พริกมาตรฐานแม่คำมี ส่งมาเลฯ/ในประเทศกว่า 160 ตัน/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ปก-พลังเกษตร ฉบับ 38 พริกแม่คำมี
ปก พลังเกษตร 38 – พริกแม่คำมี copy

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีการปลูกและบริโภคอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาค เนื่องจากพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทยหลายเมนู อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การปลูกพริกแบบดั้งเดิมที่พึ่งพาสารเคมีอย่างหนัก ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกรเป็นอย่างมาก พริกมาตรฐานแม่คำมี ส่งมาเลฯ/ในประเทศกว่า 160 ตัน/ปี

ปัจจุบันการปลูกพริกอย่างยั่งยืนจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเน้นการใช้วิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาสารเคมี และคำนึงถึงความยั่งยืนในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การปลูกพริกในรูปแบบนี้จะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดมลพิษ และดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค การส่งเสริมการปลูกพริกอย่างยั่งยืนจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตพริกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและความปลอดภัยด้านอาหารให้แก่ผู้บริโภคด้วย

1.พริกแม่คำมี01

การปลูกพริก

นิตยสารพลังเกษตร จึงพาท่านผู้อ่านไปกันที่จังหวัดแพร่ ไปพูดคุยกับ คุณปรียา อุดขันจริง หรือ พี่ยา ประธานวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ อยู่ในพื้นที่ ตำบลแม่คำมี อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ซึ่งในอดีตกาล กลุ่มแม่คำมี ปงเจริญ มีการปลูกพริกกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ไม่ได้ปลูกอย่างจริงจัง พริกที่ปลูกมักปลูกตามคันนาหรือริมคลอง เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะนำไปตากแดดบนหลังคา เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ ในท้องถิ่น จนกระทั่งถึงรุ่นของพี่ยา กลุ่มแม่คำมียังคงมีการปลูกพริกอยู่ประมาณ 10 กว่าคน ต่อมาพี่ยาได้รวบรวมสมาชิกเพิ่มจนมีประมาณ 30 กว่าคน

ในเมื่อก่อนเนื่องจากมีสมาชิกไม่ถึง 300 คน จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ของรัฐบาลได้ ในปี 2560 กลุ่มแม่คำมีจึงได้ไปร่วมกับแปลงใหญ่ที่อำเภอหนองม่วงไข่ จนกระทั่งเมื่อปี 2564 ทางแปลงใหญ่ของรัฐบาลลดจำนวนสมาชิกลง กลุ่มแม่คำมีจึงตัดสินใจแยกออกมา และจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ” ปัจจุบันมีสมาชิก 32 คน พื้นที่การปลูกทั้งหมดประมาณ 60 ไร่ การรวมกลุ่มกันปลูกพริกแบบดั้งเดิมของชาวแม่คำมีแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตการทำเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และการถ่ายทอดภูมิปัญญาการปลูกพริกจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนย่อมส่งผลให้การผลิตและการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกพริก

จากคำบอกเล่าของ คุณปรียา ประธานวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกพริกต่อชุมชนแห่งนี้ พริกถือเป็นพืชที่ต้องใช้ความพิถีพิถันในการเพาะปลูกและดูแลรักษาสูง จัดเป็นหนึ่งในพืชที่ยากต่อการปลูกเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้เวลาในการดูแลนาน 5-8 เดือน จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ชาวแม่คำมียังคงปลูกพริกอยู่เสมอ เพราะในระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวพริก พวกเขายังสามารถปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น ข้าว และข้าวโพด ได้อีกด้วย

2.พริกแม่คำมี02

สายพันธุ์พริก

สำหรับสายพันธุ์พริกที่ชาวแม่คำมีนิยมปลูก คือ พันธุ์หยกสยาม ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 70-90 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมัดแรกได้แล้ว แล้วหลังจากนั้นอีก 7 วัน ก็จะสามารถเก็บต่อเนื่องได้อย่างต่อเนื่องรวมเป็นเวลา 12 เดือนเต็ม การที่พริกสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี จึงทำให้เป็นรายได้หลักของครอบครัวชาวแม่คำมี อีกทั้งยังสร้างงานให้กับทุกคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงที่ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวพริกในแปลง หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่สามารถร่วมทำงานเบาๆ อย่างการดึงขั้ว คัดแยกพริก ให้การช่วยเหลือตามสภาพร่างกายที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ พริกจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชุมชนแม่คำมี ช่วยสร้างรายได้และการมีงานทำให้แก่คนในชุมชน ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ผูกพันกับคนแม่คำมีมาอย่างยาวนาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.พริกแม่คำมี03

การจัดการการผลิตพริกอย่างเป็นระบบของ วิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ

การปลูกพริกของวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ มีได้มีการวางแผนการผลิตและการจัดการผลผลิตอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถส่งพริกออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดรอบการเก็บเกี่ยวพริกซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 เดือน พบว่ามีการแบ่งผลผลิตออกเป็นเกรดต่างๆ ตามรอบการเก็บเกี่ยว ดังนี้

  • พริกที่เก็บในรอบ 1-4 ซึ่งมีคุณภาพดีที่สุด คัดเป็น เกรดเอ เกือบทั้งหมด
  • พริกเก็บในรอบ 5 ขึ้นไป คัดเป็น 3 เกรด คือ เกรดเอ เกรดบี เกรดซี
  • พริกเก็บหลังจากรอบ 10 ขึ้นไป คัดเป็น 4 เกรด คือ เกรดเอ เกรดบี เกรดซี และเกรดแดงซอส

ผลผลิตโดยรวมและการส่งจำหน่าย

  • พริกเกรดเอ คุณภาพดีที่สุด จะส่งจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศอย่างมาเลเซีย และตลาดไทย กว่า 40

ตัน/รอบการผลิต

  • พริกเกรดบีและเกรดซี ยังคงเป็นพริกคุณภาพ จะส่งจำหน่ายสู่ตลาดในประเทศเป็นหลัก อาทิ ตลาดไท
  • พริกเกรดแดงซอส จะเป็นพริกที่ส่งเข้าสู่กระบวนการทำซอสพริกของกลุ่ม หรือส่งให้โรงงานผู้ผลิตใน

การทำซอส

นอกจากนี้ ชุมชนแม่คำมียังมีการวางแผนการปลูกพริกร่วมกับชุมชนอื่นๆ ในพื้นที่ เพื่อไม่ให้พริกจากแหล่งผลิตต่างๆ ออกสู่ตลาดพร้อมกันจนเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด โดยชุมชนแม่คำมีจะเป็นแหล่งผลิตพริกยำเขียว (พริกหนุ่ม) รายแรก ปลูกตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม การบริหารจัดการการผลิตและการตลาดพริกแบบนี้ ทำให้ชุมชนสามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตพริกได้ตลอดทั้งปี และสามารถป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ท่วมท้น สร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกในชุมชน

4.พริกแม่คำมี04

การดูแลและการจัดการแปลงปลูกพริกของ วิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ

การปลูกพริกให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสูงนั้น จำเป็นต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมดินและการผลิตต้นกล้า จนกระทั่งดูแลต้นพริกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว สำหรับวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ พวกเขาได้รับคำแนะนำจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นและหน่วยงาน สวทช. ในฐานะพี่เลี้ยง เพื่อให้การปลูกพริกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนสำคัญเริ่มตั้งแต่การเพาะกล้าพริก ซึ่งจะต้องทำในโรงเรือนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช พร้อมใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมี ระยะเวลาในการเพาะต้องไม่เกิน 28-30 วัน เพื่อให้ต้นกล้ามีความแข็งแรง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกจะเริ่มจากการไถดินให้ร่วนซุย และมีการหว่านปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากพริกชอบพืชตระกูลถั่ว พร้อมกับหว่านโดโนไมด์เล็กน้อย เพื่อกำจัดเชื้อโรคในดิน หลังจากนั้นจึงค่อยคลุมแปลงด้วยผ้าใบก่อนวันปลูก วันปลูกจะต้องพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อกำจัดไข่หนอน และกำจัดเชื้อราโดยใช้สารไตรโคเดอร์มา แล้วจึงรีบปลูกต้นกล้าโดยใส่ปุ๋ยหมักขี้หมูเป็นปุ๋ยรองพื้น นอกจากนี้การจัดการการปลูกยังต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละปี เช่น ในปีที่มีฝนตกติดต่อกันหนักหรือร้อนจัดทำให้ดอกพริกร่วง พวกเขาจึงต้องทดลองปรับเพิ่มเป็นการปลูก 3 แถว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่พอคุ้มทุนหากเกิดสภาวะท้าทาย

เราจะมีอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สวทช. เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในการทำพริก เขาจะเน้นให้เราทำอย่างถูกต้องตั้งแต่ เตรียมดินเพาะ เตรียมดินปลูก เพราะจุดสำคัญของเกษตรกร คือ ต้องทำกล้าให้สวยที่สุดและสมบูรณ์ที่สุด กล้าสวย คือ ต้นเขาจะต้องแบบไม่แห้ง ไม่แกรน จะต้องสวย ใบกว้าง อาจารย์พี่เลี้ยงจะสอนเราตั้งแต่ทำต้องทำอย่างไรก็ได้ให้กล้าสวย แล้วก็การดูแลกล้า คือ จะต้องมีโรงเรือนเพื่อกันเพลี้ยไฟ อะไรพวกนี้อาจารย์จะสอนหมด ซึ่งเขาจะชำนาญในเรื่องการปลูกพริกมาก สอนให้ดูแลกล้าอย่างไรให้แข็งแรง ต้องใช้ชีวภัณฑ์ช่วยเพื่อที่ว่าเวลาเราใช้เคมีเยอะเกินไปมันจะดื้อได้ ยังแนะนำให้ใช้ดินเพาะกล้าในโรงเรือน จะต้องไม่ให้เกิน 28 วัน หรือไม่เกิน 1 เดือน เราก็ต้องลงปลูกเลย ถ้ามากกว่านั้นมันจะให้ผลผลิตที่มันเร็วเกินไป ทำให้ต้นโทรมไว เวลาปลูกก็เหมือนกัน

การเตรียมแปลงช่วงที่เรายังเพาะกล้าอยู่จะต้องมีการเตรียมแปลงก่อนที่จะขึ้นแปลง เราจะต้องมีการไถและลงปอเทืองด้วย ให้ไถพรวนทิ้งไว้ประมาณ 38-40 วัน ก่อนที่จะขึ้นแปลงก็ให้ไถปอเทืองและใส่โดโลไมท์แต่ไม่ใส่มาก อาจารย์แนะนำให้ใส่แค่ 7-10 กก. เท่านั้น วิธีการคือหว่านลงไปบนปอเทืองแล้วก็ไถกลบลงไป เพื่อมาฆ่าเชื้อราของพริกที่มันตกค้างอยู่ในดินแค่นั้นเอง ไม่ได้เน้นที่จะไปปรับค่า pH ในดิน ส่วนปอเทือง คือ ปุ๋ยพืชสด เพราะพริกจะชอบพืชตระกูลถั่ว การเตรียมดินจึงต้องเริ่มจากปอเทืองก่อน เราต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินเพื่อขอปอเทืองมาใช้ และเตรียมโดโลไมท์ไว้ด้วย พอตัดต้นพริกเสร็จ เมื่อมีความชื้นหลงเหลืออยู่บนแปลง เราก็หว่านปอเทืองลงไปแล้วไถกลบ และเมื่อหลังขึ้นแปลงแล้ว เราแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมักจากขี้หมู ไม่แนะนำให้ใช้ขี้ไก่หรือขี้วัว เพราะอาจมีเชื้อรา หว่านปุ๋ยหมักลงบนแปลงแล้วใช้ปรับดินให้เสมอกัน ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์

5.พริกแม่คำมี05

ก่อนปลูกต้องปล่อยน้ำแล้วพ่นสารป้องกันกำจัดไข่หนอนและเชื้อราบนแปลงก่อน จากนั้นจึงคลุมผ้า คลุมแปลง ระยะปลูก คือ 50x50 ซม. อาจารย์แนะนำให้ปลูก 2 แถวๆ ละ 2 ต้น แต่เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนในช่วง 2-3 ปีหลัง ทำให้ผลผลิตตกจาก 6-8 ตัน เหลือเพียง 3-4 ตัน/ไร่ มีฝนตกติดต่อกัน 7 วัน ทำให้ดอกร่วง ถ้าปลูก 2 แถว แล้วได้ผลผลิตเพียง 24-25 มีด ก็ต้องตัดต้นทิ้ง จึงคิดปรับแผนมาปลูก 3 ต้น เพื่อให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม” พี่ยา เล่าให้ฟังถึงเทคนิคการจัดการฟาร์มพริกที่ได้อาจารย์พี่เลี้ยงคอยแนะนำ

แนวทางนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการปรับปรุงวิธีการผลิต โดยการนำความรู้ทางวิชาการผสมผสานกับประสบการณ์และการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตพริกที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการจำหน่ายอย่างยั่งยืน

การปลูกพริกหยกสยามเพื่อการส่งออกนั้น มีกระบวนการที่ค่อนข้างยาวนานและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่การเพาะต้นกล้าประมาณ 28 วัน หลังจากนั้นจึงปลูกลงแปลง 1 วัน จะต้องฉีดพ่นสารเคมีป้องกันแมลง เช่น เพลี้ยไฟ แมลงปากกัด ปากดูด และเชื้อรา โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักก่อน เมื่อปลูกเสร็จแล้วต้องพ่นสารเคมีอีกครั้งเพื่อป้องกันการระบาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากนั้นเป็นการสลับสารเคมีกับชีวภัณฑ์เป็นระยะ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของแมลงและเชื้อรา โดยการใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์ร่วมกันจะช่วยคงสมดุลของธรรมชาติ และไม่ทำให้แมลงดื้อสารเคมีได้ง่าย กระบวนการเหล่านี้ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง จากนั้นหลังจากปลูกประมาณ 80 วัน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบแรกได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ภายหลังการเก็บเกี่ยวก็จะส่งผลผลิตไปตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีตกค้างก่อนที่ด่านสะเดา ก่อนที่จะส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย เนื่องจากได้ใช้ชีวภัณฑ์ควบคู่กับสารเคมี ผลผลิตจึงผ่านมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า

6.พริกแม่คำมี06

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายพริก

ในส่วนของการขยายตลาดในประเทศ ทางกลุ่มได้มีการพูดคุยกับทางตลาดไทว่าในปีนี้ วิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังตลาดไทมากขึ้น นอกเหนือจากการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซียในปัจจุบัน โดยจะลองทำการตลาดกับตลาดไทก่อน เพื่อดูว่าสามารถกำหนดราคาและการจัดจำหน่ายได้ด้วยตนเองหรือไม่  อย่างไรก็ตาม การทำการค้ากับตลาดไทมีข้อแม้สำคัญ คือ ตลาดไทจะต้องรับสินค้าไปก่อน จากนั้นจึงจะแจ้งราคาซื้อกลับมาในภายหลัง เนื่องจากยังไม่สามารถประเมินความต้องการของผู้บริโภคได้แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากการส่งออกไปยังมาเลเซีย ที่สามารถตกลงราคาซื้อขายไว้ล่วงหน้าได้

ดังนั้นในการทดลองทำตลาดไทในรอบการผลิตหน้า ทางกลุ่มผู้ผลิตจึงตั้งใจจะส่งผลผลิตพริกไปทดลองตลาดเพียงบางส่วนเท่านั้น ประมาณ 2-3 ราย เพื่อทดสอบตลาดก่อน หากไม่ประสบความสำเร็จ ก็ยังคงมีตลาดรองรับอยู่ที่ประเทศมาเลเซียในราคาที่ตกลงกันไว้

7.พริกแม่คำมี07

การเก็บเกี่ยวผลผลิตพริก

วิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ มีกลยุทธ์การปลูกพริกสองประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดมาเลเซีย ได้แก่ พริกหนุ่ม หรือที่เรียกว่า พริกยำ ทั้งยำเขียวและยำแดง ทางตลาดมาเลเซียมีความต้องการสูง ในขณะที่ พริกฮอท คือ พริกขี้หนูทุกชนิดที่มีขนาดโตพอสมควร ตลาดมาเลเซียจะรับซื้อเพียงแค่ 1-2 มีด แต่จะปฏิเสธหากพริกมีขนาดเล็กลงหลังจาก 3 มีดขึ้นไป

เหตุผลที่เกษตรกรจำเป็นต้องปลูกทั้งสองประเภท เนื่องจากการเก็บเกี่ยวพริกยำจะมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 วัน หากปลูกพริกยำอย่างเดียว เกษตรกรจะไม่มีรายได้ในช่วงเวลารอการเก็บเกี่ยว ดังนั้นการปลูกพริกฮอทจึงเป็นแนวทางที่ช่วยสร้างรายได้ในระหว่างรอพริกยำแก่พร้อมเก็บเกี่ยว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพริกฮอทที่มีขนาดเล็กและต้องใช้ความพิถีพิถันในการเก็บเกี่ยว ทำให้แรงงานในทีมบางส่วนไม่สนใจเก็บ กลุ่มจึงได้แนะนำให้สมาชิกปลูกพริกขี้หนูในสัดส่วนเล็กน้อย ประมาณ 1 งานต่อราย เพื่อให้เหลือเวลาว่างในการเก็บเกี่ยวได้ โดยสามารถเก็บพริกขนาดเล็กที่เหลือจากการจำหน่ายมาตากแห้ง แล้วนำมาขายรวมเป็นพริกแห้งในภายหลัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

8.พริกแม่คำมี08

การแปรรูปพริก

สำหรับการผลิตพริกแห้ง กลุ่มจะมีโรงงานขนาดเล็กสำหรับตากและบรรจุหีบห่อ เพื่อรวบรวมผลิตภัณฑ์จากสมาชิกทั่วทุกพื้นที่ การผลิตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นใบรับรองเกษตรดีที่ได้มาตรฐาน จึงจะสามารถขายต่อให้กับผู้ประกอบการรายอื่นได้

ด้วยกลยุทธ์การผลิตทั้งสองนี้ จะช่วยให้การทำสวนพริกของสมาชิกมีรายได้อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี นอกจากการส่งออกพริกสดไปยังตลาดมาเลเซียแล้ว ยังมีรายได้เสริมจากการผลิตพริกแห้งจากผลผลิตที่เหลือด้วย ทั้งนี้จะเริ่มมีผลผลิตพริกหยกสยามออกสู่ตลาดได้ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ กลุ่มผู้ผลิตก็จะต้องติดตามราคาจากตลาดไทว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจหันมาทำตลาดไทหรือยังคงส่งออกไปมาเลเซียต่อไปในฤดูกาลหน้า การขยายตลาดเป็นก้าวสำคัญของกลุ่มผู้ผลิต เพื่อเพิ่มทางเลือกและรายได้ให้กับสมาชิกทุกคน แต่ก็จำเป็นต้องระมัดระวังเงื่อนไขและมาตรฐานของตลาดใหม่ด้วย เพื่อไม่ให้กระทบกับราคาและคุณภาพผลผลิต

ขอบพระคุณข้อมูลเรื่องราวดีๆ จาก คุณปรียา อุดขันจริง ประธานวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่แม่คำมี ปงเจริญ

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 38