เลี้ยงไก่ไข่ ยังไงให้ลดต้นทุนใน ฟาร์มไก่ไข่ + เพิ่มกำไร ไก่ไข่ และมีตลาดได้ราคาดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากหนุ่มธนาคารแต่งตัวดูดี ผันชีวิตสู่เกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ไข่ สานต่อธุรกิจของครอบครัว แก้ไขปัญหาตลาดให้สอดคล้องกับการผลิต และพัฒนาระบบการทำงานให้ดีขึ้น เพื่อความมั่นคงของอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ที่ยั่งยืน

คุณจักรกริศน์ พรมเขียว เจ้าของ ฟาร์มไก่ไข่  “จ. เจริญพัฒนาฟาร์ม” (JPF) หรือ“ณัฐการณ์ฟาร์ม” (เดิม) ตั้งอยู่เลขที่ 141 / 1 หมู่ 1 ตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า ชีวิตการทำงานเริ่มต้นที่การเป็นพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ทำให้มีประสบการณ์ด้านการวางแผนงานพอสมควร ทำอยู่ 6 ปี จึงตัดสินใจลาออกมาช่วยธุรกิจที่บ้าน เนื่องจากพ่อ-แม่เริ่มชราลงทุกวัน ประกอบกับการดูแลฟาร์มไม่ทั่วถึง ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

1.ณัฐการณ์ฟาร์ม
1.ณัฐการณ์ฟาร์ม
คุณจักรกริศน์-พรมเขียว-เจ้าของฟาร์มไก่ไข่-จ.เจริญพัฒนาฟาร์ม
คุณจักรกริศน์-พรมเขียว-เจ้าของฟาร์มไก่ไข่-จ.เจริญพัฒนาฟาร์ม

 

2.โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
2.โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่

โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่

“เดิมทีที่บ้านเลี้ยงเป็ดพันธุ์เชอรี่มาก่อนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 เลี้ยงได้ระยะหนึ่งประสบปัญหาขาดทุน จึงหันมาเลี้ยงไก่เนื้อแบบอิสระ ต่อมาเกิดวิกฤตโรคไข้หวัดนกระบาด ซึ่งทางฟาร์มก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน หลังจากผ่านพ้นวิกฤตไข้หวัดนก ทางฟาร์มจึงดัดแปลงโรงเรือนที่มีให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่แบบยืนกรง นับเป็นการเริ่มต้นสู่อาชีพเลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันมี 2 โรงเรือน สามารถเลี้ยงไก่ได้โรงเรือนละ 20,000 ตัว”

3.การบรรจุไข่ไก่เตรียมส่งลูกค้า
3.การบรรจุไข่ไก่เตรียมส่งลูกค้า

การจำหน่ายไข่ไก่ ทั้งปลีกและส่ง

หลังจากเข้ามาบริหาร ฟาร์มไก่ไข่ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายไข่ไก่ จากเดิมที่เคยส่งให้เฉพาะพ่อค้า-แม่ค้าเพียงอย่างเดียว จึงรุกตลาดมากขึ้น โดยการเปิดร้านเพื่อจำหน่ายไข่ไก่ทั้งปลีกและส่งที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อีกทั้งยังเป็นการนำผลผลิตไข่ไก่คุณภาพดีส่งถึงมือผู้บริโภคโดยตรงอีกด้วย

ตั้งแต่ทำ ฟาร์มไก่ไข่ ไม่เคยขายไข่ไก่ราคาสูง หรือต่ำกว่า ราคาประกาศ

ปัญหาหลักของเกษตรกรรายย่อยที่ทำอาชีพนี้อยู่ที่ดีมานด์-ซัพพลายไม่สอดคล้องกัน และการกำหนดราคาของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้เกษตรกรอยู่ยาก หากไม่มีการพัฒนาและการบริหารต้นทุนที่ดี

“ทุกวันนี้เกษตรกรจะอยู่ได้หรือไม่นั้นอยู่ที่ต้นทุนการผลิต 100% บางฟาร์ม ไก่ไข่ ผสมอาหารใช้เอง แต่ขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบ หรือวัตถุดิบมีราคาสูง ก็ทำให้ไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ดังนั้นทางฟาร์มจึงเน้นการทำตลาดให้มั่นคง และยั่งยืน โดยใช้ความซื่อสัตย์และจริงใจในการประกอบอาชีพ และที่สำคัญการรวมกลุ่มกันในรูปแบบสหกรณ์ หรือชมรม เพื่อดำเนินการด้านตลาด หรือลดต้นทุนการผลิต จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด” คุณจักรกริศน์กล่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ตั้งแต่ทำ ฟาร์มไก่ไข่ ไม่เคยขายไข่ไก่ราคาสูง หรือต่ำกว่า ราคาประกาศ” จากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการทำธุรกิจจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้บริโภค หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “จรรยาบรรณ”

4.อ่างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ
4.อ่างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ

อาหารไก่ไข่ และ พันธุ์ไก่ไข่

การผลิตไข่ไก่ให้ได้คุณภาพนั้น หลักสำคัญอยู่ที่การดูแลให้ทั่วถึง ใส่ใจสุขภาพสัตว์ อาหาร และการบริหารจัดการ โดยพันธุ์ไก่ไข่ที่ทางฟาร์มเลี้ยงส่วนใหญ่จะซื้อจาก บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และใช้อาหารของบริษัท ซันฟีด จำกัด เนื่องจากมั่นใจในคุณภาพอาหารที่สามารถตอบโจทย์การเลี้ยงได้ดี ที่สำคัญสามารถลดต้นทุนได้อย่างน่าพอใจ

การจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบ ฟาร์มไก่ไข่

ส่วนการจัดการสิ่งแวดล้อม ทางฟาร์มจะนำมูลไก่ที่ได้เลี้ยงปลาจำนวน 50 กว่าไร่ เป็นการลดปัญหาต่างๆ เช่น กลิ่น แมลง และชาวบ้านที่อยู่บริเวณโดยรอบฟาร์มเป็นอย่างดี

5. ไข่ไก่ มีคุณภาพ-สด-สะอาด-ปลอดภัย เลี้ยงไก่ไข่ ใน ฟาร์มไก่ไข่
5. ไข่ไก่ มีคุณภาพ-สด-สะอาด-ปลอดภัย เลี้ยงไก่ไข่ ใน ฟาร์มไก่ไข่

หลักการบริหารตลาด ไก่ไข่

กลุ่มลูกค้าของทางฟาร์มจะเน้นให้ลูกค้าได้ไข่ไก่ที่มีคุณภาพ และสด ใหม่ อยู่เสมอ และการพูดคุยหรือรับฟังความคิดเห็นต่างๆ จากลูกค้า ถือเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกวิธีหนึ่ง ส่วนตลาดจะเป็นตลาดในพื้นที่จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี กรุงเทพฯ เช่น ร้านทำขนมหวาน และร้านขายของชำ เป็นต้น และทางฟาร์มได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เช่นโครงการธงฟ้า เป็นต้น จำหน่ายไข่ไก่ราคาถูกให้กับผู้บริโภค บางส่วนก็จะมีพ่อค้า-แม่ค้ามารับที่ฟาร์มเพื่อนำไปจำหน่ายต่ออีกที

“ผมมองว่าการเลี้ยง ไก่ไข่ ตลาดยังสามารถไปได้อีกไกล เพราะผู้บริโภคยังมีความต้องการสูงมาก”คุณจักรกริศน์ให้มุมมองเกี่ยวกับตลาด ไก่ไข่ และกระแสโลกว่า

เมื่อการบริโภคเปลี่ยนไปตามกระแสของยุคปัจจุบัน ทำให้การ เลี้ยงไก่ไข่ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมากขึ้น “ทุกวันนี้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทรายใหญ่ในเรื่องของปริมาณได้ ดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาด และกลุ่มลูกค้า เช่น กลุ่มคนรักสุขภาพ เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อาจอยู่ในรูปแบบการ เลี้ยงไก่ไข่กึ่งอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งทางฟาร์มเคยทดลอง เลี้ยงไก่ไข่ ลักษณะนี้ โดยการให้ไก่กินใบเตย เพื่อทำให้ไข่ที่ได้มีกลิ่นหอม ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร แต่ยังไม่สามารถทำได้เต็มรูปแบบ เนื่องจากมีต้นทุนด้านอาหารค่อนข้างสูง”

6.การปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
6.การปรับปรุงโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่

การวางแผนในอนาคต

สำหรับแผนในอนาคตทางฟาร์มจะปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงให้ทันสมัยมากขึ้น เนื่องจากปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มลักษณะเดิม โดยการปรับปรุงโรงเรือน และเพิ่มปริมาณการเลี้ยง ให้สอดคล้องกับตลาดที่เพิ่มขึ้นทุกปี ประมาณ 20-30%  ทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และไม่ส่งผลกระทบกับตลาด และเกษตรกรรายอื่น

“อยากให้เกษตรกรผู้ เลี้ยงไก่ไข่ มีจรรยาบรรณร่วมกัน โดยคำนึงถึงส่วนรวมเป็นหลัก และที่สำคัญควรเริ่มจากตัวเอง ผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ และให้สอดคล้องกับตลาดของตน และไม่ควรทำเกินตัว และสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับ คือ ไข่ไก่ที่มีคุณภาพ สด สะอาด และปลอดภัย นี่คือสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงมากกว่าค้ากำไร” คุณจักรกริศน์กล่าวทิ้งท้าย

ขอขอบคุณ “จ. เจริญพัฒนาฟาร์ม” 141 / 1 หมู่ 1 ตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 18150 โทร. 089-183-1922