หมอจิระ ผู้นำเครือข่ายไก่เนื้อ 42 ฟาร์ม
สร้างพลัง ต่อรองกับขาใหญ่ ใช้ “ แอร์โรฟอยล์ ”
ประหยัดพลังงาน
แม้ว่า อุตสาหกรรมไก่เนื้อตกเป็น “ เบี้ยล่าง ” ของเจ้าพ่อพันธุ์ไก่ (GP) ระดับโลกไม่กี่บริษัท
แต่ ไก่เนื้อ เป็นสัตว์ปีก ที่ตอบโจทย์นักลงทุนทักษะสูงสายป่านยาว และ มีคู่ค้าถาวร
ประเทศไทย จึงรุดหน้าการพัฒนาการผลิต และการแปรรูปเป็น “ ผลิตภัณฑ์ ” อันหลากหลายเพราะไก่ 1 ตัว ถูกแปรรูปเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ แล้วตั้งราคาแต่ละส่วน ตามกำลังเงินของผู้บริโภค ไก่เนื้อ จึงเป็น
อุตสาหกรรมมูลค่าสูง ตลาดโลกรองรับ แม้จะมีผู้ผลิตหลายประเทศเป็นคู่แข่ง นักลงทุนไทยก็ต้องเดินหน้า บางรายเคยถอยอย่าง สหฟาร์ม ก็กลับมา รีบอร์นตัวเองโดยมีทายาทรุ่น 2 มารับภารกิจ
เพราะความที่ไก่เนื้อ เป็นสิ่งมีชีวิตทำให้ เจ้าสัวไก่เนื้อ อย่าง CPF ไทยฟู้ดส์ หรือ เบทาโกร เป็นต้น โยนภารกิจไม่ให้ เกษตรกร เลี้ยงในเล้าปิด (อีแวป) เป็นการป้องกัน หรือ กระจายความเสี่ยงหลายด้าน เช่น โรคระบาด เป็นต้น ประกอบกับการตั้ง ฟาร์มปศุสัตว์ ต้องผ่านการลงมติจากชุมชน เป็นการผ่อนแรงกดดันไปให้เกษตรกรเจ้าของฟาร์ม โดยตรง
เกษตรกรรู้ดี แต่ไม่มีทางเลือก ก็ต้องยอมแม้แต่ สัตวแพทย์ หรือ สัตวบาล หลายคน เมื่อเป็นลูกจ้างเจ้าสัวบางตระกูลที่เลี้ยงไก่ เมื่อมีประสบการณ์สูงก็ลาออกจากลูกน้องมาเป็น “ ลูกเล้า ” เจ้าสัว มีตัวอย่างมากมาย
มารู้จักกับ หมอจิระ เจ้าของ จิระฟาร์มไก่เนื้อ
หมอจิระ หรือ นายจิระ เมธีวิวัฒน์ เจ้าของฟาร์มไก่เนื้อ จิระฟาร์ม ผู้มีทักษะสูง นำที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ
มาเลี้ยงไก่เนื้อ ในอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ตั้งแต่มาตรฐานฟาร์มของ กรมปศุสัตว์ยังไม่ออก ปรากฏว่า กำไรน่าตื่นเต้น “ เมื่อก่อนเลี้ยงไก่ได้กำไรดี พอเกิดโรคเริ่มเข้ม ตอนนั้นแกลบยังไม่หมดก็เอาไก่ลงแล้ว
มันบูมขนาดนั้น เพราะยังไม่มีการคุมโรค เมื่อบริษัทพร้อมก็เอามาลงเลย ” คุณหมอจิระ เปิดเผย
ไก่เนื้อแต่ละรุ่น กำไรเนื้อ ๆ ทำให้ต้องซื้อที่เพิ่มหลายแปลง จนปัจจุบันมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 81 ไร่ ถูกพัฒนา
เป็นฟาร์ม อีแวปทั้งหมด มีรั้วกั้น เป็นสัดส่วน
23 ปีเต็ม บนถนนธุรกิจไก่เนื้อ ทำให้ คุณหมอจิระ มองทะลุถึง รูปแบบ ธุรกิจทั้ง แบบเอเย่นต์ และ แบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เพราะได้ทำสัญญากับหลายบริษัท เช่น ฉวีวรรณกรุ๊ป สหฟาร์ม ไทยฟู้ดส์ เอฟ แอนด์ เอฟ และ สตาร์ฟู้ดส์ เป็นต้น จนได้เห็นความแตกต่างทั้งในด้านลบ และบวก ทั้งจุดเด่น และ จุดด้อยของรูปแบบธุรกิจไก่เนื้อ บางรายผิดสัญญา ซื้อ-ขาย กับเขา ต้องบุกทำเนียบรัฐบาลเพื่อขอร้องให้ช่วย เพราะถูกโกงทั้ง
2 รุ่น “ เขาผิดสัญญากับผม เราชั่งน้ำหนักหน้าเล้า ราคารับซื้อหน้าเล้า แม้ถูกกว่าบริษัทเราก็ยอม เขาบริหารยังไงรุ่นแรกถูกหัก 6 แสนบาท มารู้หลังจากลงไก่ไปแล้ว 1 อาทิตย์ ผมถามว่าหักค่าอะไร พอจับรุ่น 2 ก็ถูก
ตัดอีก 4 แสน ผมบอกต้องฟ้องบริษัท สุดท้ายก็เอาเงินให้ผม กว่าจะคืนได้ 6 เดือน ถูกหักภาษีอีก 2 หมื่นบาท มันไม่ควรที่จะทำแบบนี้ เพราะมีสัญญา 2 ฉบับ ” คุณหมอจิระ เปิดเผย ถึงการถูกเอาเปรียบจากบริษัท ซึ่งวันนี้บริษัทนั้นได้ปิดกิจการแล้วโดยพฤตินัย
ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่เนื้อรายย่อยหลายคนในจังหวัดชัยนาท วันนี้จึงได้รวมตัวกันโดยมี คุณหมอจิระ เป็นผู้นำ เพื่อเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ ช่วยเหลือกันในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการเลือกสรรบริษัท ที่เข้ามาส่งเสริมบนฐานจริยธรรม และความซื่อสัตย์ต่อกัน แต่บางบริษัทได้ส่งเสริมผ่าน “ เอเย่นต์ ”
วันนี้ ผู้เลี้ยงยังหวาดระแวง เพราะเคยถูกเอาเปรียบมาแล้ว
“ ถ้าเขาดิวตรงกับบริษัทจะมั่นใจขึ้น แต่ถ้าผ่านเอเย่นต์ไม่สบายใจ เกษตรกรรู้หมด ไม่ต้องเลี้ยงนาน 1 – 2 ปี ก็รู้พฤติกรรมบริษัทว่าเป็นอย่างไร ” คุณหมอจิระ ยืนยัน แต่เกษตรกรบางคนหมดตัวไปไหนไม่ได้แล้ว ก็ต้องเลี้ยงกับเอเย่นต์ เพราะจัดให้หมด เช่น เงินค้ำประกัน แต่พอผลตอบแทนออกมาเกษตรกรได้รับผลกระทบทันที เหมือนชาวนาแม้ขาดทุน ก็กัดฟันปลูกข้าวต่อไป
ขนาดโรงเรือน และ จำนวนโรงเรือน รวมทั้งอาหารที่ใช้
วันนี้ จิระฟาร์ม 10 โรงเรือน เลี้ยงไก่ของ บริษัท ไพโรจน์ โพลทรีย์ ฟู้ด พิษณุโลก จำกัด รวม ๆ แล้ว รุ่นละ 270,000 ตัว โดยมี “ ขนาดโรงเรือน ” ที่หลากหลายเช่น 25 x 100 เมตร 20 x 80 เมตร หรือ 35 x 120 เมตร เป็นต้น เพราะสร้างตามเนื้อที่ ที่ทยอยซื้อ นั่นเอง โดยใช้งบสร้างโรงเรือน ตารางเมตรละ 1,550 บาท
ในเรื่อง “ อาหาร ” ก็สำคัญ คุณหมอจิระ ได้สัจจธรรมระหว่าง บริษัทไทย กับบริษัทข้ามชาติ บางบริษัท
ของคนไทย จังหวะไหนมีไก่เนื้อราคาดี ส่งออกดี ก็กล้าลงทุน ผลิตอาหารที่ดีให้ คุณหมอจิระ ฟันธงว่า
“ ต้องเข้าใจนะว่าอาหารดีหรือไม่ ราคา 580 บาท เท่ากันทุกลูก ในสัญญาคนแทรคฟาร์มมิ่ง ที่เราทำ ดังนั้น ถ้าเขาลดเกรดลงมาเราก็จุก เลี้ยงไม่โต แต่จ่ายเงินเท่ากัน ตรงนั้นคือปัญหา ผมเคยเลี้ยงของ คาร์กิลล์ 50 กว่ารุ่น ค่าตรวจอย่างเดียว 36,000 บาท/ปี ผมทำมาตรฐานผ่านหมด พอผมขยายเล้าไม่มีไก่ให้เรา เพราะเขามีเกษตรกรที่ดิวกับเขาและทุกฟาร์มต้องมี KPI ดังนั้น เขาจึงไม่เพิ่มให้เรา ทนเลี้ยงอยู่ปีหนึ่ง เผื่อจะมีใครถอดใจออก ไม่มีซักคน เพราะเงินออกทุก 10 วัน ไก่ลงปุ๊บรู้วันจับ นี่คือมาตรฐานของเขา ” เหตุการณ์เกิดเมื่อ 8 ปี ที่แล้ว วันนี้ก็ยังเป็นอย่างนี้ นี่คือบริษัทข้ามชาติด้านไก่เนื้อ ต่างจากบางบริษัทของคนไทย ที่ไม่มาตรฐานมีการเลื่อนวันจับ ราคาก็ลดลง แต่บริษัทคนไทยอย่าง “ ไทยฟู้ดส์ ” ของ คุณวินัย เตียวสมบูรณ์กิจ ซึ่งสนิทกับคุณหมอจิระ และเคยเป็นลูกค้ากัน ยอมรับว่าไปกันได้ เมื่อไทยฟู้ดส์ เข้าตลาดหลักทรัพย์
คุณหมอจิระ ก็ซื้อหุ้น IPO เพราะเขาเปิดให้เกษตรกรซื้อ
เรื่อง อาหาร ไก่เนื้อเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะมี ข้าวโพด เป็นตัวแปรสำคัญ บ่งบอกถึง คุณภาพ อาหาร “ หากไปคุยกับเขา เขาก็บอกว่าดี มีคุณภาพ แต่เราเป็นผู้ประกอบการเรารู้ เพราะถ้าดีเราต้องได้กำไรจังหวะที่ไก่โตดี สังเกตเม็ดข้าวโพดจะเหลืองสวย พอเศรษฐกิจไม่ดี หรือหมดช่วงโปรโมชั่นจากข้าวโพด กิโลละ 10 บาท ก็ใช้มันสำปะหลัง กิโลละ 5 บาท อย่างไร ก็สู้ข้าวโพดไม่ได้ ” คุณหมอจิระ ให้ความเห็น และเปรียบเทียบ บราซิล ว่ามีวัตถุดิบอาหารสัตว์มาก จึงได้เปรียบหลายอย่าง ดังนั้น เรื่องอาหารไก่เนื้อ จึงต้องให้ความรู้ และ ความเคลื่อนไหวกันในกลุ่มตลอดเวลา ไม่ปิดบังกัน ใครขาดทุน/กำไร รู้กันทั้งกลุ่ม ประกอบกับในกลุ่มกู้เงินธนาคาร จึงมีอิสระที่จะเลี้ยงกับบริษัทอะไรก็ได้ อย่างของ เค วี เอ ส คุณหมอจิระ ก็เคยเลี้ยงหรือ สหฟาร์ม ก็อาจจะกลับมาเลี้ยงกับสมาชิกกลุ่มอีกก็ได้
การรวมตัวกันของ 42 ฟาร์มไก่เนื้อ เพื่ออะไร ??
การรวมตัวกันของ 42 ฟาร์มไก่เนื้อ “ กลุ่มเลี้ยงไก่เนื้อจังหวัดชัยนาท ” ที่มี คุณหมอจิระ เป็นผู้นำ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ธุรกิจไก่เนื้อ ภายใต้ คอนแทรคฟาร์มของบริษัทใหญ่ ๆ ในหลายมิติ แม้แต่การป้องกัน มิจฉาชีพ ก็ทำได้ หรือใครต้องการเปลี่ยนคู่ค้าก็บอกกันในกลุ่ม หรือ ถ้าต้องการลูกไก่จากโรงฟักอะไรก็แนะนำกัน อย่างนี้ เป็นต้น แต่ด้านพลังงานค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ก็ปรึกษากันในกลุ่มว่า ถ้าเป็นธุรกิจกลางคืนอย่าง อาบอบนวด ค่าไฟถูกย่อมได้เปรียบแต่ ฟาร์มปศุสัตว์ กลางวันร้อนต้องใช้ไฟในโรงเรือนอีแวป ค่าไฟแพง ต้องใช้เต็มพิกัด มีความเห็นว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค น่าจะเก็บให้ถูกลงเพราะการเกษตร และปศุสัตว์ “ ค่าไฟเฉลี่ยตอนนี้ 3 บาท จากเมื่อก่อน 2 บาท และทางบริษัท ก็ให้กำไรแก่เกษตรกรแค่เลขตัวเดียว ขึ้นค่า FT คือค่าอะไรไม่รู้เลย แล้วไปอ้างอิงทำไมสิงคโปร์ ถ้าประกาศว่า ซื้อน้ำมันมาเลเซียไม่ผิดกฎหมาย ผมจะออกรถไปซื้อลิตรละ 17 บาท มาขาย 30 บาท โคตรกำไร ทุกที่เรื่องไฟฟ้ามีปัญหากันหมด ” คุณหมอจิระ ให้ความเห็น
เรื่องน้ำเป็นอย่างไรบ้าง ??
ที่นี่ใช้น้ำบาดาล กับน้ำผิวดิน เนื่องจากเป็นเขตแล้งซ้ำซาก กรมทรัพยากรธรณี ก็ตามจี้ให้จ่ายค่าสูบน้ำ เหมือนโรงแรม โรงน้ำแข็ง หอพัก ซึ่งเกษตรกรได้รับปริมาณน้ำน้อย และน้ำผิวดินที่มาตกตะกอนด้วยสารส้ม เพราะการลงทุนขุดบ่อบาดาลลึก 200 เมตร ใช้เงิน 2 แสนบาท ค่าน้ำมันวันละหมื่นกว่าบาท เจอไม่เจอไม่รู้ ดังนั้น เรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่ บางแห่งบ่อบาดาลอยู่ไกลจากฟาร์มหลายกิโลเมตร ต้องสูบมาใส่ถังผสมกับน้ำผิวดินบำบัดให้ไก่กิน ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ไม่เข้าใจเรื่องนี้ “ การสูบน้ำถ้าได้ 5- 8 คิว ถือว่าโชคดีแต่ไม่ใช่มันจะออกตลอด ช่วงฤดูฝนก็ต้องรีบสูบเข้า ผมมี 3 สระ ก็ต้องสูบสำรองไว้ใช้ แต่ถ้าใครไม่มีสระไม่มีน้ำก็ต้องหยุดเลี้ยงไก่ 4 เดือน ”
จึงเห็นได้ว่าการลงทุนเรื่องไฟ และน้ำ เป็นเรื่องใหญ่ คุณหมอจิระ ต้องจ่ายค่าไฟหน้าร้อน 6 แสนกว่าบาท/รุ่น แม้ตอนกลางคืนก็ต้องเปิดพัดลมในเล้าอีแวปแม้แต่ อุปกรณ์ ในโรงเรือนก็ใช้ของมาตรฐานของ บริษัท การุณบรา
เธอร์ส จำกัด ซึ่งเจ้าของคือ คุณมณเฑียร การุณยศิริ มีหลายเกรดให้เลือกจากจีนก็มี บรรทุกทางตู้คอนเทรนเนอร์ยาว ๆ เข้ามา ราคาขึ้นอยู่กับเกรด และช่วงโปรโมชั่น คุณหมอใช้เกรดกลางๆ ใช้งาน 2 ปี คุ้มค่า
เลี้ยง10 รุ่น
จิระฟาร์มไก่เนื้อ หันมาใช้ อลูมิเนียมฟอยล์ บริษัท เด่นใหญ่ จำกัด เพราะอะไร ??
ยุคโลกเดือดอุณหภูมิสูง ดังนั้น คุณหมอจิระ ต้องใช้ อลูมิเนียมฟอยล์ ของ บริษัท เด่นใหญ่ จำกัด เพราะบริษัทนี้เจ้าของ คือ คุณวิรัช ลยานันท์ จบวิศวะจากอเมริกา แล้วมาลงทุนผลิต อลูมิเนียมฟอยล์ ใช้กับหลังคา และ ฟอยล์ห่ออาหาร เป็นต้น ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย วันนี้มีทายาทรุ่น 2 อย่างคุณสิรภัทร อเนกวณิช (คุณพลุ) มารับภารกิจ และเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วได้ขยาย อลูมิเนียมฟอยล์ เข้าสู่ฟาร์มปศุสัตว์ โดยเฉพาะไก่เนื้อ จนได้รับแรงศรัทธาหลาย ๆ ฟาร์ม แล้วขยายปากต่อปากใช้นานกว่า 10 ปี ต่างจาก คุณหมอจิระ ที่รู้จักทางโชเชียล และจังหวะกับที่มีพนักงานเด่นใหญ่โทรมา ก็เลยตัดสินใจใช้ “ มันบาง มันเบา มีความเหนียว สะดวกไม่ต้องใช้กาว ใช้จักรเย็บได้ มันไม่ยืด ไม่หด ไม่เหมือนผ้าใบพีวีซี ที่อากาศร้อนจะขยาย และกรอบ ” คุณหมอจิระ เปิดใจถึงจุดเด่นของ แอร์โร่ฟอยล์ นอกจากนี้มันมีคุณสมบัติ สะท้อน “ ความร้อน ” ได้ดี การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนอีแวป คุณหมอจิระ ยืนยันว่าความร้อนสำคัญมาก ที่ต้องใช้อีแวปก็เพื่อลดความร้อน แต่ แอร์โร่ฟอยล์ มันจะสะท้อนไม่ให้เล้าไก่ร้อน นั่นเอง นอกจากนี้ แอร์โร่ฟอยล์ ทำงานง่ายกว่าผ้าใบ “ ลดต้นทุนได้มาก การทำงานก็ง่ายไม่เลอะมือ ไม่เลอะกาว มันตอบโจทย์ได้ดีกว่า ยืนยัน ความเย็นมันขึ้น 3 องศา เพราะไม่มีรอยฉีกขาดใช้สกรูยิงแทน ” คุณหมอจิระ ยืนยันถึงจุดเด่นของ แอร์โรฟอยล์
สุดท้าย คุณหมอจิระ ได้เสนอข้อคิดเห็นต่อรัฐบาลในเรื่อง เกษตรพันธสัญญา ว่าทุกบริษัทที่ทำสัญญากับเกษตรกรควรจะเป็นสัญญาแบบฟอร์มเดียวกัน ประโยชน์จะเกิดแก่ทุกฝ่าย
สนใจสอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูล โทร. 089-961-7400
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 379 /2567 (พ.ย 67)