ปลูกผักชีไทย 5 ไร่ สร้างรายได้ 8,000-10,000 บาท/สัปดาห์ ให้ผลตอบแทนเร็ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผักชีไทย นับว่าเป็นพืชสมุนไพรธัญญาหารของภาคครัวเรือน ซึ่งมีน้อยคนที่ไม่รู้จัก ทั้งการปลูกก็ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกดิน และเป็นผักที่มีปลูกทุกภาค ทั้งปลูกเพื่อเป็นไปทางการค้าเชิงพาณิชย์ และปลูกเป็นผักสวนครัวไว้เพื่อบริโภค เนื่องจากเป็นผักที่ใช้ประกอบอาหาร และยังรับประทานสดได้ทั้งต้น

ทั้งนี้ผักชีไทยยังมีสรรพคุณในตัวยาสมุนไพร เป็นต้นว่ารับประทานหากมีอาการเป็นไข้หวัดและไอยังช่วยลดอาการนี้ได้ รวมทั้งช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะ และช่วยบำรุงรักษาตับอักเสบได้ เป็นต้น

1.คุณธานินทร์-เพ็งพูน
1.คุณธานินทร์-เพ็งพูน

การปลูกผักชีไทย

อย่างไรก็ตามการปลูกผักชีไทยที่เกษตรกรผู้เพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกเพื่อเป็นการค้า ก็ยังสามารถทำรายได้ต่อวันให้มิใช่น้อย อย่างเช่น เกษตรกรผู้ปลูกผักชีไทยในพื้นที่ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก ของจังหวัดสระบุรี ในขณะเดียวกันนั้นซึ่งมีเกษตรกรบางเจ้ายังได้ปลูกพืชผักล้มลุกอายุสั้นแซมแบบผสมผสานกันไปกับผักชีไทย โดยได้ปลูกผักชีไทยเป็นพืชตัวยืนหลัก

ธานินทร์ เพ็งพูน เกษตรกรผู้ที่เคยผ่านการเพาะปลูกพืชผักล้มลุกมาหลากหลายชนิด รวมทั้งทำนาข้าว โดยเขาเล่าว่า ได้เพาะปลูกผักชีไทยรวมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานานมากกว่า 10 ปี ที่ได้ยึดอาชีพปลูกเป็นพืชตัวยืนหลักจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ค่อยจะยุ่งยาก และเห็นผลตอบแทนเร็ว

ทั้งนี้การใช้พื้นที่เพาะปลูกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เนื้อที่เพาะปลูกให้มากหรือในจำนวนหลายไร่ ก็สามารถเพาะปลูกผักชีไทยได้เป็นจำนวนมาก ส่วนการใช้เงินทุนหรือรวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนต่างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องก็ยังช่วยประหยัดได้มาก การลงแรงก็ไม่สิ้นเปลืองแรงงงานเหมือนอย่างปลูกพืชชนิดอื่น

ส่วนพื้นที่เพาะปลูกการปรับพื้นที่ก็ไม่ยุ่งยากกับการที่จะปลูกพืชผักล้มลุกอายุสั้นแซมไปแบบผสมผสาน อย่างเช่น พริก มะเขือเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามธานินทร์ยังได้เล่าอีกว่าในระยะเวลาหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตผักชีไทยหมด ก็ยังได้เวลารอเก็บเกี่ยวผลผลิตพริกและมะเขือเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถรักษาหรือป้องกันหน้าดินมิให้เสื่อมโทรมเพื่อจะรอปลูกผักชีไทยอีกในช่วงต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ต้นผักชีที่กระจัดกระจายในพื้นที่
2.ต้นผักชีที่กระจัดกระจายในพื้นที่

สภาพพื้นที่ ปลูกผักชีไทย

ขณะเดียวกันนั้นธานินทร์ยังเล่าถึงพื้นที่ ปลูกผักชีไทย ที่เขามีปลูกอยู่ประมาณ 5 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกไม่มาก แต่ก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้เขามีผักส่งเข้าตลาดหลักทุกวัน ส่วนของการ ปลูกผักชีไทย นั้นก็สามารถปลูกได้ในทุกฤดูกาล โดยเริ่มที่จะปลูกนั้นควรไถปรับหน้าดินให้เสมอพร้อมกับหว่านด้วยปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และควรตากหน้าดินทิ้งไว้สัก 5-6 เดือน

ทั้งนี้จากที่กล่าวมายังจะช่วยบำรุงรักษาดินและกำจัดวัชพืชได้ดีด้วย อย่างไรก็ตามหากแต่ครบ 5-6 เดือนแล้ว ให้ไถพรวนดินหรือปรับหน้าให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้หว่านด้วยเมล็ดผักชีไทย ทั้งนี้ถ้าหากแต่อยากจะปลูกพืชผักล้มลุกเป็นต้นว่ามะเขือเทศหรือพริกก็สามารถทำแปลงปลูกได้เลย

3.ระบบการส่งจ่ายน้ำแบบปริงเกลอร์ในการ ปลูกผักชีไทย
3.ระบบการส่งจ่ายน้ำแบบปริงเกลอร์ในการ ปลูกผักชีไทย

การบำรุงดูแลผักชีไทย

ธานินทร์พูดถึงการบริหารจัดการสวนของเขาว่าผักชีไทยนั้นสามารถปลูกได้ทุกฤดู ส่วนแมลงรบกวนหรือแมลงศัตรูพืชส่วนมากก็จะมีในฤดูแล้ง อย่างเช่น หนอนผีเสื้อสีเขียว แต่ก็มีไม่มาก การใช้สารปราบป้องกันก็จะใช้สารปราบศัตรูพืชชีวภาพที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป หากแต่เป็นหน้าฝนแมลงก็จะไม่มี

ทั้งนี้หลังจากที่ปลูกเสร็จการให้ปุ๋ยก็จะให้เมื่ออายุต้นผักชีไทยครบ 20 วัน โดยจะให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งเขาจะให้เพียงครั้งเดียว สำหรับการให้น้ำเขาจะใช้ระบบสปริงเกลอร์ หากวันไหนฝนตกก็จะไม่ให้ หากวันไหนฝนไม่ตกก็จะให้ทุกวัน เป็นต้น ทั้งนี้ในส่วนของผักชีไทยตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ดปลูกอย่างที่ได้กล่าวมานั้น หากแต่เมื่ออายุของต้นได้ถึง 45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

อย่างไรก็ตามผักชีไทยช่วงที่เริ่มให้เก็บเกี่ยวนั้นก็จะมีให้เก็บได้ถึง 3 รอบ เนื่องจากผักชีไทยในขณะที่หว่านเมล็ดปลูกมันจะเกิดขึ้นมาไปพร้อมกัน โดยจะเกิดขึ้นมาเองเป็นชุดๆ ถึง 3 ชุด จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด

4.พร้อมเก็บจำหน่าย
4.พร้อมเก็บจำหน่าย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผักชีไทย

หากมองถึงเรื่องของตลาดผักชีไทย ของเขาจะมีตลาดประจำที่ตลาดสี่มุมเมือง ถือได้ว่าเป็นตลาดหลักที่เขาส่งประจำ เขาได้เล่าว่าตลาดผักชีไทยเป็นตลาดขายให้กับพ่อค้าหรือแม่ค้าในแต่ละวันแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากราคาผักชีไทยโดยปกติทางด้านการตลาดราคาของมันจะไป “นิ่ง” เป็นต้นว่าหากวันไหนรู้ว่ามีราคาให้รีบเก็บขายได้เลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เนื่องจากวันถัดไปราคามันอาจจะลดลงมา ทั้งนี้หากแต่ผักชีไทยเข้าสู่ตลาดมากๆ วันนั้นจะขายไม่ได้ราคา เป็นต้นว่าขณะที่กำลังจะนำขายตามราคาก็รู้อยู่แล้วว่าราคาตลาดวันนี้ควรจะได้เท่าไร ทั้งนี้แต่หากเกษตรกรเจ้าอื่นนำผักชีไทยเข้ามาขายเหมือนกัน ขณะเดียวกันนั้นผักชีไทยก็ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น แทนที่จะได้ราคาจากพ่อค้าหรือแม่ค้าจากที่คาดหวังไว้ ราคาก็จะกลับลดลงทันที

“ถ้าถามถึงเรื่องของตลาดผักชีไทย ผมว่าตลาดมันไม่ตายแต่มันจะขายได้ไปอย่างนี้ ไม่ได้มากก็ได้น้อย วันไหนมันมีราคาก็จะขึ้นไปถึงกิโลละ 100-140 บาท วันไหนราคามันลดก็จะมาอยู่ที่กิโลละ 10-15 บาท แต่ก็ไม่เคยขาดทุน มันคุ้มทุนมากกว่า เพราะการ ปลูกผักชีไทย มันไม่ได้ใช้ทุนมาก” ธานินทร์พูดให้ความเห็นเรื่องของตลาด

5.ต้นพริกและผักชีที่ปลูกแซมกันในพื้นที่
5.ต้นพริกและผักชีที่ปลูกแซมกันในพื้นที่

รายได้จากผลผลิตผักชีไทย

ขณะเดียวกันปัจจุบันที่เขาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากผักชีไทยขายอยู่ทุกวันนี้ และการเก็บออกจากสวนในแต่ละครั้งจะเก็บได้ถึงประมาณ 700-800 กก. บางครั้งก็จะเก็บได้ถึง 100 กก. หรือ 1 ตัน “ในจำนวน 5 ไร่” ทั้งนี้ขณะที่ราคาขายในตลาดสี่มุมเมืองจะอยู่ที่ 1 กก./100 บาท และขณะที่ราคาลูกจะอยู่ที่ 1 กก./40 บาท ยังถือได้ว่าผักชีไทยราคาไม่แน่นอนจริงๆ

ส่วนรายได้ของเขาที่เก็บขายได้ในแต่ละวันหรือแต่ละรอบซึ่งมีให้เก็บ 3 ครั้ง อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ทั้งนี้เมื่อส่งเข้าถึงพ่อค้าที่ตลาดสี่มุมเมืองรายได้ที่เขาได้รับจะอยู่ที่ 8,000-10,000 บาท

ทั้งนี้หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว เขาก็จะหาพื้นที่ปลูกใหม่เพื่อรอให้พริกหรือมะเขือเทศที่เขาปลูกไว้แซมนั้นได้เก็บเกี่ยวหมดไปก่อน จึงจะพักฟื้นดินไปสัก 5-6 เดือน จึงจะทำผักชีไทยมาปลูกใหม่

หากแต่ท่านผู้อ่านหรือเกษตรกรท่านใดสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ คุณธานินทร์ เพ็งพูน 57 หมู่ 7 ต.หนองย่างเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โทร.08-2128-7559

โฆษณา
AP Chemical Thailand