การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำหัวเชื้อ บ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า และขั้นตอนการเปิดดอกเห็ด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เห็ดนางฟ้า คือ เห็ดชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับเห็ดเปาฮื้อ โดยเห็ดนางฟ้าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ต่อมาเริ่มมีการนำมาเพาะปลูกในประเทศไทยมากขึ้น และเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เห็ดนางฟ้ายังสามารถหาทานได้ง่ายในประเทศไทย เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ทำให้เห็ดนางฟ้ายังคงครองอยู่ในตลาดลำดับต้นๆ ของพืชตระกูลเห็ด

1.ปลูกง่าย-ออกดอกเร็ว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons774Oyster_Mushroom_-_Pleurotus_cf._ostreatus_283561106093529
1.ปลูกง่าย-ออกดอกเร็ว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons774Oyster_Mushroom_-_Pleurotus_cf._ostreatus_283561106093529

การเพาะเห็ดนางฟ้า

ถ้าพูดถึงการเพาะเห็ด มีเห็ดหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถทำการเพาะพันธุ์เพื่อผลิตในประเทศไทยอย่างมากมาย แต่วันนี้เราจะขอนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ กับ การเพาะเห็ดนางฟ้า โดยเห็ดนางฟ้านั้นเป็นเห็ดที่มีความนิยมอยู่แล้ว ทั้งปลูกง่าย และหาทานได้ไม่ยาก อีกทั้งผู้ปลูกเองก็สามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพราะสามารถหาวิธีการเพาะปลูกแบบง่ายๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย หรือสอบถามกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าก็ทำได้เช่นกัน

โดยเห็ดนางฟ้านั้นเป็นพืชสกุลเดียวกับเห็ดนางรมและเห็ดเป๋าฮื้อ แต่เห็ดนางฟ้าจะมีหมวกดอกหนาและแน่นกว่า ทำให้ถูกปากผู้บริโภคหลายๆ คน นี่จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นในการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า ที่มีขั้นตอนที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ปลูก และพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูก

การเพาะปลูกเห็ดนางฟ้านั้นเป็นที่นิยมมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะสามารถปลูกได้ง่าย และใช้พื้นที่ไม่เยอะ ที่สำคัญ คือ ผลผลิตเห็ดนางฟ้านั้นออกดอกเร็ว และใช้เวลาผลิตดอกไม่นาน ทำให้เก็บผลผลิตได้เร็ว สามารถนำมาประกอบอาหาร หรือจำหน่าย เพื่อเป็นรายได้ได้ในระยะเวลารวดเร็ว ก่อนที่จะไปรู้ว่าวิธีการปลูกเป็นอย่างไรนั้น เรามาทำความรู้จักเห็ดนางฟ้าให้มากขึ้นกันดีกว่า

ดอกเห็ดนางฟ้านั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม แต่จะมีส่วนที่คล้ายกับเห็ดนางรมมาก มากจนถ้าไม่ดูให้ดีๆ อาจจะแยกไม่ออกสำหรับคนที่ไม่คุ้นชินในเรื่องของเห็ดเลย แต่สีของดอกเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่าเห็ดนางรมอยู่พอสมควร เพราะเห็ดนางรมนั้นจะมีสีที่คล้ำกว่า ส่วนตัวดอกเห็ดนั้น เห็ดนางฟ้าจะบางกว่าเห็ดนางรมอยู่นิดหน่อย มีครีบที่ชิดกันมากกว่า และเมื่อเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ก้านดอกเห็ดนางฟ้าจะอยู่ตรงกลางมากกว่า  เล็กกว่า อย่างชัดเจน ส่วนเห็ดนางฟ้าอีกชนิดนั้น คือ เห็ดนางฟ้าภูฐาน เป็นเห็ดที่นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน ซึ่งในปัจจุบันก็เริ่มเป็นที่นิยมเช่นกัน

2.สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย-https.pixabay.comidphotosjamur-tiram-2069474
2.สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย-https.pixabay.comidphotosjamur-tiram-2069474

ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ดนางฟ้า

เรามาดูกันดีกว่าว่า ประโยชน์ของเห็ดนางฟ้านั้นมีอะไรบ้าง ในคุณประโยชน์ของเห็ดนางฟ้านั้นแบ่งออกเป็นสรรพคุณต่างๆ ดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • มีวิตามินที่หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ เป็นต้น แต่ในเห็ดนางฟ้านั้นจะมีวิตามินซีที่สูงมาก ซึ่งตัววิตามินซีจะ

ช่วยในการป้องกันโรคหวัดหรือไข้หวัดได้ดี และช่วยป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟันและโรคเหงือกได้ดี

  • มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากเห็ดนางฟ้าเป็นแหล่งรวมของแร่

ธาตุต่างๆ มากมาย อย่าง ซีลีเนียม และสารที่สำคัญชื่อว่า อัลฟากลูแคน ซึ่งจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายจนกลายเป็นเนื้อร้ายได้

  • ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน สามารถช่วยในการลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยในการ

ลดระดับของคลอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดลงให้อยู่ในระดับปกติได้

  • มีสารอาหารจำพวกโปรตีนสูง เนื่องจากเห็ดนางฟ้ามีสารอาหารประเภทโปรตีนที่สูงกว่าเนื้อสัตว์บางชนิด จึงมี

คุณสมบัติในการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แถมรสชาติก็คล้ายเนื้อสัตว์แต่มีความเหนียวที่น้อยกว่า ทำให้เป็นผลดีต่อระบบการย่อยอาหารที่ไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป

  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ และป้องกันเชื้อโรค

ไม่ให้เข้ามาภายในร่างกายได้ง่าย

  • ช่วยในการบำรุงระบบเซลล์ประสาท ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ให้น้อยลง

นอกจากประโยชน์ข้างต้นแล้ว เห็ดนางฟ้ายังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักของเราให้คงที่ได้ด้วย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมในการสร้างสุขภาพไปในตัวของผู้บริโภคเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากที่กล่าวไปข้างต้นถึงรายละเอียดต่างๆ คุณประโยชน์ของเห็ดนางฟ้าไปแล้วนั้น เรามาสู่ใจความหลักกันดีกว่า ขั้นตอนและวิธีการปลูกเห็ดนางฟ้าไว้บริโภคเอง หรือจะจัดจำหน่ายเป็นรายได้เสริม หรือใครสนใจที่จะทำเป็นฟาร์มเห็ดเป็นรายได้หลัก ก็ลองเอาบทความนี้อ่านเป็นทางเลือกเพื่อปรับความเข้าใจหรือศึกษารายละเอียดได้

3.เห็ดนางฟ้าแข็งแรง-ใหญ่-เนื้อแน่น-httpsupload.wikimedia.orgwikipediacommons11dPleurotus_ostreatus_28Oyster_Mushroom292C_gills_from_below._Sycamore_tree_host
3.เห็ดนางฟ้าแข็งแรง-ใหญ่-เนื้อแน่น-httpsupload.wikimedia.orgwikipediacommons11dPleurotus_ostreatus_28Oyster_Mushroom292C_gills_from_below._Sycamore_tree_host การเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะเห็ดนางฟ้า

วิธีการเพาะและบำรุงดูแลเห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้าได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเห็ดเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ ในความหมายนี้คือเป็นเห็ดที่มีความต้องการของท้องตลาดสูง จำหน่ายได้ง่าย มีช่องทางในการจัดจำหน่ายมากมาย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในการบริโภค เพราะเป็นรูปแบบการบริโภคหลายๆ รูปแบบ มีการแปรรูป หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นและหลากหลายมากขึ้น

การเพาะเห็ดนางฟ้า มีหลายวิธีในการเพาะ โดยในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการเพาะแบบง่ายๆ และดูแลได้ไม่ยาก เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการเพาะ ทั้งไว้บริโภค หรือเพื่อจัดจำหน่ายในพื้นที่เล็กๆ

สิ่งสำคัญในการเตรียมเพาะเห็ด

สิ่งสำคัญในการเตรียมเพาะเห็ดนั้น ก็คือ โรงเรือน และวัสดุที่จะทำการเพาะ เพราะจะทำให้การดูแลตัวเห็ดนั้นง่าย และเห็ดได้คุณภาพที่ดี ก็ขึ้นอยู่กับ 2 สิ่งนี้ และที่สำคัญเลย คือ การเอาใจใส่ เพราะเห็ดนางฟ้านั้นใช้เวลาในการออกดอกสั้น ทำให้เก็บผลผลิตได้เร็ว อีกทั้งยังดึงดูดโรคและศัตรูได้ง่าย มาพูดถึงโรงเรือนกันดีกว่า

โรงเรือน สำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทที่ดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้ คือ เมื่อเดินเข้าโรงเรือนควรจะหายใจได้สะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไป ในส่วนโครงสร้างนั้นสามารถทำได้ 2 แบบ

  1. แบบแรก คือ โรงเรือนชั่วคราว ลงทุนไม่มาก วัสดุหาได้จากตามธรรมชาติ อายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี
  2. แบบที่สอง คือ โรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนแบบสังกะสีหรือกระเบื้อง โรงเรือนแบบนี้จะติดปัญหาที่ความร้อน ควรทำหลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป

การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดในโรงเรือน โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อเห็ด ไม่จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบตายตัว สามารถวางเห็ดได้มาก ที่นิยมนำมาใช้ คือ ไม้ไผ่ ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้วทำการวางก้อนเชื้อซ้อนทับกันไป โดยหันปากถุงออกทางด้านข้างชั้นทั้งสองด้าน และทำช่องระบายอากาศประมาณ 40×60 เซนติเมตร ประมาณ 1-2 ช่อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วัสดุเพาะ และการให้สารอาหาร โดยวัสดุที่นิยมนำมาใช้ใน การเพาะเห็ดนางฟ้า นั้น คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการหมักหรือวิธีการมากมาย เก็บรักษาได้ง่าย สามารถเก็บไว้ในสภาพแห้งก็ได้ หรือทิ้งอยู่กลางแจ้ง โดยเปียกน้ำหรือเปียกฝนก็ได้

ทางด้านอาหารเสริม มักนิยมเติมแร่ธาตุอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารเสริมที่เห็ดสามารถดึงไปใช้ได้โดยตรงในกองขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เพื่อให้เส้นใยเดินเร็ว และให้มีผลผลิตที่สูงขึ้น โดยอาหารเสริมที่ใช้ ได้แก่ รำละเอียด, ปูนขาว, ยิปซัม และดีเกลือ เป็นต้น

ขั้นตอน การเพาะเห็ดนางฟ้า ในถุงพลาสติก

การผลิตหัวเชื้อที่บริสุทธิ์ นำเอาดอกเห็ดหรือสปอร์มาเพาะให้เห็ดเจริญขึ้นเป็นเส้นใย เพื่อที่ใช้ขยายพันธุ์ไปทำหัวเชื้อต่อไปโดยจะเลี้ยงเส้นใยเห็ดบนวุ้น PDA ส่วนด้านอุปกรณ์ที่ใช้นั้นจะมีเข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอฮอล์ และตู้เขี่ยเชื้อ เวลาจะใช้ก็ยกสิ่งของต่างๆ เข้าไปภายในแล้วปิดช่องเสียงเพื่อไม่ให้มีลมผ่านเข้าไปได้ แต่ด้านบนควรมีช่องให้อากาศหรือร้อนระบายออกได้เล็กน้อย ก่อนที่จะใช้งานตู้นั้นจะต้องทำการฆ่าเชื้อในตู้ให้เรียบร้อยก่อนจึงจะเริ่มใช้งาน

การคัดเลือกดอกเห็ดมาทำพันธุ์ ควรเลือกดอกเห็ดที่มีความสมบูรณ์ เป็นดอกที่มีความแข็งแรง ดอกใหญ่และน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ก้านดอกมีลักษณะแข็งแรงหรือโคนหนา อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 3 วัน หรือก่อนปล่อยสปอร์ 1 วัน โดยดอกเห็ดที่จะนำมาใช้นั้นห้ามโดนหรือเปียกน้ำโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะถ้าเป็นดอกเห็ดที่เก็บใหม่ๆ จากแปลงนั้น ถ้านำมาใช้ได้จะดีเป็นอย่างมาก

การทำหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าบนเมล็ดข้าวฟ่าง นำเมล็ดข้าวฟ่างมาต้มจนสุกนิ่มพอดีอย่าให้ถึงกับเละมาก และนำไปใส่ตะแกรงเพื่อกรองเอาน้ำออกให้หมด และนำไปผึ่งแดดพอแห้ง จากนั้นกรอกเมล็ดข้าวฟ่างที่แห้งแล้วใส่ขวด ประมาณ 2 ใน 3 ของขวดพอ เพื่อจะช่วยให้เส้นใยเจริญเติบโตได้เร็ว ถ้าหากปากขวดเปื้อนก็ควรที่จะเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย หลังจากนั้นใช้สำลีอุดปากขวดให้แน่นพอดี ใช้กระดาษหุ้มทับสำลีอีกทีแล้วรัดด้วยยาง เพื่อป้องกันตอนที่นำไปนึ่งแล้วสำลีเกิดเปียก โดยวิธีการนึ่งนั้นจะนึ่งด้วยความดันไอน้ำ จำนวน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว ประมาณ 25นาที แล้วหลังจากนั้นก็ทิ้งให้เย็น

การทำถุงเชื้อเห็ดนางฟ้า โดยการทำถุงนั้นจะต้องใช้ถุงขนาด 7×11 นิ้ว หรือ 9×12 นิ้ว หรือมีความใหญ่กว่านี้ พลาสติกที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกที่ทนความร้อน สำลี ยางรัด กระดาษหุ้มสำลี และช้อนตัก ในการทำถุงเชื้อนั้นเริ่มจากนำขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนผสมด้วยปูนขาวพอประมาณ และรำละเอียด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผสมส่วนผสมดังนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละฟาร์มที่เพาะเห็ดอาจจะมีความแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ที่ หรือจะมีเพิ่มเติมนอกเหนือจากสูตรมาตรฐานนี้ก็ได้ จากนั้นจะมีการหมักปุ๋ยไว้จนครบ 1 คืน และค่อยเติมรำละเอียดตามอัตราส่วน หรืออาจจะเติมดีเกลือลงไปด้วย ในการผสมน้ำนั้นสำหรับเห็ดนางฟ้าอาจต้องผสมให้มีความชื้นปกติ ไม่แห้งหรือแฉะเกินไป

หลังจากที่ทำการหมักไปแล้วต่อมาก็เป็นการบรรจุ โดยทำการบรรจุเกือบเต็มถุง หรือกะประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม เว้นปากถุงไว้สำหรับสวมคอขวดพลาสติกเพื่อที่จะเขี่ยเชื้อ แต่บางฟาร์มอาจจะมีเครื่องมือที่สามารถใช้บรรจุถุงก็นำมาใช้ได้เช่นกัน

เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วก็ใช้ไม้ปลายแหลมเจาะรูปุ๋ยจากคอขวดให้ลึกลงไปถึงกลางถุง เพื่อที่เชื้อเห็ดที่ใส่ไปจะเจริญเติบโตที่ช่วงกลางถุง หรือจะไม่เจาะก็ได้ เพราะถ้าไม่เจาะเส้นใยก็เจริญเติบโตจากบนลงมา ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับวิธีการทำการเพาะของแต่ละฟาร์มว่าใช้วิธีใดอีกด้วย เสร็จแล้วก็ใช้สำลีในการอุด และรัดด้วยหนังยาง หรือใช้ฝาครอบสำลีแทนกระดาษก็ได้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้สำลีนั้นเปียก เพราะถ้าเกิดว่าสำลีมีความชื้นหรือเปียกเกินไป จะทำให้เกิดเชื้อราต่างๆ ตามมาในถุงได้ง่าย

นอกจากนี้ยังมีการฆ่าเชื้อถุงเพื่อรักษาคุณภาพให้ดี และการเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวลงถึงในถุงก้อนเชื้อ โดยขั้นตอนนี้จะต้องทำการโดยปราศจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อน

การบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า การบ่มเชื้อจะลำเลียงก้อนเชื้อจากห้องเขี่ยเชื้อเข้ามายังโรงบ่ม โดยนำก้อนเชื้อไปวางเรียงบนชั้นจนเต็ม จะวางทางตั้งสำหรับชั้นวางที่ถาวร หรือวางแนวนอนสำหรับชั้นที่แบบเสาคู่ซึ่งไม่เกิน 3 ก้อน เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อที่อยู่ตรงกลางที่ความร้อนสูงเกินไปจนเป็นผลเสียได้ในภายหลัง

การดูแลก้อนเชื้อในโรงบ่มนี้ นอกจากการรักษาความสะอาดและตรวจอุณหภูมิเพื่อควบคุมให้อุณหภูมิปกติสม่ำเสมอ หรือไม่ให้สูงเกิน 25-30 องศาเซลเซียส เพราะถ้าสูงเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรหมั่นทำการรดน้ำเพื่อลดอุณหภูมิตามผนัง หลังคาโรงเรือน หรือทำการระบายอากาศออกครั้งละ 10-15 นาทีโดยประมาณ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนในฤดูหนาวก็ควรปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่อบอุ่น หลังจากบ่มเสร็จแล้วควรจะทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ภายในโรงเรือนให้เรียบร้อย เพราะถ้าโรงเรือนสกปรกมากจะทำให้เกิดเชื้อราต่างๆ มาสะสม และอาจจะทำให้เกิดความเสียหาย จึงต้องหมั่นคอยทำความสะอาดทั้งตอนบ่มและหลังบ่ม

ขั้นตอนการเปิดดอกเห็ด

สำหรับการเปิดถุงเพื่อให้ดอกเห็ดออกดอกนั้น มีลักษณะการวางถึงก้อนเชื้อในโรงเรือนสามารถทำได้หลายวิธีคือ เปิดสำลีให้ออกดอกเห็ดที่ปากถุง ดึงจุกสำลีออกวางถุงในแนวนอนกับพื้นโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน และฉีดพ่นละอองน้ำเป็นฝอยละเอียด เห็ดจะเกิดแล้วโผล่ออกมาเอง โดยวิธีนี้จะนิยมทำกันบ่อย และเป็นวิธีที่ทำกันมากกว่าแบบอื่น

การพับปากถุง หลังจากที่เอาคอขวดออกแล้วเปิดปากถุงพับลงมา ม้วนปากถุงให้อยู่ในระดับเดียวกับวัสดุเพาะหรือก้อนเชื้อ อาจจะวางก้อนเชื้อเห็ดได้ทั้งแนวนอนและตั้ง แต่วิธีนี้จะทำให้ดอกเห็ดเกิดขึ้นหลายดอก แต่ดอกจะเล็กกว่า เพราะมีการแย่งอาหารกันในตัวเห็ด และทำให้ถุงมีจำนวนเชื้อน้อย เก็บความชื้นได้ไม่เยอะ แต่อากาศจะหมุนเวียนได้ดี จึงต้องคอยรักษาความชื้นอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้โรงเรือนแห้งเร็วเกินไป

การเปลือยถุง ทำโดยการแกะเอาพลาสติกออกทั้งหมด แล้วเอาก้อนเชื้อวางลงไปในแบบไม้หรือตะกร้า รดน้ำให้เปียกทั่วทั้งก้อน เวลาเกิดดอกเห็ดจะได้เกิดทุกส่วน

ขั้นตอน การเพาะเห็ดนางฟ้า แบบไม่มีโรงเรือน

ใน การเพาะเห็ดนางฟ้า แบบไม่มีโรงเรือนนี้ โดยส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่บริเวณบ้าน หรือสวน ที่เป็นที่โล่ง และมีลมผ่านได้ และที่สำคัญเลยจะต้องมีร่มเงา ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งที่แดดจัด

การเพาะเห็ดแบบไม่มีโรงเรือนนั้นไม่ยาก วิธีการเรียงก็เหมือนการเรียงเห็ดแบบฟาร์มทั่วไป เหมือนกับวางในโรงเพาะ แต่เวลาเรียงก้อนเห็ดจะต้องหาอะไรมาคลุม ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกใส หรือสิ่งที่คลุมได้ และขึงให้ตึง จากนั้นนำไม้มารองด้านล่างเพื่อไม่ให้ตัวเห็ดติดพื้นเกินไป อีกทั้งเพื่อความสะดวกในการรดน้ำและทำความสะอาดจะทำได้ง่าย ไม่เปื้อนพื้นดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยธรรมชาติในการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าตั้งแต่เกิดดอกจนถึงพร้อมเก็บเกี่ยว จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน โดยดอกเห็ดจะสมบูรณ์ดี มีคุณภาพ หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

  • อุณหภูมิ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมกับเห็ดนางฟ้านั้นจะอยู่ที่ 24-26 องศาเซลเซียส โดยดอกเห็ดจะออกดอกเร็วมาก

ดังที่ส่วนใหญ่กล่าวกันว่าในหน้าฝนนั้นดอกเห็ดจะออกได้เร็วกว่าหน้าร้อนพอสมควร

  • อากาศ เห็ดเป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเวลาเกิดดอกเห็ด ทั้งในระยะที่เป็นดอก และ

ระยะที่เป็นเส้นใย

  • ความชื้น จุลินทรีย์ทั่วๆ ไปชอบความชื้นสูง แต่สำหรับเห็ดนั้นจะทนแล้งได้ดีกว่าจุลินทรีย์ประเภทอื่นๆ การเพิ่ม

ความชื้นในวัตถุเพาะทำได้โดยการรดน้ำ แต่ต้องระวังไม่ให้มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ตัวเส้นใยนั้นระงับการเติบโตได้ ถ้าเกิดมีความชื้นหรือเปียกจนเกินไป

  • แสง เห็ดทุกชนิดไม่สามารถปรุงอาหารได้เอง ต้องอาศัยอาหารจากพืชต่างๆ ดังนั้นแสงจึงไม่มีความจำเป็นต่อการ

เจริญเติบโต โดยเฉพาะระยะที่เส้นใยกำลังลามไปทั่วก้อน หากมีแสงสว่างมากจะทำให้เส้นใยเติบโตได้ช้า แต่อย่างไรก็ตามแสงก็ยังมีความจำเป็นในการเจริญเติบโตของตัวเห็ดอยู่ เพราะจะช่วยในการกระตุ้นเส้นใยให้เกิดดอกเห็ดได้เร็วขึ้น ทางที่ดีควรให้แสงในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มาก ไม่น้อย จนเกินไป แต่ถ้าเป็นตัวแสงสีน้ำเงินจะส่งผลต่อการออกดอกของเห็ดมากกว่าสีอื่นๆ ถ้าหลีกเลี่ยงแสงสีน้ำเงินได้ก็จะดีมาก

  • ความสะอาด โรงเรือนที่ไม่สะอาดจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่ส่งผลเสียต่อตัวเห็ดโดยตรง อย่างเช่น ถ้าโรงเรือนมี

โรคและแมลงศัตรู และเกิดการระบาด จะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดทั้งหมดเสียหายได้ทั้งโรงเรือน ความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเพาะเห็ด ต้องคอยหมั่นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนอยู่เสมอ เมื่อทำการเก็บผลผลิตทั้งหมดเสร็จ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.การเพาะเห็ดนางฟ้า -https.www_.flickr.comphotosbobrichmond5920211404
4.การเพาะเห็ดนางฟ้า -https.www_.flickr.comphotosbobrichmond5920211404

ข้อดี-ข้อเสียของการเพาะเห็ดแบบโรงเรือน และไม่มีโรงเรือน

ในส่วนของข้อดีนั้นการเพาะแบบโรงเรือนจะสามารถควบคุมปริมาณอุณหภูมิ แสง อากาศ ได้ง่ายกว่าแบบไม่มีโรงเรือน และควบคุมการเกิดโรคและแมลงศัตรูได้ดีกว่า เพราะถ้าดูแลดีๆ จะทำให้เห็ดนางฟ้าไม่มีโรคและแมลงมารบกวนได้แน่นอน การออกดอกของเห็ดมีความสม่ำเสมอแน่นอน

แต่ข้อดีของแบบไม่มีโรงเรือนก็มีเช่นกัน คือ การประหยัดงบประมาณในการลงทุน เพราะมีแค่ก้อนเชื้อเห็ดสามารถเพาะได้เลย ไม่ต้องเตรียมการอะไรมากมาย ไม่ค่อยเจอโรคเกี่ยวกับรามากนัก เนื่องจากแสงแดดสามารถส่องถึงได้ดีกว่าแบบโรงเรือน ดอกเห็ดจะใหญ่กว่าแบบโรงเรือน และได้น้ำจากน้ำค้างตอนกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้ได้รสชาติที่ไม่เหมือนแบบมีโรงเรือน

ในส่วนของข้อเสียนั้น แบบโรงเรือนจะมีมากกว่า คือ เกิดโรคราได้ง่าย เพราะการที่เป็นแบบโรงเรือนทำให้แสงและอากาศไม่สามารถเข้าถึงได้ ต่างจากแบบไม่มีโรงเรือนที่อากาศถ่ายเทตลอด แสงแดดจะสามารถเข้าถึงได้ แต่ข้อเสีย คือ ในหน้าหนาวแบบไม่มีโรงเรือนจะควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ จะทำให้ดอกเห็ดออกดอกได้น้อยและเล็ก ไม่ค่อยได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

5.ผลผลิตเห็ดนางฟ้า-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons003Het_nang_fah_E0B980E0B8ABE0B987E0B894E0B899E0B8B2E0B887E0B89FE0B989E0B8B2_Lentinus_sajor-caju
5.ผลผลิตเห็ดนางฟ้า-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons003Het_nang_fah_E0B980E0B8ABE0B987E0B894E0B899E0B8B2E0B887E0B89FE0B989E0B8B2_Lentinus_sajor-caju

การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางฟ้า

ในการเก็บเกี่ยวเห็ดนางฟ้านั้นจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยดอกเห็ดจะโตเต็มที่ภายในระยะเวลา 4-5 วัน ก็จะเก็บได้แล้ว ในกรณีทิ้งไว้นานกว่า 4 วัน ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์ออกมาเป็นผงสีขาวละเอียด และร่วงหล่นลงนั้น จะทำให้คุณภาพของเห็ดด้อยลง โดยจะมีความเหนียวและรสชาติที่ขม

ลักษณะของดอกเห็ดที่แก่พอจะเก็บได้นั้น สังเกตได้จากก้านของดอกเห็ดจะหยุดการเจริญเติบโตทางด้านความยาว หมวกดอกเริ่มคลี่ออกมาประมาณครึ่งหนึ่ง หมวกดอกจะหนา และรวบเข้าหากัน เมื่อเติบโตเต็มที่ขอบดอกจะคลี่ออก และบางลงกว่าเดิม นี่จะเป็นระยะที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ และไม่ควรจะปล่อยให้โตไปมากกว่านี้ เพราะถ้ามากกว่านี้เห็ดจะดูดน้ำมากขึ้น จะมีการสร้างสปอร์เพิ่มขึ้น จะทำให้ช้ำและดำได้ง่ายเมื่อนำไปจำหน่าย

ในการเก็บเห็ดนั้นควรจะเก็บช่วงเช้ามืด ไม่ควรใช้มีดตัด การเก็บจะใช้มือดึงที่โคนออกมาเบาๆ เพราะถ้าใช้มีด จะมีเศษเห็ดติดอยู่ที่โคนจะทำให้ก้อนเชื้อเน่าและเป็นที่สะสมของเชื้อโรค ควรใช้กรรไกรตัดโคนส่วนที่มีเศษติดอยู่มาวางคว่ำไว้ในตะกร้าที่สะอาด การใส่ลงตะกร้าไม่ควรใส่มากเกินกว่า 5 กิโลกรัมต่อ 1 ตะกร้า เพราะจะทำให้ดอกเห็ดทับกันจนเสียหาย และเห็ดนางฟ้านั้นเก็บได้ไม่นาน ควรนำไปปรุงอาหารให้หมดภายในระยะเวลา 1-2 วัน เพราะเห็ดชนิดนี้จะอยู่ไม่ทน มักจะเหี่ยว แม้จะแช่ในตู้เย็นแล้วก็ตาม ถ้าจะเก็บเห็ดไม่ควรนำเข้าตู้เย็น ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การดูแลเห็ดนางฟ้าจะใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน หรือจนหมดอายุอาหารในก้อน จึงนำรุ่นใหม่เข้ามาเพาะแทน รวมทั้งก้อนเชื้อบางก้อนที่เน่าเสียไปก็ควรนำรุ่นใหม่เข้ามาแทนเช่นกัน โดยสังเกตว่าก้อนเชื้อที่หมดอายุแล้วจะมีน้ำหนักเบา บางก้อนจะมีสีดำคล้ำ ถ้าเกิดมาถึงระยะนี้แล้วควรนำออกทั้งหมด และล้างทำความสะอาดโรงเรือนให้สะอาดเสียก่อน ก่อนที่จะนำก้อนเชื้อชุดใหม่เข้ามาเพาะต่อไป

จากบทความข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ การเพาะเห็ดนางฟ้า แบบถุงพลาสติกในโรงเรือน และไม่มีโรงเรือน จะเห็นได้ว่าการเพาะแต่ละแบบก็จะมีวิธีการดูแลรักษา ข้อดีและข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ การเพาะเห็ดนางฟ้า  นั้นขึ้นอยู่กับความถนัด และพื้นที่ในการเพาะแต่ละพื้นที่ว่ามีพื้นที่จำกัดมากน้อยเพียงใด จะเพาะเพื่อเหตุผลอะไร เพาะเพื่อจัดจำหน่าย หรือเพาะเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน ก็ต้องดูว่าพื้นที่นี้เหมาะกับการทำแบบไหน อีกทั้ง การเพาะเห็ดนางฟ้า มีระยะเวลาในการออกดอกค่อนข้างเร็ว การดูแลเอาใจใส่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเห็ดนางฟ้าค่อนข้างเปราะบางและมีโอกาสที่จะติดโรคราต่างๆ ได้ง่าย จึงต้องใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ให้เป็นอย่างดี การศึกษาหาข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมที่จะเริ่มเพาะเห็ดนางฟ้า เพราะบทความข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในการนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาหลายๆ กรณี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวความคิดที่หลากหลาย หากท่านใดสนใจก็ลองนำไปพิจารณาดูได้

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบ

https://puechkaset.com/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2/,https://www.baannoi.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/212-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99.html, https://mgronline.com/smes/detail/9600000076817 การเพาะเห็ดนางฟ้า