ปุ๋ยยูเรีย คืออะไร?มาทำความเข้าใจ ประเภท คุณสมบัติ ของปุ๋ยยูเรียกันเถอะ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปุ๋ยยูเรีย คืออะไร ถ้าไม่ใช่คนวงการภาคการเกษตรอาจจะไม่คุ้นหู หรือไม่ก็อาจจะเคยได้ยินผ่านๆ กันมาบ้างแล้ว โดยตัวปุ๋ยยูเรียนี่จะนิยมนำมาใช้ในวงการการเกษตรหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น พืช หรือนำไปผสมกับอาหารสัตว์บางชนิด

แต่ส่วนใหญ่แล้วปุ๋ยยูเรียจะนิยมใช้ในแปลงนา หรือนาข้าว เนื่องจากจะส่งผลให้ข้าวมีการเจริญเติบโตที่ดีและรวดเร็ว โดยจะเข้าไปเพิ่มไนโตรเจนในนาข้าวให้มีปริมาณที่สูงขึ้น แต่ก็จะใช้ในปริมาณที่ไม่เยอะมากนัก

1.ปุ๋ยยูเรีย แบบเม็ดโฟมและเม็ดเล็ก
1.ปุ๋ยยูเรีย แบบเม็ดโฟมและเม็ดเล็ก

คุณสมบัติของปุ๋ยยูเรีย

ปุ๋ยยูเรีย คือ ปุ๋ยที่เป็นสารอินทรีย์สังเคราะห์ โดยเป็นปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนที่สูง อีกทั้งยังมีหลากหลายชนิดหลายชื่อเรียก  อีกทั้งยังมีแบบเม็ดโฟม และเม็ดเล็ก  ซึ่งการใช้งานนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำไปใช้ในด้านใด เพราะทั้ง 2 ชนิดนี้จะใช้ในลักษณะและปริมาณที่แตกต่างกันไม่มากนัก

นอกจากนี้ราคาของปุ๋ยยูเรียเองก็มีการผันแปรไปเรื่อยๆ ตามราคาตลาดโลก เนื่องจากต้นทุนการผลิตของปุ๋ยยูเรียนั้นมีราคาที่ไม่คงตัว และสูงในบางช่วงเวลา การใช้ปุ๋ยยูเรียมีความเป็นไม่มาก แต่ก็ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในแปลงนา ที่ชาวนาส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ปุ๋ยยูเรียเป็นตัวช่วยเสริมกันอยู่

ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยเคมีที่เป็นสารอินทรีย์สังเคราะห์ มีไนโตรเจนที่สูง ซึ่งตัวปุ๋ยยูเรียนั้นจะมีสูตรมาตรฐาน คือ สูตร 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้เป็นอย่างมาก เพราะการใช้ปุ๋ยยูเรียเกินปริมาณที่กำหนดนั้น อาจจะไม่ส่งผลดีต่อผลผลิต และตัวเกษตรกรเอง

โดยการใช้ปุ๋ยยูเรียนั้นควรจะใช้ในช่วงแรกที่มีการเร่งเพื่อให้พืชเจริญเติบโตเร็ว มีใบเขียว และมีน้ำหนักที่ดี ซึ่งตัวยูเรียนั้นเป็นสารอินทรีย์ชนิดแรกของโลกที่มีการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการเคมีอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว เอาเป็นว่าปุ๋ยยูเรียเหมาะแก่การใช้ในการเกษตรจริง แต่ควรใช้ในปริมาณที่พอดี เรามาเริ่มทำความรู้จักกับปุ๋ยยูเรียกันดีกว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยแรกเริ่มนั้น “ยูเรีย” ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1727 โดย Herman Boerhaave นักเคมีวิทยาและพฤกษศาสตร์ชาวดัช และหลังจากนั้น 101 ปี ต่อมานักเคมีวิทยาชาวเยอรมัน ก็สามารถสังเคราะห์ยูเรียขึ้นมาจากปฏิกิริยาของสารซิลเวอร์ไซยาเนต และแอมโมเนียมคลอไรด์ ได้ในปี 1828 ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกที่สารอินทรีย์สามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นมาได้จากสารอนินทรีย์ได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาวงการวิชาการเคมีอินทรีย์เป็นต้นมา

ปุ๋ยยูเรีย คือ สารอินทรีย์สังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนในอัตราที่สูงเป็นอย่างมาก โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ร้อยละ 46 ของน้ำหนัก ซึ่งปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยเคมีมาตรฐานที่สำคัญ โดยสูตรมาตรฐานของปุ๋ยยูเรียนั้นจะอยู่ที่สูตร 46-0-0 เนื่องจากเป็นปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนที่สูง ทำให้ต้องใช้เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 นี้จะใช้เพื่อเป็นธาตุอาหารหลักของพืช โดยเฉพาะช่วงแรกของพืช คือ ช่วงที่เพาะปลูก ที่ต้องการเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว เพื่อทำให้พืชนั้นมีลำต้นที่ยาวขึ้น ใบดกขึ้น ใบมีสีเขียวเข้ม และได้น้ำหนักที่ดี

ตามกฎหมายทั่วไปนั้นปุ๋ยยูเรียจะเรียกว่า “ปุ๋ยเคมียูเรีย” โดยทั่วไปนั้นจะต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 44 ของน้ำหนัก และจะต้องมีปริมาณไบยูเร็ตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนัก ปริมาณความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก

นอกจากนี้ยังมีการเรียกแยกของคำว่า สารอินทรีย์ กับยูเรีย โดยให้ความหมายของคำ 2 คำนี้ว่า

สารอินทรีย์ คือ สารที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ซึ่งบางข้อมูลก็มีการกล่าวว่า ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้วนั้นปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายของไทย ฉะนั้นแล้วปุ๋ยยูเรียในไทย ก็คือ ปุ๋ยเคมี ไม่ใช่ปุ๋ยอินทรีย์แต่อย่างใด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ยูเรีย คือ สารอินทรีย์ที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ โดยเป็นสารชนิดแรกของโลกที่มีการสกัดและคิดค้นขึ้นมา ทำให้เกิดการปฏิวัติวงการเคมีที่เคยมีความเชื่อว่า “สารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น”

นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียยังมีชื่อตามลักษณะในชื่ออื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นยูเรีย,  ยูเรีย 46-0-0,  ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0,  ปุ๋ยเคมียูเรีย, แม่ปุ๋ยยูเรีย, แม่ปุ๋ยไนโตรเจน, คาร์บาไมด์ เป็นต้น

2.ปรับปรุงดินให้มีความโปร่ง-ร่วนซุย
2.ปรับปรุงดินให้มีความโปร่ง-ร่วนซุย

ประเภทของปุ๋ยยูเรีย

ซึ่งปุ๋ยยูเรียนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งก็คือ แบบชนิดเม็ดโฟม และชนิดเม็ดเล็ก การใช้งานนั้นจะไม่ค่อยต่างกันมากนัก และขนาดที่มีความต่างกันเล็กน้อย

  • ปุ๋ยยูเรียชนิดเม็ดโฟม โดยปุ๋ยยูเรียชนิดเม็ดโฟมนี้จะมีขนาดเม็ดอยู่ที่ 2-4 มิลลิเมตร ซึ่งจะมีสีขาวลักษณะเหมือนกับเม็ดโฟม ตัวปุ๋ยยูเรียชนิดนี้จะเป็นที่นิยมมากในหมู่เกษตรกรของไทย ซึ่งจะเหมาะกับการหว่านได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ยทั่วไปก็ได้เช่นกัน ซึ่งตัวปุ๋ยชนิดนี้จะเป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน ซึ่งการนำมาใช้นั้นจะนำไปใช้ร่วมกับแม่ปุ๋ยชนิดอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแดป ปุ๋ยม็อบ ซึ่งแต่ละสูตรนั้นก็จะเป็นสูตรมาตรฐานของปุ๋ย จากนั้นก็นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อที่ปุ๋ยสูตรต่างๆ จะได้เสมอกัน และออกมาเป็นปุ๋ยสูตรมาตรฐาน 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-8 เป็นต้น โดยขนาดของปุ๋ยนั้นจะต้องเสมอกันโดยอยู่ที่ 2-4 มิลลิเมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นขนาดกำลังดีของปุ๋ยเม็ดโฟม
  • ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือปุ๋ยเม็ดสาคู โดยปุ๋ยยูเรียขนาดเล็กหรือเรียกกันว่าปุ๋ยเม็ดสาคูนั้น จะมีขนาดประมาณ 1-3 มิลลิเมตร โดยจะมีสีขาวใสเหมือนเม็ดสาคู จึงเรียกว่า ปุ๋ยเม็ดสาคู โดยในไทยจะเป็นที่นิยมใช้ในทางเกษตรน้อยกว่าปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม แต่ปุ๋ยเม็ดเล็กนี้จะเหมาะสมกับต้นไม้ได้ดี เหมือนกับปุ๋ยเม็ดโฟม เพียงแค่ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนั้นยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของเกษตรกรมากนัก โดยข้อเสียของปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กจะไม่สามารถใช้กับบัลค์ปุ๋ยได้ เนื่องจากมีขนาดเล็กเกินไป  โดยส่วนสำคัญของปุ๋ยเม็ดเล็ก คือ สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของการใช้ในอาหารสัตว์ได้ เพื่อช่วยในการเสริมโปรตีน (โดยจะไม่ใช้ปุ๋ยยูเรียชนิดเม็ดโฟมอย่างเด็ดขาด) โดยจะเข้าไปช่วยในการเพิ่มโปรตีนให้กับสัตว์ชนิดเคี้ยวเอื้องต่างๆ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียชนิดเม็ดเล็กยังมีการใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมในหลากหลายประเภทกันมากขึ้น

ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยไนโตรเจนส่วนใหญ่จะมีการจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ กับปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีข้อแตกต่างกันในส่วนของการสังเคราะห์

  • ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เกิดจากการเน่าเปื่อยผุผัง เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะเสริมไนโตรเจนในปริมาณที่ต่ำ การใช้ในแต่ละครั้งควรจะใช้ในปริมาณที่มาก แต่มีความจำเป็นต้องใช้ เพราะปุ๋ยประเภทนี้จะช่วยให้มีการปรับปรุงดิน ให้ดินมีความโปร่ง ร่วนซุย ซึ่งการปรับปรุงดินนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะเริ่มทำการปลูกพืช และเป็นที่ต้องการของพืชได้เป็นอย่างดี
  • ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์มาจากทางเคมี ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในพื้นที่ภาค

การเกษตรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปุ๋ยเคมีจะมีส่วนช่วยในการผลักดันให้ผลผลิตนั้นเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเร่งในการเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตร ทำให้การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทางเคมีนั้นนิยมใช้กันเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งได้หลากหลายประเภท เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย  ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต ปุ่ยแอมโมเนียมซัลเฟต ฯลฯ เป็นต้น

ตามหลักทั่วไปแล้วนั้นราคาของปุ๋ยยูเรียจะขึ้นลงตามราคาตลาดโลก สาเหตุที่ราคาต้องปรับตามตลาดโลกนั้น เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเองมีต้นทุนและวัตถุดิบที่สูง บางโรงงานผลิตปุ๋ยจากก๊าซธรรมชาติ บางโรงงานก็ผลิตปุ๋ยยูเรียมาจากถ่านหิน ทำให้เกิดต้นทุนการผลิต การขนส่ง อัตราการแลกเปลี่ยน ภาษี เกิดขึ้นตามมา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งปุ๋ยยูเรียนั้นถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ที่ซื้อขายกันโดยทั่วไป และเกิดการซื้อขายล่วงหน้าด้วย แต่สิ่งสำคัญที่มีผลอย่างมากเลย คือ ปริมาณความสามารถของการผลิตโดยรวม ปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยโดยรวม การเก็บไว้เพื่อจำหน่ายและปัจจัยหลายๆ ด้านอีกมากมาย

3.มีไนโตรเจนปริมาณที่สูง และละลายน้ำได้ดี
3.มีไนโตรเจนปริมาณที่สูง และละลายน้ำได้ดี

สภาพพื้นที่ในการใช้ปุ๋ยยูเรีย

การใช้ปุ๋ยยูเรียนั้นสิ่งที่สำคัญในการจะนำไปใช้เลย คือ ลักษณะของดิน ปริมาณสารอาหารในดิน ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ พืชที่จะนำมาปลูก เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนในปริมาณที่สูง และปุ๋ยยูเรียเองก็มีการละลายน้ำได้ค่อนข้างดี พืชจึงสามารถดูดนำธาตุอาหารไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยการดูดซึมธาตุอาหารไปใช้นั้นสามารถดูดซึมได้ทั้งทางใบและทางราก ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยยูเรียนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ในช่วงที่ดินมีความเปียกชื้นที่พอดี จะเหมาะสมที่สุด

  • การใช้ในนาข้าว โดยพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในการใช้ต้องเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง จะปลูกได้เฉพาะนาปี โดยใช้ปุ๋ย

ยูเรียสูตรมาตรฐาน 46-0-0 โดยอยู่อัตราไร่ละ 5-10 กิโลกรัม โดยเน้นหว่านให้ทั่วแปลงก่อนข้าวออกดอก 30 วัน ถ้าพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสงจะสามารถปลูกได้ ทั้งนาปีและนาปรัง ก็ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน แต่การให้จะให้อยู่ที่ 10-15 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยจะต่างจากพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง คือ จะหว่านหลังจากปักดำข้าวแล้วประมาณ 35-45 วัน โดยประมาณ

  • การใช้ในพืชไร่ ซึ่งการใช้ปุ๋ยยูเรียในพืชไร่นั้นจะเหมาะสมกับการใช้ในพืชประเภทต่างๆ เช่น อ้อย ข้าวโพด และ

พืชผัก ซึ่งการใช้ในอ้อยนั้นจะใช้อยู่ที่อัตราส่วนไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อปี โดยจะแบ่งใส่ 2 ครั้ง เท่าๆ กัน โดยครั้งแรกจะอยู่ที่หลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่สองหลังจากครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน

ในส่วนของข้าวโพดใช้อยู่ในอัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม โดยทำการโรยข้างแถว หลังจากนั้นให้พรวนดินกลบให้เรียบร้อยเมื่อมีอายุได้ 25-30 วัน โดยใช้ปุ๋ยยูเรียสูตรมาตรฐาน ส่วนพืชผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศ แตงโม พริก กะหล่ำปลี ฯลฯ จะใช้อัตราปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจะใช้เมื่อต้นพืชมีอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยอัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม และครั้งที่สองใช้ในอัตราเท่ากัน โดยห่างจากครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน

นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียยังมีการดัดแปลงไปใช้ในด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ในด้านการเกษตรได้อีก คือ ในประเทศที่มีสงครามนั้นได้มีการดัดแปลงปุ๋ยยูเรีย มีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำเป็นระเบิดปุ๋ย ซึ่งตัวปุ๋ยยูเรียนั้นเป็นปุ๋ยที่มีสารประกอบโดยตรงในการทำระเบิด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ในกรณีนี้ถ้ามีการทำส่วนผสมที่ผิดพลาดนั้น ส่วนผสมก็จะแปรสภาพเป็นการติดไฟ และไม่ระเบิดเกิดขึ้นได้ เพราะการทำนั้นจะต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความรู้ทางด้านส่วนประกอบทางเคมีอย่างแท้จริง ไม่แนะนำให้ไปทำตามอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นการอ้างอิงในการให้ความรู้เบื้องต้นเท่านั้น

การใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีนั้น หากใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจะทำให้เกิดการตกค้างในดินได้ จะทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางกายภาพของดินจะทำให้ดินแข็ง เนื่องจากปุ๋ยที่ใช้นั้นไม่ได้มีส่วนประกอบของปุ๋ยเพียงอย่างเดียว ซึ่งสารเติมเต็มนี้จะเช้าไปแทรกในเนื้อดินทำให้เกิดดินแข็งขึ้น ทำให้รากของพืชนั้นไม่สามารถชอนไชหาอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร โครงสร้างทางเคมีนั้นจะทำให้เกิดดินเค็ม ถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่มากเกินไป อีกทั้งยังทำให้พืชมีอาการผิดปกติ ซึ่งอาจจะทำให้เฉาหรือตายได้ ได้ผลผลิตที่ไม่ดี อีกทั้งจะทำให้เกิดโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น

ซึ่งเกษตรกรหลายท่านยังคงเข้าใจผิดว่าการใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่มากนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และเยอะพอสมควร ซึ่งการใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณเกินความจำเป็นนั้นจะทำให้เกิดสารตกค้างในดิน ทำให้พืชไม่ดูดซึมธาตุอาหาร ซึ่งนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วนั้นยังทำให้เกิดผลเสียต่อดินในระยะยาวได้อีกด้วย

4.ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร และเหมาะสมกับพืชและดิน
4.ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร และเหมาะสมกับพืชและดิน

วิธีการใช้ ปุ๋ยยูเรีย

วิธีที่ถูกต้องในการจะเริ่มใช้ปุ๋ยยูเรียเลย คือ ต้องศึกษาลักษณะดิน เคมีของดิน ปริมาณธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ และปุ๋ยที่มีอยู่ในดินเสียก่อน เพราะเกษตรกรจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถึงจะมีประสบการณ์มาก่อนก็ควรที่จะส่งดินไปตรวจหาค่าต่างๆ ในดินเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าปริมาณปุ๋ยในดินและธาตุอาหารในดินของตัวเองนั้นมีประมาณไหน เพื่อที่จะได้เลือกใช้ปุ๋ยได้ถูกสูตรและเหมาะสมกับพืชและดินที่มีอยู่ และสามารถใช้ในสัดส่วนที่ถูกต้องได้อย่างชัดเจน แถมยังช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ไม่มีสารตกค้าง และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยได้

ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 หรือที่เรียกว่า แม่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องไนโตรเจนในปริมาณที่สูง ซึ่งปกติแล้วไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุอาหารในดินที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชอยู่แล้ว ทำให้มีความจำเป็นต้องหาปุ๋ยหรือแร่ธาตุที่มีส่วนผสมของไนโตรเจนมาเสริมเพิ่มขึ้นในทุกกรณี

ทั้งนี้การเพิ่มปุ๋ยยูเรียหรือนำมาใช้นั้นก็เพื่อให้พืชที่ปลูกนั้นมีความเจริญเติบโตงอกงามได้ดียิ่งขึ้น ให้ได้ผลผลิตที่ดี โดยปุ๋ยยูเรียนั้นจะมีส่วนช่วยในการทำให้พืชมีใบสีเขียวขึ้น มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้เติบโตได้เต็มที่และสูงขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มโปรตีนให้กับผลผลิตอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 มักจะมีการนำมาใช้เป็นส่วนเสริมในอาหารเพื่อเพิ่มโปรตีนให้กับสัตว์ จะเป็นประเภทสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัวเนื้อ วัวนม โค กระบือ แพะ แกะ กวาง ควาย เป็นต้น  เพราะจะมีจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักอยู่ ซึ่งสัตว์เคี้ยวเอื้องนี้จะสามารถเปลี่ยนยูเรียในอาหารให้เป็นก๊าซแอมโมเนียได้ ซึ่งจะอุดมไปด้วยไนโตรเจนที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน เพื่อใช้ในการนำไปสร้างเป็นโปรตีน

ที่สำคัญตัวยูเรียเองยังเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ประเภทนี้ที่มีราคาค่อนข้างถูกกว่าอาหารเสริมชนิดอื่นๆ และยังให้โปรตีนสูงถึง 287.5 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับปลาป่นและกากถั่วชนิดต่างๆ

จะเห็นได้ว่าตัวปุ๋ยยูเรียนั้นเป็นปุ๋ยที่มีการสกัดผ่านกระบวนการทางเคมีมาจากอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นการสกัดสารมาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้ลบล้างข้อกำหนดหรือข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับทางเคมีไปได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยยูเรียนั้นก็มีข้อจำกัดในการใช้เหมือนกัน เพราะว่าการใช้ควรจะใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

หรือใช้ในช่วงที่จะเร่งผลผลิตช่วงแรกก็เพียงพอต่อการใช้แล้ว ไม่ควรที่จะใช้จนเกินขนาด เพราะตัวปุ๋ยยูเรียอย่าลืมว่าเป็นปุ๋ยเคมีอยู่แล้ว การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้เกินปริมาณ จะส่งผลเสียต่อสภาพดินและผลผลิตที่ได้อย่างแน่นอน ฉะนั้นการเลือกใช้ปุ๋ยควรเลือกให้เหมาะกับพืชและสภาพดินที่ใช้จะเหมาะสมที่สุด

ปุ๋ยยูเรียเองก็เป็นปุ๋ยที่มีส่วนช่วยในภาคการเกษตรที่มีให้เห็นเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งข้อมูลตรงนี้อาจจะมีการคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่เป็นข้อมูลที่ละเอียดพอที่จะให้ความรู้ และสามารถศึกษาก่อนตัดสินใจที่จะไปซื้อ หรือนำปุ๋ยยูเรียมาใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ ของปุ๋ยยูเรียนั้นเราไม่ลงลึกมาก เพราะเป็นศาสตร์ทางเคมี โมเลกุล หรือโครงสร้างสูตรต่างๆ ที่เป็นทางเคมีนั้น เป็นหลักสูตรทางเคมี เป็นตารางธาตุโดยตรงนั่นเอง

ทั้งนี้ข้อมูลนี้เป็นเชิงละเอียดที่มีการวางประโยชน์ต่างๆ โทษ ข้อมูลการใช้ และชนิดของ ปุ๋ยยูเรีย รวมไปถึงจุดเริ่มต้นของ ปุ๋ยยูเรีย อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจ ทั้งนี้ผู้เขียนอยากจะเป็นอีกช่องทางในการส่งเสริมและรณรงค์การใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินความจำเป็น อยากให้ลองได้ศึกษากันดู และจะเข้าใจว่าปุ๋ยยูเรียเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการช่วย เราเองต้องดูแลผลผลิตเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.mtec.or.th/post-knowledges/2809/,http://www.cpiagrotech.com/knowledge-065/,https://sator4u.com/paper/1796,https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7124-2017-06-04-07-32-46,http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2/