การใส่ปุ๋ยยางพารา หน้าฝน ป้องกันโรค

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การใส่ปุ๋ยยางพารา หน้าฝน ป้องกันโรคเปลือกเน่า / โรคเส้นดำ

เข้าสู่เดือนพฤษภาคม ถือเป็นการเข้าสู่ “ ฤดูกรีดยาง ” หลังจากเกษตรกรชาวสวนยางปิดกรีดมาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน แต่สำหรับสวนยางต้นใหญ่หรือยางแก่ ในบางพื้นที่เปิดกรีดได้ตั้งแต่หลังสงกรานต์เป็นต้นมา เพราะต้องเข้าใจว่า “ เงิน ” จำเป็นต้องใช้ทุกวัน หยุดไม่ได้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของชาวสวนยางที่ไม่มีทางเลือกมากนัก ถ้ามีน้ำยางอย่างน้อยก็มีเงิน

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูเปิดกรีดเชื้อว่าหลายพื้นที่คงจะมี “ น้ำฝน ” หล่นลงมาโปรยปรายสร้างความชุ่มชื่นชุ่มฉ่ำให้สวนยางได้มีชีวิต พร้อมที่จะผลิต “น้ำยาง” ให้ชาวสวนยาง

แต่น้ำอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำยางของต้นยาง จำเป็นต้องมีอาหารทางตรงเพิ่มเข้าไป ทั้งที่เป็น “เคมี” และ “อินทรีย์” ซึ่งการทำสวนยางขาดอาหารชนิดนี้ไม่ได้เลย

รวมถึงต้องมีกระบวนการจัดการสวนยางให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะช่วงหน้าฝน ว่ากันว่า เป็นช่วงที่โรคร้ายในสวนยางเจริญเติบโตดีนักแล 

ส่วนเทคนิคและวิธีการทำอย่างไรบ้าง ยางเศรษฐกิจมีคำแนะนำ

การไม่ปล่อยให้สวนยางรก เป็นตัวช่วยลดการเกิดเชื้อราต่างๆ ในช่วงหน้าฝนได้
การไม่ปล่อยให้สวนยางรก เป็นตัวช่วยลดการเกิดเชื้อราต่างๆ ในช่วงหน้าฝนได้

 

เทคนิคการ การใส่ปุ๋ยยางพารา ช่วงเปิดฤดูกรีด

ช่วงต้นฤดูฝน เป็นช่วงที่เหมาะแก่ การใส่ปุ๋ยต้นยาง มากที่สุด เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยละลายปุ๋ย ให้รากยางได้ดูดกิน นำไปบำรุงต้น ไม่ว่ายางเล็กหรือยางใหญ่  การใส่ปุ๋ยยางพารา การใส่ปุ๋ยยางพารา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพราะปุ๋ยคือ ธาตุอาหารสำคัญทำให้ต้นยางเติบโตเร็วและช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้

แต่เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้ปุ๋ย ให้ตรงตามความต้องการ ของอายุต้นยาง ชนิดของดิน และแหล่งปลูก

สูตรปุ๋ยยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร มี 3 สูตร ได้แก่

ปุ๋ยสูตร 20-8-20 เป็นสูตรที่เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิม คือ ภาคใต้และภาคตะวันออก

ปุ๋ยสูตร 20-10-12  เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางใหม่ คือ ภาคอีสานและภาคเหนือ และ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 เหมาะสำหรับยางเปิดกรีดแล้วในทุกเขตปลูกยาง

ปริมาณการ ใส่อย่าง ปุ๋ยสูตร 30-5-18 สำหรับหรับยางเปิดกรีด แนะนำให้ใส่อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5 กิโลกรัม/ต้น  ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
หน้ายางถือว่าสำคัญ โดยเฉพาะหน้าฝน จึงต้องมีการป้องกันรักษาอย่างดี
หน้ายางถือว่าสำคัญ โดยเฉพาะหน้าฝน จึงต้องมีการป้องกันรักษาอย่างดี

แต่ก็มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่นิยม ใส่ปุ๋ยมากกว่าที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำ อาจจะใส่ 2 ครั้งๆ ละ 1 กก.ก็มี เพื่อต้องการ ให้ต้นยางสมบูรณ์ผลิตน้ำยางได้เต็มที่ หรือจะใส่ต้นละครึ่งกิโลกรัม ตามที่แนะนำ แต่ใส่ถี่ขึ้น เป็น 3 ครั้ง เป็นต้น

แต่อีกแนวทางหนึ่ง ที่กรมวิชาการเกษตร และ สกย.พยายามส่งเสริมคือ การผสมปุ๋ยใช้เอง หรือเรียกว่า “ปุ๋ยสั่งตัด” คือเกษตรกรซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมใช้เอง ซึ่งจะได้เนื้อปุ๋ยล้วนๆ ประหยัดทั้งต้นทุน และต้นยางได้อาหารเต็มที่

 

 การใส่ปุ๋ยยางพารา ตรงไหน จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด

          ปุ๋ยดีมีคุณภาพสูงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ถ้าใส่ปุ๋ยไม่ถูกที่ถูกจุด…???

โดยหลักของการให้ปุ๋ย เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดกินอาหารหนาแน่น ดังนั้นอายุของต้นยางจึงมีความสำคัญ อย่าง ต้นยางเล็ก ควรให้ใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น

แต่ถ้าต้นยาง 17 เดือนขึ้นไป ควรใช้วิธีหว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปตามแถวของต้นยางในร่องที่เซาะไว้ห่างจากโคนต้นข้างละ 1 เมตร

ส่วน ต้นยางอายุ 5 ปีขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้าง ห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร และต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลง ห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
เสริมปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยาง ช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมี
เสริมปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยาง ช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมี

ทั้งนี้การให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่าน เหมาะกับสวนยางพื้นที่ราบและมีการกำจัดวัชพืชแล้ว ยิ่งมีเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงฝนตกได้ดี

แต่ถ้าเป็นเป็นสวนยางพื้นที่ราบมีการไถจนเรียบ อาจจะใช้วิธีคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินเพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย

สำหรับพื้นที่ดอน หรือลาดเท พื้นที่เขา ไม่ควรใช้วิธีการหว่านเด็ดขาด เพราะโอกาสที่จะถูกชะล้างจากน้ำฝนสูง เมื่อฝนตกเม็ดปุ๋ยจะละลายและไหลไปตามน้ำ ต้นยางได้กินน้อยมาก เป็นการสิ้นเปลืองปุ๋ยอย่างรุนแรง

ดังนั้นจึงต้องใช้ วิธีใส่ปุ๋ยยางพารา ด้วยการฝังกลบ โดยทำได้ 2 วิธีคือ ไถหรือขุดเป็นแถบทางยาว ใส่ปุ๋ยและไถกลบ หรือขุดหลุมประมาณ 2-4 หลุม/ต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมและกลบก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของเกษตรกร

อย่างไรก็ตามแนะนำว่าเกษตรกรไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว เพื่อเป็นการบำรุงดิน ให้สมบูรณ์  และลดต้นทุนปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมด้วย จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องตลาด หรือปุ๋ยขี้ไก่ ขี้วัว ก็แล้วแต่ทุนทรัพย์ และความสะดวก

 

หน้าฝนควรระวังเรื่อง “โรค” ในสวนยาง โดยเฉพาะหน้ากรีด

แม้ว่าฝนจะเป็นปัจจัยจำเป็นของการทำสวนยาง แต่ถ้ามากเกินไปก็อาจจะสร้างผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่ตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้ความชื้นในสวนยางสูง เหมาะแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเชื้อราที่ก่อโรคกับต้นยาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ยิ่งต้นยางต้องผ่านการกรีด เกิดแผล ยิ่งง่ายต่อการเกิดโรค

โรคที่มักพบในสวนยางช่วงหน้าฝน เช่น โรคใบร่วง โรคไฟทอปธอรา  โรคเปลือกเน่า และโรคเส้นดำ เป็นต้น

ยางเปลือกเน่า
ยางเปลือกเน่า

โรคที่มักจะเกิดกับหน้ายางมากที่สุดคือ คือ โรคเปลือกเน่าและโรคเส้นดำ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรหยุดกรีดยางในช่วงฝนตกชุก หรือตกติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม-กันยายน จะมีปริมาณฝนตกมากที่สุด

การกรีดยางในวันที่มีฝนตก จึงไม่ควรกรีดหักโหม หรือหยุดกรีดในช่วงที่ฝนตกไปเลย

ขณะเดียวกันหลังการกรีดเกษตรกรควรใช้ทารักษาหน้ายางเป็นประจำ เช่น ยาเมทาแลคซิล หรือ ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ พ่นหรือทาทุกๆ 7 วัน เพื่อป้องกันโรคจากเชื้อรา

แต่ถ้าต้นยางเป็นโรคแล้วก็ควรให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทาหน้ากรีดยาง โดยขูดเอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาสารเคมีจนกว่าหน้ากรีดยางจะแห้งเป็นปกติ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สารเคมีที่ใช้ เช่น เบโนมิล(benomyl) (ชื่อการค้า เบนเลท 50% WP) โดยใช้ในอัตรา 20 กรัม/น้ำ 1 ลิตร  พ่นหรือทาหน้ากรีดยาง

ออกซาไดซิล+ แมนโคเชบ(oxadixyl+ mancozeb) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง
ไธอะเบนดาโซล(thiabendazole)  โดยใช้ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

ซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมใช้เองช่วยลดต้นทุนต้นยางได้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ
ซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมใช้เองช่วยลดต้นทุนต้นยางได้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ

 

 

ขณะเดียวกันต้องมีการดูแลรักษาสวนยางให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น จนเป็นแหล่งกำเนินและสะสมของโรค เช่น คอยหมั่นตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีเกษตรกรควรดูแลป้องกัน เป็นดีที่สุด อย่าปล่อยให้เป็นหรือลุกลาม เพราะอาจจะสายเกินไปก็เป็นได้ นั่นอาจหมายถึงความสูญเสียทั้งต้นยางและรายได้

tags: การใส่ปุ๋ยยางพารา หน้าฝน ป้องกันโรค ปุ๋ยยางพารา สูตรปุ๋ยยางพารา ใส่ปุ๋ยยางพารา วิธีใส่ปุ๋ยยางพารา การใส่ปุ๋ยยางพารา ปุ๋ยยางพารา สูตรปุ๋ยยางพารา ใส่ปุ๋ยยาง

[wpdevart_like_box profile_id=”112152085551102″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]

โฆษณา
AP Chemical Thailand