ต้นทุนเลี้ยงหมู ระบบ เช่าเล้า Vs. จ้างเลี้ยง พร้อมเลียนแบบการเลี้ยงมาจากการเลี้ยงไก่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เวลาผ่านพ้นไปร่วมครึ่งปี ที่ทั่วโลกรวมถึงคนไทยต้องมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากมหันตภัยร้ายของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” (COVID-19) กระทบทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะธุรกิจประเภทใด จะรายใหญ่หรือรายย่อย และไม่ว่าจะทั้งทางตรงหรือทางอ้อมก็โดนกันหมดไม่มีละเว้น ต้นทุนเลี้ยงหมู

อย่างไรก็ตามในยามวิกฤตย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ เช่นเดียวกับในภาคปศุสัตว์ อย่างเช่น ผู้เลี้ยงสุกร ซึ่งในยุคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ แม้ตลาดสุกรในประเทศจะดูซบเซาเบาบาง ทว่าสวนทางกับตลาดส่งออกที่ได้รับการผ่อนปรนให้ส่งออกผ่านชายแดนได้ ส่งผลทำให้ออเดอร์ส่งออกเนื้อสุกรพุ่งพรวดเติบโตเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปกติ

1.คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มหมู มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม
1.คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มหมู มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงหมู

นิตยสารสัตว์บก ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกร “มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม” ในพื้นที่ .สระแก้ว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ที่ดำเนินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์และหมูขุนจำหน่ายให้กับลูกค้าหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยสืบทอดจากรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ ร่วมกว่า 40 ปีแล้ว

เพื่อดูว่าเขามีวิธีการบริหารจัดการฟาร์มสุกรของตนเองอย่างไรภายใต้สภาวะโควิดฯ ที่แม้ยังคงแพร่ระบาด แต่สำหรับฟาร์มสุกรของคุณจักราวุธไม่กระทบมากนัก เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี และการเลือกใช้อาหารคุณภาพดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์คู่ค้าธุรกิจตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี อย่าง “เบทาโกร” ทำให้สุกรในฟาร์มเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง ไร้โรค จับขายให้กับลูกค้า และส่งขายในตลาดได้กำไรงามสวนกระแสโควิดฯ

คุณจักราวุธเล่าย้อนความเป็นมาของฟาร์มสุกรให้ฟังว่า  ตนเองเป็นรุ่นที่ 2 ที่สืบทอดกิจการเลี้ยงสุกร เมื่อปี 2527 ตอนนั้นเรียนอยู่ชั้น ม.3 จึงตัดสินใจลาออกมาดูแลกิจการด้วยตัวเอง เพราะคุณพ่อเสียชีวิต

“สมัยก่อนอาชีพเลี้ยงหมูชาวบ้านแต่ละคนก็เลี้ยงกันแบบบ้านๆ คือ เลี้ยงไว้หลังบ้าน ไม่ได้เลี้ยงเป็นระบบฟาร์มเหมือนปัจจุบัน โดยการหาซื้อลูกหมูมาเลี้ยง โดยสมัยรุ่นคุณพ่อผมก็ทำเช่นนั้น เริ่มต้นซื้อลูกหมูมาเลี้ยงขุนเพื่อขายให้กับลูกค้า โดยจากจำนวนหลักร้อยตัวและค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นมา กิจการก็ขยับขยายเติบโตขึ้นตามลำดับ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ตลาดก็เริ่มเปลี่ยน เกษตรกรที่มีเงินทุนหรือสายป่านมากพอก็เริ่มเลี้ยงสุกรในลักษณะของโรงเรือน มีการทำฟาร์มแม่พันธุ์ และเลี้ยงขุนเองเพื่อจำหน่ายตลาดที่มีมาตรฐานมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นผู้เลี้ยงสุกรรายกลางไปจนถึงรายใหญ่

กระทั่งปัจจุบันที่ผู้เลี้ยงสุกรได้พัฒนารูปแบบการเลี้ยงมาเป็นรูปแบบฟาร์มที่ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น และรูปแบบการเลี้ยงที่หลากหลาย เช่น ฟาร์มเลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ฟาร์มเลี้ยงลูกสุกรขุน และเลี้ยงขุนเพื่อจำหน่าย เป็นต้น

2.คัดแยกหมูขุนเลี้ยงออกต่างหาก
2.คัดแยกหมูขุนเลี้ยงออกต่างหาก

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

ในส่วนรูปแบบการเลี้ยง ก็ได้พัฒนารูปแบบเช่นกัน ที่ผ่านมา ได้แก่ ภายในฟาร์มเลี้ยงแม่พันธุ์  เลี้ยงหมูอนุบาล และเลี้ยงหมูขุน อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากมีข้อมูลจากงานวิชาการ (เดิม) บอกว่า การเลี้ยงในพื้นที่เดียวกันจะช่วยทำให้การเกิดโรคติดต่อจากสุกร เช่น โรคเพิร์ส (PRRS) ลดลงได้

อย่างไรก็ตามวิธีการเลี้ยงดังกล่าวไม่ได้ผลนัก หลังจากนั้นคุณจักราวุธจึงทดลองด้วยวิธีของตนเอง คือ แยกหมูขุนเลี้ยงออกต่างหาก เหลือไว้ คือ แม่พันธุ์ กับอนุบาล ซึ่งเลี้ยงในพื้นที่เดียวกันเช่นเดิม

แต่ในที่สุดคุณจักราวุธได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง โดยเลี้ยงแม่พันธุ์คัดแยกออกเป็นขนาด หรือเรียกว่า “ระบบฟ็อกซ์” นั่นเอง

“ระบบฟ็อกซ์” หรือ “ระบบ SET ZERO” คือ การเลี้ยงแม่พันธุ์สุกรโดยไม่ต้องเพิ่มเติมจำนวนหมูอีก ซึ่งจะป้องกันการเกิดโรคติดต่อ เช่น โรคเพิร์ส (PRRS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณจักราวุธเผยว่าระบบการเลี้ยงดังกล่าวเลียนแบบมาจากการเลี้ยงไก่ คือ เลี้ยงแค่ 6 ท้อง แล้วปลดระวาง ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตดีที่สุด ทั้งนี้ระบบการเลี้ยงดังกล่าวสามารถทำได้เฉพาะฟาร์มเลี้ยงขนาดใหญ่ที่มีสายป่านยาว ซึ่งจำนวนการเลี้ยงกว่า 10,000 แม่พันธุ์ขึ้นไป และในส่วนสุกรขุนก็ปรับการเลี้ยงเป็นแบบเข้า-ออกหมดเป็นชุดเดียวกันทั้งฟาร์ม เพื่อลดปัญหาเรื่องโรค

“เหตุผลที่เราใช้หลักการบริหารจัดการในฟาร์ม คือ ระบบฟ็อกซ์ ก็เพื่อตัดโรคติดต่อสุกรให้เป็นศูนย์ ซึ่งข้อดีของการเลี้ยงระบบฟ็อกซ์ คือ จะได้ค่า FCR หรืออัตราการแลกเนื้อของสุกรที่ดีขึ้น และเกิดการสูญเสียที่ลดน้อยลง ส่งผลให้ได้กำไรมากขึ้นเฉลี่ย 300-500 บาท/ตัว หรือยกตัวอย่างเช่น ในฟาร์มเลี้ยงสุกรระยะเวลาประมาณ 5 เดือน จึงจับชั่งน้ำหนักขาย เฉลี่ยประมาณ 115 กก./ตัว ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจมาก” คุณจักราวุธให้ความเห็นข้อดีของระบบฟ็อกซ์

3.อาหารหมู ของเบทาโกร
3.อาหารหมู ของเบทาโกร

การให้อาหารหมู

สำหรับเคล็ด (ไม่) ลับ เลี้ยงสุกรสุขภาพดี คุณจักราวุธบอกว่าตนคำนึงเรื่องอาหารสุกรที่ต้องได้คุณภาพ โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ “เบทาโกร” มากว่า 3 ปี ผลปรากฏว่า  โครงสร้าง  รูปร่าง  น้ำหนัก ของหมูในฟาร์ม ตัวโต สมบูรณ์ แข็งแรง

นอกจากนี้ “เบทาโกร” ยังให้การสนับสนุนทีมนักวิชาการเข้ามาช่วยให้คำแนะนำโปรแกรมการให้อาหาร และตรวจสอบการบริหารจัดการและคุณภาพการเลี้ยงสุกรในฟาร์มให้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้าหากได้อาหารดี สุขภาพหมูก็จะดีตาม

นอกจากนี้คุณจักราวุธได้ใช้อาหารเสริมของ “บริษัท มาสเตอร์ เวท จำกัด” ช่วยเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่ม ADG, เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึม, เพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญ และปรับปรุง FCR, ลดการสะสมไขมัน เพิ่มเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง และทำให้ซากไม่แฉะ

4.โรงเรือนหมู
4.โรงเรือนหมู

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู ระบบ และ ต้นทุนเลี้ยงหมู

ปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงหมูของคุณจักราวุธจำแนกออกเป็น 3 โรงเรือนหลัก และในอนาคตมีแผนขยายและปรับปรุงฟาร์มร่วมกับเบทาโกร พร้อมตั้งเป้าหมายรูปแบบการเลี้ยงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทางด้านระบบการสร้างเครือข่ายการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน คุณจักราวุธใช้ระบบ “เช่าเล้า” ซึ่งจะตรงข้ามกับระบบ “จ้างเลี้ยง” และประกันราคาให้กับเกษตรกร เฉกเช่นบริษัทรายใหญ่ดำเนินการ

โดยระบบ “เช่าเล้า” อธิบายเข้าใจง่าย คือ คุณจักราวุธจะเป็นผู้ลงทุนค่าใช้จ่ายทุกอย่างทั้งหมด ได้แก่ คัดเลือก/เช่าพื้นที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกร สรรหาคนงาน คอยดูแลให้อาหารสุกร และซื้อลูกหมูนำเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม เป็นต้น เรียกว่าคุณจักราวุธเป็นผู้ลงทุนออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

ตลอดจนการดูแลคนงานในฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันในส่วนแรงงาน คุณจักราวุธดูแลคนงานอย่างดี อยู่กันเป็นครอบครัว มีบ้านพักคนงานให้พัก อาหารการกินพร้อม และมีเงิน Incentive มอบให้พิเศษ ในกรณีเลี้ยงหมูแต่ละรุ่นแล้วได้น้ำหนักตรงตามความต้องการตลาด หมูไม่มีอัตราสูญเสีย หรือสูญเสียน้อยที่สุด ซึ่งคนงานก็จะได้รับเงินพิเศษดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เป้าหมายการสูญเสียไม่เกิน 3% ต่อการเลี้ยงสุกรแต่ละรุ่น เป็นต้น

คุณจักราวุธยังได้กล่าวเสริมถึงข้อดีของการบริหารจัดการฟาร์มสุกรรูปแบบ “เช่าเล้า” นั่นคือ สามารถออกแบบโครงสร้างโรงเรือนตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อสร้างเองได้ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพที่ดีของสุกรที่เลี้ยงภายในฟาร์ม

“ยกตัวอย่างเช่น คูลลิ่งแพด ที่ใช้ในโรงเรือน ซึ่งเราออกแบบวางด้านไว้ด้านข้างของโรงเรือน หรือแบบซิกแซก ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนคูลลิ่งแพดให้สัมพันธ์กับจำนวนพัดลม ส่งผลให้การควบคุมอุณหภูมิในเล้าสุกรเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นผลดีต่อสุขภาพการเจริญเติบโตของสุกร   

นอกจากนี้ผมยังศึกษาการออกแบบโรงเรือน กอปรกับเทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาฟาร์ม เช่น การจัดทำไบโอแก๊ส และถังหมัก EM ซึ่งทำการหมักทุกๆ วัน ผ่านระบบปั๊มดูดเข้าไป ลดความแรงของกลิ่นลงได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หรือการวางระบบท่อ เพื่อนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ามาสู่ในโรงเรือน เพื่อให้หมูทุกตัวได้รับออกซิเจน ที่มากและเพียงพอกันทุกจุดของโรงเรือน ซึ่งอยู่ระหว่างกำลังปรึกษากับวิศวกรร่วมออกแบบ เป็นต้น คุณจักราวุธ เปิดเผยถึงข้อดีของการเช่าเล้า

5.หมูสมบูรณ์แข็งแรง ได้น้ำหนัก
5.หมูสมบูรณ์แข็งแรง ได้น้ำหนัก ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายหมู

ด้านการจัดจำหน่ายสุกรปัจจุบัน คุณจักราวุธเผยว่าตลาดจำหน่ายเนื้อหมูเปลี่ยนไปมาก ส่วนตัวหันไปจับตลาดขายขึ้นห้างฯ มากขึ้น เพราะรายใหญ่ๆ จะมี Store และมีโอกาสเติบโตได้ไกล เช่น  เทสโก้โลตัส, บิ๊กซี, แม็คโคร หรือส่งเข้าร้านอาหารชั้นนำระดับประเทศซึ่งมีหลายสาขา และมีความต้องการปริมาณเนื้อหมูจำนวนมาก เป็นต้น แม้ว่า Gross Profit (GP) หรือส่วนแบ่งการตลาดสูง แต่เรายังสามารถเติบโตไปกับคู่ค้าที่มีศักยภาพเหล่านี้ไปได้อีกไกล

ในส่วนลูกค้าที่ไม่ใช่ห้างฯ หรือโมเดิร์นเทรด ก็มีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ พ่อค้าที่มารับซื้อถึงหน้าฟาร์มนำรถจับแล้วนำไปจำหน่าย หรือทำตลาดต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะมีกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี และปทุมธานี เป็นต้น โดยราคาซื้อขายอ้างอิงตามราคาประกาศ

เมื่อถามถึงลูกค้าที่เข้ามารับซื้อสุกรถึงหน้าฟาร์ม และเกี่ยวโยงกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในส่วนของมาตรการป้องกันพาหะภายนอกนำเชื้อโรคหรือไวรัสเข้าสู่ฟาร์ม โดยคุณจักราวุธไม่มีความวิตกกังวลแต่อย่างใด โดยบอกกับทีมงานหนังสือสัตว์บกว่า

ไวรัสโควิด-19 สำหรับฟาร์มไม่ค่อยมีผลกระทบสักเท่าไหร่ ทั้งนี้ฟาร์มได้ให้ความสำคัญกับ “สุขภาพหมู” โดยมีมาตรการป้องกันเอาไว้อยู่แล้ว ได้แก่ การนำลูกสุกรที่ปลอดเชื้อ PRRS และมีการจัดทำโปรแกรมวัคซีนต่างๆ ให้สุกรทุกตัว

ในส่วนพื้นที่โดยรอบของฟาร์มได้มีการออกแบบโรงสเปรย์หรือจุดพ่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อจำนวนกว่า 3 จุด ให้กับบุคคลภายนอก คนขับรถขนส่งสุกร รวมไปถึงรถยนต์เช่นกัน ที่ต้องพ่นสเปรย์และฆ่าเชื้อก่อนจะเข้าไปยังพื้นที่ภายในฟาร์ม เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.บำรุงดูแลหมูอย่างสม่ำเสมอ
6.บำรุงดูแลหมูอย่างสม่ำเสมอ ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู ต้นทุนเลี้ยงหมู

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู

ในตอนท้ายคุณจักราวุธได้กล่าวฝากให้กำลังใจไปยังพี่น้องเกษตรกรและผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศในช่วงวิกฤตโควิดฯ นี้ด้วยว่า

“ผมขอส่งกำลังใจเอาใจช่วยพี่น้องเกษตรกรทุกท่านให้อดทนและผ่านพ้นช่วงวิกฤตโควิดฯ แบบนี้ไปให้ได้ และพยายามบริหารจัดการการเลี้ยงหมูให้ต้นทุนต่ำที่สุด แต่ยังคงคุณภาพและมาตรฐานเอาไว้เช่นเดิม

ทั้งนี้การที่จะเลี้ยงหมูแล้วได้สุขภาพดี มีน้ำหนัก จับขายได้ผลตอบแทนอย่างงามนั้น เกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่น  การใช้อาหารที่ดี มีคุณภาพ การจัดการโรงเรือนที่ดี  การให้ความสำคัญเรื่องสุขภาวะความสะอาดของฟาร์ม และหมั่นสังเกตดูแลหมูที่เลี้ยงในฟาร์มทุกตัวสม่ำเสมอ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มแต่ละคนด้วย เพราะเรื่องแบบนี้บอกกันได้ แต่สอนกันไม่ได้

อย่างไรก็ตามส่วนตัวของผมรู้สึกประทับใจ และต้องขอขอบคุณทีมงานของเบทาโกรที่เข้ามาช่วย เป็นเหมือนเพื่อนคู่คิด คอยเป็นที่ปรึกษา เติมเต็มองค์ความรู้ ให้เราบริหารจัดการทำงานเป็นระบบมากขึ้น

จากที่สมัยก่อนเหนื่อยมาก เหมือนทำงานอยู่คนเดียว แต่ตอนนี้ได้ทีมงานจากบริษัทฯ เข้ามาช่วยให้คำแนะนำดูแลหลายเรื่อง อาทิ แนะนำอาหาร และการใช้อาหารสุกร การจัดการด้านสุขภาพสุกร การช่วยเก็บข้อมูลการเลี้ยงสุกรนำมาพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น ฯลฯ ซึ่งอย่างที่บอก ผมและเบทาโกร เราตั้งเป้ามองเห็นภาพที่ชัดเจนเหมือนกัน และทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี และจะยังคงเป็นคู่ค้าที่ดีต่อกันเช่นนี้ไปตลอดครับ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มสุกร “มั่นซื่อตรงดีฟาร์ม” ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 326