเติม เฮียอ่อง และคุณวีระ อนันต์วรปัญญา โทร.08-7709-4391, 09-5495-7176

71 หมู่ 12 บ้านตาคลีภิรมย์ ต.โคกสะอาด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ 67170