เผยเทคนิดการทำ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ คุณภาพ ให้ประสบความสำเร็จ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ คุณภาพ

“สัปปายะ พาร์ค” ธุรกิจ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ตั้งอยู่ที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจของครอบครัว คุณโชษณ กรมกนกภรณ์ หรือคุณป๊อป ที่ช่วยกันทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการประคับประคองธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จนเป็น ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ อันดับต้นๆ ของประเทศ

1.โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์
1.โรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์

ด้านตลาดผักไฮโดรโปนิกส์

ช่วงแรกที่ทำตลาดคุณป๊อปกล่าวว่าผักไฮโดรโปนิกส์ยังไม่เป็นที่รู้จักมากเหมือนสมัยนี้ ครั้งเมื่อสมัยอยู่ลำลูกกานำผักไปส่งตลาดไท คนงานพม่าเคยเอาถุงผักทิ้ง เพราะผักไม่สวยเหมือนของเจ้าอื่น ซึ่งตอนนั้นยอมรับว่าฝีมือและประสบการณ์เรายังน้อยไป แต่พอเราขึ้นมาอยู่บนเขาค้อ ด้วยประสบการณ์ที่ขึ้นลงกรุงเทพฯ ร่วมปี เพื่อศึกษาการทำผักคุณภาพ จนสามารถผลิตคุณภาพได้แล้ว พอเอาไปเสนอขายให้กับแม่ค้าที่ตลาด เขาก็พอใจในผักของเรา และสั่งซื้อเพิ่มขึ้น

การดูแลฟาร์ม คุณป๊อปและครอบครัวจะช่วยกันดูแล เพราะฟาร์มแบ่งเป็นหลายแปลง หลายจุด ต้องกระจายกันดูแล  ซึ่งผลผลิตของทางฟาร์มจะส่งขายทั้งตลาด ห้าง เช่น แมคโคร ทอป ซิสเลอร์ และตลาดสด อย่าง แผงผักสี่มุมเมือง ตลาดไท และส่งลงใต้ ซึ่งหากลงใต้ จ.สุราษฎร์ธานี จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ และหาดใหญ่ จะใช้การขนส่งทางเครื่องบินเป็นหลัก

โดยค่าขนส่งแล้วแต่ตกลงกับลูกค้า ส่วนราคาขายจะเป็นไปตามกลไกของตลาด ทางฟาร์มมีศูนย์กระจายสินค้าภาคกลางที่ คลองเก้า ประชาชื่น และบางใหญ่ ซึ่งหากลูกค้าท่านใดอยู่ใกล้ๆ  ต้องการผักสดใหม่จากฟาร์มก็สามารถเข้าไปติดต่อได้ทันที

ปัจจุบัน “สัปปายะพาร์ค” มีพื้นที่ปลูกผักไฮโดรฯ ทั้งหมดหลายแปลง รวมโต๊ะประมาณ 1,000 โต๊ะ กำลังผลิตของฟาร์มปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2-3 ตัน/วัน แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด มีคนงานดูแล 50-60 คน

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด- www.sotus.co.th : เซนทารี
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th : เซนทารี
7.คอส
คอส
เรดโอ๊ค
เรดโอ๊ค

วัสดุและอุปกรณ์ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ในส่วนการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ให้ได้คุณภาพนั้น เกษตรกรจะต้องเริ่มต้นที่เรื่องของอุปกรณ์ โรงเรือน โดยเฉพาะโต๊ะปลูก ที่จะต้องเลือกวัสดุผลิตที่มีคุณภาพ หากโต๊ะปลูกมีคุณภาพก็สามารถใช้งานได้ค่อนข้างนาน โดยคุณป๊อปจะสั่งโรงงานออกแบบชุดปลูกให้ได้คุณภาพ วัสดุที่ผลิตจะต้องไม่มีสารตะกั่วตกค้าง สร้างผลเสียต่อผัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังมีสแลนกันแสง พลาสติก โฟม เป็นต้น จะต้องใช้ของที่มีคุณภาพ ต่อมาส่วนที่สำคัญที่สุดของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คือ เมล็ดผัก จะต้องดูแหล่งที่มาของเมล็ดว่าดีไหม อัตราการงอกของเมล็ดดีไหม อัตราการรอดดีไหม แล้วการเพาะแบบไหนกับฟองน้ำ หรือเพอร์ไลน์ การดูแลตั้งแต่เริ่มงอก ค่า pH ของน้ำต้องปรับให้เหมาะสม จนถึงการนำขึ้นโต๊ะปลูก และการดูแลบนโต๊ะ

ระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ใช้ระบบรางปลูกแบบ NFT (Nutrient Film Technique) คือ การปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ เทคนิคนี้รากพืชจะแช่อยู่ในลำรางที่มีความลาดเอียง 1-3 % มีน้ำหรือสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากพืชแบบบางๆ หรือตื้นๆ รางปลูกของคุณป๊อปกว้าง 1.20 เมตร ยาว 12 เมตร (วางราง 2 เส้น ต่อกัน รางแต่ละเส้นยาว 6 เมตร)

ต้นทุนค่าวัสดุและอุปกรณ์

  • ต้นทุนค่ารางปลูกต่อเส้นประมาณ 500 บาท (ยาว 6 เมตร) 1 โต๊ะปลูก จะมี 480 ต้น (รางปลูก 9 แถว)
  • ต้นทุนค่ารางปลูก 1 โต๊ะ ก็ประมาณหมื่นกว่าบาท
  • ส่วนของไม้ไผ่ที่ทำโครงสร้างก็ไม่ต้องซื้อ เพราะบนเขาค้อมีมหาศาล
  • พลาสติกคลุมหลังคาผืนละ 3,000 บาท

ทำได้ 7-8 โต๊ะ อายุการใช้งาน 2 ปีกว่า

ผักกรีนโอ๊ค
ผักกรีนโอ๊ค
2.เผยเทคนิคการทำ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ คุณภาพ ให้ประสบความสำเร็จ
2.เผยเทคนิคการทำ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ คุณภาพ ให้ประสบความสำเร็จ

วิธีการปลูกและดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

เริ่มจากเพาะเมล็ดบนฟองน้ำ 3 วัน จากนั้นนำฟองน้ำที่ต้นกล้างอกแล้วมาอนุบาลบนรางปลูกแบบน้ำลึกหรือ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบปลูกที่มีถาดปลูกทำด้วยโฟม เจาะรูปลูกพืช มีระดับของสารละลายธาตุอาหารพืชที่สูง ระดับความสูงของน้ำสารละลายประมาณ 10 ซม. ฟองน้ำกับรากต้องแตะกัน

ส่วนในขั้นตอนของการอนุบาลจะใช้เวลาอนุบาล 15 วัน ย้ายต้นกล้าลงใส่ถาดอนุบาลต่ออีก 15 วัน แต่ช่วงนี้ต้องลดระดับน้ำลง ให้มีช่องว่างระหว่างฟองน้ำกับสารละลายเพื่อหมุนเวียนอากาศ จากนั้นนำไปปลูกในรางปลูกแบบระบบน้ำตื้น หรือแบบ NFT อีก 15 วัน เก็บขายได้แล้ว รวมระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวก็ประมาณ 45 วัน ผัก 1 ต้น หนักประมาณ 170-250 กรัม

สำหรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ก็จะมีสารละลายเอ กับสารละลายบี โดยสารละลายเอจะมีธาตุเหล็ก แคลเซียม ส่วนสารละลายบีก็จะมีโปแตสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งจะต้องปรับสูตรธาตุอาหารในสารละลายให้เหมาะกับผักที่ปลูก ส่วนของระบบน้ำจะเป็นระบบหมุนเวียนน้ำ โดยน้ำจากบ่อปลูกจะหมุนเวียนลงมายังบ่อผสมปุ๋ย มีวาล์วปิด-เปิดน้ำเข้ามายังโต๊ะปลูก สารละลายธาตุอาหารจะให้ทุกวัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.โต๊ะปลูกผักไฮโดรฯ-สแลนกันแสง
3.โต๊ะปลูกผักไฮโดรฯ-สแลนกันแสง
4.การเพาะเมล็ดบนฟองน้ำ
4.การเพาะเมล็ดบนฟองน้ำ
การนำต้นอ่อนขึ้นรางปลูก
การนำต้นอ่อนขึ้นรางปลูก

การป้องกันกำจัดโรค-แมลง

คุณป๊อปจะเน้นด้านการดูแลและป้องกันโรค-แมลงเป็นพิเศษ ปกติแล้วก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเมื่อไหร่มีฝนตกโรคจะตามมาทันที แม้จะปลูกใต้หลังคาพลาสติกที่ไม่โดนฝนก็ตาม ผักสลัดมักจะเป็นใบจุด ที่นี่จะพ่นสารเคมีป้องกันไว้ก่อน เน้นการใช้สารเคมีที่มีความปลอดภัยสูง ประสิทธิภาพสูง โดยใช้เฮดไลน์ แมนโคเซ็บ

แต่ก่อนเก็บผัก 10 วัน จะหยุดใช้สารเคมีทุกชนิด ส่วนแมลงก็มีบ้าง แต่ไม่มาก สารเคมีที่ใช้ก็จะมีเรมแพจซัคเซส

6.คนงานเก็บผักคุณภาพ
6.คนงานเก็บผักคุณภาพ

การแปรรูปผักไฮโดรโปนิกส์

ในส่วนของการตลาด ครอบครัว, พี่น้อง เข้ามาช่วยในเรื่องของการผลิต และการตลาด ตอนนี้ที่ฟาร์มมีผักสลัดอยู่ 6 ชนิด และอนาคตจะเพิ่มมะเขือเทศ และอาจจะมีปลูกสลัดลงดินเพิ่ม เพราะบางช่วงผักขาดตลาด สามารถนำมาทดแทนกันได้ ทำให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จนสามารถเป็นผักอินทรีย์ได้ เพราะเทคโนโลยีล้ำหน้าไปไกลมาก แน่นอนว่าการจัดการด้านต่างๆ ก็ง่ายขึ้น

ยังมีในเรื่องของการแปรรูปสินค้า อาจจะเปิดเป็นร้านขายของ หรือทำเป็นสลัดพร้อมเสริฟ ร้านสลัดโรลย่อยๆ คือ ไม่ต้องเอาผักไปตัด ไปหั่น เราหั่นให้เลย พอถึงมือผู้บริโภคสามารถแกะราดน้ำสลัดทานได้เลย

คัดแยกผักก่อนส่งลูกค้า
คัดแยกผักก่อนส่งลูกค้า
แพ็คบรรจุผักใส่ถุง
แพ็คบรรจุผักใส่ถุง
ขนส่งด้วยรถควบคุมอุณหภูมิ-ได้ผลผลิตสดคุณภาพ
ขนส่งด้วยรถควบคุมอุณหภูมิ-ได้ผลผลิตสดคุณภาพ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ 

ปัญหาและอุปสรรค

ช่วงแรกด้วยความที่เป็นเกษตรมือใหม่ คุณป๊อปศึกษาข้อมูลการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จากแหล่งความรู้ต่างๆ  ทั้งอินเตอร์เน็ต หนังสือ การเข้าศึกษาจริงจากฟาร์มไฮโดรโปนิกส์หลายๆ แห่ง ใช้เวลาศึกษานานถึง 1 ปี ก่อนจะตัดสินใจลงทุนสร้าง ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ขึ้นบนพื้นที่ย่านรังสิต-นครนายก เป็นฟาร์มเล็กมีขนาดพื้นที่ 2 ไร่ ลงทุนสร้างโรงเรือน และซื้อโต๊ะปลูกผักมือสองจำนวน 21 โต๊ะ จากชลบุรี

ซึ่งคุณป๊อปยอมรับว่าตนเปิด ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ประมาณ 1 ปี สามารถปลูกผักได้เพียง 3 รอบ ก็ต้องล้มเลิกการทำฟาร์มไป เพราะเจอปัญหาถูกโจรขโมยสายไฟถึง 3 รอบ สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงตัดสินใจกับครอบครัวจะย้ายฐานการผลิตไปที่บ้าน คือ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ผมมองเห็นปัญหาที่อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต และความไม่ปลอดภัยของฟาร์ม จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่เขาค้อ รื้อโรงเรือนทั้งหมด จากที่มี 21 โต๊ะ ย้ายไปได้เพียง 16 โต๊ะ เท่านั้น เพราะไม่สามารถขึ้นไปได้หมด ซึ่งช่วงแรกที่ย้ายไปก็มีความกังวลหลายเรื่อง ทั้งเรื่องตลาด การขนส่ง

อีกทั้งชาวบ้านแถวนั้นยังไม่รู้จัก ผักไฮโดรโปนิกส์คืออะไร หลายคนมองว่า “บ้า” พื้นที่ตรงนั้นจะสามารถปลูกผักได้อย่างไร เพชรบูรณ์วิ่งเข้ากรุงเทพฯ 400 กว่ากิโล แถมตลาดแถวนั้นก็ไม่มีตลาดผักไฮโดรโปนิกส์ อีกเรื่องที่เป็นปัญหาแน่ๆ คือ การดูแลผัก เวลาผักเกิดโรค มีปัญหาไม่มีใครให้ปรึกษา” คุณป๊อปเล่าถึงอุปสรรคในการทำ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ บนเขาค้อในช่วงแรก

แต่สิ่งนี้ก็ไม่ทำให้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่กำลังจะเจอ หลังจากที่ย้ายโรงเรือนปลูกผักไปเขาค้อแล้ว เมื่อเจอปัญหาเกี่ยวกับผัก คุณป๊อปจะเก็บตัวอย่างผักที่มีปัญหาเข้ามากรุงเทพฯ เสมอ เพื่อสอบถามผู้รู้จาก ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างๆ แต่คำตอบที่ได้จากแต่ละฟาร์มก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ได้ จนกระทั่งตนเองต้องมาศึกษาเรื่องผักไฮโดรฯ มากขึ้น ศึกษาถึงวงจรชีวิต การเจริญเติบโตเอง จากตำรา และโลกออนไลน์ ใช้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยการ ลองผิดลองถูก ลองหัดสังเกตอาการผักด้วยตัวเอง ศึกษาและจดบันทึกรายละเอียด ทำแบบนี้อยู่ประมาณครึ่งปี จนสามารถแก้ปัญหาให้ผักของตนเองสำเร็จ

ซึ่งช่วงแรกคุณป๊อปยอมรับว่ามันเป็นปัญหาใหญ่มาก พอผ่านมาได้ซักครึ่งปี หรือ 1 ปี เริ่มมองปัญหาเล็กลง เริ่มแก้ปัญหาได้ มองเห็นทุกด้าน จากเรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เมื่อผ่านปัญหาตรงนี้มาได้คุณป๊อปตั้งหน้าตั้งตาทำผักไฮโดรโปนิกส์อย่างจริงจัง ทำทุกขั้นตอนอย่างประณีต ทำด้วยความเอาใจใส่ เพื่อให้ได้ผักที่มีคุณภาพ

8.ผักหลากหลายพร้อมส่งตลาดตามที่ลูกค้าต้องการ
8.ผักหลากหลายพร้อมส่งตลาดตามที่ลูกค้าต้องการ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์

ทิศทางตลาดในอนาคต

คุณป็อปมองว่าจากปีที่แล้วจนถึงปีนี้ธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์โตขึ้นเรื่อยๆ จากที่มีลูกฟาร์มเยอะ แล้วลูกฟาร์มเราปล่อย พอปล่อยแต่ละคนก็หาตลาดเอง ดังนั้นเวลาที่ผักล้นตลาด คนที่ไม่มีตลาดเขาก็จะหาตลาด แต่ละคนก็จะมีช่องทางตลาดของใครของมัน ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามา และลูกค้าเก่าก็ยังคงอยู่

ทำให้ตรงนี้ความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น สมัยก่อนชาวบ้านยังไม่รู้ผักไฮโดรโปนิกส์ แต่ปัจจุบันรู้จักหมดแล้ว และเชื่อว่าอนาคตธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ไปได้อีกไกล

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.ปลูกให้ผักโตไม่เท่ากันเพื่อให้มีผลผลิตตลอดท้งปี
9. ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ ปลูกให้ผักโตไม่เท่ากันเพื่อให้มีผลผลิตตลอดท้งปี

ฝากถึง…ผู้อ่านที่สนใจทำ ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์

คุณป๊อปฝากถึงท่านผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ย AB มีคนบอกว่าปุ๋ย AB ค่อนข้างอันตราย ตรงนี้บอกเลยว่าไม่จริง อย่างอเมริกาเขายกย่องผักไฮโดรโปนิกส์ เทียบเท่ากับผักออร์แกนิค ปุ๋ยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี เหมือนคนไทยกินข้าว ฝรั่งกินขนมปัง กระบวนการเปลี่ยนแปลงก็เหมือนกัน ดังนั้นผักไฮโดรโปนิกส์ยืนยันว่าเป็นผักปลอดภัย ถ้าคนทำมีความรู้ ทั้งเรื่องการปลูก และการดูแล รวมถึงระยะเวลาของการปลูก

สุดท้ายนี้ในปีนี้คุณป๊อป สัปปายะ MP ฟาร์ม ณดลฟาร์ม และกลุ่มพันธมิตร ได้รวบรวมโต๊ะเกือบ 2,000 โต๊ะ จะทำการปั้นตลาด และสร้างโมเดลแบบการขายใหม่ๆ ขึ้นมาให้มีความต่อเนื่อง ผลผลิตสดใหม่ ที่สำคัญปลอดภัยต่อผู้บริโภค เข้าถึงคนกินได้มากขึ้นอีกด้วย

สนใจสั่งซื้อผักไฮโดรโปนิกส์คุณภาพส่งตรงจากฟาร์มเขาค้อ ติดต่อ สัปปายะ พาร์ค คุณโชษณ กรมกนกภรณ์ (ป๊อป) 27 หมู่ 10 ตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67270 โทร.09-1885-4698