สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 23/09/2562-27/09/2562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร

ดัชนีรายได้ ราคา และสินค้าเกษตรกร ประจำเดือนสิงหาคม และแนวโน้มเดือนกันยายน-ตุลาคม 62

ภาพรวมรายได้ของเกษตรกร วัดรายได้เกษตรกรในเดือนสิงหาคม 62 อยู่ในระดับ 167.61 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 61 ที่ร้อยละ 3.29 เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.50 โดยสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย และดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.77 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด มังคุด เป็นต้น สถานการณ์ข่าว

ภาพรวมของสินค้าเกษตร ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา เดือนสิงหาคม 62 อยู่ที่ระดับ 129.17 เพิ่มขึ้นจากในปี 61 ร้อยละ 2.50 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ดัชนีลดลงร้อยละ 1.31

สินค้าที่ปรับตัวขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ลำไย ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่าที่คาดการณ์ ส่วนที่ปรับตัวลงนั้นก็มีปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากและต่อเนื่อง ยางพาราผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กลไกการตลาดนั้นมีมากขึ้น

แนวโน้มรายได้ของเกษตรกรในเดือนกันยายน 62 วัดดัชนีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 61 ร้อยละ 6.81 โดยสินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น คือ มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน ลองกอง มังคุด และสินค้าที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.56 ได้แก่ มังคุด ลำไย ในเดือนตุลาคม 62 คาดว่าดัชนีรายได้เกษตรกร ดัชนีราคาสินค้าเกษตร จะมีแนวโน้มที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

1.ข้าวเปลือก-ข้าวโพด-มันสำปะหลัง-ปาล์มน้ำมัน
1.ข้าวเปลือก-ข้าวโพด-มันสำปะหลัง-ปาล์มน้ำมัน

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2562

สำนักเศรษฐกิจเกษตร ได้วิเคราะห์และประมาณการภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาสที่ 2 ของปี 2562

-ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคา ที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2562 ดัชนีผลผลิต สินค้าเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 111.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 113.5 หรือลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 132.7 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 130.1 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ2.0

-ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผล และดัชนีราคาหมวดพืชผล ที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2562 ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 100.1 ลดลงร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.4 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดพืชผลที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 135.2 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 136.4 หรือลดลงร้อยละ 0.9

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาสนี้หดตัวลง  เนื่องจากสาขาพืชซึ่งมีสัดส่วนมูลค่าการผลิตสูงสุดในภาคเกษตรหดตัวลงเป็นหลัก โดยเป็นผลจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และแห้งแล้ง รวมทั้งปริมาณน้ำที่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น

การผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญมีผลผลิตลดลง ทั้งผลผลิตข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน และลำไย โดยเฉพาะข้าวนาปรังซึ่งเป็นพืชหลักในไตรมาสนี้มีผลผลิตลดลงมาก โดยมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก รวมทั้งผลผลิตอ้อยโรงงานมีปริมาณลดลง และมีการปิดหีบรับซื้อเร็วกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ทุเรียน มังคุด และเงาะ มีปริมาณเพิ่มขึ้น

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3-2.3 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยทุกสาขาการผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวได้ เนื่องจากการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตามความต้องการของตลาด และการทำประมงที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งการเพาะเลี้ยงกุ้ง และประมงทะเล

โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการวางแผนการใช้น้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร

การบริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการส่งเสริมการบริโภค และการใช้สินค้าเกษตรในประเทศ อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามปัจจัยด้านสภาพอากาศร้อนและภาวะฝนทิ้งช่วง ที่ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง บางพื้นที่มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร และอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร

4.กรมประมง

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ

กรมประมงเข้มงวด…จัดชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่จังหวัดสตูล ปราบปรามการนำเข้าสัตว์น้ำผิดกฎหมาย

สืบเนื่องจากข้อร้องเรียนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 กรมประมงจึงได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตในครั้งนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการผลผลิตปลากะพงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาไว้ ซึ่งเป็นมติของที่ประชุม ดังนี้

-ด้านการส่งออก ขยายการส่งออกไปต่างประเทศ โดยอาจมีการทำเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) ระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป

-ด้านการนำเข้าหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ถึงความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการ Antidumping

-ด้านสุขอนามัย สุ่มตรวจสารตกค้าง (Chloramphenicol, malachite green,Nitrofuran และ Mebendazole) ในปลากะพงขาวที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน สุ่มตรวจโรค SDDV, RSIV, VNN ในปลากะพงขาวที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ตรวจในทุก shipment

-มาตรการควบคุมการลักลอบการนำเข้า ควบคุมการลักลอบการนำเข้าบริเวณท่าเรือชายแดนโดยให้ด่านตรวจสัตว์น้ำเข้มงวด การตรวจเรือประมง เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ท่าเทียบเรือ แพปลา ที่มีการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำผิดกฎหมาย

-ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายปลากะพงขาว โดยการทำ MOU กับ modern trade เช่น Big C, Makro, TOP Supermarket เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดยทางเรือ ทางบก หรือโดยวิธีอื่นใดก็ตาม และจะดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสัตว์น้ำ ทั้งการนำเข้า ส่งออก สินค้าในภาคประมง รวมถึงเรือประมงทั่วประเทศ โปรดปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ และขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกร ชาวประมง และประชาชนทั่วไป

กรมประมงจัดงานใหญ่ 25-26 กย. ‘ชาตินิยมกะพงไทย’ แก้ราคาตก

อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาปลากะพงขาวตกต่ำ กรมประมงพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เบื้องต้นกรมเตรียมจัดโครงการส่งเสริมการบริโภคปลากะพงขาวภายในประเทศ 4 ครั้ง โดยครั้งแรก คือ งาน “ชาตินิยมกะพงไทย Seabass Fair” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 กันยายน ที่หน้าสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ กรมประมง ภายในงานจำหน่ายปลากะพงขาว ผลผลิตจากเกษตรกรไทย ที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน GAP จากกรมประมง ไร้สารตกค้าง และราคาถูก

รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปในรูปแบบปลากะพงหวาน ขนมเทียนแก้วไส้ปลากะพง ปั้นสิบไส้ปลากะพง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ประกอบด้วย สาธิตทำเมนูอาหารจากปลากะพงขาว โดยเชฟฟาง แข่งขันปรุงอาหารจากปลากะพงขาว แข่งขันขอดเกล็ด ปลากะพงขาว และกิจกรรม Eat กะพงแหลก พุงไม่แตกอย่าหยุดกิน ฯลฯ ตลอดจนนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพการผลิตปลากะพงขาว

กรมประมงผนึกกำลังหนุนพันธุ์สัตว์น้ำ และจุลินทรีย์ ปม.1 ร่วมโครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย

กิจกรรมโครงการ “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรผู้ประสบภัย” มีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ในพื้นที่จำนวน 21 จังหวัด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร และสร้างการรับรู้ การเตรียมการด้านการเกษตรตามหลักวิชาการ

รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของกรมประมงได้ร่วมสนับสนุนลูกพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ อาทิ ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลากระแห ปลานวลจันทร์เทศ ปลาสร้อยขาว ฯลฯ จำนวน 3,256,060 ตัว เพื่อนำไปต่อยอดเป็นแหล่งอาหาร ตลอดจนสร้างอาชีพเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย และจุลินทร์ทรีย์ ปม.1จำนวน 8,750 ซอง สำหรับนำไปปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป

3.World Animal Protection

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ร่วมจัดอบรมเพื่อร่วมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดศรีสะเกษ

โรคพิษสุนัขบ้า ยังคงเป็นหนึ่งในโรคระบาดที่สำคัญของประเทศไทย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของโรคในหลายพื้นที่ โดยข้อมูลของสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีพ.ศ.2561 ที่ผ่านมา พบว่า จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็น 1 ใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าประเภทชั่วคราว 30 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ปัจจุบันในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษมีแนวโน้มการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าลดลงประมาณ 5 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตามสถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้ายังต้องมีการตรวจสอบและเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแก้ไขที่สาเหตุสำคัญของปัญหา คือ ดำเนินการควบคุมประชากรสุนัขและแมวที่ถูกปล่อยทิ้งตามที่สาธารณะ และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนและทำหมัน ส่งผลให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทางสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดศรีสะเกษ จึงร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศรีสะเกษ และองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และโรคอื่นๆ ที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขเกี่ยวเนื่องกับประเด็นด้านสวัสดิภาพสัตว์

โดยดำเนินการจัดโครงการอบรมถวายความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และโรคอื่นๆ  ที่สำคัญแด่พระสังฆาธิการ กว่า 300 รูป จากทุกอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งการป้องกันโรค การเตรียมสุนัขและแมวเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประโยชน์ของการทำหมันสุนัขและแมว สุขอนามัยและการป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์ เช่น โรคฉี่หนู ฯลฯ รวมถึงแนะนำการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การนำสุนัขและแมวมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งทางจังหวัดศรีสะเกษมีการจัดบริการฉีดวัคซีนให้ฟรี

6.ASF

จังหวัดชัยภูมิ จัดซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ โดยนางศรีสมัย โชติวนิช ปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิจัดทำโครงการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Functional Exercise: FEX) จังหวัดชัยภูมิ ณ ห้องประชุมไอยรา ชั้น 2 อาคารโรงอาหารหลังใหม่ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ โดยมีท่านสมเกียรติ ศรีษะเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ สถานการณ์ข่าว  สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว