ฟาร์มหมู เลี้ยงหมูขุน การวางแผน ผลิตและบริหารจัดการ แบบ..สมคิดเกษตรฟาร์ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ฟาร์มหมู เลี้ยงหมูขุน การวางแผน ผลิตและบริหารจัดการ แบบ..สมคิดเกษตรฟาร์ม

จังหวัดอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีการทำอุตสาหกรรมปศุสัตว์มาก รองจากจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งการเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ เนื่องจากมีภูมิประเทศเอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรและปศุสัตว์เป็นอย่างมาก จึงมีฟาร์มสุกรรายใหญ่เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือ “สมคิดเกษตรฟาร์ม”

บริหารธุรกิจโดย คุณฉัตรชัย เอี่ยมสกุล หรือคนในวงการรู้จักกันในนาม “เฮียชัย” (พี่ชายคนโต) คุณวินัย เอี่ยมสกุล นายกเทศมนตรีตำป่าเซ่า (คนกลาง) และนายสัตวแพทย์เกรียงไกร เอี่ยมสกุล น้องชายคนเล็ก จบการศึกษาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 ขุนพลหลักที่ผนึกกำลังในการบริหารงาน ฟาร์มหมู ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด และการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ทั้งตลาดผู้บริโภค และกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรขุน

เฮียชัยเล่าถึงที่มาและการก่อตั้ง ฟาร์มหมู ว่า เดิมทีที่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา และ เลี้ยงหมูขุน ควบคู่ไปด้วย โดยได้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ มีแม่พันธุ์จำนวน 20 แม่ ซึ่งเป็น ฟาร์มหมู ขนาดเล็ก เลี้ยงเพื่อผลิตลูกสุกรขุนจำหน่าย ตนจึงได้คลุกคลีและช่วยเหลืองานที่ ฟาร์มหมู ตั้งแต่อายุยังน้อย และได้ดูแลในเวลาต่อมา

จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนแม่พันธุ์เป็น 50 แม่ ทุกคนในครอบครัวต่างช่วยกันดูแล ต่อมาปี พ.ศ. 2530 ทาง ฟาร์มหมู ประสบปัญหาลูกสุกรที่ผลิตออกมาเหลือจากการจำหน่าย จึงแก้ไขปัญหาโดยการขยาย ฟาร์มหมู เพิ่ม เพื่อรองรับลูกสุกรขุนดังกล่าว กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการ เลี้ยงหมูขุน  และขยายการผลิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันร่วม 30 ปี

มีสุกรแม่พันธุ์กว่าพันตัว และสุกรขุนอีกจำนวนหนึ่ง โดยเลี้ยงในระบบปิดทั้งหมด เพื่อควบคุมและป้องกันโรค อีกทั้งยังเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก นิตยสาร สัตว์บก โทร 02-185-6598

โฆษณา
AP Chemical Thailand
1.คุณฉัตรชัย-เอี่ยมสกุล-และครอบครัว-จากสมคิดเกษตรฟาร์ม
1.คุณฉัตรชัย-เอี่ยมสกุล-และครอบครัว-จากสมคิดเกษตรฟาร์ม
2.สายพันธุ์สุกร
2.สายพันธุ์สุกร

หลักการบริหารและจัดการฟาร์ม

การลงทุนต่อยอด ฟาร์มหมู ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการขยายธุรกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และเป็นสิ่งที่หลาย ฟาร์มหมู ต้องการ ส่วนสาเหตุหนึ่งที่ต้องขยายฟาร์มเพื่อความมั่นคงในธุรกิจ เมื่อธุรกิจสุกรมีความรุ่งเรือง และมีกำไรสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จึงเล็งเห็นช่องทางในการขยายตลาด และเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงให้สูงขึ้น จากอดีตไม่เคยคิดว่าวันนี้เราจะสามารถทำอาชีพเกษตรกร  (ปศุสัตว์) ให้กลายมาเป็นธุรกิจผู้ เลี้ยงหมูขุน ได้จนถึงระดับนี้

หัวใจหลักของการบริหารธุรกิจ คือ

  • บริหารคน,
  • บัญชี (การเงิน),
  • วัตถุดิบ
  • และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ สุขภาพสุกร ป้องกันอย่างไรไม่ให้สุกรป่วยเป็นโรค  เฮียชัยเผยถึงหลักการบริหารฟาร์ม

นายกวินัยกล่าวเสริมว่า การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น เรื่องของจังหวะการลงทุนก็สำคัญ ซึ่งแต่ละฟาร์มจะมีจังหวะการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับ สมคิดเกษตรฟาร์ม ไม่ทำ หรือขยายฟาร์ม ตามกระแส อย่างเช่นในช่วงที่สุกรมีราคาสูง เกษตรกรรายอื่นจะเร่งขยายการผลิตเพิ่มขึ้น

ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ออกมาพร้อมๆกันล้นตลาด จึงเป็นเหตุให้ราคาสุกรตกต่ำ ดังนั้นเราจะรอจังหวะให้ราคาสุกรลงไปถึงจุดที่ต่ำที่สุด จึงค่อยขยายหรือเพิ่มการผลิต เพราะช่วงนั้นจะไม่มีใครทำ เมื่อผลผลิตออกมาจะมีคู่แข่งน้อย และจะตรงกับช่วงที่ราคาสูง ทำให้จำหน่ายได้ราคาดี

ฉะนั้นการศึกษาแนวโน้มของตลาดอย่างสม่ำเสมอ จากการพบปะพูดคุย สัมมนา หรือปรึกษาหารือ กับพนักงานขายจากบริษัทต่างๆ  ที่มาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับฟาร์มว่าในแต่ละพื้นที่มีจำนวนสุกรมากน้อยเพียงใด หรือสถานการณ์โรคระบาดเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนป้องกันโรคให้ทันท่วงที

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

3.หลักการบริหารและจัดการฟาร์ม
3.หลักการบริหารและจัดการฟาร์ม

การวิเคราะห์ตลาดและการวางแผนการผลิต

 “สมคิดเกษตรฟาร์ม” ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันกำลังปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของ “บริษัท” เพื่อการจัดการและการบริหารงานได้ชัดเจน และเป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนของงานบัญชี งานประสิทธิภาพการผลิต และดัชนีชี้วัดต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตลาด และวางแผนการผลิตในอนาคตได้อย่างแม่นยำ

  1. โรงงานผลิตอาหารสัตว์ : มีหน้าที่ผลิตอาหารสัตว์เพื่อใช้ภายในฟาร์มเป็นหลัก และบางส่วนจำหน่ายให้เกษตรกรรายย่อยที่สนใจ ในราคายุติธรรม โดยผลิตอาหารสัตว์ทั้งสิ้น 8 สูตร จากทุกระยะของสุกรภายในฟาร์ม
  2. ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ : ดำเนินการผลิตลูกสุกรเพื่อนำไปเลี้ยงต่อในฟาร์มสุกรขุน โดยการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ จะมีการจัดการที่ค่อนข้างละเอียดกว่าการ เลี้ยงหมูขุน ตรงที่ แม่สุกรมี 2 ระยะ คือ แม่พันธุ์ระยะอุ้มท้อง และระยะเลี้ยงลูก ซึ่งการจัดการแม่สุกรทั้ง 2 ระยะ ก็จะต่างกันไปด้วย ทั้งเรื่องของ อาหารหมู โปรแกรมวัคซีน การจัดการการคลอด เป็นต้น
  3. ฟาร์มสุกรขุน : มีหน้าที่ผลิตสุกรขุนให้เจริญเติบโตตามเกณฑ์ที่ฟาร์มกำหนดไว้ คือ เลี้ยงให้ปราศจากโรค สุขภาพแข็งแรง กิน อาหารหมู ได้ตามเป้าภายในระยะเวลาที่กำหนด และน้ำหนักตามเกณฑ์
  4. การตลาด : มีหน้าที่หาช่องทางในการผลักดันสินค้า (สุกรมีชีวิต) ไปยังคู่ค้า ทั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียง

ที่กล่าวมาในข้างต้นเป็นเพียงแผนงานที่ช่วยให้บริหารงานง่ายขึ้น ส่วนการ เลี้ยงหมูขุน ให้มีสุขภาพดีนั้น เริ่มจากการใช้สุกรที่มีสายพันธุ์ที่ดี ทนทานต่อโรค เลี้ยงง่าย กินเก่ง โตเร็ว ให้เนื้อแดงสวย คุณภาพเนื้อดี และคุณภาพของ อาหารหมู ดี ครบตามความต้องการของสุกรในแต่ละระยะ จึงจะทำให้ขายได้ในราคาที่ดี และมีกำไร

 

 

4.การวิเคราะห์ตลาดและการวางแผนการผลิต
4.การวิเคราะห์ตลาดและการวางแผนการผลิต

สายพันธุ์สุกร

สำหรับสายพันธุ์ที่ใช้ในการผลิต คือ สายพันธุ์ฟินนอร์-เอเชีย และสายพันธุ์เดนมาร์ค ซึ่งสาเหตุที่เลือกสุกรสายพันธุ์ฟินนอร์-เอเชีย เนื่องจากมีลำตัวที่ยาว และมีเนื้อสันใหญ่ และเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้นจึงมีความแข็งแรง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในไทยได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ต้องการของตลาด

 

5.แม่พันธุ์ระยะเลี้ยงลูก
5.แม่พันธุ์ระยะเลี้ยงลูก
Advertisement-Banner-by-SIAM-AGRI-SUPPLY
Advertisement-Banner-by-SIAM-AGRI-SUPPLY
6.การให้อาหารและวัตถุดิบ
6.การให้ อาหารหมู และวัตถุดิบ

การให้ อาหารหมู และวัตถุดิบ

หากมองเรื่องของราคาขายสุกรมีชีวิตที่หน้าฟาร์ม เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงไม่สามารถกำหนดราคาขายเองได้ เหมือนสินค้าประเภทอื่นๆ แต่เพื่อให้การดำเนินธุรกิจผู้ เลี้ยงหมูขุน เป็นไปอย่างยั่งยืน สิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้ คือ หาวิธีการทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด การสูญเสียต่ำ

เนื่องจากราคาขายจะขึ้นหรือลงย่อมเป็นไปตามกลไกตลาด และปริมาณของสุกรจะเป็นตัวกำหนดราคาในขณะนั้น ถ้าประสิทธิภาพภายในฟาร์มสูง การสูญเสียต่ำ ก็สามารถจะเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่าต้นทุนการผลิตต่ำลง

และส่วนหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนในฟาร์มลงได้ คือ “ อาหารหมู ” การคัดสรรวัตถุดิบที่ดี และมีคุณภาพ  โดยสุกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยวัตถุดิบที่ใช้ประกอบด้วย ข้าวโพด รำ ไก่ป่น ปลาป่น และกากถั่วเหลืองหมัก (P-up50) เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในส่วนปลาป่นและกากถั่วเหลืองหมัก (P-up50) จะใช้ของ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เพื่อเป็นแหล่งโปรตีน และใช้กระตุ้นการกิน เพราะปลาป่นจะมีความหอม และเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถย่อยง่าย โดยใช้ผสมใน อาหารหมู เลียราง และสุกรอนุบาล  

7.การใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์-P-up50-จากสยาม-อะกริฯ-มาเลี้ยงสุกร
7.การใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์-P-up50-จากสยาม-อะกริฯ-มา เลี้ยงหมูขุน

การใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ P-up50 จากสยาม อะกริฯ มา เลี้ยงหมูขุน 

จุดประสงค์ที่นำเอาวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสยาม อะกริฯ เข้ามาใช้ในสูตร อาหารหมู สำหรับถั่วหมัก(P-up50) จะนำมาใช้ในอาหารสุกรเลียราง อนุบาล1 อนุบาล2 เนื่องจากถั่วหมักจะมีโปรตีนสูง และมีอัตราการย่อยได้ดี ซึ่งขั้นตอนของการผลิตถั่วหมักนั้นมีกระบวนการในการหมัก และการใส่ยีสต์ลงไป ทำให้ถั่วที่ได้มีโปรตีนสูงขึ้น และมีอัตราการนำไปใช้ได้ดี

จากที่ได้ใช้แล้วสิ่งที่เห็นชัดเจน คือ ลูกสุกรมีสุขภาพดีขึ้น มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว และตอบสนองต่ออาหารได้ดี ที่สำคัญในเรื่องของราคาสามารถสู้กับตลาดได้เนื่องจากราคาไม่แพง  เฮียชัยให้ความเห็นถึงสาเหตุของการใช้ P-up50

8.การวางแผนในอนาคต
8.การวางแผนในอนาคต

การวางแผนในอนาคต ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

ในอนาคตทางฟาร์มมีแผนจะขยายการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นฟาร์มสำหรับการผลิตลูกสุกรเพื่อจำหน่าย เนื่องจากราคาลูกสุกรในปัจจุบันมีราคาที่ดีอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก สังเกตจากเกษตรกรให้ความสนใจ และเข้ามาติดต่อขอซื้ออยู่เป็นประจำ

จึงเห็นช่องทางในการขยายธุรกิจ และตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน และลาว ก็มีความต้องการลูกสุกรขุนมากพอสมควร

ด้าน น.สพ.เกรียงไกร กล่าวเสริมว่า เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูปแบบของบริษัทจำกัด การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ถือเป็นการก้าวสู่ยุคใหม่ของบริษัทฯ การทำงานหลายๆอย่างค่อนข้างใหม่ และท้าทายขึ้น ทั้งฝ่ายบริหาร ทีมบัญชี ทุกอย่างจะเริ่มใหม่หมด หากในส่วนนี้เป็นระบบที่สมบูรณ์ขึ้น  ทุกอย่างลงตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในเรื่องของการขยายฟาร์มถือว่าเป็นประเด็นหลักตอนนี้ที่เรากำลังให้ความสนใจอยู่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่าจะเลือกพื้นที่ใดเหมาะสมที่สุด ในส่วนของฟาร์มปัจจุบันก็ค่อยๆ พัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น อีกทั้งค่าดัชนีต่างๆ เพื่อให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ และสิ่งหนึ่งที่เน้นย้ำ คือ การควบคุมโรค ด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

และยังกล่าวถึงโครงการในอนาคตเพิ่มอีกว่า “โครงการที่เตรียมนำมาต่อยอด คือ การนำกากมูลสุกรที่ผ่านบ่อแก๊สชีวภาพ แล้วมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์บรรจุกระสอบ เพื่อเพิ่มมูลค่าของเสีย โดยเป้าหมายลูกค้า คือ เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด กะหล่ำปลี เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี”

9.การขยายพื้นที่เลี้ยงควายจำนวน-30-ตัว
9.การขยายพื้นที่เลี้ยงควายจำนวน-30-ตัว

การขยายพื้นที่เลี้ยงควายจำนวน 30 ตัว

นอกจากนี้ยังมีการขยายธุรกิจปศุสัตว์อื่นอีก คือ การเลี้ยงควาย ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของ นายกวินัย เอี่ยมสกุล โดยเริ่มทำฟาร์มได้ 1 ปี สาเหตุที่เลือกเลี้ยงควายเพราะควายเป็นสัตว์ฉลาด เลี้ยงง่าย โตเร็ว และเพื่ออนุรักษ์ควายไทยไม่ให้หายไปจากประเทศไทย ปัจจุบันมีควายทั้งหมด 30 ตัว

โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 100 แม่ ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง๑ จำนวน 30 ไร่ เพื่อใช้เป็นอาหาร และมีการใช้น้ำมูลสุกรไปรดแปลงหญ้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลดของเสียภายในฟาร์ม

ขอขอบคุณ

บริษัท สมคิดเกษตรฟาร์ม จำกัด เลขที่ 89/2 ม.5 ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทร.055-817908

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เลขที่ 799/90 ม.3 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280

ฟาร์มหมู อาหารหมู เลี้ยงหมู การเลี้ยงหมู วิธีการเลี้ยงหมู การเลี้ยงสุกร วิธีเลี้ยงหมู เลี้ยงหมูขุน การเลี้ยงกระบือ