ไขความลับ วิธี ปลูกทุเรียน 5 สายพันธุ์ โล 90 ฉบับเมืองกาญจน์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การ ปลูกทุเรียน  

ทีมงาน นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ เลยไปตามหาคำตอบให้ทุกท่าน จากสวนของ คุณอำไพร สุกรัตน์ เกษตรกรผู้ ปลูกทุเรียน ที่กาญจนบุรี และญาติๆ รวมทุนกันมาซื้อที่ตรงนี้เอาไว้จำนวน 32 ไร่ ซึ่งพื้นที่เดิมก่อนที่จะมาแปลงเป็นสวนเกษตรนี้ เจ้าของพื้นที่เดิมเคยใช้ปลูกหม่อนมาก่อน ทำให้ปัญหาเรื่องดินและสารอาหารไม่เป็นปัญหา เพราะว่าต้นหม่อนเองก็ไม่ได้ใช้แร่ธาตุในดินมากนัก

หลังจากที่คุณอำไพรมาสานต่อก็แค่ทำการปรับหน้าดินเพียงเล็กน้อยก็เริ่มลงมือปลูกไม้ผลที่ตัวเองต้องการได้ทันที ซึ่งข้อดีของพื้นที่ตรงนี้ที่สำคัญอีกประการ คือ เป็นพื้นที่ราบสูงก็จริง แต่อยู่ติดกับลำน้ำแควด้านปลายพื้นที่ ระบบน้ำที่นี่จึงถือว่าสมบูรณ์มาก เพียงแค่ลงทุนเดินสายน้ำ และเครื่องปั๊มน้ำ ก็สามารถมีน้ำใช้เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี

1.ทุเรียน
1.ทุเรียน      
2.คุณอำไพร-สุกรัตน์-เจ้าของสวนทุเรียน
2.คุณอำไพร-สุกรัตน์-เจ้าของสวนทุเรียน
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th - ทุเรียน
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th – ทุเรียน
ไขความลับ วิธี ปลูกทุเรียน 5 สายพันธุ์ โล 90 ฉบับเมืองกาญจน์
ไขความลับ วิธี ปลูกทุเรียน 5 สายพันธุ์ โล 90 ฉบับเมืองกาญจน์

ด้านตลาดผลผลิตทุเรียน

ผลผลิตจากสวนคุณอำไพรในแต่ละปี ทุเรียนจะให้ผลผลิตได้มากถึง 30 ตัน สัดส่วนของหมอนทอง ชะนี และก้านยาว มากที่สุด ส่วนพวงมณีแต่ละปีก็มีผลผลิตประมาณ 1-2 ตัน เพราะปริมาณต้นไม่ได้เยอะเท่าสายพันธุ์อื่น ผู้ที่มารับซื้อก็มีทั้งแม่ค้าจากตลาดมารับซื้อที่หน้าสวน และพวกพ่อค้าคนกลางที่มารับไปขายต่ออีกที

ราคาจำหน่าย แยกเป็น

  • หมอนทอง กก.ละ 60 บาท
  • ชะนี กก.ละ 40 บาท
  • ก้านยาว กก.ละ 90 บาท
  • ส่วนพวงมณีก็จำหน่าย กก.ละ 90 บาท เช่นกัน

ซึ่งปริมาณทุเรียนที่ผลิตได้นี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการนัก เพราะในพื้นที่คนที่ ปลูกทุเรียน มีค่อนข้างน้อย แต่ปริมาณความต้องการมีมาก ทิศทางของตลาดทุเรียนจึงถือว่าสดใสอย่างยิ่งทีเดียว

3.ได้น้ำจากลำน้ำแคว
3.ได้น้ำจากลำน้ำแคว

สภาพพื้นที่ ปลูกทุเรียน

ในพื้นที่ใกล้เคียงกันนี้มีการทำเกษตรกรรมกันแพร่หลาย แต่มองไปแล้วจะหาส่วนที่เป็นสวนผลไม้นั้นหาได้ยากเต็มที ส่วนมากจะเน้นไปที่การปลูกพืชไร่กันเป็นส่วนมาก เพราะหลายคนในพื้นที่มองว่าการลงทุน ปลูกทุเรียน หรือทำสวนไม้ผล นั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ใช้การลงทุนที่สูง ประกอบกับมีปัญหาเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนตลอดเวลา ทำให้ยากต่อการดูแลรักษา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลายคนที่เคยทำสวนผลไม้ปรากฏว่าประสบกับปัญหาขาดทุน เพราะผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้า แม้ราคาขายจะค่อนข้างดี แต่ผลผลิตกลับไม่มีตามที่ตลาดต้องการ หรือบางทีเก็บผลผลิตได้ แต่คุณภาพก็ไม่ดี ทำให้มีราคาต่ำ ขายแล้วไม่คุ้มทุน หลายคนจึงเลิกการทำสวนหันไปปลูกพืชไร่ทดแทน

แต่ที่คุณอำไพรคิดทวนกระแสหันมาทำไม้ผลเต็มตัว เพราะมองว่าปัญหาทั้งหลายที่มีนั้นสามารถแก้ไขได้ สภาพอากาศที่ว่าไม่ดีก็ใช่ว่าจะไม่ดีกันไปตลอดทั้งปี หรือบางคนที่ทำแล้วไม่ได้ดีก็ไม่ใช่เพราะฝนฟ้าอากาศอย่างเดียว แต่อยู่ที่การเอาใจใส่ดูแล รวมถึงเทคนิคการจัดการต่างๆ ที่หลายคนไม่รู้ หรือมองข้ามไป ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การทำสวนไม่ประสบความสำเร็จได้ทั้งนั้น

4.ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
4.ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว
ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว

สายพันธุ์ทุเรียน

ทุเรียน 5 สายพันธุ์ นั้นประกอบไปด้วยหมอนทอง ก้านยาว ชะนี หลินลับแล และที่สำคัญคือ พันธุ์พวงมณี นอกจากนี้ไม้ผลตัวอื่นที่ปลูกแซมในพื้นที่ก็ยังมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น มังคุด ส้มเขียวหวาน ส้มโอ และเงาะ แต่ที่เน้นส่งจำหน่ายและขายได้ราคาเป็นกอบเป็นกำก็คือ ทุเรียน

  • ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีจุดดี จุดเด่น ที่แตกต่างกันไป อย่าง หมอนทอง ก้านยาว หรือว่าชะนี ก็เป็นสายพันธุ์ตลาด หมายถึงว่า เป็นทุเรียนที่ตลาดต้องการ และคนรู้จักกันมาก ขายง่ายได้ราคาดี
  • ส่วนพันธุ์หลินลับแล นั้นเนื่องจากเป็นการเอาพันธุ์มาปลูกนอกพื้นที่ ทำให้ผลผลิตไม่ค่อยได้ตามที่ต้องการ เน้นไปทางปลูกกินเองซะมากกว่า
  • แต่ที่มาแรงและเป็นสายพันธุ์ที่แข่งกับพวกหมอนทอง ชะนี หรือก้านยาว ได้จริงๆ ก็คือ พวงมณี ซึ่งสายพันธุ์นี้คุณอำไพรให้ข้อมูลว่าเป็นพันธุ์ที่ไปเอามาจากปราจีนบุรี มาปลูกในพื้นที่นี้มีมากกว่า 20-30 ต้น เริ่มปลูกกันมาตั้งแต่เริ่มทำสวน เรียกว่าแทบจะกลายเป็นพันธุ์พื้นเมืองของกาญจนบุรีในขณะนี้ แม้ว่าความจริงพันธุ์ดั้งเดิมจะอยู่ที่ภาคตะวันออก แต่ก็สามารถปลูกในพื้นที่ราบสูงของกาญจนบุรีได้อย่างสบาย ที่สำคัญให้ผลผลิตดี รสชาติไม่ต่างจากในเขตพื้นที่เดิมแต่อย่างใด
5.ใช้เชือกฟางโยงกิ่ง-กิ่งจะได้ไม่หัก
5.ใช้เชือกฟางโยงกิ่ง-กิ่งจะได้ไม่หัก

ลักษณะของทุเรียนพันธุ์พวงมณี

พันธุ์พวงมณีเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของภาคตะวันออก แต่มีการปลูกกันมากในภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ของการ ปลูกทุเรียน พันธุ์พวงมณีมักเป็นการแซมไปกับสายพันธุ์อื่น ไม่ว่าจะหมอนทอง ชะนี หรือก้านยาว ถามว่าทำไมไม่มีใครคิดจะปลูกพันธุ์พวงมณีให้มีปริมาณมากๆ นั่นก็เพราะว่าถ้าเทียบกันแบบลูกต่อลูกแล้ว สายพันธุ์นี้ให้เนื้อน้อย ผลเล็ก และให้ผลผลิตต่อต้นต่ำ ถ้าเทียบกับหมอนทองแล้วจะแตกต่างกันมาก เพราะหมอนทองเป็นพันธุ์ที่ให้เนื้อเยอะ ผลใหญ่ ให้ผลผลิตต่อต้นมาก

แต่ถ้ามองในด้านรสชาติถือว่าสายพันธุ์พวงมณีมีดีไม่แพ้ใคร ไม่ว่าจะรสชาติที่หวานจัด เนื้อละเอียด สีเหลืองเข้ม นอกจากนี้ยังเป็นพันธุ์ที่ทนโรคกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ในแง่ธุรกิจไม่ถือว่าเป็นตัวหลัก เพราะข้อจำกัดด้านกายภาพ ทำให้ทุเรียนพันธุ์นี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากเท่าใดนัก

ทุเรียนพันธุ์พวงมณีนั้นโดยทั่วไปจะเป็นทุเรียนลูกเล็กๆ แต่มีเม็ดค่อนข้างใหญ่ หนักมากสุดก็ไม่เกินลูกละ 1.5 กก. ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 1 กก. เท่านั้น ลักษณะของลูกด้วยความที่เป็นทุเรียนขนาดเล็ก ทำให้ลูกดูกลมสวย ตูดแหลมเล็กน้อย คล้ายๆหมอนทองได้เหมือนกัน เนื้อในสีเหลืองทอง หวานน้อย มันอร่อย ถ้ามองกันแค่รสชาติถือว่าสู้ได้กับทุกสายพันธุ์ เพียงแต่ปริมาณเนื้อและจำนวนผลผลิตอาจไม่มาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สวนทุเรียนส่วนมากจึงไม่เน้นที่จะปลูกสายพันธุ์นี้กันสักเท่าไหร่ ส่วนลักษณะต้นของพันธุ์พวงมณีถือว่าเป็นพวกไม้เนื้อแข็ง ต่างจากทุเรียน หมอนทอง และชะนี ที่เป็นพวกไม้เนื้ออ่อนมากกว่า เนื้อไม้มีสีแดงเข้ม ใบเดี่ยวเวียนสลับ รูปใบรี (หรือเป็นรูปหอก) ด้านหลังใบเกลี้ยง เป็นมัน เส้นใบเป็นร่างแหหนาแน่น ด้านท้องใบมีขนรูปดาวสีทอง หรือสีเงินปกคลุมหนาแน่น ช่อดอกจะออกบนกิ่งเก่าเป็นกระจุกมีประมาณ 20-30 ดอก

เอกลักษณ์ของพันธุ์พวงมณี

เอกลักษณ์ที่สังเกตได้อีกอย่างของพันธุ์พวงมณีคือ มีหนามที่ใหญ่ แต่สั้น และมีจำนวนมาก เป็นทุเรียนที่ปลูกประมาณ 4-5 ปี ก็สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าพวกหมอนทอง ที่ต้องใช้เวลามากกว่า 6-7 ปี ในช่วงเวลาติดผล สำหรับพันธุ์พวงมณีนี้ใช้เชือกฟางโยงกิ่งอย่างเดียวก็เพียงพอ เพื่อเวลาที่ผลใหญ่ขึ้นกิ่งจะได้ไม่หัก ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำหรืออย่างอื่นเข้าช่วยก็เพราะว่าพันธุ์พวงมณีเป็นไม้เนื้อแข็ง กิ่งแต่ละกิ่งมีความแข็งแรงมากกว่าพวกหมอนทอง ชะนี และก้านยาว

การดูแล พวงมณี สบายกว่าหมอนทอง

เรื่องการดูแลก็สบายกว่าพวกหมอนทองที่ค่อนข้างอ่อนแอ ทุเรียนพันธุ์นี้ไม่ต้องเสียเวลาดูแลบ่อยๆ สามารถปล่อยไปตามธรรมชาติได้ เวลาส่วนมากถ้าเป็นสวนทุเรียนจึงเน้นไปในการดูแลพวกหมอนทองมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการซอยกิ่งตั้งแต่ต้นเล็กๆ เพื่อให้ต้นสวย กิ่งไม่แตกออกข้าง แต่พันธุ์พวงมณีไม่ต้องมาดูแลเรื่องนี้ เพราะว่าลักษณะต้นจะพุ่งสูงขึ้นไปมากกว่า ไม่มีปัญหาเรื่องกิ่งที่แตกออกข้าง จึงไม่ต้องการการดูแลเรื่องนี้มากนัก

6.ใช้ระบบสปริงเกลอร์ในการให้น้ำ
6.ใช้ระบบสปริงเกลอร์ในการให้น้ำ

วิธีการปลูกและดูแลรักษาทุเรียน

การ ปลูกทุเรียน พันธุ์นี้ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการ ปลูกทุเรียน ทั่วไป ซึ่งก็เป็นวิธีพื้นฐานที่ชาวสวนทั้งหลายต่างก็รู้กันดีว่าจะต้องเตรียมดินอย่างไร เตรียมหลุมอย่างไร ปรับปรุงดินอย่างไร ทุกอย่างเป็นสูตรมาตรฐานแต่เราจะมาพูดถึงการดูแลในส่วนเฉพาะของพันธุ์พวงมณีดีกว่า ที่เราบอกว่าทุเรียนพันธุ์นี้ไม่ต้องการการดูแลมากเท่าพวกหมอนทอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการดูแลเป็นพิเศษใดๆ เลย อย่างน้อยเทคนิคเหล่านี้ก็ทำให้พันธุ์พวงมณีสามารถออกผลผลิตได้ดี มีคุณภาพมากขึ้น เทคนิคสำคัญๆ ก็มีดังต่อไปนี้

1.การใส่ปุ๋ย จากปุ๋ยสูตรเสมอทั่วไป หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดก็ควรใส่ปุ๋ยเร่งก่อนช่วงปลายฝนประมาณ 1-2 เดือน เพื่อการรับลมหนาวที่จะมาเยือน ทั้งนี้ก็อาจจะต้องคอยฟังเรื่องสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าสภาพดินฟ้าอากาศต่อไปจะเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมโคนต้น แหวกโคน ดายหญ้า ซึ่งการทำที่ว่านี้อาจจะรวมไปถึงการทำให้พวกหมอนทองด้วยก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความพร้อมกับการรับมือสภาพอากาศที่อาจจะแปรปรวน มีผลต่อการติดดอก ติดลูก ได้

2.ในช่วงที่ลมหนาวพัดมา ดอกทุเรียนมักจะติดพร้อมๆ กันจนกระทั่งติดผล ในพวกหมอนทองไม่ต้องซอยผลเพราะถึงเวลาต้นจะสลัดผลไม่ดีทิ้งเอง แต่สายพันธุ์พวงมณีจะต้องซอยทิ้ง ถ้าไม่ซอยทิ้งผลใหญ่ขึ้นจะทำให้กิ่งหัก  เนื่องจากทุเรียนพันธุ์นี้ติดผลดก อันเนื่องมาจากดอกที่อยู่รวมกันเป็นกระจุก การซอยจึงต้องซอยให้ผลห่างๆ อย่าไว้เป็นกลุ่ม จะทำให้ดูแลรักษาได้ยาก แต่ถ้าเป็นต้นที่สูงมากๆ ก็ต้องใช้ไม้ติดใบมีดแทงผลเล็กๆ ออกในช่วงติดดอก ก่อนที่จะติดผล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.หมอนทองอาจใช้เวลาประมาณ 120 วัน หลังจากติดดอก จึงจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ แต่พวงมณีใช้เวลาแค่ 90 วันหลังจากติดดอก ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่ถ้าในช่วงเก็บเกี่ยวมีฝนตกชุกมาก ก็จำเป็นต้องใช้ยาป้องกันเชื้อราควบคู่กันไปด้วย

7.น้ำหมักชีวภาพกำจัดแมลง
7.น้ำหมักชีวภาพกำจัดแมลง

การป้องกันกำจัดโรค แมลง และศัตรูพืช

โรคที่ชาวสวนทุเรียนส่วนมากจะเจอก็จำพวกโรคเชื้อรา ไฟทอปทอรา โรคโคนเน่า รากเน่า ส่วนพวกแมลง เช่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ มด หรือหนอนด้วง สาเหตุของการเกิดโรคและแมลงก็มักจะมาจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ในสวนของคุณอำไพรนั้นไม่ค่อยจะเน้นการใช้สารเคมีมากนัก แต่จะเน้นการใช้สูตรน้ำหมักชีวภาพในการป้องกันและกำจัดแมลง ซึ่งสูตรน้ำหมักของคุณอำไพรก็มีหลายสูตร ไม่ว่าจะเป็นสูตรกำจัดเพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ มอดหรือหนอนด้วง โดยการใช้ใบมะกรูด ตะไคร้ สะเดา และพริก ผสมกัน ฉีดพ่นต้นทุเรียนเดือนละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่ออกดอก ติดผล

8.เก็บผลผลิตทุเรียน
8.เก็บผลผลิตทุเรียน
ผลผลิตทุเรียน
ผลผลิตทุเรียน

เทคนิคการดูแลรักษาต้นทุเรียน

การทำสวนทุเรียนนั้นจะว่ายากก็ยาก แต่ถ้ารู้เทคนิคที่ดีมากพอก็จะเป็นการทำสวนที่ให้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ สามารถขายได้ราคาดีตลอด ในที่นี้เราลองมาดูเทคนิคสำคัญที่ทำให้ผลผลิตทุเรียนออกมาดี มีคุณภาพ มีเรื่องใดสำคัญ หรือเรื่องใดที่คน ปลูกทุเรียน มองข้ามกันไปบ้าง

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

1.ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิต ในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้ โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด

2.การให้น้ำ ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้ามีฝนตกหนักควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่ง มีน้ำขัง ต้องพูนดินเพิ่ม ถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ ในปีต่อๆ ไป ควรดูแลรดน้ำให้ต้นไม้ผลอย่างสม่ำเสมอ และในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.การตัดแต่งกิ่ง  ปีที่ 1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ปีต่อๆ ไป ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งกระโดงในทรงพุ่ม กิ่งเป็นโรคออก เลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสม โดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร

4.การทำร่มเงาในช่วงฤดูแล้ง แสงแดดจัดมาก ทำให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทำร่มเงาให้

5.การใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทำโคน คือ ถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่ม หว่านปุ๋ย และพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่ม ให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้น ตามขนาดของทรงพุ่ม หรือจะใส่ปุ๋ย โดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรู หยอดปุ๋ยใส่ และปิดหลุม เป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม วิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหย หรือถูกน้ำชะพา

9.ต้นทุเรียนควรได้รับแสงแดดส่อง
9.ต้นทุเรียนควรได้รับแสงแดดส่อง

 

การดูแลในช่วงติดผลแล้ว

ตัดแต่งผล

ครั้งที่ 1 หลังดอกบาน 3-4 สัปดาห์ ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ผลขนาดเล็ก หรือผลต่างรุ่น ผลที่อยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น ปลายกิ่ง ด้านข้างของกิ่ง และผลที่ติดเป็นกระจุกใหญ่ๆ ออก เหลือผลที่ดีไว้มากกว่าที่ต้องการจริง 50 %
ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผลที่มีขนาดเล็กกว่าผลอื่นในรุ่นเดียวกัน ผลบิดเบี้ยว ผลที่มีอาการหนามแดง
ครั้งที่ 3 ตัดแต่งครั้งสุดท้าย ตัดผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยว ผลก้นจีบ ออก จะเหลือผลที่มีขนาดและรูปทรงสม่ำเสมอ ในปริมาณเท่ากับที่ต้องการจริง เมื่อตัดแต่งผลครั้งสุดท้ายเสร็จควรโยงกิ่งเพื่อป้องกันกิ่งหักจากน้ำหนักผลที่มากขึ้น  หรือโยงผลป้องกันผลร่วงในพื้นที่มีลมแรง

2.การใส่ปุ๋ย ควรเฉลี่ยใส่เป็นช่วงๆ เพื่อให้ต้นได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เช่น อาจแบ่งใส่ทุกๆ 25-30 วัน ในอัตราต้นละ 0.5-1.5 กิโลกรัม แทนที่จะใส่ครั้งเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคเบื้องต้นที่หลายสวนเองก็อาจจะเอาไปใช้แล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบ อ่านเมืองไม้ผลฉบับนี้แล้วเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้ ไม่แน่ว่าการ ปลูกทุเรียน ที่หลายคนคิดว่ายากอาจจะง่าย และอาจทำให้กลายเป็นเศรษฐีกันง่ายด้วยเทคนิคดีๆ ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์เหล่านี้

สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณอำไพร สุกรัตน์ 22/2 หมู่ 3 ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 71180 โทร.08-9980-2931