ต้นไม้โตเร็ว ปลูกป้อน ยักษ์ใหญ่โรงไฟฟ้าชีวมวล ญี่ปุ่น Techno Chubu

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่ห้องประชุม FORTROP คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มีการลงนามในสัญญาจ้างศึกษาวิจัยไม้โตเร็วเพื่อพลังงานชีวมวล ระหว่าง Techno Chubu Company (TCC) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมุ่งเน้นไปที่อะเคเซียสายพันธุ์ลูกผสม (Hybrid) ต้นไม้โตเร็ว

เพื่อเป็นวัตถุดิบด้านเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศญี่ปุ่นของกลุ่มบริษัท TCC โดยมีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมีเป้าหมายการผลิตเป็นก้อนเชื้อเพลิงพลังงานดำ (Black Pellet) ซึ่งมีคุณสมบัติในการให้ค่าพลังงานสูงเทียบเท่าถ่านหิน และไม่มีมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

1.บรรยากาศภายในวันงานก่อนลงนามความร่วมมือส่งเสริม ต้นไม้โตเร็ว
1.บรรยากาศภายในวันงานก่อนลงนามความร่วมมือส่งเสริม ต้นไม้โตเร็ว

การลงนามสัญญา ระหว่าง Techno Chubu กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยมีเป้าหมายการผลิตประมาณปีละ 250,000 ตัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ไม้สดเป็นวัตถุดิบเกือบ 1 ล้านตันต่อปี โดยมีความสนใจไม้ทุกชนิดของไทยที่กฎหมายอนุญาตให้ปลูก และตัดได้แบบเสรี

นอกจากนี้ก็ยังให้ความสนใจในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ด้วยเช่นกัน ในขณะที่จังหวัดสงขลานั้นมีข้อจำกัดเรื่องท่าเรือ ซึ่งแม้จะเป็นของรัฐ แต่ก็มีปัญหาด้านการ Load สินค้า และจากการศึกษาข้อมูลพบว่าในพื้นที่จังหวัดสงขลานั้นมีการแข่งขันด้านไม้สูงมาก ทั้งอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ MDF รวมถึงพลังงานความร้อน และไฟฟ้า โดยคาดว่าในระยะเวลา 2-5 ปีนี้ จังหวัดสงขลาอาจมีความต้องการไม้มากถึงวันละ 20,000-40,000 ตัน เลยทีเดียว

Techno Chubu (TCC) ถือเป็นกลุ่มที่ 2 จากประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ลงนามความร่วมมือกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพัฒนาสวนป่าไม้โตเร็ว เพื่อเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงด้านพลังงานไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น โดยก่อนหน้านี้บริษัท JC Services จำกัด ได้ลงนามความร่วมมือ และร่วมลงทุนกับเอกชนไทย เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิต Wood Pellet ในพื้นที่ภาคใต้แล้วจำนวน 1 ล้านตัน/ปี หรือใช้ไม้สดไม่น้อยกว่า 2 ล้านตัน/ปี

ซึ่งส่วนใหญ่ได้มุ่งเป้าไปที่ไม้ยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีแผนการตัดฟันประมาณ 500,000 ไร่ต่อปี สอดรับนโยบายการลดพื้นที่ปลูกยางพาราของรัฐบาลไทย แต่ไม้ยางพารานั้นคงมีข้อจำกัดในการปลูก ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 25 ปี จึงจะสามารถตัดได้ใหม่ ซึ่งจะทำให้วัตถุดิบมีระยะห่างจากโรงงานออกไปเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต อย่างไรก็แล้วแต่แนวคิดในการบริหารจัดการ โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้โตเร็วร่วมกับยางพาราปลูกใหม่ ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้ระหว่างรอการกรีดยางอายุ 1-7 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.Techno-Chubu-Company-Limited-มอบของที่ระลึกแก่-คณะวนศาสตร์-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.Techno-Chubu-Company-Limited-มอบของที่ระลึกแก่-คณะวนศาสตร์-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การส่งเสริมการปลูก ต้นไม้โตเร็ว

ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวว่า ศักยภาพการบริหารจัดการวัตถุดิบ (Feed Stock Management) เป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยคาดการณ์ว่าประมาณ 5 ปีข้างหน้านี้จะเกิดการแข่งขัน รวมถึงการแก่งแย่งวัตถุดิบไม้สำหรับกิจกรรม เช่น เฟอร์นิเจอร์ เยื่อและกระดาษ ไม้ประกอบ รวมถึงเพื่อพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานความร้อน และไฟฟ้า ทั้งในประเทศ

ไม้ยูคาลิปตัส และไม้กระถินอะเคเซียลูกผสม ไม้โตเร็วที่ทาง TCC สนใจ

อีกทั้งสวนยางพาราก็จะมีพื้นที่ลดลง อันเนื่องมาจากนโยบายลดพื้นที่ปลูก รวมถึงความต้องการใช้ไม้ยางพาราที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การส่งเสริมให้มีการปลูกไม้โตเร็ว ทั้งในระบบของการปลูกร่วมกับยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน และการปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรไม่เหมาะสม พื้นที่เกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มาปลูกไม้โตเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาพืชผลทางการเกษตร และสภาพดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่างดี

ข้อแตกต่าง คือ TCC มีเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีการดำเนินการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจโตเร็วแบบยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดวงรอบการตัดฟันไม้ป้อนโรงงานที่สมดุลและต่อเนื่องตลอดอายุสัญญา 20 ปี

ซึ่งไม้โตเร็วที่ทาง TCC สนใจ ได้แก่ ไม้ยูคาลิปตัส และไม้กระถินอะเคเซียลูกผสม นอกจากนี้ TCC มีเป้าหมายในการผลิตเป็น Black Pellet ซึ่งถือว่ามีคุณภาพสูง ทั้งในด้านการให้ค่าพลังงาน และศักยภาพในการขนส่งที่สามารถขนส่งได้ไกลขึ้น

3.บรรยากาศภายในงานเลี้ยงขอบคุณกับความร่วมมือในครั้งนี้
3.บรรยากาศภายในงานเลี้ยงขอบคุณกับความร่วมมือในครั้งนี้ ต้นไม้โตเร็ว ต้นไม้โตเร็ว ต้นไม้โตเร็ว ต้นไม้โตเร็ว

การลงนามสัญญา ระหว่าง Techno Chubu กับเครือข่ายรับรองไม้เศรษฐกิจ (T-CERN)

ในวันเดียวกันนั้น Techno Chubu Company Limited (TCC) ยังได้ลงนามกับเครือข่ายการรับรองไม้เศรษฐกิจไทย (T-CERN) ในการจัดทำระบบการรับรองป่าไม้อย่างยั่งยืน ตามแนวทางมาตรฐานสากลในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย เป้าหมายพื้นที่ 50,000 ไร่ ทั้งพื้นที่สวนยางพารา สวนป่ายูคาลิปตัส และสวนป่าไม้อะเคเซียลูกผสม

ดร.สุเทพ จันทร์เขียว ประธานเครือข่าย T-CERN กล่าวว่า กลไกการรับรองตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน FSCหรือ PEFC ซึ่งประเทศไทยกำลังดำเนินการใกล้จะแล้วเสร็จ ทั้งสองเป็นกลไกภาคสมัครใจที่เป็นอิสระ ที่เรียกว่า Third Party โดยมี 3 องค์กรอิสระซึ่งกันและกัน มีหน้าที่ในการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่เพียงแค่อำนวยความสะดวก หรือการสนับสนุน ส่งเสริม เพียงเท่านั้น มันเป็นกลไกที่นานาชาติให้การยอมรับมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่มากกว่า 3 แสนไร่ ได้รับการรับรองตามมาตรฐานนี้แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้มีพื้นที่สวนยางพาราที่ได้รับการรับรองแล้วประมาณ 1.4 แสนไร่

ดร.สุเทพ กล่าวว่า โครงการจัดทำระบบการรับรองนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ปี โดยโครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกๆ ที่จะให้การรับรองน้ำยางพาราด้วย นอกเหนือจากการรับรองไม้ยาง และจะมีการรับรองไม้เศรษฐกิจโตเร็ว เช่น สวนป่ายูคาลิปตัส กระถินอะเคเซีย ระบบการรับรองตามมาตรฐานสากลนี้เป็นเครื่องมือการันตีความถูกต้องตามกฎหมาย การเคารพสิทธิของชุมชน การให้ความสำคัญของแรงงาน รวมถึงการมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ด้วย ทั้งนี้ผู้ดำเนินโครงการจะประสานผ่านกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การยางแห่งประเทศไทยสาขาในพื้นที่ รวมถึงเสนอแนวทางในการร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.สุเทพ จันทร์เขียว email : [email protected], Tel : 02-561-4761 ต่อ 512