รู้เรื่อง “ข้าว” เพื่อการขายในตลาดโลก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รู้เรื่อง “ข้าว” เพื่อการขายในตลาดโลก

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่และส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก มาหลายปี แต่วันนี้มีประเทศอินเดียและเวียดนามเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เคยแซงไทยไปแล้ว

แม้แต่ลาววันนี้กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ลาวกำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้ากระบวนการผลิตข้าว

นั่นคือ เอาภาคเอกชนเข้ามาส่งเสริมการผลิตข้าว ได้สิทธิพิเศษ เช่น ยกเว้นภาษี เป็นต้น

บริษัท พันเพ็ด พัดทะนากะสิกำ เมืองหาดทรายฟอง เวียงจันทน์ ได้หันมาปรับปรุงวิธีการปลูกข้าวใหม่ ด้วยการใช้ “เครื่องจักร” แทนที่แรงงาน โดยเข้าไปทำนาร่วมกับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งชาวนามีหน้าที่เพียงดูแล คอยกำจัดหอยเชอรี่ วัชพืช หรือโรคระบาด ถ้ามีปัญหาดังกล่าวก็แจ้งให้บริษัททราบ และเข้าไปแก้ปัญหา โดยบริษัทคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดไร่ละ 5,000 บาท และรับซื้อข้าวเปลือกในราคาประกัน กก.ละ 10 บาท ได้ผลผลิต 800 กก./ไร่ ชาวนาจะเหลือกำไรไร่ละ 3,000 บาท แต่ถ้าขยันดูแลข้าวดีจะได้มากกว่านี้ แต่ถ้าข้าวราคาดีกว่า ประกันจะขายก็ได้ แต่ต้องนำเงิน 5,000 บาท มาคืนบริษัท

สำหรับประเทศไทยและในอาเซียน ในสถานการณ์ภัยแล้งที่ผ่านมา ทำให้ทั้งไทยและอาเซียน โดยเฉพาะข้าวฟิลิปปินส์เสียหายมาก พื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวลดลงเหลือ 1.16 ล้านเฮกตาร์ จากเดิม 1.17 ล้านเฮกตาร์ ผลผลิตลดลงจาก 3.93 ตัน/เฮกตาร์ เหลือ 3.83 ตัน/เฮกตาร์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้าว 2

ในไทยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้ปรับลดเป้าการส่งออกจาก 10 ล้านตัน เป็น 9.5 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 4.8 ล้านตัน ข้าวหอมมะลิ 2.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 แสนตัน เพราะมีราคาแพงกว่าคู่แข่งไม่มาก ส่วนข้าวนึ่ง 2.2 ล้านตัน ลดลง 5 แสนตัน เพราะผลผลิตข้าวเปลือกในประเทศลดลง และเสียตลาดข้าวนึ่งให้อินเดีย

ปี 59 คาดว่าผลผลิตข้าวโลกเพิ่ม 1.35%

การคาดการณ์เรื่อง สต็อกข้าวโลก ในปี 58/59 มีผลผลิต 91.536 ล้านตันข้าวสาร ลดลง 6.99% ดังนั้น อัตราการสต็อกข้าวสารเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ของปี 58/59 จะอยู่ที่ 18.72% แสดงว่า การสำรองข้าวสารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ยังอยู่ในระดับที่ดี

สำหรับสถานการณ์การแข่งขันด้านข้าวของไทย และคู่แข่ง พบว่า ไทยมีโอกาสการส่งออกข้าวถึง 11 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งมีสูงที่สุด ไม่นับรวมการบริโภคข้าวของคนไทย เมื่อเทียบกับเวียดนาม สหรัฐฯ ปากีสถาน และอินเดีย แสดงให้เห็นว่า ไทยยังมีสัดส่วนการส่งออกที่ดีอยู่

ช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ที่ผ่านมา พบว่า ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 จำนวน 4.507 ล้านตันข้าวสาร แต่มีจำนวนลดลง 1.1% รองลงมาคือ อินเดีย จำนวน 4.245 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นมา 22.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งปริมาณข้าวที่เหลือจากการบริโภคของคนในประเทศ ทำให้ไทยยังมีศักยภาพการส่งออกที่สูง เมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยราคาข้าวในตลาดโลกยังคงสร้างแรงจูงใจให้กับประเทศผู้ส่งออก ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพในการผลิตข้าวภายในประเทศ และโอกาสในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]