ยาฆ่าหญ้า คุณสมบัติของแต่ละชนิด วิธีการเลือกใช้แบบไหนดี และข้อดี&ข้อเสีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในปัจจุบันนั้นเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า เกษตรกรบางกลุ่มก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ ยาฆ่าหญ้า หรือ ยากำจัดวัชพืช อยู่อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นจะต้องใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ เพราะการเพาะปลูกพืชผักและผลไม้ทางการเกษตรนั้นคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากว่าวัชพืชจะไม่ขึ้นหรือมีเลยในแปลงเกษตร การใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชก็เป็นอีกทางเลือกเพื่อให้ได้ผลเร็วและเห็นผลในทันที

1.ผลิตภัณฑ์ยาฆ่าหญ้า
1.ผลิตภัณฑ์ยาฆ่าหญ้า

คุณสมบัติของ ยาฆ่าหญ้า

ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืช เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนำมาใช้ในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ตามแปลงผักและผลไม้ที่ทำการเพาะปลูก เพราะเป็นสารเคมีที่ใช้ได้ง่ายและรวดเร็วในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ตามแปลงผักหรือในสวนผลไม้ ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต

ปัจจุบันเองก็ยังมีการใช้ยาฆ่าวัชพืชร่วมกับยาฆ่าแมลงอยู่เป็นแหล่งๆ แต่ทั้งนี้นอกจากจะส่งผลต่อตัววัชพืชที่ขึ้นแล้ว เกษตรกรที่ใช้สารเคมีจำพวกนี้นั้นก็มีการส่งผลต่อตัวเกษตรกรเองด้วย เนื่องจากการฉีดพ่นสารเคมีลงไปในแปลงนั้น ละอองสารเคมีก็จะย้อนเข้ามาสู่ตัวเราตามชั้นผิวหนังได้ง่าย อีกทั้งดินที่ปลูกพืชผลทางการเกษตรก็จะส่งผลเสียได้ในระยะยาว

ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชนั้นมีหลากหลายชนิด หลายยี่ห้อ ความรุนแรงของมันนั้นอาจจะไม่ได้ส่งผลในทันที แต่คนภายนอกจะสังเกตได้ว่าผู้ที่ใช้หรือตัวเกษตรกรที่ใช้สารเคมีประเภทนี้จะมีผลอย่างไรต่อสภาพผิวหนังและสุขภาพภายใน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อผู้บริโภคหลายคนที่ไม่ได้ตรวจสอบให้ดี เพราะในปัจจุบันมีการรณรงค์ให้เลิกใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชมากมาย และให้หันมาใช้อินทรียวัตถุในการกำจัดแทน

นอกจากนี้สารเคมีหรือยาฆ่าหญ้าที่ส่งผลอันตรายอย่างร้ายแรงก็มีการให้ยกเลิกใช้ไปบ้างแล้วในหลายรุ่น เพราะนอกจากส่งผลเสียต่อตัวเกษตรกรเองแล้วนั้น ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย การเลือกใช้ยาฆ่าวัชพืชนั้นตามหลักการแล้วควรใช้ให้ถูกประเภท ถูกวิธี และเลือกใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ จะยิ่งส่งผลดีต่อทุกฝ่าย

ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืช คือ กลุ่มสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้วัชพืชนั้นสามารถโตได้ตามต้องการ โดยทั้งนี้ยากำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าที่ดีนั้นควรจะใช้ให้ถูกจุดประสงค์และเฉพาะเจาะจงต่อวัชพืช ที่สำคัญเลย คือ ต้องไม่ทำลายพืชหลักที่ปลูกอยู่ในแปลงนั้นๆ อีกทั้งต้องสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และทางดิน โดยต้องทำให้ผู้บริโภคมั่นใจมากที่สุดว่าไม่มีสารตกค้างแม้แต่ในดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.การไถเตรียมดิน-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons554Pesticides_application_02
2.การไถเตรียมดิน-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons554Pesticides_application_02

วิธีการใช้ยาฆ่าหญ้า

โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งเป็น 2 ประเภท และมีการแยกย่อยวิธีการใช้และเห็นสมควรของแต่ละประเภท โดย 2 ประเภทหลักนี้ คือ ประเภทยาฆ่ายาแบบสารสังเคราะห์ และแบบอินทรียวัตถุ โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีลักษณะและวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป ผลข้างเคียงก็จะแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงของสารเคมีที่นำมาใช้ในการฆ่าวัชพืชด้วย

นอกจากนี้การใช้ยาฆ่าหญ้ายังจะต้องแบ่งประเภทและช่วงเวลาที่จะให้ชัดเจน จะใช้แบบสุ่มๆไม่ได้เด็ดขาด เพราะเราไม่รู้ว่าการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชผิดประเภท ผิดเวลา จะส่งผลเสียอะไรต่อตัวเรา และผลผลิตบ้าง ฉะนั้นแล้วควรต้องฟังคำเตือนหรืออ่านคำเตือนเวลาใช้อย่างเคร่งครัด

สารเคมีแบบสารสังเคราะห์แบ่งประเภทการใช้ได้ดังนี้

  • ยาฆ่าหญ้าประเภทก่อนปลูกพืช โดยยาฆ่าหญ้าหรือยากำจัดวัชพืชประเภทนี้จะเป็นสารเคมีใช้ฉีดพ่นก่อนการเตรียมดินปลูก เพื่อเป็นการฆ่าวัชพืชหรือหญ้าในดินที่มีการขึ้นอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นจึงทำการไถเตรียมดิน หรือใช้ยาฆ่าหญ้าพ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินได้เลย โดยสารประเภทนี้ ได้แก่ ไกลโฟเซท, พาราควอท โดยจะเป็นสารที่มีลักษณะดูดซึมเพื่อใช้ป้องกันการเกิดขึ้นของวัชพืชหรือหญ้า
  • ยาฆ่าหญ้าประเภทก่อนงอก หรือเรียกอีกอย่างว่า ยาคุมหญ้า โดยสารเคมีประเภทนี้จะฉีดหลังจากการปลูกพืชไป

แล้ว และก่อนที่วัชพืชจะเกิดขึ้นใหม่ในระยะไม่เกิน 10 วัน โดยจะฉีดพ่นลงดินโดยตรง สารเคมีประเภทนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชในส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อน ในดิน และต้องทำการฉีดพ่นเฉพาะช่วงที่สภาพดินนั้นมีความชื้นที่เหมาะสม  ไม่เหมาะกับการฉีดพ่นลงในดินที่มีความแห้งแล้ง สารเคมีจำพวกนี้ ได้แก่ บิวทาคลอร์, เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอน โดยเหมาะกับการใช้กำจัดวัชพืชหรือหญ้าที่เป็นประเภทใบแคบและกว้าง

  • ยาฆ่าหญ้าประเภทหลังวัชพืชงอก เรียกตรงตัวว่า ยาฆ่าหญ้า โดยการใช้สารเคมีประเภทนี้จะเริ่มใช้ต่อเมื่อตัววัชพืช

นั้นเริ่มงอกขึ้นมาแล้วได้ประมาณ 10 วันขึ้นไป การฉีดพ่นนั้นควรให้สารเคมีสัมผัสวัชพืชให้ได้มากที่สุด โดยสารประเภทนี้ ได้แก่ ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล 2.4-ดี

 3.เลือกใช้ยาฆ่าหญ้าให้ถูกชนิด-ถูกวิธี-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsee7Hazardous-pesticide

3.เลือกใช้ยาฆ่าหญ้าให้ถูกชนิด-ถูกวิธี-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsee7Hazardous-pesticide
ฉีดพ่นในแปลงผัก-http.www_.freestockphotos.bizstockphoto16079
ฉีดพ่นในแปลงผัก-http.www_.freestockphotos.bizstockphoto16079

การกำจัดวัชพืชในแปลงผัก

ควรเตรียมดินและปรับสภาพดินให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอกัน เพื่อที่การฉีดพ่นสารเคมีให้เกิดประสิทธิภาพและได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ควรใช้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกชนิด และถูกวิธี เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ และสามารถควบคุมการใช้งานของสารเคมีได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก่อนที่จะเริ่มการใช้ยาฆ่าวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าควรอ่านข้อควรระวัง และวิธีใช้งานอย่างถี่ถ้วน และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อีกทั้งควรจะสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และใส่หน้ากากกันสารเคมีในขณะที่พ่น หลังจากพ่นสารเคมีแล้วไม่ควรทิ้งดินไว้นานเกิน 3 วัน และควรเติมน้ำเข้านาภายในระยะเวลา 3 วัน เพื่อป้องกันการเกิดดินแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสารเคมีชนิดนั้นๆ ลดลง

สารเคมีชนิดดูดซึม โดยจะอยู่ในกลุ่ม ไกลโฟเซต และกลุ่ม 2.4-ดีโซเดียมซอลท์ โดยทั้ง 2 ตัวนี้จะมีหน้าที่เข้าไปทำลายได้ ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบของวัชพืช หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว ตัววัชพืชจะทำการดูดซึมสารเคมีเข้าไปและจะเริ่มทำลายส่วนต่างๆ อย่างช้าๆ และเริ่มเห็นผลในสัปดาห์ที่ 3 และไม่ควรฉีดพ่นช่วงฝนตกนาน 4-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ถ้าวัชพืชยังเป็นต้นอ่อนหรือมีอายุไม่มาก กลุ่มสารเคมีไกลโฟเซตจะไม่ค่อยได้ผลมากนักกับวัชพืชอายุน้อย

สารเคมีชนิดเผาไหม้หรือสัมผัสตาย โดยอยู่ในกลุ่มพวกพาราควอต เป็นสารเคมีที่ทำหน้าที่เผาทำลาย หรือหากวัชพืชโดนก็จะตายลงภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง โดยกลุ่มนี้เกษตรกรของไทยมักนิยมใช้ในพืชไร่ เพราะสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้วัชพืชแห้งตายเร็ว โดยสารเคมีตัวนี้จะเริ่มสลายตัวภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อถูกแดดจัด แต่ถ้าฉีดพ่นลงดินโดยตรงจะไม่มีผลการทำลายเกิดขึ้น เพราะดินจะจับตัวสารเคมีทำให้ประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้สารเคมีชนิดนี้ไม่มีผลต่อพืชหลักแต่อย่างใด

4.แปลงผัก-https.pixabay.comidphotospestisida-glifosat-4089881
4.แปลงผัก-https.pixabay.comidphotospestisida-glifosat-4089881

ขั้นตอนการกำจัดวัชพืชในแปลงผัก

การกำจัดวัชพืชแบบอินทรียวัตถุสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพลิกดิน การขุดต้นหญ้าหรือดึงทิ้ง การใช้น้ำส้มสายชู และการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งวิธีต่างๆ นี้เป็นการฆ่าหญ้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภคเอง เนื่องจากเป็นวิธีทางธรรมชาติ ปลอดภัย และไร้กังวลกับการปนเปื้อนสารเคมี ทั้งในดิน และพืชผลทางการเกษตร อย่างแน่นอน

แต่วิธีนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรไทยไม่ค่อยนิยมนำมาใช้เพราะเห็นผลช้า เสียเวลาในการทำงานอย่างอื่น แต่ก็เริ่มมีเกษตรกรที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงเริ่มมีการหันมาใช้วิธีการแบบธรรมชาติกันมากขึ้นพอสมควร แต่ก็ยังไม่ได้มากเท่าวิธีการใช้สารเคมีมากนัก แต่เนื่องจากการใช้ยาฆ่าหญ้าแบบสารสังเคราะห์นั้นเริ่มมีการจับปรับ ทำให้การใช้วิธีทางธรรมชาติเริ่มเป็นที่เปิดกว้างในหมู่เกษตรกรมากขึ้น

การพลิกดิน ทำโดยการขุดลงไปในดินไปจนถึงรากของต้นหญ้าเพื่อพลิกดินขึ้นมา และให้หญ้านั้นกลบลงไปในดินที่มีความร้อนอยู่แล้ว วิธีนี้จะช่วยยับยั้งการเติบโตของหญ้าได้เป็นอย่างดี และควรทำในเวลากลางคืนหรือช่วงพระอาทิตย์ตกดิน เพราะถ้าทำในช่วงที่มีแสงแดดจะทำให้พืชนี้ถูกกระตุ้นการเจริญเติบโตได้เร็ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การขุดหญ้าทิ้ง วิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก แต่เสียเวลาในการดึง เพราะต้องออกแรงดึงหญ้าให้หลุดมาทั้งโคนต้น เพื่อที่จะเอารากและเมล็ดที่หลงเหลือนั้นโยนทิ้งไปให้ห่างไกลแปลงของต้น หรือจะใช้กรรไกรตัดหญ้าก็ได้ วิธีนี้ควรทำในช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้น เพราะจะทำให้ดึงหญ้าออกได้ง่าย ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ถ้าดึงต้นหญ้าออกมาไม่หมดจะทำให้หญ้าสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้เร็วอีก

การใช้น้ำส้มสายชู นำน้ำส้มสายชูเทลงในต้นหญ้าให้ชุ่ม แล้วเริ่มสังเกตหลังจาก 1-2 อาทิตย์ ว่าต้นหญ้าตายหรือไม่ ถ้าเจอต้นหญ้าที่ตายให้ทำการดึงออกได้ทันที แต่ถ้ายังไม่ตายก็สามารถรดน้ำส้มสายชูลงได้เรื่อยๆ ซึ่งวิธีนี้อาจจะเสียเวลาหน่อย แต่ประหยัดต้นทุนในการใช้ และไม่ทิ้งสารตกค้างไว้อย่างแน่นอน และทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดสารเคมีอย่างแน่นอน

การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งวิธีนี้ก็ไม่ได้มีขั้นตอนอะไรมากมาย เพียงนำน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยหมักชีวภาพมาฉีดพ่นลงแปลงพืชผัก ก่อนที่จะเริ่มทำการปลูก และคลุกดินให้ทั่วๆ แปลง จากนั้นฉีดพ่นซ้ำหรือน้ำปุ๋ยหมักมาโรยก่อนที่จะเริ่มปลูก และนำต้นหญ้าออก ก็สามารถช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุนได้มากแล้ว ยังช่วยลดมลพิษ และไม่ก่อให้ตัวเองมีสารเคมีสะสมในร่างกายได้

5.เข้าสู่ทางผิวหนัง-สูดลมหายใจเข้าไป
5.เข้าสู่ทางผิวหนัง-สูดลมหายใจเข้าไป

ข้อดีและข้อเสียของยาฆ่าหญ้า

การใช้ยาฆ่าหญ้านั้นนอกจากจะส่งผลในระยะยาวแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรผู้ที่ใช้อีกด้วย ทั้งนี้ยาฆ่าหญ้าสามารถเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้ได้ โดยการเข้าสู่ทางผิวหนังของผู้ใช้ การสูดลมหายใจเข้าไป และการกลืนกินหรือดื่มน้ำ โดยแต่ละวิธีนี้จะมีเข้าสู่ร่างกายที่แตกต่างกันไป โดยการกลืนกินนั้นจะพบมากในช่วงที่ฉีดพ่นสารเคมีและละอองของสารเคมีนั้นไปตกอยู่น้ำดื่มบ้าง หรือแม้กระทั่งอาหารที่เกษตรกรนำไปด้วยบ้าง

นอกจากนี้ผลกระทบทางอ้อมนั้นก็จะส่งผลให้คนรอบข้างที่เดินผ่านไปมาในบริเวณใกล้เคียงได้รับสารเคมีโดยการสูดเอาอากาศที่มีละอองสารเคมีเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งในพื้นที่แปลงเกษตร และสภาพอากาศ ที่จะทำให้เกิดดินเสื่อมโทรม อากาศเป็นพิษ ภาวะโลกร้อนจากการใช้สารเคมีเป็นประจำ

การเกิดพิษแบบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับสารเคมีในปริมาณที่มากแบบทันที จะก่อให้เกิดอาการปวดศรีษะ มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน เป็นตะคริว หายใจติดขัด และอาการอาจรุนแรงขึ้นถึงขั้นเสียชีวิตได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังมีแบบเกิดอาการรุนแรงเฉพาะจุดและแบบเรื้อรัง ซึ่งถ้าเป็นอาการเฉพาะจุดจะเกิดขึ้นในบริเวณที่โดนสารเคมีชนิดนั้นบ่อย อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาการแพ้ หรือมีรอยไหม้แดง หรือในกรณีที่เป็นหนักหน่อยก็จะทำให้สามารถหลุดเป็นแผ่นๆได้

ส่วนในกรณีที่เป็นแบบเรื้อรัง กรณีนี้จะแสดงผลค่อนข้างช้า แต่จะมาเริ่มทราบภายหลังเมื่อได้รับพิษไปแล้ว อาจจะกินระยะเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับการต้านทานในร่างกายของแต่ละคน อาจจะก่อให้เกิดอาการเป็นหมัน หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มะเร็ง หรือพาร์กินสัน ได้ ในกลุ่มของ paraquat จะมีการผสมสีฟ้าลงและสารทำให้อาเจียนลงไป เพื่อป้องกันมิให้สับสนกับเครื่องดื่ม เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจมีผลกระทบรุนแรงต่อปอด ตับ หรือไตวาย ได้

โดยทั่วไปแล้วหากไม่มีอาการรุนแรงมากนัก เมื่อผู้ที่ได้รับพิษจากสารเคมีให้นำผู้ที่ได้รับพิษนั้นนอนในที่ร่มโดยให้ห่างจากแปลงที่พ่นยาฆ่าหญ้า และให้ทำความสะอาดร่างกายในส่วนที่โดนสารเคมีด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นหัวใจเต้นอ่อน ควรจะรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือถ้าหากหัวใจหรือชีพจรเต้นช้าให้ทำการผายปอดเบื้องต้น เพื่อให้หัวใจนั้นสามารถกลับมาทำงานได้ปกติ และรีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที ที่สำคัญเมื่อนำส่งโรงพยาบาลแล้วจะต้องบอกรายละเอียดของสารเคมีชนิดนั้นว่าชื่ออะไร ประเภทไหน ให้ได้มากที่สุด หรือถ้ามีฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นไปด้วยก็จะเป็นการดี

6.สวมเสื้อผ้า หน้ากากอนามัย ถุงมือ ให้มิดชิด ขณะใช้ ยาฆ่าหญ้า
6.สวมเสื้อผ้า หน้ากากอนามัย ถุงมือ ให้มิดชิด ขณะใช้ ยาฆ่าหญ้า

ข้อควรปฏิบัติของการใช้ยาฆ่าหญ้า

  • ควรเลือกใช้ให้ถูกชนิด และถูกวิธี โดยสารกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าชนิดนั้นๆ ต้องเหมาะสม และมีฤทธิ์สาร

ตกค้างในระยะสั้น และควรสลายตัวอย่างเร็ว ไม่ควรที่จะใช้สารเคมีที่มีความรุนแรงจนเกินไป

  • ควรใช้ยาฆ่าหญ้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรเลือกใช้เพียงชนิดเดียวในการฉีดพ่นในแต่ละครั้ง
  • ควรอ่านรายละเอียดบนตัวผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนและถี่ถ้วน และควรปฏิบัติตามขั้นตอนของผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่าง

เคร่งครัด และหมั่นหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา

  • ควรสวมเสื้อผ้าป้องกันให้มิดชิด ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย ถุงมือ ชุดป้องกัน หรือเสื้อผ้าหนาๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้า

สบายๆ หรือฟรีสไตล์ ในขณะฉีดพ่น เพราะจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ใช้ได้อย่างง่ายดาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากฉีดพ่น ยาฆ่าหญ้า เสร็จในทันที เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างในร่างกายมากเกินไป
  • ควรเทส่วนผสมที่ใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและพอควร ตามที่ฉลากบนผลิตภัณฑ์นั้นๆ กำหนด ไม่ควรเทมากหรือ

น้อยเกินไป และควรเว้นระยะในการเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากการฉีดพ่นแล้วสักระยะ

ที่สำคัญเลยเมื่อเราทำการฉีดพ่นสารเคมีไปแล้ว ไม่ควรให้บุคคลอื่น หรือตัวเกษตรกรเอง เข้าไปในพื้นที่อย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ควรมีระยะเวลาให้สารเคมีสลายตัวก่อนจึงจะเข้าไปยังพื้นที่ได้ เพราะถ้าเข้าไปในทันทีนั้นสารเคมีจะสะสมในร่างกาย หรือบางรายอาจจะแพ้ จะก่อให้เกิดอันตรายอาจจะถึงแก่ชีวิตก็เป็นได้

สารเคมีกำจัดวัชพืชหรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่แปลงปลูกพืชผักของเกษตรกรเอง โดยวิธีการใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเองว่าจะใช้ในช่วงเวลาไหน แต่ในทางการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจะต้องรู้ว่าใช้ในช่วงเวลาอะไร ใช้กับวัชพืชประเภทไหน

การใช้ ยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชแบบสุ่มๆ นั้น จะส่งผลเสียที่ตามมาอย่างร้ายแรง และอาจจะก่อให้เกิดปัญหา ทั้งภายในตัวเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืชที่ต้องการกำจัดนั้น เป็นทางเลือกที่ไม่ควรนำมาใช้บ่อยมากนัก เพราะไม่ได้ส่งผลดีอะไรมากมาย ควรจะเป็นทางเลือกที่ 2 เมื่อกำจัดวัชพืชไม่ทันแล้วจริงๆ จะดีกว่า

บทความข้างต้นนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ ยาฆ่าหญ้า ให้ถูกวิธี และเลือกใช้ให้อย่างถูกต้อง ซึ่งข้อมูลต่างๆ นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลที่รวบรวมมาจากหลากหลายแหล่งข้อมูล ซึ่งการใช้ ยาฆ่าหญ้า นั้นนอกจากจะส่งผลเสียต่อตัวเกษตรกรแล้วยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ทั้งในพื้นที่และใกล้เคียง ทำให้เล็งเห็นว่าการใช้ ยาฆ่าหญ้า นั้นแม้จะส่งผลให้วัชพืชสลายตัวหรือตายเร็ว

แต่ในระยะยาวนั้นจะส่งผลกระทบตามมาอย่างมากมายแน่นอน ทั้งผลกระทบในพื้นที่ คือ ตัวเกษตรกรเอง สภาพดิน และภายนอก คือ ตัวผู้บริโภคที่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผลผลิตชนิดนี้มีสารเคมีตกค้างหรือไม่ บทความนี้ก็บอกวิธีการใช้ว่าควรใช้ช่วงเวลาไหน และใช้กับวัชพืชประเภทอะไร จึงจะเหมาะสม แต่ไม่ได้เป็นการสนับสนุนในการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชแต่อย่างใด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul99/v7n3/Herb,https://www.greenpeace.org/thailand/story/2708/evil-pesticide/,https://www.bbc.com/thai/international-45155365,http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=41-2.htm