รองเท้านารี มารู้จัก กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ สกุลนี้ที่ปลูกในไทยได้ดี (แบบละเอียด)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีในประเทศไทย

ชนิดของ กล้วยไม้ ในสกุล รองเท้านารี

กล้วยไม้ ในสกุล รองเท้านารี (Paphiopedilum) ที่พบอยู่ตามธรรมชาติ มีไม่ต่ำกว่า 50 ชนิด ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยมาจนถึงมาเลเซีย

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

สำหรับประเทศไทยเท่าที่ได้ปรากฏและมีหลักฐานแน่ชัดมีอยู่ไม่น้อยกว่า 9 ชนิด ในหมู่นักพืชกรรมบางกลุ่มนิยมเรียกว่า Cypripedium แทน Paphiopedilum แต่เนื่องจาก กล้วยไม้ สกุลนี้ได้รวมเอา กล้วยไม้รองเท้านารี ชนิดที่พบในแถบหนาวเข้ามาไว้ด้วย

วงการพฤกษศาสตร์ได้แบ่งวงศ์ย่อย กล้วยไม้รองเท้านารี เป็น 5 สกุล คือ Cypripedium, Paphiopedilum, Phragmipedium, Selenipedium และ Mexipedium ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสับสนมากมาย นักพฤกษศาสตร์จึงได้แยกกลุ่ม กล้วยไม้รองเท้านารี ที่พบในภาคพื้นเอเชียเข้าไว้ในสกุล Paphiopedilum

1.รองเท้านารี กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้รองเท้านารี
1.รองเท้านารี กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ กล้วยไม้รองเท้านารี

สำหรับชนิดที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 หมู่ เป็นอย่างน้อย คือ

1.Brachypetalum ประกอบด้วยรองนารีฝาหอย (P. bellatulum), รองเท้านารี ดอกสีขาว (P. nivenm), รองเท้านารีสีครีม (P. godefroyae) และ รองเท้านารีปราจีน (P. concolor) ซึ่งเป็นหมู่ที่มีดอกฟอร์มกลม กลีบกว้าง และใบมีลาย พบขึ้นอยู่ตามภูเขาหินปูนที่มีใบไม้ผุตกทับถมกันอยู่

2.พวกกลีบ แคบ และบิดเป็นเกลียว เช่นเดียวกับกล้วยไม้รองเท้านารีฟิลิปปินส์ (P. philippinse) ซึ่งได้มีผู้นำเข้ามาแพร่หลายอยู่ในรัง กล้วยไม้ เมืองไทยหลายแห่งในปัจจุบัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่สำหรับชนิดที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยมีอยู่ชนิดเดียว คือ รองเท้านารีกาญจนบุรี (P. parishii)

3.พวกที่มีใบสีเขียว ไม่มีลาย และมีลักษณะดอกคล้ายคลึงกับ P. insigne ได้แก่ รองเท้านารีอินทนนท์ (P. villosum) และรองเท้านารีกระบี่ (P. exul)

4.พวกรองเท้านารีคางกบ ได้แก่ รองเท้านารี P. callosum, P. harbatum และชนิดอื่นๆ อีก บางชนิดหลักฐานที่พบใหม่ยังไม่ชัดเจน พวกนี้เป็นพวกใบลาย และมีจำนวนโครโมโซมแปรปรวนไปจากพวกที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

2.รองเท้านารีฝาหอย-ใบลาย-ร่างแหสีเขียวเข้ม
2.รองเท้านารีฝาหอย-ใบลาย-ร่างแหสีเขียวเข้ม

รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum)

กล้วยไม้ รองเท้านารี ชนิดนี้ มีแหล่งกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะพบทางจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน แถบที่มีพื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 6,000 ฟุต ค่อนข้างสูง เช่น บนดอยเชียงดาว และบางแหล่งในแถบอำเภอลี้และเถิน มักพบตามริมห้วย

กล้วยไม้รองเท้านารี ชนิดนี้ มีฟอร์มดอกกลมและหนาเป็นพิเศษ สีดอกทั่วไปมีพื้นสีขาว มีจุดสีม่วงแก่ขนาดค่อนข้างใหญ่ ขนาดรูปลักษณะและจุดของดอก มีความผิดเพี้ยนกันบ้างเป็นรายต้น ลักษณะที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ ก้านช่อดอกสั้นและอ่อนมาก ไม่สามารถจะชูดอกให้ตั้งขึ้นได้

ฤดูดอกประมาณเดือนมกราคมไปถึงพฤษภาคมหรือมิถุนายน แต่ก็อาจพบบางต้นออกดอกนอกฤดู รองเท้านารีฝาหอยเป็น รองเท้านา รีประเภทใบลาย มีลักษณะเป็นร่างแหสีเขียวเข้มอยู่บนผิวใบด้านบน ผิวใบด้านใต้มีจุดละเอียดสีม่วงประปรายหรือหนาแน่นแตกต่างกันเป็นรายต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.รองเท้านารีดอยตุง
3.รองเท้านารีดอยตุง

รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)

เป็น กล้วยไม้รองเท้านารี ชนิดที่พบเห็นบ่อยกว่าชนิดอื่นๆ แม้แต่ร้านจำหน่าย กล้วยไม้ ไทยมักจะเป็น กล้วยไม้ป่า จังหวัดปราจีนบุรี และจากป่าภาคอื่นๆ เป็นครั้งคราว

รองเท้านารีชนิดนี้สามารถเลี้ยงให้งอกงามได้ในกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆ และยังสามารถออกดอกให้ผู้ปลูกเลี้ยงได้ชมเสมอเกือบตลอดทั้งปีโดยแทบไม่มีฤดูดอกโดยเฉพาะ ตามธรรมชาติจะพบว่ารองเท้านารีชนิดนี้ขึ้นอยู่กับหินปูนผุๆ ปนกับใบไม้ผุที่ตกทับถมกันบนดินร่วน บางทีพบอยู่ตามริมห้วย หรือเชิงเขาหินปูนจากป่าจังหวัดสระบุรีขึ้นไปทางนครนายกและปราจีนบุรี และปรากฏบนเกาะในทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย

ใบเป็นประเภทใบลาย ใต้ท้องใบมีจุดสีม่วงประปรายบางๆ บางต้นก็พบมีแต่สีเขียว ไม่มีจุดสีม่วงเลยก็มี ก้านช่อดอกยาว 4-5 นิ้ว อาจให้ดอกได้ถึง 3 ดอกบนช่อเดียวกัน ดอกโต สีเหลืองหรือเหลืองอมเขียวอ่อนๆ ประจุดสีม่วงจุดเล็กๆ บางๆ โดยเฉพาะใกล้โคนกลีบบน ตรงกลางกลีบเป็นแอ่งเล็กน้อย กลีบข้างทั้งสองข้างกลีบค่อนข้างรี ปากกระเป๋าค่อนข้างเรียวแม้ว่าจะออกดอกโดยไม่เลือกฤดู แต่ฤดูที่ให้ดอกมากที่สุด คือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

4.รองเท้านารีดอกสีขาว-Paphiopedilum-niveum
4.รองเท้านารีดอกสีขาว-Paphiopedilum-niveum

รองเท้านารีดอกสีขาว (Paphiopedilum nivenm)

เป็น รองเท้านารี ที่นิยมกันในวงการ กล้วยไม้ มิใช่แต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปในหมู่นัก กล้วยไม้ ในต่างประเทศ ประกอบกับลักษณะก้านช่อดอกยาวเป็นพิเศษ ช่วยให้ดอกชูเด่น และเหมาะแก่การใช้ปักในภาชนะ หรือทำไม้ตัดดอก

แหล่งกำเนิดของพันธุ์ มีอาณาบริเวณตั้งแต่หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือของมาเลเซียขึ้นมาในเขตแดนประเทศไทยจนถึงจังหวัดตรัง ขึ้นอยู่ตามเขาหินปูนสูงชัน มีอัตราการผุพังของหินค่อนข้างสูงเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติไม่ต่ำกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีการทับถมของใบไม้ผุตามแอ่งหินที่ค่อนข้างร่ม แต่ได้รับลมธรรมชาติอย่างเต็มที่

รองเท้านารีสีขาวนี้ เป็น รองเท้านารี ประเภทใบลาย ใต้ท้องมีใบสีม่วงแก่ ก้านช่อดอกยาว มีดอกก้านช่อครั้งละ 1-3 ดอก ดอกโตประมาณ 2-3 นิ้ว พื้นกลีบดอกสีขาว เนื้อกลีบเป็นมันสดใส มีจุดละเอียดๆ สีม่วงใกล้ๆ โคนกลีบ ต้นที่มีสีขาวบริสุทธิ์นับว่าหายากและมีค่ามาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กล้วยไม้รองเท้านารี ชนิดนี้เป็น กล้วยไม้ ที่เลี้ยงง่ายในที่ราบภาคกลางของประเทศไทย สามารถออกดอกให้ได้เกือบตลอดปี และฤดูซึ่งให้ดอกมากที่สุดประมาณเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคม

5.รองเท้านารีอินทนนท์-Paphiopedilum-villosum
5.รองเท้านารีอินทนนท์-Paphiopedilum-villosum

รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paphiopedilum nivenm “Ang Thong”)

มีลักษณะแหล่งกำเนิดคล้ายคลึงกับรองเท้านารีดอกสีขาว พบตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น เกาะสมุย หรือหมู่เกาะช่องอ่างทองทั่วไป

เป็น รองเท้านารี ประเภทใบลาย ซึ่งมีความผิดเพี้ยนของลักษณะต้น ใบ และดอกกว้างกว่ารองเท้านารีดอกสีขาว กล่าวคือ ใบของแต่ละต้นอาจจะมีลายมากบ้าง น้อยบ้าง ใต้ท้องใบก็อาจพบว่ามีสีม่วงแก่ หรือสีม่วงอ่อน บางต้นก็เกือบไม่พบว่ามีสีม่วงเลย ก้านช่อดอกของบางต้นค่อนข้างยาว บางต้นก็สั้น ขนาดดอกแตกต่างกัน ไม่สม่ำเสมอ การประจุดในดอกก็มีทั้งที่จุดใหญ่ๆ กระจายออกไปจากโคนกลีบ บางต้นก็ให้จุดเล็กๆ และบางตา พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา และมั่นคง แข็งแรงมาก ขนาดดอกโดยทั่วไปโตกว่า รองเท้านารีดอกสีขาวที่กล่าวมาแล้ว

นำมาปลูกในกรุงเทพฯ ปรากฏว่าเลี้ยงง่าย งอกงามดีมาก แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกันกับรองเท้านารีดอกสีขาวธรรมดาแล้ว ชนิดนี้เติบโตและเลี้ยงง่ายกว่า แต่มีข้อเสียอยู่ประการหนึ่ง คือ รองเท้านารี ชนิดนี้ไม่ค่อยจะทนทานต่อโรคเน่า หากปลูกไว้นานหลายปีจนเครื่องปลูกผุมาก มักจะเกิดโรคเน่าและลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะถ้ามีการตั้งกระถางไว้ชิดกันมากๆ

6.รองเท้านารีดอกสีครีม-paphiopedilum-godefroyae
6.รองเท้านารีดอกสีครีม-paphiopedilum-godefroyae

รองเท้านารีดอกสีครีม (Paphiopedilum godefroyae)

เป็นรองเท้านารีประเภทใบลายอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามมาก มีลักษณะของต้น และใบคล้ายคลึงกันกับชนิดดอกสีขาวมาก ถ้าหากปลูกปะปนกันโดยไม่ได้เห็นดอกก็ยากที่จะแยกออกจากกันได้ บางครั้งพบรองเท้านารีชนิดนี้ขึ้นปะปนกันอยู่กับรองเท้านารีดอกขาว

รองเท้านารีสีครีมนี้มีก้านช่อดอกสั้นกว่ารองเท้านารีดอกขาว ดอกสีเหลืองครีมประจุดสีม่วง โตกว่าจุดในดอกรองเท้านารีดอกขาว จุดสีม่วงนี้กระจายออกไปจากโคนกลีบไปเกือบทั่วบริเวณกลีบ ดอกมีลักษณะฟอร์มกลม ขนาดใหญ่และกลีบหนากว่าชนิดดอกขาว ฤดูดอกเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายนของปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกและบำรุงรักษาเช่นเดียวกับรองเท้านารีดอกขาว ดอกบานทนได้ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อบานนานๆ ริมกลีบมักจะแอ่นไปข้างหลังเล็กน้อย

7.รองเท้านารีฝาหอย-Paphiopedilum-bellatulum
7.รองเท้านารีฝาหอย-Paphiopedilum-bellatulum

รองเท้านารีคางกบ หรือแมลงภู่ (Paphiopedilum callosum)

เป็นรองเท้านารีใบลายซึ่งมีลักษณะผิดแปลกไปจากชนิดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว สีของใบค่อนข้างจางกว่า ปลาบใบเรียวแหลมกว่า และทรงของใบตั้งขึ้นเล็กน้อย เป็นรองเท้านารีที่พบตามธรรมชาติในแถบพื้นที่สูง จึงปรากฏว่า เมื่อนำมาเลี้ยงในบริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศไทยจึงมักไม่ค่อยเจริญงอกงาม และไม่ออกดอกให้เท่าที่ควร

ลักษณะต้นและใบคล้ายคลึงกันกับรองเท้านารีบาร์เบตั้ม (Paphiopedilum barbatmu) มาก แต่รองเท้านารีชนิดนี้มีจำนวนโครโมโซม 32 ส่วน รองเท้านารีบาร์เบตั้มมีจำนวนโครโมโซม 38 ส่วน รองเท้านารีคางคบนี้มีก้านช่อยาวและมีดอกเพียงช่อละดอกเดียว ก้านช่อสีม่วงคล้ำ มีขนหนาแน่น กลีบบนของดอกมีริมสีขาวและมีลักษณะใหญ่ ปลายแหลม รูปปลายใบใบโพธิ์ มีบริเวณสีเขียวและสีม่วงคล้ำ กระจายออกจากโคนกลีบ

กลีบในทั้งสองข้างเหยียดลงข้างล่างเล็กน้อย โค้งคล้ายรูปอักษร S เล็กน้อย โคนกลีบสีเขียว ปลายกลีบสีขาวเหลือบม่วง ริมกลีบด้านบนมีไฝ และมีขนสีดำที่ไฝนั้น ปากมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ด้านบนผายออกเล็กน้อย เหลือบสีม่วงอมเขียว ฤดูดอกประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของปี ดอกบานทน สามารถใช้เป็นกล้วยไม้ตัดดอกได้เป็นอย่างดี

8.รองเท้านารีปีกแมลงปอ-Paphiopedilum-sukhakulii
8.รองเท้านารีปีกแมลงปอ-Paphiopedilum-sukhakulii

รองเท้านารีปีกแมลงปอ (Paphiopedilum sukhakulii)

พบในบริเวณมีระดับพื้นที่ค่อนข้างสูงของจังหวัดเลย โดยในครั้งแรกได้มีผู้เก็บมาในนามของรองเท้านารีคางคบ เนื่องจากต้นและใบละม้ายคล้ายคลึงกันกับรองเท้านารีคางกบมาก เมื่อนำมาปลูกออกดอกจึงปรากฏว่ามีข้อแตกต่างอยู่หลายประการ

ประการแรก รองเท้านารีชนิดนี้มีฤดูออกดอกระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ซึ่งเป็นตอนกลางฤดูฝน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และประการสองคือ รายละเอียดต่างๆ ของดอก สามารถเห็นข้อแตกต่างได้ชัดเจน ตลอดจนลักษณะนิสัยของก้านช่อเช่นเดียวกับรองเท้านารีคางคบ ก้านช่อยาว สีม่วงคล้ำ มีขน ก้านแข็งและตั้ง มีดอกก้านละ 1 ดอก พื้นกลีบสีขาว มีทางสีเขียวถี่ๆ หลายทางจากโคนกลีบขนานกันไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในทั้งคู่ยาวเหยียดและกางออกเป็นที่สะดุดตา พื้นกลีบสีเขียว

มีจุดสีม่วงคล้ำประปรายทั่วทั้งกลีบ ริมทั้งสองข้างมีขน และจดซึ่งอยู่บนพื้นกลีบส่วนใกล้ๆ โคนกลีบก็ปรากฏว่ามีขนด้วย ปากยาว ลักษณะและสีคล้ายคลึงกับปากของรองเท้านารีคางกบ แผ่นโล่ (staminode) อยู่ปลายเส้าเกสรตรงกลางดอก ปลายสองข้างแหลม รูปวงพระจันทร์คว่ำลง สีเขียวอ่อน มีตาร่างแหสีเขียวแก่

9.รองเท้านารีอินทนนท์
9.รองเท้านารีอินทนนท์

รองเท้านารีอินทนนท์ (Paphiopedilum villosum)

เป็นรองเท้านารีที่พบอยู่บนต้นไม้ตามธรรมชาติ ผิดกันกับรองเท้านารีชนิดอื่นๆ ที่พบอยู่บนพื้นดินหรือตามหินผุๆ

แหล่งกำเนิดของรองเท้านารีชนิดนี้อยู่ในระดับพื้นที่ค่อนข้างสูงมาก ดังจะเห็นได้จากชื่อ “อินทนนท์” หมายถึง ดอยอินทนนท์อันเป็นแหล่งกำเนิดแหล่งหนึ่งของกล้วยไม้ชนิดนี้ นอกจากนั้นยังพบบนยอดของเทือกหรือสันเขาอื่นๆ ในจังหวัดภาคเหนือ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 7,000 ฟุตขึ้นไป

รองเท้านารีชนิดนี้ เป็นชนิดหนึ่งในประเภทใบสีเขียว ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้ๆ กับโคนกอ มีจุดสีม่วงละเอียดๆ ก้านช่อยาว มีขนหนาแน่น ฤดูออกดอกประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ของปี ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 5 นิ้ว กลีบบนสีน้ำตาลจากโคนกลีบ ถัดออกไปเป็นสีเหลืองอมเขียวและสีขาวอยู่ริมกลีบ ส่วนกลีบในทั้งคู่ ครึ่งบนตามความยาวของกลีบเป็นสีน้ำตาล ครึ่งล่างสีน้ำตาลอ่อนอมเขียว ปากใหญ่ มีสีน้ำตาลอมเขียว

10.รางวัลยอดเยี่ยมการประกวดกล้วยไม้รองเท้านารี
10.รางวัลยอดเยี่ยมการประกวดกล้วยไม้รองเท้านารี

ลักษณะเด่นของสกุล กล้วยไม้รองเท้านารี

สิ่งที่ดีเด่นของ กล้วยไม้ ชนิดนี้มีอยู่หลายประการ เช่น ดอกใหญ่ สีสดใส และเนื้อกลีบเป็นมันเงามาก ดอกบานทนเป็นแรมเดือน จึงเป็นที่เรียกร้องความสนใจจากนักผสมพันธุ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังปรากฏชัดเจนในปัจจุบันได้มี กล้วยไม้รองเท้านารี ลูกผสม ซึ่งมีลักษณะดีเด่นอย่างน่าสนใจ ไม่แพ้ กล้วยไม้แคทลียา  และแวนด้า ถ้าหากจะสืบประวัติของบรรพบุรุษ กล้วยไม้รองเท้านารี ลูกผสมสวยๆ เหล่านั้นดู ก็คงจะได้พบว่ามีอยู่ไม่น้อยที่มีรองเท้านารีอินทนนท์ผสมอยู่ด้วย

การนำรองเท้านารีอินทนนท์ชนิดนี้ลงมาจากที่สูงเพื่อมาเลี้ยงในกรุงเทพฯ ดูจะไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับนัก กล้วยไม้  และยังไม่ปรากฏว่าเลี้ยงอยู่รอดได้เกิน 1-2 ปี

อ้างอิงข้อมูลจาก ระพี สาคริก, เอกสารฉบับสำเนา เรื่องกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี ชมรม กล้วยไม้รองเท้านารี แห่งประเทศไทย