การทำบอนไซ และ การตัดแต่งกิ่งบอนไซ เทคนิคจากเซียนพัฒนา “บอนไซ” จากจีน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

สวนบอนไซกลางกรุงของ คุณนิวัฒน์ ผุดประภากุล  ผู้นำเข้าบอนไซไทรจีน จ.กรุงเทพฯ อาจจะไม่มีบอนไซหลายสิบต้นเรียงรายเหมือนสวนบอนไซของนักเล่นรายอื่นๆ แต่นักเลี้ยง-นักเล่น บอนไซ ทั้งไทย และต่างประเทศ จะทราบดีว่า โหงว บอนไซ คือ ผู้นำเข้าบอนไซไทรจีนรายใหญ่ ส่งตรงจากแดนมังกร ผู้คว่ำหวอดในวงการบอนไซมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยความใกล้ชิดทางเครือญาติ

ทำให้เขาเดินทางไปยังประเทศจีนเสมอ และมีโอกาสได้สัมผัสกับวงการบอนไซ ทั้งจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น อยู่ไม่น้อย พร้อมทั้งนำบอนไซยอดนิยมจากต่างประเทศมาเผยแพร่ให้นักเล่นบอนไซไทยได้สัมผัสความงามของบอนไซไทรจีน ในฐานะหุ้นส่วนผู้ผลิตตอไทรจีนจากจีนแผ่นดินใหญ่

1.คุณนิวัฒน์-ผุดประภากุล-หรือโหงว-บอนไซ-ขวาสุด
1.คุณนิวัฒน์-ผุดประภากุล-หรือโหงว-บอนไซ-ขวาสุด

ด้วยประสบการณ์ทำให้เขาได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากนักเล่นบอนไซทั่วประเทศในเรื่องสินค้ามีคุณภาพสูง

“ตอไทรจีนที่ผมนำเข้ามาแต่ละต้นอายุมากกว่า 10 ปี มีการวางโครงสร้างส่วนล่าง หรือระบบรากมาแล้ว คนที่สนใจหรือมือใหม่สามารถนำไปสร้างต่อได้เลย ผมไปคัดเลือกจากสวนที่เมืองจีนมาเอง”

2.ไทรจีนเป็นไม้ยืนต้น-โตเร็ว-ใบเขียวขจี-สดใสมันวาว
2.ไทรจีนเป็นไม้ยืนต้น-โตเร็ว-ใบเขียวขจี-สดใสมันวาว
ไกรภูเขา
การทำบอนไซ ไกรภูเขา
ไทรใบแก้วเกาะหิน
การทำบอนไซ ไทรใบแก้วเกาะหิน

ลักษณะบอนไซทรงต่างๆ

เมื่อทีมงานสังเกตบริเวณโดยรอบพื้นที่พบว่านอกจากตอบอนไซไทรจีนหลากหลายรูปทรงแล้ว ยังมีบอนไซทรงต่างๆ อีกหลายกระถาง เช่น ไทรจีนทรงเอนชาย ไกรภูเขา ทับทิมดอก ไทรช้อนเงิน ไทรใบแก้วเกาะหิน และบอนไซทรงตกกระถาง เป็นต้น โดยทั้งหมดส่งตรงจากเมืองจีนทั้งสิ้น

ด้วยความที่ไทรจีนเป็นไม้ยืนต้น โตเร็ว ใบเขียวขจี สดใส มันวาว ระบบรากแผ่รอบต้นสวยงาม ทำให้ไทรจีนกลายเป็นหนึ่งในไม้ “ต้นแบบ” สำหรับสร้างบอนไซ โดยเฉพาะ “บอนไซเกาะหิน” ที่ไทรจีนมักได้รับความนิยมนำไปสร้างมากที่สุดชนิดหนึ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นั่นเพราะไทรจีนมีความโดดเด่นที่ระบบราก รากของไทรจีนสามารถเลื้อยไปตามวัสดุยึดเกาะ เช่น หิน ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และใช้เวลาน้อยกว่าไม้เนื้อแข็งทั่วไป หรือแม้แต่การนำไทรจีนไปสร้างเป็นบอนไซสไตล์อื่นๆ อย่าง บอนไซทรงต้น ทรงตกกระถาง ทรงเอนชาย ก็ดูสง่างามไม่น้อย

“รากของไทรจีนสวยมาก สามารถนำไปสร้างบอนไซได้ทุกรูปแบบ เวลาที่เราเลือกตอบอนไซ เราต้องดู 3 ส่วน คือ ราก ลำต้น และกิ่ง โครงสร้างทั้ง 3 ส่วน ต้องสัมพันธ์กัน ดูกลมกลืนเป็นธรรมชาติ ตอบอนไซที่นำเข้ามาจะมีเซียนบอนไซ นักเล่น ทั้งมือใหม่ มือเก๋า เข้ามาเลือกซื้อ เพราะเขาสร้างส่วนรากและลำต้นมาแล้ว เอาไปสร้างต่อได้เลย” เฮียโหงวยืนยัน

3.ไทรจีนทรงเอนชาย
3. การทำบอนไซ ไทรจีนทรงเอนชาย

การประกวดบอนไซ

เมื่อมีการประกวดบอนไซ ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เจ้าของสวนบอนไซกลางกรุงมักจะพาบอนไซต้นงามไปร่วมการประกวดในประเภทไม้ต่างประเทศอยู่เสมอ เพราะทุกครั้งที่มีการประกวด บอนไซของเขาจะได้รับความสนใจจากนักเล่น และคนรักบอนไซเสมอ

นั่นแสดงให้เห็นว่าไทรจีนเป็นหนึ่งในไม้ในดวงใจของนักเล่น ทั้งหน้าใหม่ และเก่า แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การประกวดบอนไซ คือ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเจ้าของสวนบอนไซกลางกรุง เพียงแต่งานประกวดเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้คอบอนไซเมืองไทยได้เห็นความหลากหลายของไม้อมตะนี้

“ในต่างประเทศมีการสร้างรูปแบบบอนไซหลากหลาย เขามีไม้เดี่ยว ไม้กลุ่มกอ เหมือนที่คนไทยเล่น แต่เขามีสไตล์การสร้างที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก เขามีกิ่งหลัก กิ่งรอง แต่เขาไม่ยึดติดกับคำว่า กิ่ง 1 2 3 มากนัก แต่ใช้เพียงเป็นแนวทางเท่านั้น

จะสังเกตได้ว่าทุกกิ่ง ทุกราก ของเขาดูมีอิสระ ดูเป็นธรรมชาติ ผมอยากให้คนที่ได้เห็นบอนไซหลากหลายรูปแบบ คนไทยมีฝีมือ เรียนรู้ได้เร็ว ผมเชื่อว่าคนไทยสามารถสร้างบอนไซได้ดี และสวยงามไม่แพ้ต่างชาติ แต่ขั้นแรกเราต้องเปิดใจกับสไตล์ใหม่ๆ ดูบ้าง” คุณนิวัฒน์พูดความคาดหวังของเขา

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.คนไทยสามารถสร้างบอนไซได้ดี-และสวยงามไม่แพ้ต่างชาติ
4.คนไทยสามารถสร้างบอนไซได้ดี-และสวยงามไม่แพ้ต่างชาติ

ข้อดีของไม้นำเข้า

บอนไซที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น ไม่ต่างจากบอนไซที่ขุดมาจากธรรมชาติมากนัก เนื่องจากก่อนการนำเข้าต้องมีการขุด และโยกย้ายบอนไซบ้าง แต่ข้อดีของไม้นำเข้า คือ เป็นไม้ที่ผ่านการเลี้ยงในกระถางแบบบอนไซมาแล้ว ระบบรากจึงค่อนข้างสมบูรณ์ และพร้อมจะเจริญเติบโตต่อไป เมื่อได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และถูกวิธี

หากแต่สิ่งสำคัญสำหรับการเลี้ยงบอนไซ ไม่ว่าจะเป็นบอนไซที่เป็นไม้พื้นเมือง หรือไม้นำเข้าจากต่างประเทศ คือ ผู้ปลูกเลี้ยงต้องพยายามศึกษานิสัย ข้อมูลเชิงลึก ความต้องการของต้นไม้ อาจเกิดจากการทดลองด้วยตนเอง หรือสอบถามจากผู้รู้

5.นำไทรจีนไปสร้างเป็นบอนไซสไตล์อื่นๆ-บอนไซทรงต้น-ทรงตกกระถาง-และทรงเอนชาย
5.นำไทรจีนไปสร้างเป็นบอนไซสไตล์อื่นๆ-บอนไซทรงต้น-ทรงตกกระถาง-และทรงเอนชาย

คุณสมบัติของไม้ที่จะนำมาสร้างเป็นบอนไซ

1.ต้องเป็นไม้ยืนต้น หรือไม้อายุยืน ไม้อายุสั้นก็ทำได้เช่นกัน แต่มีข้อเสีย คือ ต้องเปลี่ยนไม้บ่อย ดังนั้นหลักการง่ายๆ คือ การเลือกไม้ยืนต้นนำมาสร้างเป็นบอนไซ

2.ต้องเป็นไม้ที่ข้อถี่ หมายถึงว่า เวลาตัดแล้วไม้ต้องกระชับทรง ตัดแล้วข้อไม่ยืด ไม่คอมแพ็ค จึงนำมาสร้างเป็นบอนไซได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องเป็นไม้ที่ข้อถี่กระชับ

3.ต้องเป็นไม้ที่ริดใบได้ เพราะผู้ปลูกเลี้ยงต้องริดใบเพื่อสร้างรายละเอียด สร้างความกระชับ สร้างทรงให้ไม้ ถ้าเป็นไม้ริดใบไม่ได้ก็จะกระชับทรงไม่ได้ จึงไม่เหมาะจะนำมาสร้างเป็นบอนไซ

4.ต้องเป็นไม้ที่เลี้ยงกลางแดด เพราะบอนไซต้องมีความกระชับ อยู่ทรง ซึ่งต้องเลี้ยงกลางแดด แต่ถ้าเป็นไม้ที่เลี้ยงกลางแดดไม่ได้ หรือไม้ร่ม จะลักษณะใบใหญ่ กิ่งยืด เมื่อนำมาสร้างเป็นบอนไซที่เน้นความคอมแพ็ค จึงทำได้ยากกว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นี่คือคุณลักษณะไม้ขั้นแรกที่นักเล่นมือใหม่ต้องเรียนรู้ เมื่อหาไม้ลักษณะเหมาะสมดังกล่าวได้แล้ว ขั้นต่อไป คือ ศาสตร์การปลูก

6.ไทรจีนไทเกอร์-สันรากขนาดใหญ่-2-ข้าง-จะให้ความรู้สึกแข็งแรง-และมีพลัง
6.ไทรจีนไทเกอร์-สันรากขนาดใหญ่-2-ข้าง-จะให้ความรู้สึกแข็งแรง-และมีพลัง

เทคนิคการปลูกบอนไซ

เทคนิคการปลูก คือ สร้างดินตรงกลางไว้ให้นูนสูงขึ้น เมื่อวางไม้ลงปลูกรากกระจายได้รอบต้น จากนั้นต้องตัดรากให้ถูกวิธี โดยการตัดให้เหลือปลายรากไว้ ด้วยการตัดแบบซอย หรือเส้นเว้นเส้น เพื่อไม่ให้รากแน่นเกินไป และให้รากงอกออกมาใหม่เพื่อให้หาอาหาร ถ้าผู้ปลูกเลี้ยงตัดปลายรากออกหมด จนไม่มีรากหาอาหาร ต้นจะโทรม และตายในที่สุด

ที่สำคัญรากตรงกลางควรตัดออกให้เหลือน้อย เพราะรากส่วนนี้ คือ รากที่มีหน้าที่ยึดลำต้น แต่ไม่ใช่รากหาอาหาร ต้นจะงอกออกมาใหม่เรื่อยๆ ต้องพยายามตัดให้เหลือน้อย เพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างสำหรับหาอาหารมากขึ้น ซึ่งดินส่วนที่ยกให้พูนสูงนี่เอง ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับรากหาอาหาร

อีกประการ คือ เมื่อตัดรากแล้วต้องมีการริดใบทิ้ง เพื่อลดการคายน้ำ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ต้องเลือกไม้ที่ริดใบได้ แต่ถ้าเป็นสนที่ริดใบไม่ได้ ให้ใช้วิธีตัดใบให้เหลือครึ่งหนึ่ง แต่ตามหลักแล้วต้องซอยราก ริดใบให้สมดุลกัน และตอนปลูกไม่ควรให้ปลายรากชนกระถางโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รากชะงักการเจริญเติบโต และไม่แตกรากฝอย

7.ไทรจีนไทเกอร์
7.ไทรจีนไทเกอร์

การบำรุงดูแลรักษาบอนไซ

การดูแล สำหรับเรื่องปุ๋ยจะใช้ใน 2 ระยะ คือ ระยะกำลังสร้าง ต้องการให้ไม้สร้างกิ่ง สร้างความสมบูรณ์ให้ไม้ เน้นใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เพื่อให้ไม้แตกยอดเร็ว ถ้าเป็นไม้จบไม่จำเป็นต้องเร่งมาก ใช้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูง เช่นปุ๋ยสูตร 15-5-20 หรือปุ๋ยสูตร 17-7-21 ผู้ปลูกเลี้ยงไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยมากเกินไป เพราะส่งผลให้กิ่งยืด ต้องคอยตัดใบ ริดใบ เป็นการสร้างงานโดยใช่เหตุ

ในความเป็นจริงผู้ปลูกเลี้ยงสามารถควบคุมได้ อาจใช้เพียงปุ๋ยคอกร่วมกับอาหารเสริมทางใบ ให้ใบเขียวสดชื่นก็เพียงพอ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.การตัดแต่งบอนไซ
8. การตัดแต่งบอนไซ
ระบบกิ่งจะต้องมีทั้งกิ่งหลัก-กิ่งแขนง-และกิ่งย่อย
การทำบอนไซ ระบบกิ่งจะต้องมีทั้งกิ่งหลัก-กิ่งแขนง-และกิ่งย่อย

การตัดแต่งกิ่งบอนไซ

การตัดแต่งบอนไซ มีคอนเซปต์ คือ ให้มองไม้แบบไม้ใกล้ตา ไม่ใช่มองไม้แบบไกลตา เพราะเราจะมองไม่เห็นระบบรากและกิ่ง จะเห็นเพียงโครงสร้างภาพรวมเท่านั้น ดังนั้นการจะสร้างให้ละเอียด เราต้องสร้างแบบดูไม้ใกล้ตา จะเห็นว่าไม้แต่ละช่อมีสั้น-ยาว มีรายละเอียด มองเห็นท้องกิ่ง ระบบกิ่งไม่เรียงตามระดับจนเป็นขั้นบันไดจนเกินไป

ระบบกิ่งของบอนไซประกอบไปด้วยกิ่งเมน (main) หรือกิ่งหลัก แต่ละกิ่งหลักจะมีกิ่งซับเมน (sub main) หรือกิ่งแขนง ที่แตกออกมาจากกิ่งหลักแบบซ้าย ขวา บน ไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ควรตัดออก จากกิ่งแขนงเป็นกิ่งย่อย

แต่ละกิ่งย่อยก็จะมีซ้าย ขวา บน เหมือนกัน ถ้าวางโครงสร้างไว้ตามนี้ การดูแลรักษาระบบกิ่งจะง่ายขึ้น จึงควรวางโครงสร้างนี้ให้ได้ก่อน

กิ่งทุกกิ่งมีการไล่ขนาด โคนกิ่งจะใหญ่ที่สุด แล้วค่อยๆ ไล่ระดับเล็กลงไปเรื่อยๆ กิ่งตรงปลายจะมีขนาดเล็กสุด นี่เป็น “กฎ” เพราะเมื่อไม้จบแล้วหลายคนจะมีปัญหาเรื่องกิ่งบวม ที่เกิดจากการตัดกิ่งย้ำบริเวณเดิมเป็นเวลานาน

วิธีแก้ คือ ตัดทิ้งแล้วเริ่มสร้างใหม่ สุดท้ายต้องมาเสียเวลาหากิ่งแขนงอีก แต่ถ้าไม่ทำ เวลาริดใบออกจะดูไม่ได้เลย ฉะนั้นต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาโครงสร้างไว้เป็นระยะ เพื่อคงความสวยงามของบอนไซไว้ ก่อนจะต้องมานั่งแก้ปัญหาต่างๆ ที่ตามมา และควรมีการริดใบประมาณ 4 เดือน/ครั้ง เพื่อให้เกิดใบใหม่ที่มีความสดตลอด

9.การทำบอนไซ ตอบอนไซต้องดู 3 ส่วน คือ ราก ลำต้น และกิ่ง
9.การทำบอนไซ ตอบอนไซต้องดู 3 ส่วน คือ ราก ลำต้น และกิ่ง

การทำบอนไซ

นี่คือศาสตร์เบื้องต้นใน การทำบอนไซ ในส่วนของศิลป์เป็นเรื่องราวการออกแบบไม้ของแต่ละบุคคล เพราะวิธีการเลี้ยงบอนไซไม่มีสูตรตายตัว ทุกคนสามารถเรียนรู้ และค้นพบสูตรการปลูกเลี้ยง-ดูแล แบบฉบับของตนเองได้ เซียนบอนไซมักพูดเสมอว่า “คนเล่นบอนไซ มีต้นไม้เป็นครู ตัดกิ่ง ผิด-ถูก ถือเป็นการเรียนรู้”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ประโยคนี้เป็นสิ่งที่นักเล่นรุ่นใหม่พึงทบทวน เพื่อให้เกิดกำลังใจในการสร้างบอนไซ จะได้ไม่ท้อถอยไปเสียก่อน เนื่องจากบอนไซไม่ใช่ไม้ที่จะสร้างจบได้ภายใน 1-2 ปี บางต้นใช้เวลา 5 ปี 10 ปี หรือมากกว่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการได้ไม้จบสักต้นหนึ่ง คือ ระยะเวลาที่ปลูกเลี้ยง เฝ้าดูแลทะนุถนอม จนเกิดความรัก ความผูกพัน ระหว่างคนกับต้นไม้

สำหรับคนที่ต้องการย่นระยะเวลาในการสร้างบอนไซให้เร็วขึ้น ต้องเลือกไม้ตอที่มีระบบราก ต้น กิ่ง หรือโครงสร้าง โดยรวมที่มีความเหมาะสมสำหรับ การทำบอนไซ

10.ทับทิมดอก
10. การทำบอนไซ ทับทิมดอก

การจำหน่ายบอนไซ          

นอกจากตอบอนไซไทรจีนแล้ว เฮียโหงวยังมีไม้บอนไซยอดนิยมจากแดนมังกรต้นกำเนิดบอนไซ อย่าง สนใบพาย สนจูนิเปอร์ ไทรจีนไทเกอร์ ไกรภูเขา ทับทิมดอก พร้อมด้วยตุ๊กตาดินเผาของแท้จากเมืองจีน ยาทาแผลไม้ ลวดทำบอนไซ ดินผสมปลูกบอนไซ กระถางบอนไซ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบอนไซทุกชนิด

รวมถึงหินรูปทรงแปลกจากฝีมือธรรมชาติ รากไม้กลายเป็นหิน ไม้แกะสลัก หยกขาวปากีสถานแกะสลักรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม ฉากไม้หอมลายวิจิตร และของเก่าทรงคุณค่าน่าสะสมอีกมากมาย การทำบอนไซ การทำบอนไซ

ขอขอบคุณ

คุณนิวัฒน์ ผุดประภากุล (ภัตตาคาร 5 คิชเช่น)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

140 ใกล้ซอยมิตรสัมพันธ์ ถ.จันทน์ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม.

โทร.09-2635-4695, 0-2212-2217, 0-2213-1129