เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง มีเขียงหมูขายเอง เลี้ยงหมูขุนเอง ขายหมดทุกวัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงหมูขุน

ความเคลื่อนไหวด้านการเลี้ยงหมูในฉบับนี้ เป็นเรื่องของการนำเสนอประวัติและผลงานของฟาร์มหมูขุนขนาดเล็กแต่เกือบครบวงจร อย่าง “เสก ฟาร์ม” ที่มีคนสู้ชีวิตดั่งเช่น ป้าฉลวย สว่างศรี หรือป้าตุ๊ก ทำอาชีพเลี้ยงหมูมาประมาณ 20 กว่าปี เดิมเธอทำอาชีพแม่ค้าขายหมูสดในตลาด โดยการเร่หาซื้อหมูขุนจากหลายๆ แห่ง เพื่อนำมาชำแหละขาย ในบางครั้งหมูขาดตลาด ต้องไปหาชุมชนที่ไกลออกไป ทำให้เสียเวลา และมีหมูไม่พอขาย

ป้าตุ๊กจึงตัดสินใจเลี้ยงหมูขุนเอง เผื่อวันที่ไหนที่หมูไม่พอขายก็สามารถจับหมูที่ตนเลี้ยงไว้มาขายได้ โดยเริ่มจากซื้อลูกหมูจากชาวบ้านประมาณ 200 ตัว มาเลี้ยงแบบชาวบ้านทั่วๆ ไป โดยใช้พื้นที่หลังบ้าน

1.คุณฉลวย-สว่างศรี-หรือป้าตุ๊ก
1.คุณฉลวย-สว่างศรี-หรือป้าตุ๊ก

ทุนในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรส่วนหนึ่งมาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธ.ก.ส. และในปัจจุบันนี้มีการปรับปรุงโรงเรือนให้มั่นคง โดยรื้อโรงเรือนที่อยู่ติดบ้านขยับไปอยู่กลางทุ่งนาหลังบ้าน เป็นการเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด

ส่วนหมูขุนที่เลี้ยงจะเป็นสายพันธ์ลาร์จไวท์กับแลนด์เรซ โดยจะซื้อลูกหมูอายุประมาณ 2 เดือนกว่าๆ น้ำหนักประมาณ 20 กก. ระยะเวลาในการขุนจะอยู่ที่ประมาณ 3 เดือนครึ่ง น้ำหนักจับอยู่ที่ประมาณ 100 กก. ถ้าโตกว่านี้ไขมันจะเยอะ และเปลืองอาหาร

2.ห้องฆ่าเชื้อสำหรับเข้าฟาร์ม
2.ห้องฆ่าเชื้อสำหรับเข้าฟาร์ม
แท้งค์เก็บน้ำ
แท้งค์เก็บน้ำ
แผงรังผึ้ง
แผงรังผึ้ง

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูในช่วงแรกทางฟาร์มจะผสมเอง โดยใช้ปลายข้าวเป็นวัตถุดิบหลัก แต่ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปจาก บริษัท ซันฟีด เพราะลูกหมูขุนจะโตไว โดยใส่ในถังให้กินหมูได้ทั้งวัน

เรื่องกลิ่นจะไม่มีปัญหา เพราะฟาร์มตั้งอยู่กลางทุ่ง และมีการเก็บมูลหมูทุกวัน โดยนำไปตากขายในราคา 2,000 บาท/ตัน ถ้าเป็นพื้นที่ใกล้เคียงก็จะนำไปส่งให้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แหล่งน้ำมาจากการขุดน้ำบาดาลตั้งแต่เริ่มทำฟาร์ม ทำเป็นประปาใช้ภายในฟาร์ม เพราะบ้านและฟาร์มหมูอยู่กลางทุ่งนา จึงจำเป็นต้องต่อน้ำและไฟเอง ในตอนนั้นค่าเดินสายไม่รวมเสาไฟตกอยู่ประมาณ 10,000 กว่าบาท

 การจัดการและการดูแลจะทำกันเองในครอบครัว หากมีอุปกรณ์เสียหายจะซ่อมเอง

ในการเชือดหมูที่จะนำไปขาย คุณป้าตุ๊กจะนำหมูไปเชือดที่โรงเชือดของเทศบาล ซึ่งได้รับมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ ทางเทศบาลจะคิดค่าเชือด 108 บาท/ตัว ในแต่ละวันป้าตุ๊กจะส่งหมูเข้าโรงเชือด 4-5 ตัว แต่ถ้าหากเป็นช่วงเทศกาล เช่นสงกรานต์ หรือปีใหม่ จะเพิ่มจำนวนการผลิตเป็น 10-30 ตัว

3.แม่พันธุ์
3.แม่พันธุ์ เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง 

ด้านตลาดและการจำหน่ายหมู เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง

ด้านการตลาดจะไม่เป็นปัญหา เพราะจะขายในตลาดสด ในชุมชน ราคาตามเขียงหมูทั่วไป และราคาเดียวกันทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นสันนอก สันใน หรือเนื้อ ก็ตาม ในบางรายก็จะมาซื้อเป็นตัว เอาไปทำกับข้าวในงานเลี้ยงต่างๆ

ถึงแม้ในตลาดแห่งนั้นจะมีเขียงหมูอยู่หลายเจ้า แต่เนื้อหมูของป้าตุ๊กจะขายหมดทุกวัน

อนาคตป้าตุ๊กบอกว่าจะผลิตหมูขุนเพื่อนำมาขุนเอง และลูกหมูขายให้ชาวบ้านนำไปขุน โดยหาซื้อพ่อ-แม่พันธุ์ดีเข้ามา โดยปัจจุบันกำลังจะสร้างโรงเรือนเลี้ยง ทั้งหมูพ่อ-แม่พันธุ์ และหมูขุน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.โรงเรือนหมูแม่พันธุ์
4.โรงเรือนหมูแม่พันธุ์ เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง

การจัดโครงการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ผลิตลูกหมูขุน

นอกจากนี้ป้าตุ๊กยังมีฟาร์มอีกแห่งหนึ่ง เป็นฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ ผลิตลูกหมูขุน ในเครือเบทาโกร โดยป้าตุ๊ก เล่าว่า ซื้อที่ดิน 30 ไร่ ไว้นานแล้ว และตั้งใจจะเลี้ยงหมูขุน แต่ทางบริษัทฯ ยังไม่เปิดโครงการเลี้ยงหมูขุน เปิดแต่โครงการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ผลิตลูกหมูขุน เมื่อลูกหมูหย่ายม ทางบริษัทจะมารับลูกหมูขุน โดยที่ทางฟาร์มไม่ต้องหาตลาด ป้าตุ๊กจึงตัดสินใจเลี้ยงหมูพ่อ-แม่พันธุ์ โดยทุ่มเงินกว่า 6 ล้านบาท สร้างฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

ปัจจุบันมีหมูแม่พันธุ์อยู่ 380 ตัว เป็นแม่หมูของบริษัทฯ ส่งมา รวมถึงอาหารและเวชภัณฑ์ต่างๆ ด้วย ส่วนการผสมพันธุ์จะทำเอง โดยทางบริษัทจะจัดฝึกอบรม 7 วัน ในช่วงแรกจะมีสัตวแพทย์จะเข้ามาสอนผสมเทียม การฉีดยา และอื่นๆ จนป้าตุ๊กสามารถทำเองได้ แต่ในช่วงแรกป้าตุ๊กยอมรับว่าขาดทุน ต้องควักทุนตัวเองออกมาใช้ตลอด เนื่องจากตนไม่คุ้ยเคยกับงานแบบนี้ ผลผลิตที่ได้ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ป้าตุ๊กก็ไม่ยอมแพ้ เพราะคิดว่าลงทุนไปแล้ว ล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อยๆ ประมาณ 1 ปีครึ่ง หลังจากนั้นเริ่มได้กำไรมาเรื่อยๆ

รายได้ของทางฟาร์มส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับทางฟาร์ม คือ การดูแลและการจัดการ และอีกส่วน คือ ได้จากเปอร์เซ็นต์น้ำหนัก นอกจากนี้บริษัท เบทาโกร ยังมีโบนัส หากผลผลิตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การผสม น้ำหนักลูกหมูหย่านม เปอร์เซ็นต์การสูญเสียของลูกหมูแรกคลอด ความสะอาดของโรงเรือน ทั้งในและนอกโรงเรือน ที่ผ่านมาป้าตุ๊กสามารถทำโบนัสได้กว่า 10,000 บาท

การจัดการในแต่ละวัน ในช่วงเช้าจะให้อาหารตามสูตรที่บริษัทจัดมาให้ รวมถึงโปรแกรมการให้วัคซีนด้วย นอกจากนี้ในช่วงที่ให้อาหารต้องสังเกตดูด้วยว่ามีหมูตัวไหนที่ป่วยก็จะสามารถดูแลได้ทัน ส่วนเรื่องมูลหมู ทางฟาร์มก็จะตักขายเหมือนฟาร์มหมูขุน พนักงานในฟาร์มมี 4 คน แบ่งดูแลโรงเรือนละ 2 คน มีสวัสดิการน้ำและไฟฟรี มีข้าวให้ และหากหมูคลอดจะได้ค่าทำคลอดอีกต่างหาก

อนาคตหากโครงการนี้เปิดอีก ป้าตุ๊กก็จะสร้างโรงเรือนเพิ่มอีก 1 หลัง

5.เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง
5.เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง

ข้อดีของการเลี้ยงหมู 

จุดเด่นของฟาร์มเลี้ยงหมูขุน และหมูพ่อ-แม่พันธุ์ “ดีคนละอย่าง การเลี้ยงหมูขุนดีตรงที่เมื่อหมูขาดก็ไม่ต้องไปหาซื้อหมูไกลๆ สามารถจับหมูที่เลี้ยงในฟาร์มไปชำแหละขายได้ ส่วนการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ คือ จะได้รายได้ที่แน่นอน ไม่ต้องห่วงเรื่องของตลาด ไม่ต้องลงทุนซื้อพันธุ์หมู รวมถึงอาหาร และเวชภัณฑ์ต่างๆ เพียงแค่ดูแล และเลี้ยงให้ได้ผลผลิตตามเป้าเท่านั้น เราก็จะได้เงิน สิ่งสุดท้ายทางฟาร์มมีการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยการทำระบบไบโอแก๊ส โดยนำแก๊สที่ได้ไปปั่นเป็นไฟฟ้าใช้กับพัดลมในโรงเรือน ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ได้พอสมควร” ป้าตุ๊กกล่าวถึงข้อดีของการเลี้ยงหมู

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ลูกหมู
6.ลูกหมู เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง เนื้อหมูสดจากฟาร์มขายส่ง

ฝากถึงผู้ที่เลี้ยงหมูขุน

ฝากถึงคนเลี้ยงหมูขุน หากเราไม่ทำตลาดเอง หรือทำเขียงเอง การได้เปรียบค่อนข้างมีน้อย ถ้าไม่ทำเขียงเองก็ไม่คุ้ม ภาวะขาดทุนมีมาก  ถ้าเราทำเองการกดราคาก็จะไม่มี ส่วนการเลี้ยงกับบริษัท ถ้าเราดูแลดี ทางบริษัทก็มีผลตอบแทนดีเหมือนกัน ในการเลี้ยงแม่พันธุ์ต้องเลี้ยงในจำนวนที่เหมาะสม หากเลี้ยงมากเกินไปอาจจะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการดูแลไม่ทั่วถึง ที่สำคัญถ้าคิดจะทำอะไรต้องวางแผนให้ดี ศึกษาข้อดีและข้อเสียของผลที่ตามมา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ป้าฉลวย สว่างศรี 182 ม.2 ต.หนองหญ้าไซ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี