หลวงพี่อุเทน ปราชญ์เกษตรระดับชาติ ผลงานระดับโลก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
[et_pb_section][et_pb_row][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text]ปุถุชนธรรมดาถือกำเนิดจากครอบครัวธรรมดาๆ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พระอุเทน  สิริสาโร ชื่อเดิม อุเทน นโรตมางกูล  หรือที่ญาติโยม เรียก “หลวงพี่อุเทน” จนติดปาก ก่อนมาถึงวันนี้ได้นั้นหลวงพี่อุเทนเป็นคนธรรมดาที่ฐานะทางบ้านยากจน ทำให้การดำเนินชีวิตในวัยเด็กเต็มไปด้วยความลำบาก เมื่อ อายุ 20 ย่าง 21 ปี ผู้เป็นมารดาป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งในสมอง ญาติๆ จึงแนะให้บวชที่วัดท่ากระบือ กระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นเอก และได้มาอยู่ที่วัดท่าไม้ ตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งขณะนั้นวัดท่าไม้เป็นวัดต่างจังหวัดที่ไม่มีชื่อเสียง และมีแค่กุฎิ 2 หลัง เมื่อหลวงพี่อุเทนเข้ามาเป็นเจ้าอาวาสได้พัฒนาจนวัดท่าไม้กลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงหรือวัดไฮโซ เพราะมีลูกศิษย์เป็นซุปตาร์ ดารา ไฮโซ หรือ นักการเมือง นักธุรกิจ มากมาย เนื่องจากการที่หลวงพี่อุเทนมีความสามารถด้านวิชาโหราศาสตร์ และมีชื่อเสียงในการเป็นหมอดู เลยดังเป็นพลุแตก จากการดูดวงให้กับผู้ใหญ่วงการตำรวจท่านหนึ่ง จนลูกศิษย์หลากหลายอาชีพศรัทธามาตลอด นั่นคือบทบาทของท่านในการปลดทุกข์ทางใจให้ลูกศิษย์ ทั้ง พระ เณร และ ฆราวาส
1.หลวงพี่อุเทน สิริสาโร
1.หลวงพี่อุเทน สิริสาโร

การเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ

แต่บทบาทที่เป็นตัวตนของหลวงพี่อุเทน คือ แสวงหาและสะสมพันธุ์พืชจากทั่วโลก รวมทั้งพันธุ์สัตว์หลายชนิด เพื่อวิจัยและพัฒนาให้เป็นพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เป็นแหล่งพันธุกรรมต้นน้ำของพืชและสัตว์ เป็นตัวอย่างของเกษตรกร หรือนักธุรกิจเกษตรทั้งหลาย ท่านได้ทุ่มเทศึกษาด้านการเกษตรจากสื่อ และการดูงานทั้งในและต่างประเทศ จากนั้นก็ลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อเก็บข้อมูลทุกด้าน แล้วนำไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น บนพื้นฐานของผู้บริโภคตัวจริง ที่เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์การผลิตโดยตรง
2.ข้าวหอมละมุนแตกกอได้ดี และใบเขียว ตั้งตรง แข็งแรง
2.ข้าวหอมละมุนแตกกอได้ดี และใบเขียว ตั้งตรง แข็งแรง

สภาพพื้นที่ปลูก พืชผัก ผลไม้

ท่านต้อนรับคณะบรรณาธิการ เว็บไซต์พลังเกษตร.com และ นิตยสารพลังเกษตร การสนทนาเริ่มขึ้น เรื่องแรก คือ ประเทศไทย เกี่ยวข้องกับการเกษตรหลายเรื่อง เช่น น้ำใต้ดิน หลวงพี่อุเทนฟันธงว่า ตาน้ำ หรือ ต้นน้ำ ของประเทศ อยู่ที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือหลายจังหวัด จึงเกิดโครงการหลวงดินทั้งประเทศ เป็นกรด pH 4 กว่าๆ ยกเว้น อ.ฝาง อ.ชัยปราการ ไม่เป็นกรด ในเรื่อง พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวหอมมะลิ ต้นกำเนิดมาจากเขมร ถูกพัฒนาในไทยที่ อ.บางน้ำเปรี้ยว จากนั้นก็ถูกนำไปปลูกที่ทุ่งกุลาฯ เนื่องจากข้าวหอมมะลิเป็นข้าวไวแสง อีสานแดด 9 ชั่วโมง เป็นดินทรายแดง โดยเฉพาะที่ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ หลวงพี่อุเทน ยืนยันว่า ดีที่สุดกว่าทุกที่ ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น ปลูก “ผลไม้” ได้หลายชนิด แต่ใช้เวลานานกว่าจะให้ผลผลิต ชาวสวนจึงยากจน และชาวสวนก็ไม่รู้คุณค่าและมูลค่าผลไม้หลายชนิด เช่น ทุเรียน 41 สายพันธุ์ ในไทย อร่อยที่สุดอยู่ที่บ้านม่วงสามสิบ จันทบุรี เพราะดินที่นี่ลึก 4 เมตร ยังเป็นสีแดง อากาศดี ใกล้น้ำทะเล มีไอหมอก มีฝน พายุเข้าน้อย ทุเรียนลูกดก ลูกกลม สวย น้ำหนักลูกละ 2-2.2 กก. เกรดส่งนอก เป็นต้น แม้แต่ตลาดต่างประเทศที่จะซื้อผลไม้จากไทย เช่น “ดูไบ” หลวงพี่อุเทนไปสำรวจแล้ว พบว่าต้องการ สับปะรดภูแล ลูกละ 300 บาท ก็ซื้อ ซึ่งต้องการมาก แต่ไม่มีใครส่งไปขาย หรือถ้าเจาะจงไปที่เกษตรกรก็ยังมีจุดอ่อนมากมาย เช่น ไม่ปรับตัว ไม่ยอมเป็นนักธุรกิจ สยบ ยอมพ่อค้าคนกลาง แม้เสียเปรียบก็ตาม และต่างคนต่างทำ ต่างจาก “สวนเจ๊เล็ก” จันทบุรี ทำสวนทุเรียนผสมผสาน 2,000 ไร่ รายได้ 80 ล้าน/ปี เก่งบริหารคน บริหารต้นทุน ช่วงที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต ได้ปลูก “กล้วยไข่” ผลใหญ่ ต้นสูง เพราะต้องการพุ่งขึ้นไปหาแสง รายได้เครือละ 1,000 กว่าบาท แต่ก็มีเกษตรกรรายย่อยบางคนที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม บางคน 5 ไร่ บางคน 10 ไร่ ถูกยึดที่ แต่หันมาปลูก ผัก ผลไม้ ใช้ ขี้แดด จากนาเกลือ ใส่แทนปุ๋ย 0-0-60 ปรากฏว่าผลไม้หวาน ประหยัดปุ๋ยได้ดี มีกำไร เห็นได้ชัด
3.ต้นเศรษฐีดูไบ
3.ต้นเศรษฐีดูไบ

การปลูก พืชผัก ผลไม้

กว่า 25 ปี ที่หลวงพี่อุเทนตระเวนดูงานการเกษตร ทั้งในไทยและต่างประเทศ จึงมองเห็น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และ อุปสรรค ของธุรกิจเกษตรในไทย ทั้งในภาครัฐและเอกชน จึงต้องทุ่มสุดชีวิตทำสวนเกษตร ให้เป็นสวนตัวอย่างที่วัดท่าไม้ สวนตัวอย่างที่มีพันธุ์พืช ทั้งไทยและเทศ หลายชนิด ถูกปลูกทั้งในดินและในกระถาง แล้วดูการเจริญเติบโต ออกดอก ออกผล มีการจัดการเรื่องดิน น้ำ และ ธาตุอาหารพืช เป็นต้น อย่างถูกวิธีกับพืชแต่ละชนิด ซึ่งหลวงพี่อุเทนลงมือด้วยตัวเอง จนได้ “องค์ความรู้” ใหม่ๆ ที่ลงทฤษฎีการปลูกพืชตามตำราของอาจารย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะพืชต่างประเทศ ได้ประยุกต์หลักวิชาจนได้ผลผลิตที่คุ้มค่าแก่การลงทุน เช่น ส้มญี่ปุ่น พืชเมืองหนาว ใช้ยอดเสียบกับตอส้มเมืองไทย หรือใช้ ยอดมะนาวเลเยอร์ ของเยอรมัน มาเสียบกับตอ ส้มออสเตรเลีย เป็นต้น “พืชคลุมดินและมีดอก เป็นได้ทั้งไม้ประดับและคลุมดิน จากดูไบ ทนร้อนได้ 50 องศาฯ คลุมดิน ยึดดิน รากลึก ดอกสีชมพูกับม่วง ตั้งชื่อเศรษฐีดูไบ การขยายพันธุ์ง่าย เด็ดก้านเสียบได้เลย เป็นไม้ประดับ” หลวงพี่อุเทน แนะนำ และบอกว่าพืชชนิดนี้ต้องเสริมราก เพื่อให้มันหากินเก่ง ทนโรค รากลึก ต้นใหญ่ ใช้ปุ๋ยน้อย แต่ให้ผลผลิตมาก ส่วนของหลวงพี่อุเทนมุ่งขยายพันธุ์แจกจ่ายฟรีแก่ชาวบ้านที่สนใจจริงๆ และมอบให้ฟรีแก่หน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน ตชด. เป็นต้น  พร้อมทั้งจำหน่ายในราคาพิเศษด้วย เพื่อนำเงินเข้ามูลนิธิสิริสาโร โดยรูปแบบการขยายพันธุ์มีทั้งเสียบยอด ทาบกิ่ง เพาะเมล็ด และ ปั่นตา ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด และความต้องการของผู้ซื้อ สวนตัวอย่างจึงเป็นสวนที่ตอบโจทย์ด้านการผลิตพันธุ์พืช และการผลิต ออกผล ของพืชเศรษฐกิจโดยตรง
4.ผลผลิตสับปะรด ปัตตาเวีย ผลิตผลของที่สวนผึ้ง
4.ผลผลิตสับปะรด ปัตตาเวีย ผลิตผลของที่สวนผึ้ง
สวนบลูเบอรี่
สวนบลูเบอรี่

การบำรุงดูแล พืชผัก ผลไม้

วันนี้มูลนิธิสิริสาโร มีสวน 4 แห่ง ได้แก่ ที่ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เป็นสวนแรก จากนั้นก็ขยายไปที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ที่คลอง 7 จ.ปทุมธานี และที่ อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ทุกที่มีพันธุ์ไม้หลายชนิด ทั้งไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร และ ไผ่ เป็นต้น เป็นไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน มีจุดขายในตัว เช่น สับปะรดปัตตาเวีย แอปเปิ้ล สาลี่ มะม่วง ทามาโกะ ไข่พระจันทร์ ทุเรียน มะนาวมัน ส้มญี่ปุ่น ส้มออสเตรเลีย ส้มไทย ฝรั่ง 7 สายพันธุ์ ลำไย มังคุด ส้มโอ ทุเรียน พลับ ขนุน ทับทิมอินเดีย ไผ่ กว่า 50 ชนิด และ ข้าว เป็นต้น โดยเฉพาะ “บลูเบอรี่” จากยุโรป ปลูก 500 กระถาง เป็นพืชที่ราคาแพง กก.ละ 1,000 กว่าบาท ต้องใช้ฝีมือในการปลูก โดยหลวงพี่อุเทนต้องปรับดินให้ pH 4 ลงมา เพื่อให้ดินเป็นกรด ปรุงดินด้วย เปลือกต้นสน (พีทมอส) ให้ปุ๋ย 21-0-0 เดือนละครั้ง แต่ 3 ปี ต้องเปลี่ยนดินในกระถาง บลูเบอรี่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ เรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวน แดดหรือฝน ไม่มีผลแต่อย่างใด ความสำเร็จครั้งนี้มีความหมายมากๆ “ทำยังไงให้พืชอายุยืนขึ้น ให้ผลผลิตมากขึ้น ทนต่อโรค ลดสารเคมี จึงมีหลายวิธีขยายพันธุ์ เช่น เสียบตอ ทาบตา ติดตา เสริมราก ตอน ปั่นตา ผสมเกสร ต้นมีผล มีรสจืด ก็ต้องเอาต้นหวานมาผสมแล้ววิจัยหา ข้อดี ข้อด้อย โดยหาข้อมูลจากหนังสือ จากสื่อ ยูทูป แล้วทดลอง หรือหาอาจารย์แต่ละสาขามาประยุกต์” หลวงพี่อุเทน เปิดเผยถึงที่มาของการทำสวนตัวอย่าง
5.หลวงพี่อุเทน อธิบายการปลูกต้นบลูเบอรี่
5.หลวงพี่อุเทน อธิบายการปลูกต้นบลูเบอรี่

การใช้น้ำภายในสวน

เรื่องดิน น้ำ และ ไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนทำเกษตร หลวงพี่อุเทนยอมรับว่า โครงการโคกหนองนา ทำให้ตนได้ต่อยอดหลายอย่าง เช่น สวนที่ ต.ท่าไม้ ใช้โคกหนองนามาประยุกต์ เช่น นำน้ำจากแม่น้ำท่าจีนมาใช้ ด้วยการทดน้ำขึ้น-ลง แล้วเก็บไว้ในถัง DOS ของ บริษัท ธรรมสรณ์ จำกัด ซึ่งเป็นถังเก็บน้ำมาตรฐานที่รู้จักดี ส่วนการใช้น้ำในสวนได้ติดตั้งไทม์เมอร์ ลดแรงงานการให้น้ำ ส่วนไฟฟ้าที่ใช้ทั้งที่วัดและที่สวนได้ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ของ บริษัท นีโอ  เอสเค. จำกัด หรือ ENMAX จำนวน 500 แผง ทำให้ลดค่าไฟ/เดือนลงครึ่งหนึ่ง จึงเห็นได้ว่า หลวงพี่อุเทนพยายามที่จะทำให้การใช้น้ำและไฟฟ้าประหยัด และเกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะการใช้เชื้อเพลิง อย่าง “น้ำมัน” หลวงพี่อุเทนยืนยันว่า คนรวยเติมน้ำมันเท่าราคาคนจน ซึ่งมีความไม่เป็นธรรมชัดเจน
6.ลักษณะรวงยาว 1 รวง มีเม็ดข้าวไม่ต่ำกว่า 300 เมล็ด
6.ลักษณะรวงยาว 1 รวง มีเม็ดข้าวไม่ต่ำกว่า 300 เมล็ด

ลักษณะเด่นของข้าวหอมละมุน

“ข้าว” คือ พืชอาหาร ที่เป็นความมั่นคงของคนไทย และชาวโลก หลวงพี่อุเทนได้รับการสนับสนุนจาก ดร.มานิจ  วิบูลย์พันธุ์ เจ้าของมานิจฟาร์ม บ้านโป่ง โดยให้ “ข้าวหอมละมุน” ได้พัฒนาสายพันธุ์จากการผสมพันธุ์ข้าวทั้งหมด 6 สายพันธุ์ โดยนำลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์มาผสมไขว้กัน เพื่อดึงยีนเด่นของแต่ละสายพันธุ์ออกมา อาทิ ข้าวแดงสุโขทัย ข้าวชัยนาท ข้าวหอมราชินี ข้าวเล็บนก ข้าวหอมปทุมธานี และ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ โดยข้าวหอมละมุน มีจุดเด่น คือ ข้าวไม่ไวต่อแสง มีรากอากาศ ทนโรคแมลง ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ อายุ 120 วัน ให้ผลผลิต 1 เม็ด แตกกอ 134 ต้น เป็นข้าวที่แตกกอได้ดีมาก และสามารถ “แตกกอใหม่” สามารถให้ผลผลิตได้ 2 รอบ ต่อการปลูก 1 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว 1 รอบ สามารถดูแลเพื่อเลี้ยงต้นใหม่ให้ออกรวงได้อีก ที่สำคัญปริมาณผลผลิตข้าวของแต่ละรอบจะใกล้เคียงกันกับการปลูกรอบแรก ความสูงของต้นข้าว 1.8-2.5 เมตร ออกรวงพร้อมกัน รวงยาว จำนวนเมล็ดมากกว่า 300 เมล็ด/รวง ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง ต้านโรค และทนน้ำขัง ได้นานกว่าข้าวสายพันธุ์ทั่วไป ถ้าปลูกในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตยิ่งมากขึ้น ส่วนเม็ดข้าวสารจะมีสีขาวขุ่น คล้ายกับพันธุ์หอมมะลิ เมื่อหุงสุกมีความหอมน้อยกว่าข้าวหอมมะลินิดเดียว แต่มีความนุ่มเทียบเท่าข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมละมุนสามารถดูดซับธาตุอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ดี เป็นข้าวที่ ดร.มานิจ ผสมพันธุ์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเชิงพาณิชย์ และได้มอบให้หลวงพี่อุเทนเพื่อนำมาปลูกและพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เป็นข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งได้ทดลองปลูกระบบอินทรีย์ ข้าวตอบสนองได้ดีในแปลงทดลอง ไม่ได้ใช้ปุ๋ยยา เป็นข้าวที่สามารถช่วยเหลือชาวนาได้ เมื่อเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ข้าวปริมาณมากแล้ว หลวงพี่อุเทนมีความตั้งใจจะมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมละมุนส่งต่อให้ชาวบ้านขยายพันธุ์ต่อไป
7.การเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ
7.การเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ

การบริหารจัดการสวน

เรื่องที่ 2 หลวงพี่อุเทนได้เสนอรูปแบบการลงทุนเกษตรให้รวยและเป็นไปได้ ต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง ขนาด 35 ไร่/ครอบครัว มีแหล่งน้ำถาวร ขุดร่องตามแนวทิศเหนือ-ใต้ กว้าง 1.50 เมตร ลึก 1 เมตร ทำคันล้อมยกร่อง สวนกว้าง 4 เมตร ปลูกมะละกอส้มตำไร่ละ 200 ต้น เตรียมหลุมปลูก ด้วยการนำออสโมโคท 1 ช้อนชา ผสมกับไข่ไก่ หรือไข่เป็ด 1 ฟอง/หลุม แล้วใช้ไตรโคเดอร์มา หรือไดนาไมซัลเฟต โรยก้นหลุม ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วปลูก นำใบมะพร้าวบังเพื่อเป็นร่มให้มะละกอ ให้น้ำ 2-3 วันครั้ง ด้วยสปริงเกลอร์ ติดโซลาเซลล์ ปั๊มน้ำ ปลูกพริกจินดา 3 แถว/ร่อง ขาย กก.ละ 60-120 บาท พอ 8 เดือน ก็เก็บมะละกอขายในช่วงไฮซีซั่นสัปดาห์ละครั้ง กก.ละ 25 บาท ราคาหน้าสวน เก็บผลผลิต 5 ปี ได้เงินหลายล้าน ส่วนการบริหารจัดการสวนอย่างไรไม่ยาก ส่วนที่โคนมะละกอก็ปลูก เตยหอม ขาย กก.ละ 20 บาท รายได้ไร่ละ 8 หมื่นบาท ซึ่งเรื่องนี้มีคนทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว วันนี้หลวงพี่อุเทนเดินหน้าทำสวนเกษตรให้เป็นสวนตัวอย่าง เพื่อช่วยขจัดความยากจนเกษตรกรไทย เพราะได้แรงบันดาลใจจากในหลวง ทั้ง ร.9 และ ร.10 เน้นเศรษฐกิจพอเพียงโคกหนองนา ทั้งนี้เพราะหลวงพี่อุเทนเป็นลูกชาวนา เข้าใจความจน เมื่อมาเป็นพระ นักพัฒนา ได้เก็บปัญหาจากญาติโยม จึงคิดวิธีการแก้ให้ถูกต้อง “เราเป็นประชาชน ทิ้งประชาชนไม่ได้ เรากินข้าวของประชาชน เหมือนในหลวงสอนเห็นประโยชน์ส่วนรวมก่อนส่วนตน จึงตั้งใจรวบรวมพันธุ์พืชทั่วโลกมาไว้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นสมบัติของประเทศ” หลวงพี่อุเทน สรุปบทบาทด้านการพัฒนาเกษตรของ มูลนิธิสิริสาโร สนใจเยี่ยมชมสวน หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ วัดท่าไม้ 51 หมู่ 11 ถนนเศรษฐกิจ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74110

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 28

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]