พันธุ์ไส้เดือน การขยายพันธุ์ไส้เดือน และเทคนิค เลี้ยงให้ได้ มูลปุ๋ยไส้เดือนคุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

ตามหลักการทางธรรมชาติวิทยานั้น ไส้เดือนถือว่าเป็นสัตว์ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของดินเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยให้ดินนั้นมีความร่วนซุย และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งเมื่อดินดีการจะปลูกพืชหรือทำการเกษตรใดๆ ก็จะช่วยให้ได้ผลผลิตเต็มที่ พันธุ์ไส้เดือน

ซึ่งวิธีที่ไส้เดือนใช้นั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวิธีการทางธรรมชาติที่ช่วยให้ดินนั้นสามารถเป็นดินที่ดีได้ และถ้าดินที่ใดมีไส้เดือนอยู่ แสดงว่าดินบริเวณนี้เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างแน่นอน ถึงได้บอกว่าถ้ามีไส้เดือนดินก็จะดี ผลผลิตก็จะมีคุณภาพตามไปด้วย

1.ไส้เดือนสัตว์ไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์ ผู้ช่วยตัวน้อยในดิน
1.ไส้เดือนสัตว์ไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์ ผู้ช่วยตัวน้อยในดิน

การเพาะเลี้ยงไส้เดือน 

ไส้เดือนนั้นถ้ามองภายนอกอาจจะเป็นสัตว์ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ชอบ แต่จริงๆ แล้วไส้เดือนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากเท่าไหร่นัก กลับกันไส้เดือนมักจะป้องกันโดยวิธีขดตัวเข้าหากัน เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากภายนอก อีกทั้งไส้เดือนเองก็ยังมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์แบบตัวเล็กจนไปถึงสายพันธุ์ที่มีลักษณะตัวใหญ่ ซึ่งไส้เดือนนั้นเหมาะกับการช่วยปรับปรุงและบำรุงดินให้มีสภาพดินที่ดีขึ้น

ซึ่งในปัจจุบันก็มีแหล่งเพาะพันธุ์ไส้เดือนมากมายหลายที่ หลายสายพันธุ์ ในประเทศไทย เพราะว่าความต้องการไส้เดือนนั้นเริ่มเป็นที่ต้องการมากในตลาด  นอกจากจะช่วยในเรื่องของดินแล้ว  ไส้เดือนยังสามารถเป็นอาหารให้กับ พ่อแม่พันธุ์ปลาได้อีกด้วย ถึงแม้จะมองดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ไส้เดือนนั้นมีค่าทางการเกษตรเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นขุมทรัพย์ในดินเลยก็ว่าได้

ไส้เดือน ก็คือ สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งที่ชอบอยู่ในดินโดยจะต้องเป็นดินที่มีความชื้นที่เหมาะสมด้วย และที่สำคัญเลยไส้เดือนเองก็เป็นสัตว์ที่ช่วยในเรื่องของการรักษาสภาพดิน และปรับปรุงดินให้มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี นอกจากนี้เกษตรกรเชื่อว่าถ้าดินบริเวณใดมีไส้เดือนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แสดงว่าดินบริเวณนั้นเป็นดินที่ดี อีกทั้งไส้เดือนเองก็เป็นสัตว์ที่ค่อนข้างขี้กลัว จึงทำให้มีการป้องกันตัวตลอดเวลา เป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สามารถนำไส้เดือนเป็นอาหารสัตว์น้ำช่วยในการบำรุงให้พ่อแม่พันธุ์ปลานั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น เห็นได้เลยว่าไส้เดือนนั้นเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายเป็นอย่างมาก เรามาเริ่มทำความรู้จักกับไส้เดือนให้มากขึ้นกันดีกว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.เพาะเลี้ยงไส้เดือนในเรื่องของการทำปุ๋ย
2.เพาะเลี้ยงไส้เดือนในเรื่องของการทำปุ๋ย

ประโยชน์ของไส้เดือน

เรามาทำความรู้จักกันกับไส้เดือนก่อนดีกว่าว่าไส้เดือนนั้นคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับการเกษตร ที่สำคัญวิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนนั้นทำได้อย่างไร มีกี่สายพันธุ์กันบ้าง

โดยไส้เดือนนั้นปกติแล้วถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นสัตว์สร้างประโยชน์มากกว่าให้โทษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะไส้เดือนดิน หรือเรียกสั้นๆ ว่า ไส้เดือน ที่เป็นคำติดปากสำหรับคนเรา ซึ่งตัวไส้เดือนดินนั้นจะช่วยให้โครงสร้างของดินนั้นดีขึ้น โดยไส้เดือนจะทำการชอนไชทำให้ดินนั้นมีความร่วนซุยมากขึ้น ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้น โดยไส้เดือนดินนั้นสามารถไชลงใต้ดินได้ถึง 20 เมตร เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการชอนไชดินนั้นเป็นวิธีการทางธรรมชาติ อีกทั้งตัวไส้เดือนเองก็ยังมีประโยชน์ต่อพืชเป็นอย่างมาก

ทำไมถึงมีประโยชน์ต่อพืช คือ จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้เป็นอย่างดี และยังมีส่วนช่วยให้สามารถรับรู้ได้ว่ามีสารเคมีตกค้างอยู่ในดินหรือไม่ เพราะว่าถ้ามีสารเคมีตกค้างในดิน ดินนั้นก็จะไม่มีไส้เดือนอาศัยอยู่

ปัจจุบันเราได้มีการนำไส้เดือนมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการย่อยสลายอินทรีย์เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก อีกทั้งยังใช้ไส้เดือนเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงอีกด้วย ซึ่งไส้เดือนนี้จะเหมาะกับการเป็นอาหารสัตว์จำพวกปลาสวยงาม กบ และยังเป็นเหยื่อไว้ใช้ตกปลาอีกด้วย

3.เลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ และเพิ่มปริมาณไส้เดือนได้ดีขึ้น
3.เลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ และเพิ่มปริมาณไส้เดือนได้ดีขึ้น

สายพันธุ์ไส้เดือน 

โดยไส้เดือนนั้นเป็นสัตว์ที่ช่วยในเรื่องของภาคการเกษตร แต่รู้หรือไม่ว่าไส้เดือนนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์เป็นอย่างมาก โดยในเมืองไทยนั้นอาจจะพบเห็นได้แค่ไม่กี่สายพันธุ์ ครั้งนี้เราจะดูกันว่าไส้เดือนที่นิยมเลี้ยงในการทำปุ๋ย หรือช่วยในเรื่องของดินนั้นมีกี่สายพันธุ์กัน

โดยไส้เดือนที่ได้รับความนิยมในเรื่องของการนำมาใช้ผลิตปุ๋ยนั้น ปกติแล้วจะมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ อายซิเนีย ฟูทิดา, สายพันธุ์ ยูดริลัส ยูจีนิแอ, สายพันธุ์ลัมบริคัส รูเบลลัส และสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา ซึ่งทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ต่างก็มีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละพื้นที่ที่นำมาใช้ในเรื่องของการผลิตปุ๋ย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สายพันธุ์อายซีเนีย

จะมีลักษณะเป็นไส้เดือนสีแดง มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก โดยลำตัวนั้นจะมีสีแดงสด และสามารถ มองเห็นปล้องแต่ละปล้องได้ โดยสายพันธุ์นี้จะสามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีกลิ่นตัวที่แรง ลำตัวยาวประมาณ 35-130×3-5 มิลลิเมตร ปลายหางจะออกสีเหลือง มีอายุประมาณ 4-5 ปี แต่ถ้าเลี้ยงในบ่อก็จะมีอายุประมาณ 1-2 ปี วิธีการสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ โดยจะมีการสร้างถุงไข่ประมาณ 150-190 ถุงต่อตัวและต่อปี สามารถสร้างไข่ได้ 900 ฟองต่อปีและต่อตัวแม่พันธุ์เลยทีเดียว อีกทั้งระยะเวลาในการฟักไข่จะอยู่ที่ 1 เดือน หรือ 40 วันขึ้นไป แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วยเช่นกัน ระยะเวลาในการเติบโต 3-6 เดือน กินซากพืช ซากสัตว์ เป็นอาหาร และชอบอยู่ตามผิวดิน

สายพันธุ์ ยูดริลัส

เป็นสายพันธุ์ที่จะมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าสายพันธุ์แรก โดยขนาดตัวอยู่ที่ 130-250×5-8 มิลลิเมตร ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลปนแดงเทา สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ จับคู่ในดิน มีอายุประมาณ 4-5 ปี และสร้างถุงไข่ได้ 162-188 ถุงต่อตัวต่อปี เวลาในการฟักตัว 13-27 วัน การเติบโตนั้นประมาณ 6-10 เดือน ชอบอาศัยอยู่ที่ผิวดิน กินเศษพืชอินทรียวัตถุเป็นอาหาร

สายพันธุ์ลัมบริคัส

ขนาดลำตัวจะใกล้เคียงกับสายพันธุ์อายซีเนีย โดยมีขนาดลำตัว 60-150 มิลลิเมตร กว้าง ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร โดยสายพันธุ์นี้จะชอบอาศัยอยู่ในมูลสัตว์ และจับคู่ในดิน มีอายุประมาณ 2-3 ปี โดยระยะเวลาเติบโตนั้นจะอยู่ที่ 5-6 เดือน ก็โตเต็มที่แล้ว

สายพันธุ์ฟีเรททิมา

ขนาดตัวของสายพันธุ์นี้จะพอๆ กับสายพันธุ์ยูดริลัส โดยลำตัวจะอยู่ประมาณ 130-200 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ลำตัวนั้นจะออกสีน้ำตาลแดงเข้ม มีอายุประมาณ 2-4 ปี อาศัยตามผิวดิน มูลสัตว์ เศษหญ้า สายพันธุ์นี้จะผลิตถึงไข่ได้น้อยกว่าทุกสายพันธุ์

ไส้เดือนสายพันธุ์นี้จะเป็นไส้เดือนดินที่สามารถพบได้อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมถึงในประเทศไทยด้วยนั่นเอง โดยจะมีลำตัวกลมขนาดปานกลาง และใกล้เคียงกับสายพันธุ์แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ อีกทั้งไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้นับว่าเป็นไส้เดือนที่สามารถพบในประเทศไทยได้มากที่สุด รวมไปถึงยังเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาเลี้ยง เพราะเลี้ยงได้ง่าย และสามารถเข้ากับสภาพอากาศในเมืองไทยได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เหมาะแก่การนำมาเลี้ยงเพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักเป็นอย่างมาก

4.ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
4.ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

สภาพพื้นที่เลี้ยงไส้เดือนดิน

โดยทั่วไปนั้นไส้เดือนดินจะเป็นชื่อเต็ม แต่คนทั่วไปจะเรียกแค่ว่าไส้เดือน โดยไม่มีคำว่าดินต่อท้าย ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาและต่อยอดจากไส้เดือนดินเป็นอาหารสัตว์มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้ปัจจุบันได้มีการพบอาหารทางธรรมชาติมากขึ้น ไส้เดือนจึงมีชื่อเรียกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไส้เดือนทะเล ไส้เดือนน้ำ ทำให้นักวิชาการในปัจจุบันมองว่าถ้าไส้เดือนอยู่ในดินก็ควรจะเรียกไส้เดือนดินน่าจะเหมาะสมที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยปกติแล้วนิสัยของไส้เดือนดินนั้นจะเป็นไส้เดือนที่ชอบอยู่ตามดินที่มีความร่วนซุยเป็นอย่างมาก โดยจะคลานหาอาหารบริเวณผิวดินเป็นหลัก และจะค่อยชอนไชลงสู่ผิวดินของช่องว่างดิน ซึ่งการชอนไชของไส้เดือนนี่เองที่เป็นตัวช่วยทางกายภาพของดิน ให้ดินมีความร่วนซุยและดียิ่งขึ้น

นอกจากจะช่วยให้ดินดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ดินมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพิ่มช่องว่างในดิน ช่วยในเรื่องของการอุ้มน้ำในดิน และทำให้น้ำไหลผ่านได้ง่าย จึงทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา พอดินดีขึ้นก็จะช่วยให้พืชที่จะนำมาปลูกนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีตามไปด้วย โดยรากของพืชนั้นจะสามารถแทรกซึมสู่ผิวดินได้ง่ายขึ้น ทำให้พืชนั้นมีการเจริญเติบโตได้เต็มที่ มีคุณภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ไส้เดือนเองก็ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการทำปุ๋ยในดิน โดยการขับถ่ายของไส้เดือนนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นอย่างมาก เพราะว่ามูลของไส้เดือนนั้นมีธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อดินทำให้ช่วยปรับปรุงดินได้ดี

ซึ่งตัวมูลของไส้เดือนนั้นมีธาตุอาหารที่ได้จากซากพืช สัตว์ และเศษอาหารต่างๆ ทำให้ธาตุอาหารที่ขับถ่ายออกมานั้น นอกจากจะช่วยในเรื่องของดินแล้ว ยังช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างเต็มที่ ซึ่งธาตุอาหารจากไส้เดือนนั้นจะสามารถละลายน้ำได้เป็นอย่างดี เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน แคลเซียม รวมไปถึงสารในรูปอนินทรียวัตถุ ที่สำคัญพืชไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ไส้เดือนดินเองยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการนำมาทำเป็นอาหารสัตว์จำพวก ปลา กบ หรือหมู ได้อีกด้วย

เป็นที่รู้กันอยู่ว่าไส้เดือนดินนั้นเป็นไส้เดือนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย เพราะเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศในเมืองไทยได้เป็นอย่างดี และยังเป็นสายพันธุ์ที่เลี้ยงได้ง่าย และไม่วุ่นวายด้วย

5.ไส้เดือนดินไม่ชอบแสงแดดมาก อยู่ในดินที่มีความชื้น และธาตุอาหารที่สมบูรณ์
5.ไส้เดือนดินไม่ชอบแสงแดดมาก อยู่ในดินที่มีความชื้น และธาตุอาหารที่สมบูรณ์

ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน

โดยลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดินนั้นจะมีรูปร่างเป็นกระบอกยาว ด้านหัวและท้ายเรียวแหลม ความยาวของช่วงตัวนั้นประมาณ 10-25 เซนติเมตร ผนังลำตัวชั้นนอกเป็นคิวติเคิลที่ปกคลุมด้วยสารพวกโพลีแซคคาไรด์ เจลาติน อีกทั้งยังมีเซลล์และต่อมต่างๆ ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำเมือกให้กับตัวไส้เดือนในตอนที่ขยับ เพื่อทำให้ผิวลำตัวชุ่มชื้นอยู่ตลอด ลำตัวนั้นจะแบ่งเป็นปล้องอย่างชัดเจน ทางหัวมีช่องปากอยู่ที่กึ่งกลางของปล้องแรก และจะมีติ่งเนื้อที่ทำหน้าที่คล้ายกับปาก อีกทั้งแต่ละปล้องนั้นก็จะมีเดือยขนาดเล็ก ช่วยใช้ในการเกาะกับดินเพื่อการเคลื่อนที่ และจับคู่ผสมพันธุ์

สำหรับไส้เดือนในบ้านเรานั้น ไส้เดือนดินที่พบในบ้านเรานั้นส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ พันธุ์ขี้คู้ และพันธุ์ขี้ตาแร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-พันธุ์ขี้คู้ เป็นพันธุ์ที่เป็นลำตัวสีเทา ความยาวของตัวนั้นประมาณ 6-8 นิ้ว สามารถพบได้ทั่วไปตามสวนผลไม้ในดิน หรือตามสนามหญ้าทั่วไป มักจะอาศัยอยู่ในชั้นดินค่อนข้างลึก มักจะกินเศษใบไม้ที่เน่าเปื่อย

-พันธุ์ขี้ตาแร่ จะมีลำตัวเป็นสีแดง ความยาวของตัวนั้นประมาณ 2-5 นิ้ว โดยสามารถพบไส้เดือนชนิดนี้ได้ตามมูลสัตว์ หรือกองเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย หรือตามที่ที่มีความชื้นสูง กินเศษซากพืชเป็นอาหาร

6.บ่อซีเมนต์ทีเลี้ยงไส้เดือนที่ต้องเอียงเล็กน้อยมาที่ท่อพีวีซี
6.บ่อซีเมนต์ทีเลี้ยงไส้เดือนที่ต้องเอียงเล็กน้อยมาที่ท่อพีวีซี

การขยาย พันธุ์ไส้เดือน

ไส้เดือนดินนั้นเป็นสัตว์ที่มีต่อมเพศทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน คือ ในตัวเดียวจะมีทั้งรังไข่และอัณฑะเจริญเติบโตอยู่ในตัว แต่ทั่วไปจะไม่เกิดการผสมพันธุ์ระหว่างไข่และสเปิร์มในตัวเอง เพราะว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศนั้นจะไม่สัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกันด้วย จึงทำให้ไส้เดือนนั้นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มต่อกัน

อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้

อวัยวะเพศผู้สำหรับไส้เดือนนั้นจะมีถุงอัณฑะอยู่ในปล้องที่ 11 กับ 12 โดยจะมีปล้องละคู่ โดยสามารถสร้างสเปิร์มแล้วเก็บไว้ในถึงพัก ซึ่งจะอยู่ข้างๆ ถุงอัณฑะ และมีต่อมสร้างน้ำหล่อเลี้ยงสเปิร์มที่จะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนแผ่ออกอยู่บริเวณปล้องที่ 18-20 มีท่อนำสเปิร์มอยู่ และรับสเปิร์มจากปากกรวยไปเปิดที่ช่องสืบพันธุ์ของเพศผู้

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

อวัยวะเพศหญิงนั้นจะอยู่ในปล้องที่ 13 จำนวน 1 คู่ ทำหน้าที่สร้างไข่ และรังไข่แต่ละข้างจะมีท่อนำไข่ โดยทำการรับไข่จากปากกรวยไปเปิดที่ช่องสืบพันธุ์เพศเมีย

แม้ว่าไส้เดือนจะเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียว แต่ก็จะสามารถที่จับคู่ผสมพันธุ์กันได้ เพราะปกติแล้วไส้เดือนดินนั้นจะทำการผสมพันธุ์กันในช่วงเวลากลางคืนส่วนใหญ่ โดยวิธีการผสมพันธุ์นั้นไส้เดือนดินจะทำการจับคู่กันให้หัวและหางสลับกัน โดยใช้วิธีการให้หน้าท้องติดกัน โดยให้ตำแหน่งของช่องปล่อยสเปิร์มของตัวหนึ่งตรงกับช่องรับสเปิร์มของอีกตัวหนึ่ง โดยจะมีปุ่มสำหรับยึดเกาะในช่วงระหว่างผสมพันธุ์กัน เพื่อให้มีการยึดติดกันและกันไว้ เมื่อเกาะกันจนติดกันแล้วจึงเริ่มปล่อยสเปิร์มของตัวเองไปเก็บไว้ในถึงรับสเปิร์มของอีกตัวหนึ่งทีละคู่จนครบ จึงจะแยกออกจากกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากนั้นเมื่อไส้เดือนที่ได้รับสเปิร์มเรียบร้อยแล้วก็จะเริ่มมาวางไข่ และจะมีการสร้างเมือกหนาขึ้นมาแล้วทำให้แข็งตัว ซึ่งลักษณะของเมือกที่แข็งตัวนั้นจะคล้ายกับปลอก หลังจากนั้นไส้เดือนดินก็จะเริ่มถอยตัวหลังออก จึงทำให้ปลอกนั้นเลื่อนไปทางด้านหัวแทน แต่ในขณะเดียวกันก็จะค่อยๆ มีการปล่อยไข่ออกมาจากช่องของไข่ และปลอกก็จะรับไข่แล้วเคลื่อนไปเรื่อยๆ จนถึงช่องรับสเปิร์ม ถึงจะได้รับสเปิร์มที่รับมาเก็บไว้ และปลอกก็จะถูกดันให้เคลื่อนต่อไปจนหลุดออกจากหัว จากนั้นปลายทั้ง 2 ด้านของปลอกก็จะเริ่มแข็งตัว และกลายเป็นถุงไข่ โดยไข่จะมีขนาด 4-5 มิลลิเมตร ภายในไข่จะมีไข่อยู่ประมาณ  3-5 ใบ  และจะใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 1-2 เดือน  จึงจะเริ่มฟักตัวออกมาจากไข่นั่นเอง

7.โรงเพาะเลี้ยงไส้เดือนสามารถทำเองได้ ลงทุนน้อย
7.โรงเพาะเลี้ยงไส้เดือนสามารถทำเองได้ ลงทุนน้อย พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน 

การบริหารจัดการโรงเพาะเลี้ยงไส้เดือน

ปัจจุบันนั้นการเพาะเลี้ยงไส้เดือนถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และมีการทำอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งการเพาะเลี้ยงไส้เดือนในแต่ละพื้นที่นั้นอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในการเลี้ยง นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ผลดีที่สุดก็ต้องรู้รายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลี้ยงและการดูแล เพื่อให้ได้ไส้เดือนที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเต็มที่

การเตรียมโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินนั้นจะต้องเป็นโรงเรือนที่ใช้บ่อซีเมนต์ในการเพาะเลี้ยง และต้องมีที่กันฝน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาหรือวัสดุที่สามารถกันฝน และช่วยพรางแสงแดดได้ดี เนื่องจากว่าไส้เดือนดินนั้นไม่ค่อยชอบแสงสว่างมากนัก และในการเลี้ยงควรจะมีตาข่ายสำหรับปิดไว้ด้านบนอีกที หรือจะใช้ตาข่ายมากั้นเพื่อพรางแสงรอบบริเวณโรงเลี้ยงทั้งหมดก็ได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยป้องกันศัตรูของไส้เดือนอีกทางด้วย

นอกจากนี้ถ้าใครไม่อยากใช้วิธีการลงทุนด้วยบ่อซีเมนต์ อาจจะใช้วัสดุที่หาได้ง่าย อย่าง ถังพลาสติกที่เหมาะสม หรือกะละมังขนาดใหญ่ แล้ววางซ้อนด้วยไม้รองก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องคอยระวังไม่ให้มันวางซ้อนจนเกินไป เท่านี้ก็ได้โรงเพาะเลี้ยงไส้เดือนแล้ว และสำหรับใครที่มีพื้นที่มาก อาจจะใช้บ่อซีเมนต์ที่มีขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ในส่วนของความยาวนั้นก็แล้วแต่ความต้องการของผู้เลี้ยง อีกทั้งความลึกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลึกมาก โดยให้มีความลึกประมาณ 0.5 เมตร  ก็เพียงพอที่จะทำให้ไส้เดือนมีพื้นที่ชอนไชไปได้แล้ว  แต่ถ้าใครไม่อยากจะใช้วิธีการเลี้ยงแบบโรงเรือนปูนซีเมนต์ ก็อาจจะหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง ถังพลาสติก ที่ตัดแต่งแล้ว ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน โดยความกว้างจะต้องมีความกว้างประมาณ 1 เมตร เช่นกัน

หลังจากที่มีการเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ให้หาวัสดุอินทรียวัตถุมารองพื้น อาจจะเป็นพวกผักสดก็ได้ โดยใช้เป็นวัสดุรองพื้นให้หนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียวมากเสียหน่อย และวัชพืช แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อใช้ในการกำจัดขยะก็จะมีการใช้ขยะสดด้วย จากนั้นก็โรยทับด้วยปุ๋ยคอกให้หนาประมาณ 2 นิ้ว ตามด้วยปูนขาวให้ทั่วผิวบน แล้วให้ความชื้นพอเปียกชุ่ม แต่ต้องไม่ให้มีน้ำขัง และทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้เกิดกระบวนการหมัก และคอยสังเกตว่าความร้อนจะสูงขึ้น จากนั้นทิ้งไว้อีกประมาณ 1 เดือน ความร้อนก็จะหมดไป โดยเมื่อความร้อนที่หมดไปนั้นจะช่วยให้พวกผักสดที่รองอยู่นั้นเกิดการหมักที่ได้เต็มที่แล้วจนเป็นสีน้ำตาลพอดี และจะมีลักษณะร่วนซุย แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้นด้วย

หลังจากที่เราได้รองพื้นไปเรียบร้อยแล้ว จึงจะเริ่มทำการปล่อยไส้เดือนลงไปในดินเพื่อทำการเลี้ยง และควรปล่อยในอัตราไส้เดือน 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ประมาณ 1-5 ตารางเมตร แต่การลงเลี้ยงนั้นก็จะขึ้นอยู่กับเงินทุนที่ใช้ด้วยเช่นกัน หรือจะเลี้ยงตามวัสดุประสงค์ที่ต้องการก็ได้เช่นกัน เพราะว่าในการเลี้ยงไส้เดือนแต่ละครั้งนั้นเราจะต้องดูก่อนว่าเราจะเลี้ยงเพื่อใช้ในเรื่องอะไร ใช้ในเรื่องของการปรับปรุงดิน หรือจะใช้ในการกำจัดขยะ ก็จะต้องดูเพื่อให้สมเหตุผลกันมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับอาหารที่เหมาะสำหรับไส้เดือนในช่วงแรกๆ นั้นควรจะให้เป็นผักสีเขียว โดยเป็นเศษผักก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้ทั้งใบ และก็อาจจะให้วัชพืชด้วยเช่นกัน วิธีการให้นั้นทำการโรยตามหน้าวัสดุรองพื้นในปริมาณ 100-150 กรัมต่อน้ำตัว 1 กิโลกรัม แต่ถ้าไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศ อาจจะต้องเพิ่มจากเดิมเป็น 2 เท่า โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มเห็นว่าไส้เดือนนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวที่ได้ปล่อยลงไป

8.ปุ๋ยมูลไส้เดือน ปุ๋ยชั้นดีเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี
8.ปุ๋ยมูลไส้เดือน ปุ๋ยชั้นดีเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี

ประโยชน์ของปุ๋ยมูลหมักไส้เดือน

พอเราได้ไส้เดือนที่มีความต้องการแล้ว จากนั้นก็จะเป็นเรื่องของปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยจากไส้เดือนนั้นนับว่าเป็นปุ๋ยชั้นดี ที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยปุ๋ยที่ว่านี้ คือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน โดยปุ๋ยมูลหมักไส้เดือนนี้จะเกิดขึ้นมาอยู่ตามบริเวณด้านบนของที่อยู่ไส้เดือน

โดยปุ๋ยชนิดนี้จะมีลักษณะที่ร่วนซุย เป็นขุยดิน โดยการเก็บปุ๋ยนั้นจะต้องใช้มือในการโกยจากผิวด้านบนของที่อยู่ไส้เดือนนั้นมาใส่ภาชนะไว้ และนำไปตากแดด โดยคัดเอาตัวไส้เดือนออกจากกองปุ๋ยก่อน จากนั้นตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 30-40 นาที และค่อยนำเข้าร่ม จากผึ่งในร่มอีกประมาณ 30 นาที ก็จะได้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนพร้อมที่จะนำมาใช้และจำหน่ายแล้ว

โดยข้อดีของปุ๋ยมูลหมักไส้เดือนนั้น นับว่ามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชได้ถึงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว นับว่าเป็นปุ๋ยหมักที่สามารถช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีคุณภาพและเติบโตได้อย่างเต็มที่

9.มูลไส้เดือนธาตุอาหารหลักที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี
9.มูลไส้เดือนธาตุอาหารหลักที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน 

ข้อดีของหนอนแม่โจ้

หลังจากที่เราพูดถึงเรื่องไส้เดือนดิน ไส้เดือนที่ได้รับความนิยมในการเพาะพันธุ์ไปแล้วนั้น เรามาพูดถึงหนอนแม่โจ้กันบ้างดีกว่า ซึ่งหนอนแม่โจ้นั้นเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากไส้เดือนดิน โดยหนอนแม่โจ้เป็นสัตว์อีกหนึ่งชนิดที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการย่อยสลายอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี

โดยหนอนแม่โจ้นี้เป็นงานวิจัยที่ร่วมกับการพัฒนาของสถาบันแม่โจ้ ที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน และได้ค้นพบว่าหนอนแม่โจ้นั้นก็มีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับไส้เดือนดิน มีส่วนช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์ และเปลี่ยนเป็นอาหารที่มีคุณภาพอย่างดีให้กับอาหารสัตว์ได้ และที่สำคัญเลยหนอนแม่โจ้นั้นสามารถกินอาหารได้เร็วกว่าไส้เดือนดิน ทำให้มีการย่อยอาหารได้เร็วว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งเมื่อหนอนแม่โจ้ย่อยอาหารแล้วนั้นก็เปลี่ยนเป็นไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสัตว์ ทำให้ได้โปรตีนที่มีคุณภาพสูง  ซึ่งช่วยให้สัตว์  อาทิ ไก่ชน ปลาคาร์ฟ ปลาสวยงาม นั้น มีสุขภาพและผิวที่สวยงามมากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการนำมูลมาปลูกต้นไม้ และช่วยควบคุมปริมาณแมลงวันบ้านได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

10.พันธุ์ไส้เดือน ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
10.พันธุ์ไส้เดือน ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจเพาะเลี้ยงไส้เดือน

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนนั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงไส้เดือนในแต่ละท้องที่นั้นสามารถสร้างกำไรให้กับเกษตรกรได้อย่างมากมาย เพราะการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  นอกจากจะจำหน่าย พันธุ์ไส้เดือน ได้แล้ว ยังสามารถนำปุ๋ยจากมูลไส้เดือนมาสร้างรายได้และต่อยอดให้กับสวนผักและผลไม้ได้อีกทางหนึ่งด้วย นับว่าการเพาะเลี้ยงไส้เดือนนี้อาจจะเป็นอีกทางเลือกให้กับเกษตรกรหลายคนหันมาลองเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพเสริม ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเลยทีเดียว

ไส้เดือนเป็นบทความที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าการเพาะเลี้ยงรวมไปถึงการนำมาเป็นอาหารสัตว์ ต่างก็มีหลากหลายบทความที่ชี้แจงและให้ความรู้กันอย่างมากมาย เพราะว่าเรื่องราวของไส้เดือนนั้นยังมีอีกหลายเรื่องที่รอการค้นหาและเยี่ยมชม ซึ่งบทความนี้เป็นเพียงการบอกความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องของการเลี้ยงไส้เดือนให้กับคนที่สนใจได้เป็นอย่างดี แต่การเลี้ยงไส้เดือนนั้นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจอีกเสียหน่อยก็ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน

https://www.nstda.or.th/agritec/78-featured-article/318-maejo-maggots,https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=7330&s=tblplant,http://oknation.nationtv.tv/blog/earthworms/2007/12/02/entry-1,http://www.thaicityfarm.com/2018/06/05/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1/,https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=37245,http://chm-thai.onep.go.th/CHM/agricluture_ecosystem/Status/a5.html พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน พันธุ์ไส้เดือน