ไก่งวงอินทรีย์คาร์บอนต่ำ ดาวรุ่งในตลาดโลก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปกไก่งวงอินทรีย์คาร์บอนต่ำ ดาวรุ่งในตลาดโลก copy

ไก่งวงอินทรีย์คาร์บอนต่ำ ดาวรุ่งในตลาดโลก

พันธุกรรมคนไทยมีความโดดเด่นด้านการปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อม ได้ดีโดยเฉพาะดำรงชีวิตในต่างแดน อย่างอิสราเอล ที่ล้ำหน้าด้านเกษตรและอาหาร และสถานการณ์สงครามที่ยาวนานได้นำ องค์ความรู้การเลี้ยงไก่งวง พันธุ์ขาวหนองบัวลำภู ที่โด่งดังในอิสราเอลมาเลี้ยงที่หนองบัวลำภู จนจัดตั้งกลุ่มได้สำเร็จแล้วลุกลามไปหลายจังหวัด

ไก่งวงพันธุ์ขาวหนองบัวลำภู
ไก่งวงพันธุ์ขาวหนองบัวลำภู

โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมและราชบุรี ที่เอาจริง เอาจังมาก ๆ

เมื่อ กระแสไก่งวง จุดคิดว่าน่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ท่ามกลาง อุตสาหกรรมปศุสัตว์ อย่างสุกรและไก่เนื้อ เจอมรสุมรอบด้านทำให้ กรมปศุสัตว์ เห็นโอกาสก็เข้ามาเป็นพระเอก

การส่งเสริมแบบไม่ครบวงจรเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมเนื้อไก่งวง ปรากฏว่าวันนี้เกษตรกรลงทุนไปแล้วถูกลอยแพสามัคคีกัน เจ๊ง

เพราะ “ โรงฆ่า ” หลายแห่งไม่พร้อมชำแหละไก่งวง เนื่องจาก “ ปริมาณ ” ไม่เพียงพอต่อการเปิดไลน์ผลิตไก่งวงโดยเฉพาะทั้ง ๆ ที่หลายประเทศติดใจคุณภาพเนื้อไก่งวงของกลุ่มวิสาหกิจไก่งวงราชบุรี

เกษตรกรเหล่านี้เข้าใจดีว่า ทำไมกรมปศุสัตว์จึงเข้ามาส่งเสริมพวกเขาเต็มใจกิน “ เศษเนื้อ ” ข้างเขียง โดยหวังว่าจะแจ้งเกิดใน ธุรกิจเพราะมี “ กำไร ” จากการขายเนื้อมาชดเชยการลงทุนฟาร์มเลี้ยง

หลายคนท้อแท้ขาดทุนจนต้องเลิกกิจการแต่หลายฟาร์มเลี้ยง พ่อ แม่ พันธุ์บางส่วนเพื่ออนุรักษ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand
คุณศรีสุนันท์ พวงอินทร์ (คุณปู)
คุณศรีสุนันท์ พวงอินทร์ (คุณปู) (ปรธานกลุ่มวิสาหกิจชุมขนไก่งวง ราชบุรี)

แต่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่งวงราชบุรี ที่มี คุณศรีสุนันท์  พวงอินทร์ เป็นประธานรวมพลังลุกขึ้นสู้ ด้วยการทำหนังสือแสดงเจตน์จำนงให้ส่วนราชการอย่าง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยแก้ปัญหา (รายละเอียดตามจดหมาย) ปรากฏว่าเรื่องเงียบหายไปกับสายลม

ไม่ย่อท้อใส่เกียร์เดินหน้าต่อด้วยการเล่าเรื่องทั้งหมดให้ พายัพ  ยังปักษี เลขาธิการสมัชชา พลังเขียวสร้างชาติ จากนั้นเรื่องก็ถึง ดร.วิชิต  ปลั่งศรีสกุล ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรฯ

19 มิถุนายน 2567 คุณศรีสุนันท์  พวงอินทร์ ได้ขึ้นเวที สัมมนาปศุสัตว์คาร์บอนต่ำที่โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯ โดยนำเสนอจุดเด่นของ ไก่งวงในเชิงธุรกิจ

คุณปู ขึ้นเวทีงานสัมมนาฯ วันที่ 19-6-67
คุณปู ขึ้นเวทีงานสัมมนาฯ วันที่ 19-6-67

ย้อนไปในวันที่ 30 พ.ย.  – 3 ธ.ค. 65 สภาเกษตรกรแห่งชาติได้พบปะเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่งวงในพื้นที่ราชบุรี จากนั้นก็นำข้อมูลมาประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 58 คน เมื่อวันที่ 19  ต.ค. 66 ต่อมา  6 – 7 พ.ย. 66 ประชุมอีกครั้ง ผู้เข้าประชุม 100 คน จนยกร่างแนวทางการแก้ปัญหาไก่งวง เช่น ขอให้ภาครัฐสนับสนุนตั้งโรงฆ่าไก่งวงขนาดเล็ก ตามกฎกระทรวงเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออก กำหนดมาตรฐานโรงเรือนยกพื้น GAP สนับสนุนการจัดทำพิธีสารว่าด้วยการส่งออก และ ภาครัฐควรเร่งระบายไก่งวงแช่แข็งค้างสต๊อกโดยเร่งด่วน หากรัฐไม่เร่งแก้ไขหรือปรับปรุง ข้อจำกัด เรื่องกฎหมายระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานให้รองรับส่งออกไก่งวงจะส่งผลให้ไทยเสียโอกาส เพราะตอนนี้ไก่ค้างสต๊อก 150 ตัน มูลค่า 60 ล้าน ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ.  67 ที่ผ่านมาต่างประเทศสั่งไก่งวง 40 ตัน16 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะส่งออก 64 ล้านบาท เพราะส่งออก 90%

จากนั้น สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทำจดหมายเสนอแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา อุตสาหกรรมไก่งวง ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี วันที่  13 มีนาคม 2567 และ วันที่  18 มิถุนายน 2567 ได้ทำหนังสือขอทราบความคืบหน้า ลงนามโดย นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาฯ

ถามว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติ มี พ.ร.บ 2553 รองรับการทำงาน ทำไมรัฐบาลจึงไม่กระตือรือร้น เร่งปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเรื่องไก่งวง

การเคลื่อนไหวของ กลุ่มวิสาหกิจไก่งวงราชบุรี มีผลกระทบพอสมควรเห็นได้จาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นายอุดม จันทร์ประไพภัทร นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผอ.สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ได้ออกหลักเกณฑ์การตรวจประเมินการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค (มกษ. 9063-2565) ขอบข่าย : ฟาร์มไก่งวง แล้วประกาศให้ ปศุสัตว์จังหวัดทั้ง 77 จังหวัดได้ทราบโดยทั่วกัน

เป็นอันว่าฟาร์มไก่งวงได้แนวทางปฏิบัติเข้าสู่ฟาร์ม GAP เรียบร้อย พอจะโชว์ให้ผู้บริโภคและนักลงทุนเข้าใจ

วันนี้ คุณศรีสุนันท์ พวงอินทร์ หรือ คุณปู ชาวปากท่อ ราชบุรี กลายเป็นนักสู้ทวงคืนความยุติธรรมด้านไก่งวงให้คนในวงการซึ่งเธอมีความมั่นใจเพราะ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตร รับทราบ ปัญหาต่างๆ และจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม

เมนู มักกะโรนีไก่งวง
มักกะโรนีไก่งวง

อย่างไรก็ดีถ้า กรมปศุสัตว์ ไม่แก้ไขกฎระเบียบให้โรงฆ่ามีความคล่องตัวโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มมากมายชาวไก่งวง ต้องหยุดกิจการกันมากขึ้น “ ตอนนี้ไก่งวงหลังการฆ่ากลายเป็นเนื้อไม่มีเอกสารรองรับเป็นเนื้อเถื่อนโดยปริยาย แม้แต่การออกใบเคลื่อนย้ายจากโรงฆ่ามาห้องเย็นก็ทำไม่ได้ ขณะนี้โรงฆ่าที่ได้รับอนุญาตมี 2 โรง ได้แก่ โรงฆ่าซิลเวอร์ ก็อยู่ในช่วงต้องปรับปรุง ส่วนโรงฆ่าวินไทย ก็ฆ่าไก่งวงไม่เกินตัวละ 6 กก. เท่านั้น ” คุณปูให้ความเห็น

เนื่องจากไก่งวงตัวใหญ่ โตไว ตัวเมียเต็มวัย 4-8 กก. ส่วนตัวผู้ 6-15 กก. เป็นไซซ์ที่ตลาดต้องการโดยเฉพาะในช่วงคริสต์มาส

ไก่งวง
ไก่งวง

ดังนั้น เมื่อเนื้อไก่งวงส่งออกไม่ได้ ต้องเสียเงินค่าเช่าห้องเย็นไว้เก็บเดือนละ 6-7 หมื่นบาท คุณปูรับภารกิจหนัก ส่วนจะขายในประเทศมีผู้นิยมเพียง 10% เท่านั้น ต้องส่งออกเป็นหลักจึงจะอยู่รอด แม้แต่ไก่ในฟาร์มก็โตขึ้นทุกวันมีค่าใช้จ่ายตลอด แต่ถ้ามีโรงฆ่ามาตรฐาน เพื่อไก่จะเป็นสินค้าพรีเมียมที่โรงงานอาหารสัตว์เลี้ยงต้องการมาก พูดง่ายๆว่ามีตลาดคนกิน และสัตว์เลี้ยงกิน คุณปูยืนยันเพ็ทฟู้ดว่า “ โรงงานเพ็ทฟู้ดซื้อขายละเอียด ไม่ต่างจากคน ขั้นตอนการตรวจโรคต่าง ๆ การรับรองละเอียดมาก มาตรฐานค่อนข้างสูง เพราะเขาเอาไปผลิตเพื่อส่งออก ”

เนปาล ซื้อไก่งวงแช่แข็งเอาไปทำไส้กรอกรมควันที่ได้รับความนิยมมาก “ เนื้อไก่งวงฟู้ดเกรด เป็นอาหารที่ดีลูกค้าต้องการแปรรูปเพื่อส่งออก ก็ยังไม่มีเอกสารรับรองจากโรงฆ่า ” คุณปูยืนยัน และให้ความเห็นว่าทางกรมปศุสัตว์น่าจะอะลุ่มอล่วยเพื่อให้ตลาดเดินได้ขอให้มีก้าวแรก ก้าว 2 ก้าว 3 ค่อยเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งโรงฆ่าก็ยินดีปฏิบัติเพราะตอนนั้น ปริมาณไก่เข้าโรงเชือดก็มากขึ้นจนโรงฆ่ามีกำไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรงฆ่าออโต้ที่ได้มาตรฐานเพื่อส่งออก ต้องมีปริมาณสัตว์เข้าเชือดสมดุลกับค่าใช้จ่าย ต่างจากโรงฆ่า manual ใช้คนเป็นหลักซึ่งวันนี้มีน้อยมาก

เมื่อรัฐผ่อนปรนโรงเชือดทางกลุ่มจะวางแผนการเลี้ยงอย่างไรให้เพียงพอ

คอกไก่ป่วย
คอกไก่ป่วย

คุณปู ให้ความเห็นว่า พ่อแม่พันธุ์เมื่อปี 63-64 เครือข่ายมีประมาณ 15,000 ตัว แต่เมื่อไม่มีโรงฆ่า หลายฟาร์มต้องทำลายแม่พันธุ์เหลือไม่มากจากเกษตรกรทั้งประเทศ 400 กว่าครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มไก่งวงหนองบัวลำภู เคยขายปีละ 10 ล้านบาท ต้องพักการเลี้ยงทั้งหมด อย่างไรก็ดีหลายฟาร์มยังมี ลูกไก่ ที่จะพัฒนาเป็น พ่อแม่พันธุ์ ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์ อาจเข้ามาช่วยปรับปรุงพันธุ์ โดยการนำสายพันธุ์ที่โตไว อายุการเลี้ยงสั้นเข้ามาปรับปรุงตอนนี้กรมฯมีสายพันธุ์ที่ตัวเมียน้ำหนัก 3.5 – 10 กก. ตัวผู้ 7 กก. อายุการเลี้ยง 7 เดือน ต่างจากไก่งวง ที่เกษตรกรนำเข้ามาตัวผู้ และตัวเมีย 8 กก. เลี้ยง 4 เดือน ขายไวกว่าเท่าตัว

คอกไก่งวงเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ
คอกไก่งวงเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ

ถามว่าทำไม หลายกลุ่มเลี้ยงไก่งวงให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ คุณปู ให้ความเห็นด้วยประสบการณ์ว่าคนไทยเก่งมากภูมิประเทศเต็มไปด้วยพืชอาหารสัตว์ ไก่งวง กินมังสวิรัติ ไม่ได้กิน “ น้ำคลอโรฟิลล์ ” เหมือนไก่งวงประเทศอื่น ของเรากินหญ้าอ่อนสดๆ อารมณ์ดี โดยเฉพาะ “ แหนแดง ” ชอบมากๆ

โรงเรือนและวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติทำให้ได้ไก่งวงอารมณ์ดี

คอกอนุบาล
คอกอนุบาล

ส่วนโรงเรือนและอุปกรณ์ใช้ “ ไม้ ”  ยกพื้นสูง อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ต้องลงทุนโรงเรือนอีแวป เสียค่าไฟฟ้าแพงต้นเหตุโลกเดือด ไม่มีเหล็ก และปูนมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัสดุชั้นดี เป็นไก่งวงอารมณ์ดี เพราะเลี้ยงแบบธรรมชาติ นั่นเอง นอกจากนี้ไม่ต้องใช้วัคซีนและยาแต่ใช้ “ สมุนไพร ” เช่น ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น สร้างภูมิคุ้มกัน

“ เวลาคุมท้อง คุมหวัด เราใช้ หญ้าแห้วหมู ต้นน้ำมราชสีห์ ดังนั้น เนื้อไก่งวงเป็นที่ 1 ไร้ฮอร์โมนไม่มีโปรตีนเป็นพิษตกค้าง จึงเป็นที่ต้องการของตลาด ประเทศแรก คือ เนปาลส่งขึ้นเครื่อง ที่เราดีใจมากคือเกาหลีติดตามเรา 2 ปี จึงซื้อ” คุณปู เปิดเผยถึงความนิยมเนื้อไก่งวงพรีเมียม

คอกขุน
คอกขุน

รัฐโดย กรมปศุสัตว์ เดินถูกทางแล้ว เรื่องไก่งวงแต่ติดปัญหา เรื่องมาตรฐานโรงฆ่า ที่เจ้าหน้าที่กรมฯไม่กล้ายืดหยุ่น เกรงความมั่นคงด้านตำแหน่งหากเกิดปัญหา ดังนั้น ถ้ารัฐบาลโดย กระทรวงเกษตรฯ เข้าไปแก้ปัญหามั่นใจว่าจะได้รับการแก้ไข ช่วยต่อลมหายใจให้เกษตรกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนและภาพประกอบจาก คุณศรีสุนันท์ พวงอินทร์ (ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่งวง ราชบุรี)

อ้างอิง นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 375/2567 (ก.ค 67)