จากยางก้อนถ้วยเพชรบูรณ์ สู่สวน ยาง ยั่งยืน/ท่าแซะโมเดล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แม้คนในการยางพาราจะมองว่า กยท. หรือ การยางแห่งประเทศไทย กำลังไม่เพียงพอที่จะผลักดันอุตสาหกรรม ยาง ทั้งระบบให้แข็งแกร่ง แข่งขันกับประเทศอื่นได้

แต่องค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ระหว่างสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กับ เอกชน ผู้ลงทุนในอุตสาหกรรม ให้มีความเป็นธรรมอยู่บ้าง

1.ยางก้อนถ้วย1

ยางก้อนถ้วย1.1

การผลิตและแปรรูปยางพารา

โดย กยท. ในจังหวัดต่างๆ ก็จับมือกับชาวสวนยาง และ กลุ่มสหกรณ์การยาง เพื่อร่วมกันทำงานการปลูกและแปรรูปยางพาราให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว ตามฐานานุรูปของแต่ละคน

ยกตัวอย่าง กยท. จังหวัดชุมพร ที่มี คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ดูแลกลุ่มชาวสหกรณ์สวนยางในสถาบัน ซึ่งชาวสวนยางที่นี่ในอดีตทำ ยางแผ่นรมควัน เป็นหลัก แต่วันนี้หันมาทำ ยางก้อนถ้วย เศษยาง และ ขี้ยาง เป็นหลัก เพราะรัฐได้ประกันรายได้ยาง 3 ชนิด ได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และ ยางก้อนถ้วย

โดยเฉพาะยางก้อนถ้วยนั้น เป็นยางที่ทำกันมากในภาคเหนือ และ อีสาน ด้วยเหตุนี้คุณอุทัยจึงนำคณะกรรมการการยางไปดูงานการผลิต ยางก้อนถ้วย ที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2565 “การทำยางก้อนถ้วยให้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดนั้น ต้องดูแต่ละภูมิภาค เหนือกับอีสานก็ต่างกัน

ยางก้อนถ้วยอีสานมีน้ำปนอยู่มาก คล้ายเต้าหู้ เพราะเวลาจะขายได้นำยางก้อนถ้วยมาใส่ถุงปุ๋ย ใส่น้ำ มัดปากถุง รอการประมูล เมื่อประมูลแล้วจะแทงถุงบรรจุยางให้ขาด เพื่อให้น้ำไหลออกมา ยางก้อนถ้วยอีสานจึงมีน้ำมากที่สุด แต่ยางก้อนถ้วยเพชรบูรณ์แห้งกว่า เพราะไม่หล่อน้ำไว้ ขาย 2 ครั้ง/เดือน” คุณอุทัย เปิดเผย และกล่าวว่า ยางก้อนถ้วยเพชรบูรณ์มีความแห้ง ถูกหักเปอร์เซ็นต์น้ำน้อยกว่า ได้เนื้อยางมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ยางก้อนถ้วย2

เทคนิคการกรีดยางพารา

เพราะกลุ่มชาวสวนมีเทคนิคในการกรีดยาง เพราะเวลากรีดจะให้น้ำยางไหลลงถ้วย 1 ใน 3 ของถ้วยในวันแรก จากนั้นก็เติมกรดฟอร์มิกแล้วคนน้ำยางจนแข็งตัว วันถัดไปก็ใช้ถ้วยเดิมที่น้ำยางแข็งตัวมารองรับน้ำยางที่กรีดใหม่ แล้วคนน้ำยางจนเต็มถ้วย แล้วดึงออกจากถ้วย แล้วพลิกตะแคงเสียบลงไปในถ้วยที่มีน้ำยางกรีด วันสุดท้ายกดให้แน่นลงไปเพื่อมิให้มีช่องว่างของอากาศ ทำให้ไม่มีน้ำไปแทรกในก้อนยาง

อีกอย่างการใช้กรดฟอร์มิกที่มีคุณภาพ ทำให้น้ำยางแข็งตัวดี ไม่มีกลิ่นขี้ยาง และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ชาวสวนยางเพชรบูรณ์ ผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพ เนื้อยางมากกว่า 70% ขายได้ราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาด ต่างจากยางก้อนถ้วยภาคใต้ ที่ใช้ กรดซัลฟิวริก ทำให้มีกลิ่นแก๊สไข่เน่า กลิ่นขี้ยาง รุนแรง

เนื่องจากกลุ่มสวนยางเพชรบูรณ์ มีผู้นำ นาม ประเสริฐ อัคราจินดากุล คนมาบอำมฤต ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ลูกค้ากลุ่มศรีตรัง มาอยู่ที่เพชรบูรณ์ ก็นำองค์ความรู้เรื่องยางมาเผยแพร่ จนผลักดันชาวสวนยางให้รวมกลุ่มทำยางก้อนถ้วยคุณภาพ ขายยางราคาสูงกว่าท้องตลาด สามารถรวบรวมยางได้ 90 ตัน/วัน จากสมาชิก 20 คน ที่ไม่รับสมาชิกมาก เพราะต้องการเฉพาะคนที่ผ่านการคัดเลือกเท่านั้น

แม้จะมีฝีมือทำยางก้อนถ้วยคุณภาพดีกว่า อีสาน และ ภาคใต้ แต่ กยท. ก็สนับสนุนการทำสวนยางแบบยั่งยืน เพราะพืชเชิงเดี่ยวย่อมมีความเสี่ยง เมื่อ “น้ำยาง” ราคาตกมากๆ ขณะที่ต้นทุนการผลิตยังสูง

3.คุณฉลองชาติ ยังปักษี
3.คุณฉลองชาติ ยังปักษี

ปัญหาและอุปสรรคการปลูกยางพารา

ดังนั้นเมื่อยางอายุมากๆ ให้ผลผลิตน้อย กยท. ก็สนับสนุนชาวสวนทำอาชีพอื่น หรือจะโค่นยาง แล้วปลูกผสมผสานในสวนยาง ซึ่งเรื่องนี้ คุณฉลองชาติ ยังปักษี ผู้นำชาวสวนยางยั่งยืน นักวนเกษตร สวนต้นแบบ กยท. ชุมพร เป็นเพื่อนกับ คุณพงษ์พิสุทธิ์ สุขวรรณ (ลุงยี้) ยังเคยอบรม “สวนยางยั่งยืน” ที่ กยท. ด้วยกัน เมื่อลุงยี้ไปทำวนเกษตร เช่น ปลูกมะพร้าวแกง ผลไม้ ยางนา ตะเคียน กล้วย เลี้ยงแพะลูกผสมบอร์ เลี้ยงปลา ทำนาข้าว เป็นต้น มีรายได้ทั้งปี

ซึ่งการพาชาวสวนยางท่าแซะไปดูงานครั้งนี้ ทุกคนได้ประโยชน์มาก วันนี้เกษตรกรชาวสวนยางท่าแซะที่มีเอกสารสิทธิ์ประมาณ 7,000 คน นอกเอกสารสิทธิ์ประมาณ 5,000 บาท หลายคนขอทุนไปปลูกยางทดแทน แต่ปัญหาที่เจอ ก็คือ พันธุ์ยาง วิธีกรีดยาง ยางตายนึ่ง ได้แนะนำให้หยุดกรีด บำรุงต้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี และพยายามให้เกษตรกรกรีดน้ำยางวันเว้นวัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.สวนยางพารา
4.สวนยางพารา

ยางก้อนถ้วย4.1

รายได้จากยางพารา

อย่างไรก็ดี ชาวสวนยางท่าแซะขาย ขี้ยาง หรือ ยางก้อนถ้วย ถึง 80% มี ยางแผ่นดิบ บ้าง ส่วน น้ำยางสด ขายให้โรงงานในพื้นที่

เมื่อถามถึง “รายได้” คุณอุทัยยืนยันว่า ขายขี้ยางได้เงินวันต่อวัน ไม่ต้องทำอะไรมาก กรีดเสร็จใส่ถ้วย ตากให้แห้ง ขายได้เลย เหมือนขายน้ำยางสด เช็คเนื้อยาง ก็รับเงิน ซึ่งตอนนี้ราคาสูงกว่า ยางแผ่น และ ยางรมควัน สำหรับปีนี้มีเป้าเปลี่ยนยางเป็นพืชอย่างอื่น เฉพาะท่าแซะไม่ต่ำกว่า 1,750 ไร่ เปลี่ยนเป็น ปาล์ม และ ทุเรียน เป็นหลัก ตามกระแสราคาที่มาแรง

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 26