แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา ทำรองเท้าแตะหูหนีบ สำหรับพระสงฆ์ และคนทั่วไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การแปรรูปยางพารา เป็น ผลิตภัณฑ์ยางพารา

จังหวัดระยอง” เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองแห่งอุตสาหกรรม และยังเป็นที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการแปรรูปไม้ยางพารา ที่มีทั้งโรงงานผลิตวู้ดชิฟ หรือวู้ดเพลเลท การแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวของทุกคน อย่าง “รองเท้า” หนึ่งในนั้นก็คือ “รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์

ยี่ห้อ “ติณณ์” ที่ผลิตจากยางพาราแท้ สวมใส่นุ่มสบาย ไม่ลื่นน้ำ ทนทาน ที่สำคัญเป็นรองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์ ที่มีขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักพระวินัยสงฆ์กำหนดทุกประการ นอกจากนี้ยังมี “รองเท้าแตะสำหรับบุคคลทั่วไป” ที่มีให้เลือกหลากหลายสีสัน ดังนั้น “ติณณ์” จึงเป็นนวัตกรรมของยาพาราไทยที่มุ่งเน้นส่งเสริมการใช้ยางพาราที่ได้จากเกษตรกรไทย เข้าสู่กระบวนการผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าในเชิงการค้า

1.ผลิตภัณฑ์รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป
1.ผลิตภัณฑ์รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป
2.คุณภูมิพัฒน์-ทรัพย์สมบูรณ์-ผู้บริหาร-บริษัท-ไทย-อินโนวา-รับเบอร์-จำกัด
2.คุณภูมิพัฒน์-ทรัพย์สมบูรณ์-ผู้บริหาร-บริษัท-ไทย-อินโนวา-รับเบอร์-จำกัด

โดยข้อมูลดีๆ อย่างนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากทีมงาน นิตยสารยางเศรษฐกิจ ได้ลงพื้นที่เจาะลึกเรื่องอุตสาหกรรมยางพาราของจังหวัดระยองผ่านทางผู้ใหญ่ใจดีที่มากด้วยประสบการณ์และองค์ความรู้เรื่องยางพาราไทย อย่าง คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ ที่ได้สะท้อนเรื่องอุตสาหกรรมยางพาราไทยในหลากหลายมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยางพารา อุตสาหกรรมยางพารา และประเทศชาติ เป็นหลักสำคัญ

นอกจากนี้คุณอุทัยยังได้นำทีมงานฯ เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ และรองเท้าแตะยางพาราสำหรับพระสงฆ์ และสำหรับบุคคลทั่วไป เป็นนวัตกรรมชิ้นสำคัญของไทยที่รู้จักกันในนาม บริษัท ไทย อินโนวา รับเบอร์ จำกัด ที่มี คุณภูมิพัฒน์ ทรัพย์สมบูรณ์ และคุณพรทิพย์ ทรัพย์สมบูรณ์ เป็นผู้บริหาร ที่มีพื้นฐานด้านเครื่องกลไฟฟ้า ได้เปิดใจเผยถึงแรงจูงใจที่ต้องหันมาสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ และรองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป ให้ทราบว่า เดิมทีในอดีตเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2558) คุณภูมิพัฒน์ได้ทำงานประจำอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นงานที่ต้องดูแลเกี่ยวกับอาคาร และศูนย์การค้า ต้องรับผิดชอบดูแลในเรื่องนิติบุคคล กฎหมาย แม่บ้าน รปภ. และดูแลในเรื่องวิศวกรรมต่างๆ ภายใต้เครือแสนสิริ

จนกระทั่งวันหนึ่งถึงจุดอิ่มตัวเกี่ยวกับงานด้านนี้ จึงได้ลาออกมา และมีแนวคิดที่อยากจะเป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ หรือทำธุรกิจส่วนตัวซักอย่างหนึ่ง จึงได้ปรึกษากับคุณพรทิพย์ หรือคุณลี่ ภรรยาคู่ใจ ซึ่งขณะนั้นยังทำงานอยู่ที่ บริษัท โตโยต้า (ประเทศไทย) จำกัด ในพื้นที่เขตสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จึงมีแนวคิดและมีมติร่วมกันที่จะทำ “ธุรกิจรับซื้อเศษยาง ขี้ยาง ยางแผ่น”  ในตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

หลังจากนั้นจึงได้ลาออกจากงาน และหันมาดำเนินกิจการรับซื้อเศษยาง ยางแผ่น ตามที่ตกลงกันไว้ แต่ทุกอย่างแน่นอนว่าไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เพราะในการดำเนินกิจการนั้นมีปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น โดนโรงงานกดราคา โดนพ่อค้าด้วยกันเองกดราคา ซึ่งผู้ประกอบการหลายๆ รายที่ทำธุรกิจด้านนี้ ต่างก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน หรือไม่แตกต่างกันเลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สมมุติว่ายางลงพร้อมๆ กัน อีกเจ้าหนึ่งเขาตีเปอร์เซ็นต์ยางอยู่ที่ 58% แต่ยางของเราก็ลงใกล้ๆ กันกับเขา แต่ยางของเราตีเปอร์เซ็นต์แล้วได้ 52% ผมเลยถามว่าของผมกับเขาก็คล้ายๆ กัน ทำไมของผมได้เปอร์เซ็นต์ยางน้อยกว่า ซึ่งคำตอบที่ผมได้รับ คือ เพราะผมไม่ค่อยได้ส่งยางให้เขาเท่านั้นเอง” คุณภูมิพัฒน์ยืนยัน และเป็นบทเรียนครั้งสำคัญในการทำธุรกิจครั้งแรกของตนเอง

แต่ทว่าคุณภูมิพัฒน์ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น และเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ด้วยการหันมาทำ “ยางเครป” ซึ่งในช่วงแรก 1-2 เดือน นั้น ได้ราคาดีมาก มีกำไรถึง 10 บาท/กก. แต่มาระยะหลังๆ ราคายางเครปเริ่มแย่ลง ที่มีสาเหตุมาจากพ่อค้าด้วยกันเองเป็นคนทำเสียซะเอง คือ นำยางตายไปผสมกับยางก้อนถ้วย แล้วรีดออกมาให้เป็นยางเครปบ้าง ทำยางเครปออกมาแล้วสกปรกบ้าง

จึงทำให้จากเดิมที่เคยขายยางเครป และเคยมีกำไรกิโลกรัมละ 10 บาท ก็ลดลงมาเหลือเพียงกิโลกรัมละ 7 บาท ต่อมาก็ลดลงมาเหลือเพียง 5 บาท/กก. จนกระทั่งเหลือเพียง 1 บาท/กก. จึงต้องตัดสินใจเลิกทำยางเครปไป เพราะไม่คุ้มกับการลงทุน ทั้งค่าแรงงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าขนส่งด้วย

คุณภูมิพัฒน์ได้เปิดใจต่อไปว่าหลังจากนั้นก็ได้เริ่มต้นศึกษาต่อว่านอกจากการนำยางพารามาแปรรูปเป็นยางเครปแล้ว ยังสามารถนำไปต่อยอดทำอะไรได้อีก ซึ่งคำตอบที่ได้ คือ การทำ “ยางคอมปาวด์” ต่อมาจึงเริ่มศึกษาลึกลงไปอีกว่าการทำยางคอมปาวด์มีทั้งหมดกี่สูตร มีกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร ผลสุดท้ายก็คือ ต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่อีกครั้ง

พอเราไปศึกษาลงลึกจริงๆ แล้ว เราคิดว่าเราทำไม่ได้แน่นอน เนื่องจากยางคอมปาวด์มีเป็นร้อยๆ สูตร อยู่ที่ว่าเราจะนำไปใช้กับงานอะไร ซึ่งในแต่ละสูตรเขาจะมีส่วนผสมไม่เหมือนกัน เช่น ถ้านำไปทำพื้นรองเท้าจะต้องมีความแข็ง 50 ต้องทนโอโซน ต้องทน UV ต้องทนการสึกหรอ ต้องมีสีสันหลากหลาย ซึ่งยางคอมปาวด์ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดความต้องการนั้นๆ จึงเป็นที่มาว่ายางคอมปาวด์มีเป็นร้อยๆ สูตรนั่นเอง” คุณภูมิพัฒน์เปิดเผยการล้มเลิกแนวคิดในการทำ “ยางคอมปาวด์” หลังจากได้ทราบข้อมูลที่แท้จริง

3.การรับงาน-OEM-ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ให้กับบริษัท
3.การรับงาน-OEM-ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ให้กับบริษัท

จุดเริ่มต้นผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์

จนกระทั่งวันหนึ่งคุณภูมิพัฒน์มีโอกาสได้เข้าไปคุยงานเกี่ยวกับ “อะไหล่รถยนต์” จึงได้เปลี่ยนแนวคิดจาก “ผู้ผลิตยางคอมปาวด์” เปลี่ยนเป็น “ผู้ใช้ยางคอมปาวด์” แทน ด้วยการค่อยๆ ศึกษาเรื่องยางคอมปาวด์ ก่อนจะตัดสินใจตั้งบริษัทขึ้นมา ภายใต้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า บริษัท ไทย อินโนวา รับเบอร์ จำกัด ที่มีหุ้นส่วน คือ เพื่อนๆ กัน ที่นับถือกันมาก เคยทำงานที่บริษัทเดียวกันมาก่อน โดยหุ้นส่วนคนแรกจบปริญญาโท และถนัดด้านการคุมไลน์ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ส่วนหุ้นส่วนคนที่ 2 จบปริญญาตรี เกียรตินิยมวิศวเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถนัดในการดูแลและควบคุมระบบ Drowning ในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพื่อให้ได้ขนาดตามที่กำหนด ให้ตรงตามแบบ และให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดทุกอย่าง ที่สำคัญเป็นเพื่อนที่ได้ลาออกจากงานประจำเพื่อหันมารับซื้อขี้ยาง และเศษยาง เหมือนกัน ซึ่งต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันทั้งหมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยงานชิ้นแรกของบริษัท คือ งานอะไหล่รถยนต์ ในลักษณะ OEM ที่มีการรับงานต่อมาจากบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเดิมที่หุ้นส่วนทั้ง 2 เคยทำงานมาก่อน ส่วนการทำงานในลักษณะOEM (Original Equipment Manufacturer)นี้ ก็คือ การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง และโรงงานที่ไม่มีความชำนาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ อีกทั้งการรับงานในลักษณะ OEM มีข้อดี ดังนี้

1.ด้านผู้ประกอบการ OEM

-ไม่ต้องลงทุนด้านการวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบตราสินค้า

-ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า

-ลดความเสี่ยงทางด้านการหาตลาดเอง

2.ด้านผู้จ้างผลิตสินค้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ลดต้นทุนการผลิต โดยสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำได้

-เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัว หากต้องเปลี่ยนลักษณะ หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ

อย่างไรก็ตามการจ้างผลิตนั้น เจ้าของแบรนด์ที่มีการวิจัยและพัฒนาด้วยตนเองจะต้องมีการกระจายเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ให้กับโรงงานที่รับจ้างผลิต ซึ่งแม้จะมีสัญญากำกับควบคุมการนำ Know How ที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้งานอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่ความรู้เหล่านี้อาจจะกระจายออกไปสู่คู่แข่งและก่อให้เกิดสินค้าเลียนแบบได้เร็วขึ้น ดังนั้นผู้จ้างผลิตควรจะเลือก outsource การผลิตเฉพาะสินค้าที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยี หรือ Know How รุ่นเก่า ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วในอุตสาหกรรม และควรหลีกเลี่ยงการจ้างผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ควรสงวนการผลิตสินค้าใหม่ไว้ในโรงงานของตนเอง (ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)

4.งานลักษณะ-OEM-ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์
4.งานลักษณะ-OEM-ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์

ปัญหาและอุปสรรค

คุณภูมิพัฒน์ยืนยันว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาบริษัทได้ประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย ด้วยความใหม่ในวงการทำให้ปีแรกบริษัทขาดทุนไปร่วมล้านกว่าบาท นั่นเป็นเพราะบริษัทยังขาดประสบการณ์ และ “ความชำนาญ”ในด้านการผลิตสินค้า ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้งานที่ผลิตออกมานั้นเกิดความเสียหายค่อนข้างมาก เช่น ตัวกระชากเบรกในรถยนต์ที่มีต้นทุนการผลิต 13.50 บาท/ชิ้น ที่บริษัททำเสียหายไปมากกว่า 1,600 ชิ้น ทำให้ต้องผลิตใหม่ ซื้อยางเพิ่มขึ้นอีกเป็น 100 กว่ากิโลกรัม และยังต้องเสียเวลาในการขึ้นงานใหม่ทั้งหมด ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ กว่าจะซ่อมงานให้ได้ 1 ชิ้น ต้องทำการซ่อมมากกว่า 15 จุด ซึ่งเป็นบทเรียนราคาแพงที่สุดสำหรับบริษัทน้องใหม่อย่างเราในเวลานั้น

เมื่อมีอุปสรรคและปัญหาก็ต้องทำการแก้ไขและปรับปรุงเพื่อการเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะ “ด้านการบริหารแรงงาน” จากเดิมที่โรงงานมีพนักงานทั้งหมด 16 คน มีเครื่องจักรทั้งหมด 9 เครื่อง จึงได้ปรับเปลี่ยนให้มีพนักงานคอยคุมเครื่อง 2 คน/เครื่อง มีพนักงานตัดแต่ง 3 คน/เครื่อง ดังนั้นการทำงานระบบใหม่จึงจำเป็นต้องใช้พนักงานค่อนข้างมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ หุ้นส่วนทั้ง 2 คน ซึ่งเป็นเพื่อนกันนี้ได้ขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วน หลังทุกอย่างเกิดความผิดพลาดขึ้นตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยหุ้นส่วนคนแรกขอออกไปดูแลคุณแม่ที่กำลังป่วยหนัก และหุ้นส่วนอีกคนขอกลับไปทำงานที่เดิม สรุปคือ หุ้นส่วนทั้ง 3 คน ไม่ได้ทะเลาะกัน ทุกอย่างเป็นเพียงปัญหาในด้านการดำเนินธุรกิจ ทุกฝ่ายจบกันด้วยดี

5.ตรวจสอบคุณภาพงาน-OEM-ก่อนส่งมอบให่ลูกค้า
5.ตรวจสอบคุณภาพงาน-OEM-ก่อนส่งมอบให่ลูกค้า
งาน-OEM-ที่รอส่งมอบให้่กับลูกค้า
งาน-OEM-ที่รอส่งมอบให้่กับลูกค้า

การบริหารงาน คนงาน และเครื่องจักร

หลังจากหุ้นส่วนแยกย้ายกันไป ทำให้คุณภูมิพัฒน์หวนกลับมาทบทวนปัญหา และสกัดหาจุดอ่อนที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด ด้วยเหตุและผล ทั้งเรื่องการบริหารงาน การบริหารคนงาน และการจัดการเครื่องจักร ที่ผ่านมา ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องแก้ไข คือ การ “รับงาน OEM” ที่รับงานมาหลายรายการ นับจากนี้จะมุ่งเน้นการรับงานที่ทำแล้วมีกำไร ส่วนงานไหนที่ทำแล้วขาดทุนมากที่สุดก็ต้องขอคืนงานให้กับบริษัทไป การแก้ไขในลำดับต่อมา คือ การ “ลดจำนวนเครื่องจักรลง” หากเครื่องจักรส่วนไหนที่ไม่จำเป็นก็ต้องถอดออก เพื่อลดภาระด้านการดูแล การจัดการ และลดจำนวนพนักงานที่ดูแลประจำเครื่องลง การแก้ไขส่วนสุดท้าย คือ การปรับเปลี่ยนเรื่อง “พนักงาน” จากเดิมที่เคยใช้คนงานเป็นจำนวนมากต่อเครื่อง ก็ได้ปรับลดจำนวนลงมาให้เหลือเพียง 1 คน ต่อ 2 เครื่องจักรในขณะที่ “พนักงานตัดแต่งงาน” ที่เคยใช้ทั้งหมด 3 คน ต่อเครื่อง ก็ปรับลดให้เหลือเพียง 1 คน/เครื่อง เท่านั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดด้านการบริหารจัดการ อยู่ได้ด้วยกันทุกฝ่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการบริการครั้งนี้ เกิด “ผลบวก” แก่บริษัท คือ หลังจากที่ปรับลดทุกอย่างแล้วก็ทำงานเดินไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาด้านการจัดการ จากเดิมที่บริษัทเคยประสบปัญหาภาวะขาดทุนก็เริ่มมีกำไรกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทอยู่ได้ และอยู่รอด มาจนถึงทุกวันนี้ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ “การทำงาน OEM เขากำหนดราคามาให้ เขารู้ว่ามีกำไรส่วนต่างเท่าไหร่ เราต้องทำตามแผนการผลิตของเขา สำหรับเรา เวลาเราคิดกำไรบน Excel มันมีกำไรทุกตัว แต่เวลาทำงานจริง ตัวที่ได้จริงมีกำไร ถ้ามีตัวที่เสียนั่นคือขาดทุน หรือเสมอตัว การรับงาน OEM จึงเป็นสิ่งที่เราทำได้ เพราะต้นทุนต่ำกว่าเขา ไม่ต้องมี ISO ไม่ต้องมีการตรวจสอบ หรือAudit ดังนั้นงาน OEM จึงไม่ค่อยได้ราคา ถ้าเราไม่ทำตามแผนที่เขาวางไว้ แต่สำคัญ คือ การบริหารจัดการของเรา ถ้าทำได้ก็กำไร ซึ่งบริษัทผมก็ไม่เคยขาดทุนอีกเลย ก็มีกำไรมาตลอด” คุณภูมิพัฒน์ให้มุมมองในการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสทางธุรกิจ

6.พนักงานใช้เครื่องจักรผลิตรองเท้าแตะ
6.พนักงานใช้เครื่องจักรผลิตรองเท้าแตะ
หูหนีบรองเท้าที่รอการผลิตรองเท้าแตะ
หูหนีบรองเท้าที่รอการผลิตรองเท้าแตะ
พื้นรองเท้าที่มีโลโกและยี่ห้ออยู่ด้วย
พื้นรองเท้าที่มีโลโกและยี่ห้ออยู่ด้วย
แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา ทำรองเท้าแตะหูหนีบ สำหรับพระสงฆ์ และคนทั่วไป
แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา ทำรองเท้าแตะหูหนีบ สำหรับพระสงฆ์ และคนทั่วไป

จุดเริ่มต้นของการผลิตรองเท้าแตะ ยี่ห้อติณณ์

เมื่อคุณภูมิพัฒน์ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทุกอย่างภายในบริษัทจนเข้าที่ มีประสบการณ์ มีความชำนาญ และมีกำไรแล้ว จึงมีแนวคิดที่อยากจะทำสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเองขึ้นมา อยากสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมาเพื่อเป็นงานเสริมให้กับบริษัท นอกเหนือจากงาน OEM ประกอบกับช่วงนั้นรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหันมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าจาก “ยางพารา” ภายในประเทศ ที่กำลังล้นตลาดในช่วงนั้นพอดี ซึ่งเป็นรัฐบาลในยุค คสช.นี่เอง

จุดเริ่มต้น คือ ยางพาราราคาตกต่ำมาก จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณ 30,000 ล้านบาท ด้วยการส่งเสริมให้โรงงานซื้อเครื่องจักร และขยายโรงงาน ภายใต้ “โครงการประชารัฐ” ซึ่งบริษัทคุณภูมิพัฒน์เป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าข่ายในโครงการนี้ จึงได้มีการเข้าร่วมโครงการเพื่อขยายต่อเติมโรงงานเพิ่มขึ้น ขณะที่การสร้างแบรนด์ของบริษัทในช่วงแรกนั้น บริษัทมีแนวคิดที่จะผลิต “รองเท้าแตะ” ขึ้นมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตรองเท้าแตะยี่ห้อ “ติณณ์”

เนื่องจากเครื่องจักรของบริษัทที่มีอยู่เป็นเครื่องคอมเพรสชั่น เน้นงานที่ออกมาเป็นรูปร่าง เป็นงาน OEM ที่ขึ้นอยู่กับแม่พิมพ์ ดังนั้น “รองเท้าแตะ” จึงสามารถนำมาเป็นงานเสริมได้ในช่วงที่เครื่องจักรว่างจากการทำงาน OEM ที่ต้องมี “แม่พิมพ์” พื้นรองเท้าแตะ และแม่พิมพ์ “หูรองเท้า” อีกทั้งบริษัทยังมุ่งเน้นการผลิต “รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์

เนื่องจากยังไม่มีใครผลิต ไม่ค่อยมีรองเท้าแตะประเภทนี้วางจำหน่ายในท้องตลาดเท่าที่ควร จึงเป็นจุดแข็งด้านการผลิตและตลาดที่ดี นอกจากนี้บริษัทยังได้รับความเมตตาจากพระ ท่านได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ของ “รองเท้าพระ” ซึ่งไม่มีใครรู้เลยจริงๆ ว่ารองเท้าพระนั้นมีกฎระเบียบมากมายตามหลักพระวินัยสงฆ์ที่ได้กำหนด ดังนี้

1.พึงสวมรองเท้าชั้นเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ห้ามสวมรองเท้าสีล้วน เช่น สีดำล้วน เป็นต้น

3.ห้ามสวมรองเท้าหูสี เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง

4.ห้ามสวมรองเท้าหุ้มส้น หรือปกหลังเท้า

5.ห้ามสวมรองเท้าขลิบหนังต่างๆ

ดังนั้นจะเห็นว่า “รองเท้า” ที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดส่วนใหญ่นั้นจะเป็นรองเท้าที่ผิดระเบียบ บริษัทจึงได้นำความรู้ทั้งหมดมาพัฒนาผลิตเป็นสินค้าขึ้นมา เพื่อให้ได้ “รองเท้าสำหรับพระสงฆ์” ยี่ห้อ “ติณณ์” ที่ผลิตจากยางพาราแท้ ไม่ลื่นน้ำ ทนทาน สวย ใส่สบาย อายุการใช้งานยาวนาน คุ้มค่า และยังเป็นรองเท้าที่ได้มีการออกแบบ มีขั้นตอนการผลิตตรงตามข้อกำหนดพระวินัยสงฆ์ทุกประการ ดังนั้น ติณณ์…จึงเป็นรองเท้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อพระสงฆ์โดยเฉพาะอย่างตั้งใจ เน้นผลิตและจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัท และร่วมออกบูธจัดแสดงสินค้ากับภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ส่วนที่มาของรองเท้าสำหรับพระสงฆ์ ยี่ห้อ “ติณณ์” มาจากคำว่า “ติณณ์” แปลว่า ผู้ข้ามพ้นความทุกข์ เป็นชื่อและโลโก้ที่ได้คัดเลือกไว้นานเป็นปีๆ แต่ไม่ได้นำมาใช้ เมื่อจะนำมาใช้กลับใช้เวลาคิดไม่ถึง 10 นาที จึงเป็นที่มาในการตั้งชื่อแบรนด์ว่า “ติณณ์” ส่วนโลโก้ คือ การนำใบยางมาวาง และดึงไปดึงมา จนกระทั่งกลายเป็นแบรนด์ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

7.การขึ้นงานไว้รอผลิตรองเท้าแบบหูเหนีบและแบบสวมใส่
7.การขึ้นงานไว้รอผลิตรองเท้าแบบหูเหนีบและแบบสวมใส่
รองเท้าหูหนีบสำหรับพระสงฆ์
รองเท้าหูหนีบสำหรับพระสงฆ์
รองเท้าหูหนีบสำหรับบุคคลทั่วไป
รองเท้าหูหนีบสำหรับบุคคลทั่วไป
รองเท้าแบบสวมสำหรับบุคคลทั่วไป
รองเท้าแบบสวมสำหรับบุคคลทั่วไป

การผลิตรองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป

เมื่อบริษัทประสบความสำเร็จในการทำรองเท้าสำหรับพระสงฆ์ยี่ห้อ “ติณณ์” แล้ว บริษัทได้มีการพัฒนาต่อยอดผลิตรองเท้าแตะสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นมารองรับ จนกระทั่งได้มีการออกแบบรองเท้าสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสีสันสวยงาม หลากหลายสีสัน เพื่อเป็นจุดเด่นให้กับสินค้า ยิ่งไปกว่านั้นลูกค้าบางท่านได้ให้ข้อมูลกับทางบริษัทว่าเขาใส่รองเท้าแบบหูหนีบไม่ได้ ทำให้ทางบริษัทได้มีการออกแบบเพิ่มเติมโดยการเปลี่ยนจากรองเท้าหูหนีบให้เป็นรองเท้าหูหนีบสานไขว้กัน ให้เป็นรองเท้าแบบสวมเพื่อให้สวมใส่สบายมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิต “รองเท้าแบบสวม” ขึ้นมาด้วย ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รองเท้าแตะสำหรับพระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป ภายใต้การผลิตของ “ติณณ์้” จึงเป็นรองเท้าที่สวมใส่สบาย ผลิตจากยางพาราแท้ ไม่ลื่น ยึดเกาะพื้นได้ดีมาก ทนทาน ไม่หดง่าย เนื่องจากเป็นรองเท้าที่ผลิตจากยางแผ่นเดียวกัน มีหลากหลายสีสัน มีหลายขนาดให้เลือก มีทั้งหูหนีบ และแบบหูไขว้ หรือแบบสวม ดังนั้นจุดเด่นด้านรองเท้าของ “ติณณ์” คือ มีพื้นรองเท้าทั้งหมด 2 สี คือ สีน้ำตาล และสีเหลืองอ่อน นอกจากนี้ยังมีสีของหนูหนีบให้เลือกมากกว่า 7 สี ได้แก่ สีแดง ดำ น้ำเงิน ขาว เขียว น้ำตาล เหลืองอ่อน และยังมีหูหนีบรองเท้าที่ผลิตจากยางพาราแบบซิลิโคนใสด้วย

8.ขนาดรองเท้าที่ได้กำหนดเอาไว้
8.ขนาดรองเท้าที่ได้กำหนดเอาไว้ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา 

การต่อยอดการผลิตและการแปรรูปยางพารา

องค์ประกอบหลักที่ยกให้ “ติณณ์” เป็นนวัตกรรมด้านการแปรรูปยางพาราไทยเพราะ “ติณณ์” ได้มีการนำยางพาราที่มีอยู่เป็นจำนวนมากภายในประเทศไทยมาแปรรูปเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้า เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการใช้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นพิษ ประกอบกับในช่วงแรกของการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจนั้น รัฐบาลได้มีการส่งเสริมเรื่องการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ รณรงค์การให้หันมาใช้ยางพาราที่มีอยู่ภายในประเทศไทย ภายใต้สภาวะที่ราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำ ผลิตภัณฑ์ยางพารา 

ซึ่งเป็นที่มาในการจัดสรรงบประมาณจำนวน 30,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการประชารัฐ ที่เป็นแรงให้ติณณ์เข้าร่วมโครงการในครั้งนั้นด้วย จนกระทั่งได้งบประมาณจากโครงการนี้เข้ามาต่อเติมโรงงานเพื่อต่อยอดการผลิต และการแปรรูปได้ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา

9.การออกบูธและจำหน่ายรองเท้าแตะหูหนีบ-ยี่ห้อติณณ์
9.การออกบูธและจำหน่ายรองเท้าแตะหูหนีบ-ยี่ห้อติณณ์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา

การออกบูธเปิดตัวผลิตภัณฑ์รองเท้าแตะหูหนีบ ยี่ห้อติณณ์

คุณภูมิพัฒน์ได้เผยถึงที่มาของรางวัลที่สืบเนื่องจากการหันมาผลิตสินค้า และสร้างแบรนด์เอง จนกระทั่งมีโอกาสได้นำผลิตภัณฑ์เข้าร่วมประกวดในโครงการ SME ของจังหวัดระยอง ได้รับรางวัลติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อน ต่อมาบริษัทได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดในระดับประเทศ ที่มีการคัดเลือกผลงานจากทั่วประเทศหลายร้อยราย ก่อนจะทำการคัดเลือกให้เหลือเพียง 80 ราย ก่อนจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 50 ราย เพื่อไปร่วมออกบูธกับโครงการ

หลังจากนั้นจะต้องคัดเลือกให้เหลือเพียง 30 ราย เพื่อแข่งขันกันอีกครั้ง ก่อนจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 10 ราย โดยบริษัท ไทย อินโนวา รับเบอร์ จำกัด ติด 1 ใน 10 รายนั้น เนื่องด้วยคุณภูมิพัฒน์นั้นภารกิจไม่สามารถไปสาธิตผลงานได้ด้วยตนเองในรอบสุดท้าย จึงทำให้บริษัทได้รับรางวัลในลำดับที่ 10 เท่านั้น

คุณภูมิพัฒน์ยืนยันว่าผลที่ได้จากการออกบูธร่วมกับภาครัฐและเอกชน ทำให้บริษัทได้รับการตอบรับจากตลาดและลูกค้าเป็นอย่างดี นอกจากนี้บริษัทยังได้มีการทำตลาดบนตลาดออนไลน์ อย่าง LAZADA ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าทุกเพศ ทุกวัย การซื้อง่าย ขายสะดวกขึ้น จึงส่งผลให้มีลูกค้าสั่งซื้อรองเท้าสำหรับพระสงฆ์เข้ามาประมาณ 9-10 คู่/ราย เพื่อนำไปถวายพระ นอกจากนี้ก็ยังมียอดการซื้อเป็น 100 คู่ สำหรับกลุ่มคณะที่ต้องการทำบุญ และซื้อรองเท้าถวายพระ เนื่องจากรองเท้าแตะของบริษัทที่ผลิตขึ้นนั้นถูกต้องตามกฎพระวินัยทุกอย่าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจรองเท้าสำหรับพระสงฆ์ และสำหรับบุคคลทั่วไป ติดต่อ บริษัท ไทย อินโนวา รับเบอร์ จำกัด (TIR)

คุณพรทิพย์ ทรัพย์สมบูรณ์ และคุณภูมิพัฒน์ ทรัพย์สมบูรณ์ 338/53 ม.1 ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 21210โทร.096-989-2961, ID: Tinn.thailand, Fax.038-666-420, E-mail:[email protected], www.tinnthailand.com ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา