ข้าวสาลี ปลูกในไทยได้ดี ตลาดโตต่อเนื่อง ตอบโจทย์ ตลาดเทรนด์คนรักสุขภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในโลกของเรานั้นมีเรื่องที่น่าสนใจอยู่มากมายนับไม่ถ้วน เรื่องข้าวก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นที่พูดถึงกันเป็นอย่างมาก ถือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของมนุษย์เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าแหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดของโลกอยู่ที่ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ข้าวสาลี

หรือจะกล่าวง่ายๆ คือ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอุณหภูมิและสภาพอากาศเอื้ออำนวยในการปลูกข้าว ซึ่งข้าวนั้นจริงๆ ก็มีหลากหลายชนิด หลายสายพันธุ์ ให้ได้ลิ้มลอง 1 ในนั้นคือ ข้าวสาลี ข้าวที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก และมันมีประโยชน์ยังไงล่ะ เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันดีกว่า

1.เป็นธัญพืชที่มีคุณประโยชน์หลากหลาย
1.เป็นธัญพืชที่มีคุณประโยชน์หลากหลาย

การปลูกและแปรรูปข้าวสาลี

ข้าวสาลีถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีสารอาหารที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะไม่ค่อยได้เห็นหน้าตาของเจ้าเมล็ดข้าวสาลีมากเท่าไหร่นัก เนื่องจากว่าส่วนใหญ่แล้วจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เสียมากกว่า เพราะแป้งจากข้าวสาลีมี กลูเตนพอสมควร จึงเหมาะกับการทำเป็นขนมปัง ขนมเค้ก เส้นพลาสต้า เป็นต้น

นอกจากนี้ข้าวสาลีที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสีจะมีโปรตีนค่อนข้างสูง อีกทั้งยังไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย เพราะมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ให้พลังงานเท่ากับข้าวขาวนั่นเอง นอกจากจะเป็นเมล็ดข้าวสาลีแล้ว ยังมีจมูกข้าวสาลีด้วยที่มีส่วนช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ช่วยเพิ่มเส้นใยในอาหาร ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความน่าสนใจและมีประโยชน์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

แม้จะเป็นธัญพืชที่มีคุณประโยชน์หลากหลาย แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ยังให้ค้นหาและลิ้มลอง ข้าวสาลีถือเป็นตัวเลือกชั้นดีของคนที่เริ่มจะหันมาควบคุมอาหาร รวมไปถึงกลุ่มคนที่เริ่มหันมาสนใจในสุขภาพมากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังได้คุณประโยชน์จากตัวข้าวสาลีไปในอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ยังมีจมูกข้าวสาลีที่เป็นตัวช่วยในเรื่องการป้องกันโรคทางเดินอาหารและลำไส้ได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยในเรื่องของการขับถ่ายและเพิ่มเส้นใยในอาหารได้ จึงบอกได้เลยว่าเป็นธัญพืชที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวกับข้าวสาลี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้าวสาลีถือได้ว่าเป็นข้าวที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าทางโภชนาการอยู่สูงพอสมควร แต่อย่างที่กล่าวไปนั้นเราจะไม่ค่อยเห็นเมล็ดข้าวสาลีมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะมีการนำข้าวสาลีไปแปรรูปกันมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปเป็นแป้งทำขนมปัง ขนมเค้ก เส้นพาสต้า ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำมาจากแป้งข้าวสาลีทั้งสิ้น เนื่องจากว่าในข้าวสาลีที่มีการแปรรูปแล้วจะมีโปรตีนกลูเตนอยู่สูง จึงเหมาะกับการนำไปหมักเป็นยีสต์เพื่อให้ขนมปังขึ้นฟูนั่นเอง

แต่ก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน คือ การที่มีกลูเตนนั้นอาจจะทำให้คนที่แพ้กลูเตนเกิดอาการแพ้ และมีผลข้างเคียงตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องร่วง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ ปากเป็นแผลได้ ซึ่งการที่มีผู้แพ้ข้าวสาลีอาจจะมีแนวโน้มที่จะแพ้ข้าวชนิดอื่นได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาเลย์ ข้าวไรท์ ข้าวโอ๊ต ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ถ้าเป็นข้าวสาลีที่ยังไม่ผ่านการขัดสีให้เป็นสีขาวนั้นจะยิ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะจะมีโปรตีนที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เหมาะกับคนที่กำลังเพิ่มกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ช่วยทำให้อิ่มได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีเลยก็ว่าได้ ทำให้ไม่อ้วนด้วย อีกทั้งยังมีวิตามินที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี 1, 2 ไนอะซิน บี 5, 6 และมีเส้นใยที่สูงช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญมีส่วนช่วยในเรื่องของการลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีจมูกข้าวสาลีซึ่งเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของข้าวสาลีเลยก็ว่าได้ เพราะว่าตัวจมูกข้าวสาลีนั้นมีคุณประโยชน์ที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายเราได้เป็นอย่างดี มีสารด้านอนุมูลอิสระจากวิตามินอี อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงกระตุ้นการขับถ่ายได้อีกด้วย

คุณประโยชน์มากมายขนาดนี้ถือว่าเป็นข้าวอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อการควบคุมน้ำหนักและการดูแลเรื่องของสุขภาพได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ถึงแม้จะเม็ดเล็กแต่คุณประโยชน์ไม่เล็กตามตัวเลย

2.เมล็ดข้าวสาลี
2.เมล็ดข้าวสาลี

สายพันธุ์ข้าวสาลี

เมล็ดข้าวสาลีที่ทำการให้ผลผลิตมาแล้วนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์หลักๆ ซึ่งจะมีการแบ่งหลักเกณฑ์ที่มีความหลากหลายมาก ตั้งแต่ขนาดของเมล็ด ฤดูที่เพาะปลูก ซึ่งเราจะมากล่าวถึงสายพันธุ์ต่างๆ ที่จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการนำไปใช้หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • สายพันธุ์ Hard Red Wheat จะมีลักษณะที่มีเมล็ดเล็ก มีความเรียวยาวและแข็ง อีกทั้งจะมีสีน้ำตาลเข้ม เวลาทำ

การขัดสีแล้วนั้นจะได้แป้งที่มีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอม และรสชาติที่เข้มข้น รวมไปถึงการให้ปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง จึงเหมาะที่สุดกับการนำไปทำขนมปังโฮลวีท หรือแป้งโฮลวีท ซึ่งเป็นข้าวสาลีที่ได้รับความนิยมปลูกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ทำการปลูกได้ค่อนข้างง่าย และไม่ยุ่งยากเท่าสายพันธุ์อื่นๆ

  • สายพันธุ์ Hard white Wheat เมล็ดจะมีความอวบกว่า Hard Red เมื่อทำการขัดสีนั้นแป้งที่ได้ออกมานั้นจะมีสีขาวนวล เนื้อบางฟู กลิ่นและรสชาติจะมีความอ่อน เหมาะกับการนำไปใช้ทำขนมปังที่ต้องการเนื้อที่มีความสัมผัสนุ่มนิ่มมาก
  • สายพันธุ์ Soft White Wheat  เมล็ดสีขาวอวบ ใหญ่กว่า Hard white เล็กน้อย เปลือกมีความนิ่มกว่า นิยมนำไปทำข้าวสาลีงอก มีรสหวานอ่อนๆ สีออกมาเป็นแป้งจะได้แป้งเนื้อเบาละเอียด นุ่ม มีโปรตีนราวๆ 8-9% เหมาะนำไปทำ Pastry Flour หรือทำขนมจำพวกเค้ก คุกกี้ พาย ทาร์ต
  • สายพันธุ์ Soft Red Wheat มีคุณสมบัติคล้าย soft white wheat แต่มีสีน้ำตาล รสชาติเข้มข้นกว่า ตัวนี้ไม่ค่อยนิยมปลูกกันเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ในอุตสาหกรรมแป้ง

นอกจากนี้แล้วข้าวสาลีที่ว่ามายังแยกย่อยแต่ละชนิดได้อีกว่าปลูกในฤดูกาลไหน เป็น spring wheat หรือเป็น winter wheat ซึ่งคุณภาพของเมล็ดและปริมาณโปรตีนที่ได้ก็จะแตกต่างกันไปอีกเล็กน้อยเช่นกัน

3.เติบโตได้ง่าย และได้คุณภาพ
3.เติบโตได้ง่าย และได้คุณภาพ

การปลูกข้าวสาลี

ในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากว่าเทรนด์รักสุขภาพเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ข้าวสาลีเริ่มได้รับความนิยมเนื่องจากคุณประโยชน์ต่างๆ นั้นมีมากมายเลยทีเดียว เรามาดูกันดีกว่าสายพันธุ์เพาะปลูกนั้นมีสายพันธุ์ไหนกันบ้างในเมืองไทย

ซึ่งปัจจุบันนั้นมีการส่งเสริมการปลูกข้าวสาลีเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรที่เริ่มปลูกข้าวสาลีหันมาหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งสายพันธุ์ที่เหมาะสมและกระตุ้นให้เกษตรกรได้ปลูกนั้นมีอยู่หลักเลย 3 สายพันธุ์ คือ

  • สายพันธุ์สะเมิง 1 เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในแถบภาคเหนือ ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ดอน อีกทั้งยังมีสภาพอากาศที่เหมาะสม เพราะมีสภาพอากาศหนาวเย็น และอายุข้าวสาลีสายพันธุ์นี้จะมีอายุประมาณ 100 วัน
  • สายพันธุ์สะเมิง 2 เป็นสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวกับสภาพอากาศได้แทบทุกรูปแบบ ซึ่งถือเป็นข้อดีของสายพันธุ์ข้าวสาลีชนิดนี้เลยก็ว่าได้ จึงเหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ที่มีฝนพอสมควร แต่ไม่ถึงกับหนักมาก หรือทิ้งช่วงมาก เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการช่วยรดน้ำ และสามารถปลูกในนาที่มีน้ำค้างได้ดีหรือมีน้ำจำกัด โดยสายพันธุ์นี้จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 90 วัน หรือ 3 เดือน
  • สายพันธุ์อินทรีย์ 1 เป็นสายพันธุ์ของข้าวสาลีชนิดสุดท้ายที่กรมการข้าวแนะนำให้เกษตรกรได้ปลูกข้าวสาลีกัน ซึ่ง

เป็นสายพันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดีกับสภาพอากาศที่มีความแปรปรวน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่แห้งแล้งก็สามารถทนได้ อีกทั้งยังทนต่อการทำลายของหนอนกอได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมที่จะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง อย่างเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ได้เป็นอย่างดี

ในการปลูกข้าวสาลีนั้นแต่ละพื้นที่จะมีวิธีการปลูกอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันเลย คือ แต่ละไร่จะอาศัยน้ำฝนมาเป็นตัวช่วยในการปลูกข้าวสาลี ซึ่งฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวสาลีนั้นควรจะเป็นช่วงฤดูฝน หรือฤดูหนาว เป็นช่วงที่ข้าวสาลีจะเติบโตได้ง่าย และได้คุณภาพมากที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งเป็นช่วงที่ต้องอาศัยน้ำฝนและความชื้นจากอากาศเข้ามาช่วยในเรื่องของการเติบโตและผลิตผลผลิตด้วย ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกนั้นจะเป็นช่วงระหว่างวันที่ 10-20 ตุลาคม ของทุกปี อีกทั้งการปลูกนั้นไม่ควรที่จะปลูกเร็วจนเกินไป เพราะว่าถ้าอากาศที่มีความร้อนมาก จะทำให้เกิดโรคในข้าวสาลีได้ง่ายขึ้น และหากปลูกช้าเกินไปก็อาจจะทำให้ข้าวสาลีได้รับผลกระทบจากช่วงหน้าแล้งได้เช่นกัน

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวสาลีหรือสภาพนาที่เหมาะสมนั้นควรจะอยู่ช่วงวันที่ 15 พฤศจิกายน ทั้งนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพความชื้นของแต่ละพื้นที่ แต่ไม่ควรจะปลูกเกินวันที่ 15 ธันวาคม เด็ดขาดเพราะจะเป็นช่วงที่ใกล้เข้าสู่หน้าแล้ง จะทำให้ข้าวสาลีเกิดโรคหรือมีปัญหาได้

ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็แล้วแต่เรื่องดินถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่าพืชจะเจริญเติบโตได้จะต้องได้รับจากหลายๆ องค์ประกอบรวมกัน ดินก็ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งดินที่เหมาะกับการปลูกข้าวสาลีนั้นควรจะเป็นดินที่มีความร่วนซุยหรือระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ดินที่มีความเหนียวจัด หรือดินดาน ที่มีการระบายน้ำที่ไม่ดี รวมทั้งดินที่มีความเป็นกรดอยู่สูง และเค็มจัด จะไม่เหมาะกับการปลูกข้าวสาลี รวมไปถึงพืชแทบทุกชนิด ซึ่งดินที่ดีและเหมาะกับการปลูกข้าวสาลีนั้นจะต้องมีประมาณนี้

ดินที่ระบายน้ำได้เป็นอย่างดี แต่ก็สามารถอุ้มน้ำได้ดีเช่นกัน เพราะว่าข้าวสาลีก็ต้องการความชุ่มชื้นให้กับตัวเองเช่นกัน โดยดินที่เหมาะสมนั้นจะได้แก่ ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย เป็นดินที่เหมาะสมกับข้าวสาลีและพืชแทบทุกชนิด ควรจะมีความชื้นในดิน หรือมีแหล่งน้ำที่แน่นอน เป็นการเตรียมการล่วงหน้าหรือความพร้อมของดินประมาณ 1 เดือน หลังจากการปลูกข้าวสาลีไปแล้ว

ที่สำคัญเลยแปลงปลูกข้าวสาลีนั้นไม่ควรที่จะไปขัดแย้งกับแปลงปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียง ที่สำคัญระบบน้ำ การให้น้ำควรจะปล่อยไปตามร่องน้ำและระบายน้ำออกได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด เพราะข้าวสาลีไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขัง อาจจะทำให้ต้นข้าวสาลีนั้นเกิดโรคตามมาได้

4.แปลงข้าวสาลี
4.แปลงข้าวสาลี

สภาพพื้นที่ปลูกข้าวสาลี

การเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกข้าวสาลีนั้นควรจะเริ่มทำในทันทีหลังเริ่มเก็บเกี่ยวพืชชนิดแรกออกจากแปลง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันการเติบโตของวัชพืช และยังเป็นช่วงเวลาที่ดินนั้นยังมีความชื้นที่สะสมอยู่ในดิน ทำให้เพียงพอต่อการปลูกข้าวสาลีได้ โดยการเตรียมดินนั้นก็จะมีลักษณะที่คล้ายๆ กับการเตรียมดินทั่วๆ ไป โดยอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-มีการพลิกดิน อาจจะขุดดินด้วยจอบ ถ้าขนาดแปลงที่ปลูกไม่ใหญ่หรือกว้างมากนัก หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ในการช่วยขุดดิน ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับแปลงปลูกที่มีขนาดใหญ่และกว้าง แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด โดยทำการขุดไถเพื่อให้ดินเกิดรอยแตกย่อยออก หลังจากนั้นก็ทำการปรับสภาพดิน ถ้ารู้สึกว่าดินมีความเป็นกรดหรือด่าง ใช้ปูนขาวโรย หรือปุ๋ยคอก เพื่อเป็นการเสริมธาตุอาหารและปรับสภาพดิน จากนั้นก็ทำการไถกลบให้เรียบเพื่อเตรียมการปลูกต่อไป

-การเตรียมดินแบบไม่พลิกดิน วิธีการนี้อาจจะไม่ได้ทำการปรับสภาพดินมากเท่าไหร่นัก แต่จะใช้เป็นวิธีการหยอดเมล็ดข้าวสาลีหรือเมล็ดพืชเพื่อเตรียมการปลูกแทน โดยขุดหลุมคล้ายๆ กับตอซังข้าว หรือจะทำการยกแปลงปลูกก็ได้เช่นกัน ขุดดินจากร่องและทำการเกลี่ยบนแปลง จากนั้นก็เปิดร่องเพื่อทำการเริ่มโรยเมล็ดที่จะทำการปลูกให้เป็นแถว ก็เป็นอันเสร็จ

การปลูกข้าวสาลีนั้นมีวิธีการปลูกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการหยอดเมล็ด หว่านเมล็ด เพื่อปลูก ก็สามารถทำได้ อีกทั้งการปลูกนั้นก็อาจจะขึ้นอยู่กับพื้นที่แต่ละแห่งด้วยว่ามีสภาพพื้นที่แบบไหน เพราะว่าสภาพพื้นที่แต่ละที่นั้นมีความแตกต่างกัน ทั้งความราบเรียบ ที่ราบลุ่ม หรือแม้แต่เป็นขั้นบันได ก็อยู่ที่วิธีการของแต่ละพื้นที่เช่นกัน ทั้งนี้การปลูกข้าวสาลีควรอยู่ที่อัตราไร่ละ 20 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปริมาณที่เหมาะสมกับการปลูกมากที่สุด ซึ่งการปลูกอาจจะแบ่งได้ 2 แบบ คือ การปลูกแบบสภาพไร่ กับแบบนา ซึ่งการปลูกทั้ง 2 แบบนั้นต่างก็มีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะพื้นที่

  • การปลูกแบบสภาพไร่

ในการปลูกแบบสภาพไร่นั้นอาจจะเป็นการปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงชัน อาจจะใช้วิธีการปลูกแบบกระทุ้ง หยอดแบบข้าวไร่ ประมาณหลุมละ 5-6 เมล็ด ความห่างประมาณ 20 เซนติเมตร ถ้าปลูกในพื้นที่ดอนอาจจะไถพลิกดินเพียง 1 ครั้ง และปลูกโดยการโรยเมล็ดเป็นแถว ใช้จอบหรือคราดซี่เหล็ก ขุดดินให้มีความลึก 3-5 เซนติเมตร ความห่างระหว่างร่อง 20-25 เซนติเมตร จากนั้นจึงโรยเมล็ดพร้อมดิน เสร็จก็เอาดินกลบให้เรียบร้อย

อีกวิธี คือ การหว่านพรวนกลบ ซึ่งวิธีนี้อาจจะปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นสะสมค่อนข้างเพียงพอต่อการงอกของต้นกล้า โดยทำการหว่านเมล็ดให้ทั่วทั้งแปลง โดยการหว่านนั้นควรหว่านให้สม่ำเสมอกัน และค่อยเอาดินกลบให้เรียบร้อยเมื่อหว่านเสร็จ

  • การปลูกแบบนา

ซึ่งจะมีวิธีการปลูกแบบการปลูกข้าว เริ่มจากเปิดร่องที่นาให้มีความลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นก็โรยเมล็ดพร้อมกับปุ๋ยตามความยาว และทำการกลบดินให้เรียบร้อยเมื่อโรยเสร็จ ซึ่งอาจจะมีการปลูกแบบหว่านเมล็ดแล้วยกร่องกลับ หรือหว่านแล้วใช้คราดกลบ และ การปลูกแบบไม่ไถตัดตอซักยกแปลง ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป อาจจะเหมาะกับสภาพนาขนาดเล็ก กลาง ดินที่ระบายน้ำได้ดี และมีความชื้นพอเหมาะด้วยนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ต้น ข้าวสาลี มีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsbb4Wheat_close-up)
5.ต้น ข้าวสาลี มีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsbb4Wheat_close-up)

การบำรุงดูแลต้นข้าวสาลี

การให้ปุ๋ยในข้าวสาลีนั้นควรให้ปุ๋ยเคมีหรืออินทรีย์วันละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้ข้าวสาลีที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้น้ำ ด้วยที่ข้าวสาลีเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำที่ขังจนเกินไป การให้น้ำหลังจากหยอดเมล็ดแล้วจึงเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าดินมีสภาพความชื้นที่เหมาะสมควรจะให้หลังจากเริ่มปลูกไปแล้วประมาณ 10 วัน ซึ่งเหมาะแก่การให้น้ำสำหรับข้าวสาลีมากที่สุด

เนื่องจากเป็นข้าวที่ไม่ได้ใช้ปริมาณแสงแดดช่วยในการเจริญเติบโตมากนัก เพราะจะเน้นไปทางน้ำฝนมากกว่า อีกทั้งการปลูกข้าวสาลียังเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวระหว่างปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ทำให้ปริมาณแสงแดดนั้นมีน้อยกว่าในช่วงฤดูร้อน จึงจัดเป็นข้าวที่อยู่ในช่วงที่ไม่ไวต่อแสงมากนัก

ทั้งนี้ข้าวสาลีจะเติบโตและออกผลผลิตนั้นจะเติบโตตามช่วงเวลาที่ดูแล จึงไม่จำเป็นว่าช่วงเวลากลางวันนั้นจะสั้นหรือยาว ซึ่งเหมาะกับการปลูกแบบนาปรัง หรือปลูกในช่วงที่มีปริมาณที่เพียงพอ แต่ก็เป็นข้าวสาลีที่ปลูกแค่ปีละครั้งเท่านั้นเอง

โดยการเติบโตของข้าวนั้นทั้งแบบไวต่อแสงและไม่ไวต่อแสง จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น กับระยะการสร้างช่อดอก

-การเจริญเติบโตทางลำต้นนั้น เป็นช่วงระยะเวลาที่นับตั้งแต่วันที่ตกต้นกล้าจนถึงวันที่เริ่มแตกกอ และต้นสูงเต็มที่ ในช่วงระยะนี้ ต้นข้าวจะเริ่มมีการเจริญเติบโตทางความสูงได้อย่างเต็มที่ และจะเริ่มแตกหน่อเป็นหน่อใหม่จำนวนมาก

-ระยะการสร้างช่อดอก เป็นระยะที่พันธุ์ข้าวหรือต้นข้าวจะเริ่มสร้างช่อดอกจนถึงรวงข้าวเริ่มโผล่ออกมาให้เห็น ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แต่สำหรับพันธุ์ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงอาจจะเรียกระยะดังกล่าวว่าระยะที่มีความไวต่อช่วงแสง ดังนั้นการปลูกในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมจึงทำให้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงมีเวลามากหรือน้อยเกินไป สำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้น โดยเฉพาะการใช้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงปลูกล่าช้ากว่าปกติ จะทำให้ต้นข้าวมีระยะเวลาน้อยไป ทำให้ได้ผลิตผลต่ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ผลผลิตจากข้าวสาลีไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้
6.ผลผลิตจากข้าวสาลีไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายข้าวสาลี และผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวสาลี

เนื่องจากข้าวสาลีนั้นเป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหรือข้าวหลักของประเทศไทย ทำให้มีการผลิตและปลูกที่ไม่มากนัก ซึ่งผลผลิตต่อไร่นั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ข้าวหลักๆ ของประเทศไทย โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวสาลีประมาณ 8,125 ไร่ โดยปริมาณข้าวสาลีที่ให้ผลผลิตในประเทศไทยโดยประมาณนั้นจะตกอยู่ที่ 400-550 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับข้าวสายพันธุ์อื่นๆ และคิดเป็นต่อปีก็ต้องประมาณปีละ 450-1,000 ตันต่อปี เท่านั้นเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศถือว่าน้อยมากเลยทีเดียว

อีกทั้งในปัจจุบันภาครัฐได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวสาลีเริ่มหันมาปลูกข้าวโพดกันมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณข้าวสาลีในแต่ละปีนั้นเริ่มเข้าสู่ขั้นวิกฤตเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีเกษตรกรที่ยังคงยึดการปลูกข้าวสาลีอยู่บ้าง แต่ในจำนวนที่ไม่มากนัก

แต่ช่วงระยะเวลาหลังๆ เริ่มมีการนำผลผลิตจากข้าวสาลีไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวสาลีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแป้งสำหรับทำขนมปัง เค้ก คุกกี้ อาหารเช้า ฯลฯ ซึ่งในส่วนตรงนี้เองที่ทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวสาลีเริ่มมีรายได้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะการแปรรูปที่หลากหลาย

ในด้านการตลาดของข้าวสาลีนั้น ประเทศไทยได้เริ่มมีการส่งออกข้าวสาลีมาตั้งแต่ปี 2538 และเริ่มส่งเรื่อยมาจนปัจจุบัน โดยส่งออกข้าวสาลีไปยังต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันการส่งออกก็เริ่มลดลงโดยผลผลิตและปัจจัยหลายๆ ด้าน แต่ด้วยสภาพปัจจุบันทำให้เกิดความนิยมข้าวสาลีกลับมาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์สุขภาพ

ซึ่งตลาดในประเทศที่ยังคงเป็นที่น่าจับตามองเลย คือ กลุ่มของขนมปัง เบเกอรี่ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลเป็นอย่างมากที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ข้าวสาลีนั้นสามารถต่อยอดและมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าขนมปังนั้นเป็นอาหารที่หาทานได้ง่าย และมีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกสรร

อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่แพงมากนัก ซึ่งในปัจจุบันตลาดของขนมปังมีการเติบโตเป็นอย่างมาก โดยเติบโตขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี เลยทีเดียว ส่วนมากจะเป็นขนมปังขาว และรองลงมา คือ ขนมปังเพื่อสุขภาพ อีกทั้งปัจจุบันการรักษาสุขภาพมีเพิ่มขึ้น คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ ทำให้มีการบริโภคขนมปังเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ด้านเบเกอรี่ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของตลาด ข้าวสาลี ที่น่าจับตามอง เพราะการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตอบสนองความต้องการของร้านค้าเบเกอรี่ได้เป็นอย่างดี และยังมีการคาดการณ์อีกว่ากลุ่มตลาดเบเกอรี่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน ทำให้ความต้องการใช้ ข้าวสาลีในวงการเบเกอรี่นั้นต้องเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

7.รวงข้าวสาลี
7.รวง ข้าวสาลี

แนวโน้มในอนาคต ข้าวสาลี

ข้าวสาลี ถือเป็นอีกหนึ่งพันธุ์ข้าวที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะว่าเป็นข้าวที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ข้าวสาลี ในปัจจุบันก็มีการผลิตออกมาอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเลือกซื้อหรือหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป

ถ้าด้วยปริมาณการให้ผลิตนั้นอาจจะมีไม่มากเท่าที่ควร บางครั้งอาจจะมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศบ้าง จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง แต่ถึงอย่างไร ข้าวสาลี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่เริ่มหันมาสนใจและใส่ใจในสุขภาพมากยิ่งขึ้น การปลูกข้าวสาลีและการส่งออกนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองว่าในอนาคต ข้าวสาลี อาจจะมาเป็นหนึ่งในข้าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยได้อย่างแน่นอนเลยทีเดียว

เนื้อหาที่เกี่ยวกับ ข้าวสาลี นั้นเป็นกล่าวถึงโดยภาพรวมที่มีเนื้อหา รายละเอียดการปลูก รวมถึงด้านการตลาด ที่จะเป็นที่รองรับของกลุ่ม ข้าวสาลี ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรวบรวมข้อมูลจากหลายภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ข้าวสาลี ซึ่งไม่ได้ใช้เพื่อการพาณิชย์แต่อย่างใด เป็นการให้คำแนะนำ ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องดังกล่าว อาจจะล่าช้าหรือผิดพลาดไปบ้างต้องขออภัยด้วย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://guru.sanook.com/3878/,https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/cereals/04_1.html,https://goodlifeupdate.com/healthy-food/91666.html,https://www.haijai.com/2104/,https://prayod.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5-wheat/

โฆษณา
AP Chemical Thailand