วิธีปลูก + ดูแล หญ้ารีแพร์ มีสารซิลิก้า … ช่วยกระชับช่องคลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หญ้ารีแพร์ มีสารซิลิก้า … ช่วยกระชับ ช่องคลอด

1.หญ้ารีแพร์
1.หญ้ารีแพร์

ลักษณะของหญ้ารีแพร์

“ หญ้าฮี๋ยุ่ม หรือ หญ้ารีแพร์ ” ได้กลายเป็นสิ่งที่คนไทยพูดกันอย่างหนาหู ในทางวิทยาศาสตร์พบว่า หญ้าฮี๋ยุ่ม มีสาร “ ซิลิกา ” ( silica ) อยู่โดยธรรมชาติ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารต้นกำเนิดของคอลลาเจน และน้ำไขข้อในร่างกาย หากขาดสารนี้จะทำให้มีลักษณะแก่ก่อนวัย ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง เต่งตึง

หญ้าฮี๋ยุ่ม นั้นเป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้เรียกกันทั่วไป พบได้ทุกภาค แต่ใช้เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า หญ้ารีแพร์ และ แท้ที่จริงแล้วหญ้าชนิดนี้ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้สืบต่อกันมาเป็นเวลานานแล้ว หญ้ารีแพร์เป็นพืชตระกูลไผ่ และหญ้า ลำต้นกลวง ลักษณะเป็นข้อและปล้อง เป็นพืชวงศ์เดียวกับไผ่ หญ้าคา ข้าว อ้อย หญ้าแฝก เป็นต้น

 

3.ต้นหญ้ารีแพร์พร้อมจำหน่าย
ต้นหญ้ารีแพร์

การปลูกและดูแลหญ้ารีแพร์

การปลูกและการดูแล หญ้ารีแพร์ นั้นไม่มีขั้นตอนอะไรยุ่งยากมากนัก โดยเริ่มจากการเตรียมดิน จากนั้นนำหญ้ารีแพร์ 1 ต้น ใส่กระถาง หรือถุงดำ ตามด้วยดินที่เตรียมไว้ และนำไปวางไว้บริเวณที่ถูกแสงน้อย หลังจากนั้นสังเกตว่าเริ่มมีการแตกยอดใหม่ และต้นไม่เหี่ยว แสดงว่าต้นหญ้าไม่ตายแน่นอน หรือจะนำออกไปลงดินก็ได้ ถ้ามีพื้นที่ปลูก ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน

เมื่อต้นหญ้ารีแพร์มีอายุประมาณ 45 – 50 วัน ก็สามารถนำมาใช้งานได้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะใช้ ต้นหญ้ารีแพร์ ที่มีอายุ 6 เดือน – 1 ปี เท่านั้น เพราะต้องการให้ต้นหญ้ามีขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำหนักจะได้มากกว่า

ต้นหญ้ารีแพร์ ที่มีขนาดอายุเยอะน่าจะให้ประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าต้นเล็ก ทำให้เลือก ต้นหญ้ารีแพร์ ที่มีอายุมาก 45 วัน มาทำชา และนำมาตากเพื่อจำหน่ายเป็นแบบใช้รมควัน

4.หญ้ารีแพร์ที่นำมาตากแห้ง
4.หญ้ารีแพร์ที่นำมาตากแห้ง

สรรพคุณหญ้ารีแพร์

หญ้าชนิดนี้ช่วยในเรื่องของการทำให้ช่องคลอดกระชับ แม้คนในสมัยก่อนจะมีลูกเป็น 10 คน ก็ยังสามารถใช้ชีวิตคู่อย่างเป็นสุขได้ ทั้งนี้งานวิจัยที่รับรองสรรพคุณหญ้าฮี๋ยุ่มในประเทศยังไม่มีอย่างเป็นทางการ แต่ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก็จะดำเนินการวิจัยให้เป็นแบบแผนต่อไป เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจในความปลอดภัย และประสิทธิภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อย่างไรก็ตามก็เชื่อได้ว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ พอสมควร เนื่องจากมีการใช้กันมาหลายร้อยปี ไม่มีอันตราย เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวบ้าน หมอชาวบ้าน ผู้ใช้แล้วก็ยืนยันว่าได้ผลดี ส่วนงานวิจัยในต่างประเทศก็มีงานวิจัยออกมาเกี่ยวกับ สารแบมบู ซิลิกา ( bamboo silica )

ในต้นหญ้ารีแพร์ว่าช่วยในเรื่องเส้นเอ็น กระดูก และปอดแข็งแรง รวมไปถึงอวัยวะใดก็ตามที่ต้องการความยืดหยุ่นให้มีความแข็งแรงดี และช่วยเรื่องความเปล่งปลั่งของผิวพรรณด้วย โดยมีสารสกัดแบมบู ซิลิกา ไปผสมเครื่องสำอาง เพื่อช่วยในเรื่องของผิวพรรณ นับว่าเป็นสารที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างอยู่แล้ว 

5.เตาที่ใช้รมควันหญ้ารีแพร์
5.เตาที่ใช้รมควันหญ้ารีแพร์

ข้อควรระวังในการใช้หญ้ารีแพร์ รมควัน

สำหรับวิธีการใช้นั้นสามารถใช้ได้ทั้งการกิน และใช้ภายนอก คนโบราณจะใช้วิธีการนำขอนไม้ที่ผุมาจุดไฟ แล้วเอาหญ้ารีแพร์สดหรือแห้งก็ได้ ใช้กำใหญ่หน่อย วางบนขอนไม้ที่ก่อไฟไว้จะเกิดควันขึ้นมา จากนั้นให้ยืนคร่อมขอนไม้ โดยนุ่งผ้าถุงอย่างเดียว ให้ควันของหญ้ารมเข้าไปในผ้าถุงตรงบริเวณปากช่องคลอด จะทำให้คืนความกระชับ มดลูกเข้าอู่เร็ว ในหญิงเพิ่งคลอดบุตร และรักษาแผลได้ด้วย

ตามหลักวิทยาศาสตร์การใช้ยารมควันเป็นการใช้ความร้อน ช่วยลดการอักเสบ และมีสรรพคุณฆ่าเชื้อโรค อีกทั้งหญ้ารีแพร์ยังสามารถนำยอดหญ้ารีแพร์มาลวกจิ้มน้ำพริก นำใบมาขยี้กับน้ำร้อน หรือต้มน้ำดื่ม มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ทำให้ผิวเก็บกักน้ำได้ดีขึ้น ผิวพรรณจึงชุ่มชื่น เพื่อให้ช่องคลอดกระชับ ฟิตเหมือนหญิงสาว จะต้องใช้ไอน้ำรม หรือใช้ควันรม เข้าที่ช่องคลอดเท่านั้น คนที่ใช้วิธีรมต้องระวัง ไม่ใช่ตัวก่อความร้อนที่สามารถลุกไหม้ได้ ควรใช้ไม้ผุจะดีที่สุด

หญ้ารีแพร์ที่นำมาใช้จะต้องมีอายุมากกว่า 45 วัน ลักษณะหญ้าที่นำมาตากแดดเดียว คือ ไม่แห้ง และไม่ชื้น จนเกินไป อย่างไรก็ตามผู้ใช้ไม่ควรสูดดมโดยตรง เพราะควันจากการเผาไหม้อาจมีส่วนทำให้เกิดฝุ่นหินเกาะปอด คนที่ใช้วิธีการรมควันนั้นไม่ควรอยู่ในที่ๆ ปิดสนิท มิดชิด จนไม่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะมันอาจทำให้เสียชีวิตจากขาดออกซิเจนได้ อ่านเพิ่มเติม

6.หญ้ารีแพร์ที่ซอยเรียบร้อยแล้ว
หญ้ารีแพร์ที่ ซอยเรียบร้อยแล้ว

การแปรรูปหญ้ารีแพร์

ต้นหญ้ารีแพร์ สามารถมาทำผลิตภัณฑ์แปรรูปในรูปแบบ ชาสมุนไพรหญ้ารีแพร์ เพื่อสร้างฐานตลาดและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชาหญ้ารีแพร์

ชาสมุนไพรก็เลยคิดว่ามันดื่มง่าย และไม่มีสารเคมี ที่สำคัญ ลูกค้าให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะมีชาสมุนไพรที่ผสมหญ้ารีแพร์หลายตัวให้เลือกซื้อทดลอง

6 สูตร แปรรูป ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร

สูตร 1 ชาหญ้ารีแพร์ ไม่มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดอื่น เน้นคุณภาพและประโยชน์จากหญ้ารีแพร์ 100% ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง กระชับ บำรุงร่างกาย ขับน้ำคาวปลา กระชับช่องคลอด รสชาติหอมกลิ่นหญ้าอบแห้ง

สูตร 2 Repair Tea มีส่วนผสม หญ้ารีแพร์ + หญ้าหวาน เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างหญ้ารีแพร์ ช่วยให้ผิวกระชับ แก้ปวดประจำเดือน มดลูกเข้าอู่ ขับน้ำคาวปลา หญ้าหวานให้ความหวานถึง 200 – 300 เท่า แต่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไม่ทำให้อ้วน ลดไขมันในร่างกายและเส้นเลือด บำรุงตับ

สูตร 3 Yellow Tea มีส่วนผสมหญ้ารีแพร์ + หญ้าหวาน + ดอกเก๊กฮวย

ดอกเก็กฮวย จะช่วยดับกระหาย กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ขับเหงื่อ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิต

สูตร 4 Red Tea มีส่วนผสมหญ้ารีแพร์ + หญ้าหวาน + กระเจี๊ยบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระเจี๊ยบ จะช่วยในเรื่องแก้อาการอ่อนเพลีย ความดันโลหิต แก้ร้อนใน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันหวัด ลดไขมัน

สูตร 5 Orange Tea มีส่วนผสมหญ้ารีแพร์ + หญ้าหวาน + ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย จะลดไขมันส่วนเกินและลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยบำรุงประสาท ขยายหลอดเลือด ขับปัสสาวะและอุจจาระได้เป็นอย่างดี

สูตร 6 Blue Tea มีส่วนผสมหญ้ารีแพร์ + หญ้าหวาน + ดอกอัญชัน

อัญชัน จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และเพิ่มพลังทำให้ร่างกายมีแรงขึ้น ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัยและริ้วรอย ป้องกันโรคหัวใจ ล้างสารพิษ และขับของเสียออกจากร่างกาย

ด้านตลาด และ การจำหน่ายชาหญ้ารีแพร์

ในขณะที่ผู้บริโภคกำลังสนใจในเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น หญ้ารีแพร์ ก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของกิจการสมุนไพรชาหญ้ารีแพร์ เพราะการใช้หรือการบริโภคสมุนไพรมีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากสรรพคุณในแต่ละชนิดด้วย ดังนั้นหญ้ารีแพร์จึงน่าจะเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรผู้ปลูก และผู้ที่ผลิตสมุนไพร หญ้ารีแพร์แปรรูป ได้เป็นกอบเป็นกำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับผลิตภัณฑ์ ชาหญ้ารีแพร์ บางคนมีตลาดก็สามารถดำเนินธุรกิจได้ แต่ถ้าไม่มีตลาดทุกธุรกิจก็ต้องดับลง ถึงผลิตภัณฑ์ของเราจะดีแค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นตลาด เป็นส่วนสำคัญ เพราะ การแปรรูปหญ้ารีแพร์ จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ การทำเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่น เป็นต้น