เลี้ยงแกะ – แพะ ในสวนลองกอง รายได้ดีที่ยะลา ขายแร่เนื้อได้ 175-190 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ จึงเป็นวัตถุดิบหลักของการเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ปัจจุบันมีอาชีพหลากหลายมากขึ้น การเลี้ยงสัตว์ อาทิ เลี้ยงแกะ เลี้ยงแพะ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เกษตรกรสามารถยึดเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม  สร้างรายได้ให้กับครอบครัว รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศได้

1.คุณรอยาลี มะลีลาเต๊ะ
1.คุณรอยาลี มะลีลาเต๊ะ

คุณรอยาลี มะลีลาเต๊ะ อายุ 43 ปี เกษตรกรชาวสวนลองกองผู้เลี้ยงแพะ-แกะเป็นอาชีพเสริม เล่าถึงที่มาที่ไปว่า เมื่อราว 15 ปีก่อน ได้เริ่มเลี้ยงทั้งแพะและแกะพร้อมกันในฟาร์มเดียวกัน เพราะเล็งเห็นว่าตนมีอาชีพทำสวนลองกอง ต้องการใช้ปุ๋ยคอกที่มีคุณภาพเพื่อลดการใช้สารเคมี

โดยใช้เงินลงทุนของตัวเองในการจัดตั้งฟาร์ม ทำเรื่อยมาจนถึงปี 2553 มีโครงการของกรมปศุสัตว์ให้จัดตั้งกลุ่มแพะเนื้อบ้านบาโงจีนอ ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา จ.ยะลา โดยจะจัดสรรงบประมาณให้กลุ่มผู้เลี้ยง ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมี 10 คน มีนายแวดาโอะ อาลีลาเต๊ะ เป็นประธานกลุ่มผู้เลี้ยงแพะบ้านบาโงจีนอ ส่วนตนเป็นรองประธานกลุ่ม

2.โรงเรือนแพะ
2.โรงเรือนแพะ
พ่อพันธุ์แพะ
พ่อพันธุ์แพะ

สภาพพื้นที่เลี้ยงแพะ-แกะ

การเลี้ยงแพะ-แกะในลักษณะรวมกันจำเป็นต้องแบ่งเป็นล็อคเพื่อแยกกันในเวลาอุ้มท้อง แต่ในช่วงเวลาอื่นๆ สามารถเลี้ยงรวมกันได้ โดยสร้างโรงเรือนบนเนื้อที่ 2 ไร่ แบ่งเป็น 2 โรงเรือน ขนาดกว้าง 5 เมตรxยาว 12 เมตร และขนาดกว้าง 4 เมตรxยาว 8 เมตร ซึ่งทั้ง 2 โรงเรือน เป็นแบบยกพื้นสูง แบ่งเป็นล็อคเพื่อแยกระหว่างแพะกับแกะ

สายพันธุ์แพะ-แกะ

ส่วนพันธุ์แพะที่ทางฟาร์มเลี้ยง มีพันธุ์ซาแนน (Saanen) และพันธุ์บอร์ (Boer) ผสมพันธุ์แองโกลนูเบียน (Angle Nubian) เป็นพันธุ์ลูกผสม

 

ส่วนแกะเป็น พันธุ์ไทยหางยาว พันธุ์ซานตา อินเนส (Santa Ines) และพันธุ์ดอร์ปอร์ (Dorper) ปัจจุบันมีแพะ 20 ตัว และแกะอีก 20 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เดิมทีทางฟาร์มจะเลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองที่ซื้อจากจังหวัดปัตตานี แต่เนื่องจากคุณรอยาลีได้เป็นประธานกลุ่มผู้ เลี้ยงแกะ ของจังหวัดยะลา จึงเข้าร่วมกับ กลุ่มศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์จังหวัดยะลา ซึ่งมีพันธุ์แพะ-แกะให้เลือกหลากหลาย

3.ให้อาหารแกะ
3.ให้อาหารแกะ

การให้อาหารและน้ำ แพะ-แกะ

การเลี้ยงแพะ-แกะ จะว่าไปแล้วแกะเลี้ยงง่ายกว่าแพะ ตรงที่มีการเจริญเติบโตเร็วกว่า เรื่องของอาหารไม่ยุ่งยากอะไร สามารถให้กินหญ้าเนเปียร์ที่ทางฟาร์มปลูกไว้สลับกับกระถิน ซึ่งเป็นอาหารที่ทั้งแพะ-แกะชอบ โดยในแต่ละวันประมาณ 9 โมงเช้า คุณรอยาลีจะตัดกระถินที่แปลงมาใส่เครื่องสับให้กิน 2-3 ชั่วโมง/วัน จากนั้นจะให้อีก 5 โมงเย็น เลี้ยงประมาณ 6-8 เดือน ก็สามารถเข้าสู่การผสมพันธุ์ และจะใช้เวลาในการตั้งท้องประมาณ 5 เดือน

ทั้งแพะ-แกะสามารถให้ลูกได้ 2 ครั้ง/ปี แกะจะให้ลูกครั้งละ 1 ตัว ไม่เหมือนแพะ แพะจะเฉลี่ยอยู่ที่ 3-4 ตัว/ครั้ง แต่หากช่วงไหนแพะคลอดลูกถึง 4 ตัว จะต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากแม่พันธุ์มีเต้านม 2 ข้าง อาจจะแย่งกันกิน ทางฟาร์มจึงซื้อนมเสริมให้ลูกแพะแรกคลอดรอด จะเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จนกระทั่งสามารถกินหญ้าได้เอง

ด้านอาหารทางฟาร์มจะไม่มีผลกระทบ เพราะมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของแปลงหญ้าและกระถินเป็นอย่างดี ส่วนด้านโรคจะมีการป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย โดยการเลี้ยงส่วนจะให้อยู่ในบริเวณโรงเรือน และเฝ้าระวังในช่วงหน้าฝน มันจะอ่อนแอที่สุด และเป็นช่วงที่โรคระบาดง่ายกว่าหน้าร้อน เนื่องจากอากาศชื้นกว่า จึงทำการฉีดวัคซีนโรคปากเท้าเปื่อยให้กับสัตว์ที่เลี้ยงทุกตัว และตรวจเช็คเลือดก่อนผสมพันธุ์ เพื่อป้องกันการแท้งก่อนการคลอด ส่วนน้ำที่ใช้ภายในฟาร์มจะเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในส่วนของครัวเรือน และภายในฟาร์ม

4.การ เลี้ยงแกะ โรงเรือนแกะ
4.การ เลี้ยงแกะ โรงเรือนแกะ

การบริหารจัดการฟาร์มแพะ-แกะ

มูลแพะ-แกะเป็นปุ๋ยชั้นดีสำหรับการเกษตร สามารถนำไปใช้แทนปุ๋ยเคมีในสวนทุเรียน มะนาว ส่วนทางฟาร์มนำไปใส่สวนลองกอง และพืชผักสวนครัว เป็นต้น โดยเก็บใส่บรรจุกระสอบประมาณ 20-25 กิโลกรัม ขายกระสอบละ 50 บาท ซึ่งขายดีจนเก็บตากแห้งไม่ทัน เป็นรายได้อีกทางให้กับครอบครัว

การเลี้ยงแพะ-แกะเป็นอาชีพเสริมจากการทำสวนลองกอง การดูแลจึงใช้คนไม่มาก สามารถให้คนในครอบครัวช่วยกันดูแล

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.แกะเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี
5. เลี้ยงแกะ จนเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายแพะ-แกะ

ด้านการตลาด ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่จังหวัดยะลา อำเภอเบตง อำเภอยะลา อำเภอรามัน เป็นต้น เนื่องจากทางฟาร์มและในพื้นที่เป็นแหล่งเลี้ยงแพะ-แกะ ตลอดจนการเชือด ชำแหละเนื้อ ทำข้าวหมกแพะ เราให้คำแนะนำและความรู้ควบคู่ไปด้วย โดยลูกค้ามารับเองที่ฟาร์มเพื่อนำไปจำหน่าย กินเนื้อ หรือแก้บนในศาสนพิธีต่างๆ ปัจจุบันราคาจำหน่ายอยู่ที่ 175-190 บาท/กิโลกรัม ราคานี้จะขึ้นลงตามสถานการณ์ โดยเป็นราคาไซส์เล็กประมาณ 10-15 กิโลกรัม

จุดเด่นของทางฟาร์มอยู่ที่การให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด ให้ลูกค้ามีความประทับใจและไว้วางใจ แต่ในบางครั้งทางฟาร์มผลิตและจำหน่ายแพะ-แกะไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า อาจสั่งสินค้าจากแหล่งอื่นทางภาคกลางซึ่งเป็นฟาร์มในเครือข่ายมาให้ลูกค้า เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุด

6.ลูกแพะ
6.ลูกแพะ

ฝากถึงผู้ที่สนใจทำ เลี้ยงแกะ -แพะ

“หากคิดที่จะทำฟาร์มเลี้ยงแพะหรือ เลี้ยงแกะ อยากให้ศึกษาวิธีการเลี้ยง การจัดการต่างๆ รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนโดยละเอียด เช่น โรคต่างๆ การสร้างโรงเรือน อาหารจำพวกหญ้า กระถิน และอื่นๆ ที่นำมาให้สัตว์เลี้ยงกิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการเลี้ยง เพื่อความเจริญเติบโต สมบูรณ์ดี หมดปัญหาเรื่องโรคระบาด และทำให้มีกำไรจากการทำฟาร์ม” คุณรอยาลีได้กล่าวทิ้งท้าย

ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณรอยาลี มะลีลาเต๊ะ 95 หมู่ 11 ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ 08-6296-3380