วิธีปลูกข้าวโพด ทั้งแบบพืชหลักและพืชเสริม ทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้าวโพด ถือเป็นพืชทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรหลายคนที่เริ่มหันมาปลูกข้าวโพดเป็นอาชีพหลักและเสริม ซึ่งถือว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะว่าข้าวโพดสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบขนม น้ำข้าวโพด แป้งสำหรับเบเกอรี่ ฯลฯ จึงทำให้เป็นพืชที่นิยมเป็นอย่างมากในหมู่เกษตรกรเลยก็ว่าได้ วิธีปลูกข้าวโพด

1.ข้าวโพดหวาน
1.ข้าวโพดหวาน

การปลูกข้าวโพด   

ข้าวโพดนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ หลายชนิด ให้ได้ปลูก ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานที่ปลูกเพื่อการค้า และการส่งออก ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ หรือเป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยง ซึ่งข้าวโพดนั้นก็มีวิธีปลูก การดูแล และการเตรียมพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าข้าวโพดก็มีฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกอยู่แล้ว

รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการเริ่มปลูก ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน การคัดเมล็ดพันธุ์ที่จะปลูก การดูแลรักษา เพราะว่าข้าวโพดหวาน ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดอ่อน ต่างก็มีขนาดและจำนวนไร่ในการเริ่มปลูกที่แตกต่างกัน การลงทุนทุกครั้งต้องคิดก่อนว่าเรามีตลาดรองรับด้วยหรือไม่ ทางที่ดีการเริ่มต้นปลูกข้าวโพดก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนั้นเศรษฐกิจด้านการเกษตรนั้นเริ่มมีการผันตัวที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องรู้จักปรับตัวกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะต้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้กับภาคเกษตรกรด้วยเช่นกัน ข้าวโพดก็ถือว่าเป็นพืชอีกชนิดที่เริ่มได้รับความนิยมมาในช่วงหลังๆ เพราะว่าเป็นพืชที่มีความทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นพืชที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากอีกด้วย ถ้าอย่างนั้นเราต้องมาทำความรู้จักกับข้าวโพด และวิธีการปลูกกันดีกว่า

ข้าวโพดพืชที่อายุสั้น ปลูกได้เพียงฤดูเดียว

ข้าวโพดถือได้ว่าเป็นพืชที่อายุสั้น เพราะสามารถปลูกได้เพียงฤดูเดียว แต่ด้วยความเป็นพืชฤดูเดียวนั้นก็ทำให้เป็นพืชที่เติบโตและทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นพืชที่สามารถหาทานได้ง่าย นำมารับประทานได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปต้มหรือนึ่งเพื่อเป็นข้าวโพดต้ม หรือนำมาเป็นข้าวโพดคลุกน้ำตาลก็ได้ หรือจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ยังมีกลิ่นที่หอมและรสชาติที่นุ่มนวล หวานลิ้น และมีความชุ่มฉ่ำเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ข้าวโพดยังมีหลากหลายสีสัน ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีขาว และสีม่วงดำ ซึ่งจะอยู่ที่สายพันธุ์ อีกทั้งยังมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่มีความนิยม และมีการปลูกอย่างแพร่หลายมาก อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งในเรื่องของยา และการบำรุงด้วย ใครจะคิดว่าข้าวโพดที่บริโภคกันอยู่ทุกวันจะมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ เรามาทำความรู้จักวิธีการปลูกข้าวโพดกันดีกว่า ว่าปลูกอย่างไรบ้าง และมีขั้นตอนการดูแลรักษาอย่างไรให้ได้ผลผลิตเต็มที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง-กาบใบสีเขียว
2.ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง-กาบใบสีเขียว

ลักษณะทั่วไปของต้นข้าวโพด

โดยทั่วไปนั้นข้าวโพดจะมีลักษณะลำต้นที่อวบกลม ลำต้นจะตั้งตรงแข็งแรง โดยเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นพืชอยู่ในตระกูลหญ้า อายุของข้าวโพดนั้นสั้น มีอายุเพียง 1 ปี เท่านั้น มีแก่นเนื้อคล้ายกับฟองน้ำ ช่วงโคนต้น ข้อปล้อง จะสั้น แต่จะเริ่มยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเติบโต มีเปลือกที่หนา และมีขนหยาบๆ ปกคลุมอยู่ที่ตัวลำต้น

ในส่วนของใบจะเป็นใบเดียว ออกสลับตรงข้ามกัน มีขนเล็กปกคลุมทั่วทั้งใบ มีสีเขียว รากจะเป็นแบบรากฝอย มีลักษณะกลมและเล็ก โดยจะออกบริเวณรอบๆ ลำต้น มีสีน้ำตาล ในส่วนของดอกนั้นจะออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นตัวเมีย มีลักษณะทรงกรวยขาว มีกาบบางๆ สีเขียว

นอกจากนี้ยังมีเส้นไหมยาวที่มีสีน้ำตาลอ่อน ม่วงอ่อน และเหลืองส้ม แตกต่างกันออกไป และจะมีดอกย่อยเล็กๆ ที่เบาๆ ปลิวกระจายออกไปได้ และส่วนของผลนั้นจะเป็นฝักทรงกระบอก ถูกหุ้มด้วยกาบบางๆ หลายชั้นรอบฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว แต่ถ้าฝักเริ่มแก่กาบจะแห้งและออกสีน้ำตาล ส่วนข้างในของฝักนั้นจะมีเส้นไหมยาวๆ หุ้มเมล็ดอยู่ประปราย และมีเมล็ดเรียงกันอยู่รอบแกนกลางของฝัก

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของข้าวโพดที่มีรูปร่างและลักษณะดังกล่าว  แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่า ข้าวโพดเป็นผักหรือผลไม้กันแน่ เรามารับรู้เรื่องนี้กันดีกว่า ก่อนจะเข้าเรื่องของวิธีการปลูก หลายๆ คน อาจจะสงสัยว่าข้าวโพดนี้จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้หรือผักกันแน่ เพราะบางคนก็บอกเป็นผัก บางคนก็บอกเป็นผลไม้

หลักพฤกษศาสตร์ข้าวโพด อยู่ในกลุ่มของผลไม้

ความจริงนั้นตามหลักพฤกษศาสตร์ของพืชแล้ว ข้าวโพดจัดอยู่ในกลุ่มของผลไม้ แต่ถ้าใช้ในครัวก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผักได้เช่นกัน ซึ่งหลักการจำแนกนั้นจำง่ายๆ เลย คือ ถ้าเป็นผัก ก็คือ พืชที่สามารถนำส่วนใดส่วนหนึ่งมาประกอบอาหารได้  ซึ่งจะไม่นับรวมกับกลุ่มพวกผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ

แต่ผลไม้นั้นจะเกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืช ซึ่งเราสามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่นิยมนำมาทำเป็นอาหารคาว ก็คือ ผลไม้ที่สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านการปรุงแต่งใดๆ ในครัว เพื่อให้เกิดรสชาติก่อน ซึ่งอาจจะต้องปอกเปลือกเพื่อรับประทาน  ดังนั้นในทางพฤกษศาสตร์แต่กลับถูกจำกัดความเมื่อนำมาปรุงแต่งในครัวเรียกว่าผักนั้น ก็จะมี พวกฟัก มะเขือเทศ รวมไปถึงเครื่องเทศ และข้าวโพดด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงบอกได้ว่าความจริงแล้วข้าวโพดนั้นถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของผลไม้ แต่ถ้าเป็นข้าวโพดอ่อนก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของผักนั่นเอง ก็หายสงสัยกันไปแล้วว่าข้าวโพดหวาน ก็คือ ผลไม้ แต่ข้าวโพดอ่อนก็จัดอยู่ในกลุ่มผัก แต่ถ้านำมาทำอาหาร หรือมีการปรุงแต่ง ข้าวโพดหวานอาจจะเรียกว่าเป็นผักในครัวก็ได้เช่นกัน

3.วิธีปลูกข้าวโพด แปลงข้าวโพด
3.วิธีปลูกข้าวโพด แปลงข้าวโพด

สภาพพื้นที่ปลูกข้าวโพด   

การปลูกข้าวโพดนั้น มีทั้งข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน และข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยส่วนใหญ่แล้วข้าวโพดหวานนั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ในกรณีที่ปลูกตลอดทั้งปีนั้นอาจจะต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการในการปลูกด้วยจึงจะสามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ดีผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน ก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกันออกไปตามฤดูกาลที่เราปลูกด้วย

นอกจากนี้บางพันธุ์อาจจะมีการตอบสนองต่อฤดูกาลที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนมากนั้นช่วงปลายปี คือ พฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ จะให้ผลผลิต อาจจะได้ผลผลิตที่ต่ำกว่าฤดูกาลอื่น เนื่องจากว่าสภาพอากาศที่เย็นนั่นเอง แต่ถ้าเป็นช่วงที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ จะเป็นช่วงฤดูร้อนที่จะให้ผลผลิตดีกว่าช่วงฤดูกาลอื่นๆ

อีกทั้งช่วงฤดูร้อนยังไม่ก่อให้เกิดโรคราน้ำค้างระบาดอีกด้วย เพราะว่าถ้าเกิดปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมก็จะเกิดโรคราน้ำค้างตามมาได้ ซึ่งถ้าเกิดโรคราน้ำค้างก็จะทำให้บางส่วนของสวนข้าวโพดนั้นเกิดการเสียหายตามมาได้ เนื่องจากฝนที่ตกชุกอาจจะเกิดน้ำท่วมขังนั่นเอง ถ้าหากมีการระบายน้ำได้ไม่ดี

4.การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวโพด
4.การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวโพด
ข้าวโพดเริ่มเจริญเติบโต
ข้าวโพดเริ่มเจริญเติบโต

ขั้นตอนการปลูกข้าวโพด

ข้าวโพดที่พูดถึงครั้งนี้ก็เป็นข้าวโพดหวานนั่นเอง เพราะว่าตัวข้าวโพดหวานนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ข้าวโพดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งข้าวโพดหวานนั้นก็เป็นผลไม้ที่นิยมนำมาทำอาหาร และเครื่องเคียง ได้อย่างหลากหลาย  และน่าสนใจเลยทีเดียว เรามาดูว่าวิธีการปลูกนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ในการปลูกข้าวโพดนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกเลย คือ การเตรียมดิน เพราะว่าการเตรียมดินในการปลูกนั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับพืชทุกชนิด เพราะว่าถ้าสภาพดินนั้นมีความสมบูรณ์ของธาตุอาหาร และมีดินที่ดี พืชก็จะเจริญเติบโตงอกงามได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังต้องมีการเตรียมแปลงปลูกให้มีระบบการระบายน้ำให้ดีอีกด้วย และในการเตรียมดินสำหรับการปลูกข้าวโพดนั้นจะต้องเตรียมดินอย่างเต็มรูปแบบ โดยการไถดะหน้าดินครั้งแรกก่อน เพราะว่าเพื่อเป็นการเปิดหน้าดิน ซึ่งการไถดะนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ เพราะแปลงปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแปลงใหญ่ และมีความกว้าง การใช้เครื่องมือไถดะหน้าดินที่มีขนาดเล็กนั้นอาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถดะนั้นควรใช้การติดผาลประมาณ 3-4 ผาล หรือเครื่องแบบหัวหมู ไถเพื่อเป็นการพลิกหน้าดิน และกลบเศษพืชและวัชพืชที่มีอยู่ในดิน  โดยปกติแล้วจะไถให้มีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร  หรือประมาณ  1 ฟุต จากนั้นให้ทำการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน พอครบกำหนดก็ให้ทำการไถแปรและไถพรวนเพื่อย่อยดินอีกครั้ง เพื่อให้ดินแตก และคลุกเคล้าเศษพืชและอินทรียวัตถุให้มีความสม่ำเสมอมากขึ้น แต่ถ้าเราทำการไถหน้าดินแล้ว และมีความรู้สึกว่าดินยังไม่มีความละเอียดพอ ก็ให้ทำการไถพรวนซ้ำอีก 1 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับดินให้มีความละเอียดยิ่งขึ้นได้ ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการเตรียมแปลงดินสำหรับการปลูกข้าวโพด

พืชหรือผลไม้ส่วนใหญ่ถ้าปลูกในฤดูกาลที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้ผลผลิตที่ได้ในแต่ละครั้งมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงช่วยให้ผลผลิตนั้นมีคุณภาพ และมีความแข็งแรง ทนทานต่อโรค ได้เป็นอย่างดีด้วย ข้าวโพดเองก็เช่นกัน ถ้าปลูกในฤดูที่เหมาะสมจะให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น โดยการปลูกข้าวโพดนั้นส่วนใหญ่แล้วนิยมปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพราะเป็นช่วงหน้าร้อน ข้าวโพดจะให้ผลผลิตมีคุณภาพ และได้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าช่วงฤดูอื่นๆ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงเริ่มปลูกในช่วงนี้กันเป็นส่วนมาก

ส่วนในฤดูฝนและฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดมากเท่าไหร่นัก เพราะว่าเป็นช่วงที่ฝนนั้นมีปริมาณตกค่อนข้างมาก จะทำให้ข้าวโพดนั้นเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย อีกทั้งปริมาณในการออกผลผลิตก็น้อย และยังทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเก็บผลผลิต เพราะว่าจะมีความชื้นมากกว่าปกติ ข้าวโพดอาจจะเกิดเชื้อราขึ้นได้ ถ้าทำการเก็บไม่ดี และไม่ตากข้าวโพดให้แห้ง และในส่วนของฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ไม่เหมาะสมอีกเช่นกัน เพราะว่าเป็นช่วงที่ความชื้นในอากาศนั้นมีมากกว่าฤดูร้อน ทำให้ความชื้นดังกล่าวนั้นอาจจะทำให้ตัวผลผลิตนั้นออกมาได้น้อย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคราน้ำค้างได้ง่ายอีกด้วย ถึงแม้ว่าข้าวโพดจะปลูกได้ทุกฤดู แต่ผลผลิตที่ได้นั้นก็แตกต่างกันออกไปตามความสภาพอากาศเป็นหลักด้วย

5.แปลงปลูกข้าวโพดฝักสด
5.แปลงปลูกข้าวโพดฝักสด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด

วิธีปลูกข้าวโพด

การปลูกข้าวโพดนั้นสามารถทำได้หลายวิธี แต่หลักๆ แล้วจะทำกันประมาณ 1-2 วิธี ที่สามารถทำได้ง่ายๆ

  • การขุดหลุมปลูก เป็นวิธีแบบดั้งเดิมหรือแบบเก่า ที่มีการใช้จอบมาช่วยในการขุด หรือใช้ไม้ปลายแหลมขุดเป็นหลุม การปลูกวิธีนี้จะทำให้ระยะระหว่างต้น ระหว่างหลุม และความลึก ไม่ค่อยสม่ำเสมอกันเท่าไหร่ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ซึ่งช่วยให้การกำหนดระยะหลุมและความลึกนั้นคงที่ และมีแนวทางที่เท่ากันของการปลูกได้ วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด
  • การปลูกแบบชักร่อง วิธีนี้จะใช้ไถหัวหมูติดรถแทรกเตอร์ หรือรถไถดินตาม หรือถ้าแบบดั้งเดิม ก็คือ ใช้วิธีการนำสัตว์มาไถให้เกิดร่องขึ้น และปลูกเป็นแถว การปลูกแบบนี้จะได้ระยะห่างของแถวที่มีความสม่ำเสมอกัน แต่ระยะความลึกของหลุมนั้นจะไม่สม่ำเสมอกันมากนัก

การปลูกโดยใช้เครื่องปลูกติดท้ายรถแทรกเตอร์เพื่อให้ทำการปลูกเป็นแถวสามารถที่กำหนดได้แน่นอนเลยว่า ระหว่างแถว ระหว่างหลุม และความลึก นั้นจะมีความสม่ำเสมอกันแน่นอนเลย

การเลือกและการหยอดเมล็ดพันธุ์

นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นควรจะต้องงอกอย่างน้อย 85 เปอร์เซ็นต์ ของความสูงหลุม และหยอด 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม เท่านั้น โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่ถ้าเมล็ดพันธุ์ที่งอกต่ำกว่านี้อาจจะหยอดมากกว่า 1 เมล็ด ก็ได้เช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยหยอดลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่เนื่องจากว่าข้าวโพดหวานหรือข้าวโพดที่บริโภคกันอยู่ทั่วไปนั้นจะต่างจากข้าวโพดอื่นๆ ตรงที่ภูมิต้านทานโรคราน้ำค้างจะต่ำ ทำให้ก่อนปลูกทุกครั้งจะต้องนำเมล็ดพันธุ์มาคลุกกับสารเมตาแลกซิลก่อน โดยใช้สารดังกล่าวประมาณ 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก็จะช่วยป้องกันราน้ำค้างได้

การปลูกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ได้ผลผลิตเต็มที่ และมีคุณภาพ โดยการปลูกระหว่างแถวนั้นประมาณ 75 เซนติเมตร และระยะของต้นประมาณ 20-25 เซนติเมตร จะช่วยให้ข้าวโพดที่มีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ นั้น สามารถถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น ต่อหลุมได้ โดยการปลูกระยะประมาณนี้จะได้จำนวนต้นประมาณ 8,500-11,000 ต้น ต่อไร่ เลยทีเดียว

หรือถ้าเป็นการปลูกระยะแถว และความห่างระหว่างต้นเท่ากัน ประมาณ 40-50 เซนติเมตร เมื่อข้าวโพดอายุได้ 2 สัปดาห์ ก็สามารถถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น ต่อหลุมได้ ก็จะได้จำนวนต้นข้าวโพดประมาณ 10,000 ต้น ต่อไร่ ซึ่ง 2 วิธีนี้จะเว้นระยะห่างของต้นและแถวต่างกัน ก็จะช่วยให้ต้นข้าวโพดนั้นเติบโตและออกผลที่แตกต่างกันด้วย

6.ช่วงระยะเวลาการเติบโตของต้นข้าวโพด
6.ช่วงระยะเวลาการเติบโตของต้นข้าวโพด

การให้น้ำและปุ๋ยต้นข้าวโพด

พืช ผลไม้ ทุกชนิด ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นที่จะต้องการน้ำและปุ๋ย เพื่อเป็นอาหารที่จะช่วยให้ตัวเองสามารถเจริญ เติบโตได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้าวโพดเองก็เป็นผลไม้ที่ต้องการการเจริญเติบโตเพื่อให้ตัวเองนั้นได้มีผลผลิตที่มีคุณภาพเช่นกัน โดยการให้น้ำและปุ๋ยในข้าวโพดนั้นอาจจะไม่เหมือนกับพืชอื่นๆ แต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก

โดยการให้น้ำสำหรับข้าวโพดนั้นจะต้องการน้ำประมาณ 500-600 มิลลิเมตร หรือประมาณ 900 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ แต่เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำท่วมขังมากนัก การปลูกข้าวโพดในสภาพไร่นั้นส่วนใหญ่แล้วจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน แต่บางปีอาจจะปลูกในหน้าแล้งได้เช่นกัน โดยการให้น้ำนั้นก็สามารถทำได้ดังนี้

การให้น้ำครั้งแรกเมื่อเริ่มปลูก

หลังจากที่เราเตรียมแปลงเพื่อปลูกข้าวโพดเสร็จแล้วนั้นควรจะให้น้ำก่อนการปลูกประมาณ 50-60 ลูกบาศก์เมตร แล้วจึงค่อยหยอดเมล็ดข้าวโพดลงดิน เพื่อเป็นการสร้างความชื้นที่เหมาะสมให้กับดิน แต่ไม่ควรให้น้ำมากจนขัง เพราะจะทำให้เมล็ดข้าวโพดนั้นเน่าได้ และให้น้ำในช่วงที่เริ่มเจริญเติบโต หลังจากข้าวโพดเริ่มงอกแล้วก็เพิ่มการให้น้ำประมาณ 85 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร และต่อสัปดาห์ โดยให้ไม่เกิน 12 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ซึ่งการให้น้ำก็ไม่ควรจะให้น้ำจนท่วมขังเกินไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ในบางกรณีถ้าเกิดว่าสังเกตได้ว่าตัวใบของข้าวโพดนั้นเริ่มเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าและเย็น ก็ควรให้น้ำได้ในทันที แต่การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำขังเกิน 1 วัน เพราะจะทำให้ข้าวโพดนั้นตายได้ และที่สำคัญในช่วงที่เป็นการเจริญเติบโตไม่ควรจะให้ข้าวโพดขาดน้ำอย่างเด็ดขาด ยิ่งถ้าเป็นช่วงผสมเกสรและติดเมล็ดควรจะให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าถ้าไม่ให้น้ำจะทำให้คุณภาพและผลผลิตที่จะได้นั้นลดลงอย่างแน่นอน ถึงแม้จะขาดน้ำแค่ช่วงสั้นๆ ก็ส่งผลเสียได้

ที่สำคัญเลยก่อนช่วงเก็บเกี่ยวประมาณ 2-3 วัน ไม่ควรที่จะให้น้ำข้าวโพด เพราะจะทำให้รากนั้นเกิดการเสียหายได้ง่าย และผลผลิตก็จะมีความชื้นสะสม อาจจะทำให้เกิดโรคราน้ำค้าง หรือฝักเน่า ตามมาได้

การเพิ่มธาตุอาหาร

สำหรับข้าวโพดแล้วการให้ปุ๋ยก็เหมือนเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพด จะช่วยเสริมสร้างการผลิตผลให้ได้เร็ว และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยการให้ปุ๋ยนั้นอาจจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ในการใส่ครั้งแรกนั้นจะทำการใส่ปุ๋ยเพื่อเป็นปุ๋ยรองพื้น

โดยใส่รองก้นหลุมหรือโรยเป็นแถวแล้วทำกลบเพื่อที่จะปลูก แต่ถ้าใช้เครื่องที่ช่วยในการปลูกก็จะมีถังสำหรับใส่ปุ๋ยพร้อมอยู่แล้ว แต่ถ้าใช้วิธีการหยอดด้วยมือ ก็ให้หยอดที่ก้นหลุมแล้วกลับดินบางๆ ก่อนจะเริ่มหยอดเมล็ดตาม ไม่ควรให้ปุ๋ยนั้นสัมผัสกับเมล็ดโดยตรง เพราะถ้าโดนเมล็ดโดยตรงอาจจะทำให้เมล็ดนั้นเน่าได้ โดยปุ๋ยที่ใช้อาจจะเป็นสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 หรือสูตรอื่นๆ ตามความเหมาะสม และควรมีการวิเคราะห์ดินอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ได้เป็นการหาปุ๋ยที่เหมาะสมกับแปลงดินที่ปลูกไปด้วย

และใส่ปุ๋ยเพื่อเป็นการแต่งหน้า หลังจากที่เราเริ่มปลูกไปได้ประมาณ 20-30 วัน แล้ว ก็จะต้องใส่ปุ๋ยอีก 1 ครั้ง โดยปุ๋ยที่ใส่ในครั้งนี้นั้นจะเป็นปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) โดยทำการโรยข้างต้นประมาณ 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยใส่ในช่วงที่ดินมีความชื้นที่เหมาะ เสร็จแล้วจึงกลบให้เรียบร้อย

7.กำจัดวัชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่ในแปลงข้าวโพด
7.กำจัดวัชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่ในแปลงข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด

การป้องกันและกำจัดโรค วัชพืช ในแปลงข้าวโพด

ในการป้องกันโรคและกำจัดวัชพืชในข้าวโพดนั้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันวัชพืชและโรคที่จะมาจากดินหรือสภาพอากาศ โดยหลังจากเริ่มปลูกข้าวโพด ก่อนที่ข้าวโพดจะงอกนั้นให้พ่นสารควบคุมวัชพืชในดินเสียก่อนโดยให้ฉีดพ่นในขณะที่ดินมีความชื้น โดยใช้สารเคมีประเภทอาทราซินประมาณ 500 กรัม ต่อไร่ หรือจะใช้อะลาคลอร์ประมาณ 600 ซีซี. ต่อไร่ โดยทำการฉีดพ่นไปที่ดินเพื่อควบคุมปริมาณวัชพืช หรือจะทำรุ่นพูนโคน เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่ โดยใช้ผาลหัวหมู หรือจอบถากออกก็ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การกำจัดวัชพืชในแปลงข้าวโพดอาจจะใช้สารพาราควอทฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าแทนก็ได้ โดยใช้ปริมาณ 80 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้การใช้สารดังกล่าวในการฉีดพ่นต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะอาจจะทำให้ข้าวโพดนั้นไหม้ตายได้ แต่ทางที่ดีอาจจะให้อินทรียวัตถุในช่วงที่ปรับปรุงดิน หรือเตรียมดิน แทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้เช่นกัน และการใช้อินทรียวัตถุมาช่วยถึงแม้จะยุ่งยากแต่ก็ลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้สารเคมีได้เป็นอย่างดี

8.ฝักข้าวโพดที่เก็บได้แล้ว
8.ฝักข้าวโพดที่เก็บได้แล้ว วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด

การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพด

ในการปลูกข้าวโพดนั้นอาจจะมีวิธีการปลูกที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของข้าวโพดที่ทำการปลูก โดยการเก็บเกี่ยวข้าวโพดนี้จะเป็นการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน โดยเมื่อข้าวโพดหวานมีอายุ 18-20 วัน หลังจากที่ข้าวโพดหวานออกไหม โดยทำการปลิดฝักสดออกจากต้น และที่สำคัญควรส่งถึงผู้บริโภคหรือโรงงานภายใน 1 วัน จะดีที่สุด และควรเก็บฝักไว้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่ควรกองสุมกันในที่ที่อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้สะดวก จึงควรกองสุมในที่อากาศถ่ายเท

ในการเก็บเกี่ยวข้าวโพดอ่อนเมื่อไหมเริ่มยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ก็จะมีการเก็บก่อนหรือหลังช่วงที่เหมาะสมประมาณ 1 วัน ซึ่งฝักจะไม่มาตรฐานตามโรงงานหรือท้องตลาดต้องการ โดยใช้มือหักฝักที่อ่อนให้ถึงบริเวณก้านฝักที่ติดกับลำต้น และต้องเก็บเกี่ยวทุกวัน โดยเก็บเกี่ยวข้าวโพดอ่อนให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 10 วัน หลังจากที่เริ่มเก็บเกี่ยว เพราะหลังจากนั้นข้าวโพดอ่อนก็จะไม่ใช่ข้าวโพดอ่อนอีก

9.ผลผลิตข้าวโพดมีคุณภาพ และนำไปแปรรูปได้หลากหลาย
9.ผลผลิตข้าวโพดมีคุณภาพ และนำไปแปรรูปได้หลากหลาย วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด วิธีปลูกข้าวโพด

ฝากถึงผู้ที่สนใจปลูกข้าวโพด

ข้าวโพดถือว่าเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมและความชอบเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่หาทานได้ง่าย อีกทั้งยังมีวิธีการเรียกระหว่างผลไม้และผักด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันตลาดของข้าวโพด ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน และข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ จะเริ่มกลับมาครึกโครมอีกครั้ง แต่ก็บอกไม่ได้ว่าจะดีขึ้นมากน้อยเพียงใด

การปลูกข้าวโพดนั้นสามารถปลูกได้ง่าย ถ้ามีพื้นที่เพียงพอที่จะปลูก เนื่องจากข้าวโพดเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดลำต้นเป็นปล้องเล็กแต่สูงมาก ทำให้การปลูกนั้นจำเป็นจะต้องมีพื้นที่เสียหน่อย การดูแลก็ไม่ยุ่งยากมากนัก ทำให้หลายๆ คนหันมาให้ความสนใจในการปลูกข้าวโพดกันมากขึ้น  เมื่อเทียบกับอดีตเลยก็ว่าได้ บอกได้เลยว่าข้าวโพดปลูกง่าย และขายได้เร็ว อย่างน้อยต้องลองปลูกดูสักครั้ง แล้วจะรู้ว่าเป็นพืชที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างไม่ยากเลย

เกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดที่ได้ว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ว่าด้วยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทำให้ข้าวโพดเป็นที่สนใจของเกษตรกรหลายคน อีกทั้งยังเป็นพืชที่ดูแลง่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้คนสวนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น ทั้งนี้บทความนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นเชิงให้ความรู้ในการปลูก และทำความเข้าใจแบบง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดลงลึกมากกว่านี้อาจจะต้องมีการศึกษา หรือปรึกษาผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ อาจจะช่วยได้อีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.thai-thaifood.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94/,https://www.kubotasolutions.com/knowledge/corn/detail/313,https://www.technologychaoban.com/news-slide/article_5225, https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=5105&s=tblplant